-
Market on Rails
งงไปเลย ตลาดรถไฟ! … emergence, innovative land use, intensively-shared space [ ผ่าน ThaiBB ] technorati tags: amazing, Thailand
-
masked rider
ช่วงนี้เปื่อยอยู่ครับ เป็นหวัด ไข้ ไอ เปิดคอมตอบอะไรได้ก๊อก ๆ แก๊ก ๆ แต่ทำงานยาว ๆ ไม่ได้เลย ปวดหัว ไปไหนมาไหน ก็ดูจะมีคนป่วยเยอะเหมือนกัน ไอค๊อกแค๊ก เป็นตั้งแต่กลับจากฮ่องกง (ไปเที่ยวปีใหม่กับที่บ้าน) ไม่รู้จะเป็นหวัดนกรึเปล่า ฮี่ ตอนอยู่ที่นั่น เห็นคนใส่ผ้าปิดปากเดินไปเดินมา ตอนแรกเราคิดว่าเขาคงใส่เพราะกลัวติดหวัดจากคนอื่น ฮ่องกงมันเสี่ยง เคยระบาด พี่สาวบอก ไม่ใช่ เขาใส่เพราะเขากลัวจะเอาหวัดไปติดคนอื่นตะหาก เอ้า เหรอ เราเพิ่งรู้ แล้วก็นึกได้ว่า ตอนไปงานประชุม SNLP 2007 ก็มีคนญี่ปุ่นคนนึงใส่เหมือนกัน ตอนแรกก็นึกว่าอะไร อ๋อ เป็นหวัด วันที่สองหายดีก็ไม่ใส่แล้ว เป็นเรื่องที่ดีแฮะ ในใจคิดตอนที่คุยกับพี่สาว แต่ไม่คิดว่าตัวเองจะต้องมาใส่เองในเวลาไม่นานหลังจากนั้น กลับมาใหม่ ๆ ก็แค่ครั่นเนื้อครั่นตัวเฉย ๆ สักพักเริ่มปวดหัว มีน้ำมูก ไม่กี่วันก็เริ่มไอ พอไอไปได้วันสองวัน ก็เลยตัดสินใจ ไปเซเว่น ซื้อผ้าปิดปากมาใช้บ้าง กลัวคนใกล้ตัวติดน่ะ พ่อนี่ก็ไออยู่…
-
surfing is moving
ใช้อินเทอร์เน็ตยามอยู่นอกบ้าน AIS – mobileNET – เดือนละ 999 บาท/ไม่จำกัด (ค่าบริการแผนอื่น) DTAC – GPRS – เดือนละ 999 บาท/ไม่จำกัด, วันละ 39 บาท/ไม่จำกัด (ค่าบริการแผนอื่น) Hutch – MBI – เดือนละ 999 บาท/ไม่จำกัด (ค่าบริการแผนอื่น) True – Cyber SIM (GPRS + Wi-Fi + Dial-Up) – เดือนละ 800 บาท/ไม่จำกัด (ค่าบริการแผนอื่น) – update! True – GPRS – (หาข้อมูลราคาไม่เจอ) True – Wi-Fi – ชั่วโมงละ 90…
-
Pet Architecture
เห็นเล่มนี้ Alternative (Post) Modernity: An Asia Perspective แล้วก็นึกถึงเล่มนี้ Pet Architecture Guide Book ไปได้มาจากงาน Talking Cities เมื่อปีที่แล้ว มันเป็นคนละเรื่องกันนะ แต่ที่เกี่ยวกันก็คือ มันเป็นเรื่องในเมือง และเป็นเรื่อง.. ความที่มันเป็นอย่างนั้นอยู่เอง ..จะเรียกว่าความไร้ระเบียบมันก็ อาจจะใช่ แต่เรียกว่า การปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อม น่าจะเหมาะกว่า Pet Architecture นี่มันเป็น พวกอาคารที่โผล่ขึ้นมาในที่ที่ไม่น่าจะสร้างอะไรได้ ทั้งในแง่ขนาดหรือรูปร่างของพื้นที่ หรือข้อจำกัดอื่น – แต่มันก็ยัง(หน้าด้าน)โผล่ขึ้นมา เมื่อครั้งงาน Berlin-Tokyo / Tokyo-Berlin ที่ Neue Nationalgalerie เบอร์ลิน ก็มีเอา Pet มาแสดงในโถงใหญ่ด้านบน เสียดายที่ไม่ได้ลองเดินเข้า คนมันเยอะมาก ก็เลยไปดูอย่างอื่นก่อน ปรากฏว่าดูไม่ทัน – -” เยอะมาก (คุ้มดี) แม้ว่าการเริ่มต้นศึกษาเรื่องนี้ จะเริ่มในญี่ปุ่น…
-
Alternative (Post) Modernity: An Asia Perspective
จากรีวิวที่ I am what I am แต่ถึงอย่างไรกลุ่มสถาปนิกและนักคิดจำนวนหนึ่ง ได้พยายามชี้ให้เห็นคุณค่าการดำรงอยู่ของความหลากหลาย ความไร้ระเบียบและความแออัด อันเป็นส่วนหนึ่งและสเน่ห์อย่างหนึ่งของภาวะความเป็นเมือง หนึ่งในกลุ่มดังกล่าว วิลเลี่ยม ลิม ดูเหมือนจะเป็นผู้หนึ่งที่มีความรู้ความเข้าใจ และเชี่ยวชาญในความเป็นเมืองของเอเชียโดยเฉพาะเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในฐานะถิ่นพำนักของเขา (สิงคโปร์) ในหนังสือ (โพสต์)โมเดิร์นทางเลือกมุมมองของเอเชีย (Alternative (Post) Modernity: An Asia Perspective) ของเขา ดู เหมือนจะเป็นการรวบรวมงานเขียนและปาฐกถาที่มุ่งให้คุณค่าในการวิเคราะห์ ความเป็นเมือง สถาปัตยกรรมเมือง และความไร้ระเบียบที่ดำรงอยู่ในเมือง ตลอดจนการกดทับของผังเมืองสมัยใหม่ต่อความไร้ระเบียบในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ลิมได้ชี้ให้เห็นถึงการมองความหลากหลายที่เกิดขึ้นในพื้นที่ของเมือง ไม่ว่าจะเป็นผู้คน กิจกรรมทางสังคม และวิถีชีวิตที่มีความแตกต่างกันออกไป ในความคิดของเขาความไร้ระเบียบ ไร้กฏเกณฑ์ และแออัดของสถาปัตยกรรมและผังเมืองในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มิใช่สิ่งที่น่ารังเกียจ หรือเป็นสิ่งที่สมควรปิดบัง กดทับและเปลี่ยนแปลงแต่อย่างใด หากแต่ความไร้ระเบียบดังกล่าวกลับเป็นสิ่งที่บ่งบอกที่อัตลักษณ์และ สเน่ห์พิเศษของเมืองในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สถาปัตยกรรมเมืองแบบสมัยใหม่มีส่วนในกระบวนการกดทับ ปิดบังสภาพอันไร้ระเบียบของเมืองเดิม “การคำนึงถึงถนนและอาคารที่มีอยู่เดิมทำให้สิ่งก่อสร้างที่เกิดขึ้นใหม่นั้นคู่ขนานไปกับถนนเส้นหลัก ในขณะที่สภาพเดิมของเมืองและพื้นที่ด้านหลังของสิ่งก่อสร้างใหม่นั้นถูกทิ้งไว้โดยไม่เปลี่ยนแปลง สภาพสังคมเช่นที่เคยผนวกกับความทรงจำและสิ่งก่อสร้างของอดีตถูกคงไว้เบื้องหลังของการพัฒนาสมัยใหม่” อ่านอีกรีวิวที่ Quarterly Literary Review Singapore (ภาษาอังกฤษ) รายละเอียดหนังสือ, การสั่งซื้อ…
-
Hey Now Now
The Cloud Room — Hey Now Now (งง วีดิโอไม่ขึ้นอ่ะ — link to YouTube) Hey now now, they’ll find you when you’re sleeping now now they’ll reach in and grab what you’re dreamin’ now now cut it up and slip it back in, and I know, and I know, and I know it Hey now now,…
-
anpanpon’s Bangkok (Feb 2007)
แม้จะต้องแบ่งมือไปหยิบขนม ต้องแบ่งตาไว้สอดส่องร้านไอติม แต่ anpanpon ยังบริหารเวลาของอวัยวะไว้มาถ่ายรูปได้บ้าง น่าตกใจจริง ๆ หลงกรุง(เทพ) ภาพและเรื่อง(บนหัวภาพ) ว่าด้วย เมืองกรุง ท้องถนน และคนกรุงเทพ technorati tags: anpanpon, Bangkok, city life photos
-
A city we share.
กาแฟดำ : 2550…สิ้นสุดของความ”ไร้เดียงสา”ของคนกรุง พูดอีกอย่างก็คือ พร้อมกับการมาถึงของปีกุน 2550 คนไทยทุกคนจะต้องปรับเปลี่ยนทัศนคติต่อชีวิตใหม่ และต้องพร้อมที่จะดำรงชีวิตเหมือนคนในหลายๆ เมืองใหญ่ ที่ต้องมีความเป็นนักสังเกต, มีความตื่นตัว และไวต่อข่าวสาร…ตื่นตัวแต่ไม่ตื่นตระหนกจะกลายเป็นหลักปฏิบัติของชีวิต ประจำวันของคนกรุง ทุกคนต้องยอมรับผิดกันคนละส่วน เพราะเราได้ปล่อยให้สังคมไทยก้าวเข้าสู่ยุคแห่งความแตกแยกที่ต่างฝ่ายต่าง ใช้ความรุนแรงและการข่มขู่คุกคาม เพื่อเพิ่มอำนาจต่อรองแทนการปรองดองและสมานฉันท์, แทนการมองประโยชน์ภาพรวมเป็นหลัก และปรับผลประโยชน์เฉพาะกลุ่มให้สอดคล้องกับผลประโยชน์ของส่วนรวม ปากพูดว่า “สมานฉันท์” แต่พฤติกรรมยังสะท้อนความเคียดแค้นชิงชัง ปากพร่ำคำว่า “น้ำใจนักกีฬา” แต่ใจยังร่ำหาแต่ “ชัยชนะบนเงื่อนไขของข้าฯ” น่าเศร้า, น่าสลด, น่ารันทด, และน่าเสียใจ แต่ก็เป็นเส้นทางที่คนไทยหลายๆ กลุ่ม ได้ตัดสินใจกำหนดเส้นทางนี้ให้คนในสังคม คนที่ไม่ได้เกี่ยวข้องและพัวพันกับผลประโยชน์เช่นนั้นโดยตรงอย่างพวกเรา ก็ได้แต่ถามเสียงดังขึ้นทุกวันว่า “ทำไม, ทำไม และทำไม?” ใช่! ทำไม ทำไม และ ทำไม !? ทำไมวันนี้ผมต้องเดินจากตึกศรีจุลทรัพย์กลับบ้าน ? ก็เพราะตำรวจเค้าต้องปิดถนน เพราะว่าคนโบ๊เบ๊เค้าทะเลาะกัน ไงล่ะ แท็กซี่เค้าตรงไปต่อไม่ได้ รถติดรอบด้าน เลยทิ้งผมกับแม่ไว้ตรงนั้นล่ะ จะเอาไงล่ะ ก็ต้องเดินกลับสิ นั่นแหละ…
-
Bangkok City of Life
เราคนไทยมีแนวโน้มที่จะใช้อำนาจควบคุมกันและกันอยู่เสมอ ด้วยการ ‘สั่ง’ อาทิ สั่งไม่ให้ดื่มเหล้าก่อนอายุ 25 ปี สั่งไม่ให้เด็กผู้หญิงมีเซ็กส์ก่อนวัยอันควร (ซึ่งเอาเข้าจริง ๆ ก็ไม่รู้ว่า ‘ควร’ คือเมื่อไหร่) และสั่งอื่น ๆ อีกมากมายเพื่อให้สิ่งมีชีวิตที่เรียกว่า ‘เด็ก’ อยู่ในรีตในรอย ซึ่งก็คืออยู่ในการควบคุมของเราอย่างเบ็ดเสร็จเด็ดขาด แต่สิ่งมีชีวิตที่เรียกว่า ‘เด็ก’ โง่และขาดไร้ซึ่งวุฒิภาวะถึงขนาดนั้นเลยเชียวหรือ ? ถ้าเป็นอย่างนั้นจริง คำถามที่ต้องย้อนถามกันหนัก ๆ ก็คือ แล้วพวกเขาเป็นผลผลิตของใคร…ของสังคมแบบไหน, ของเมืองแบบไหน ? ในเมืองที่ไม่มีพิพิธภัณฑ์ชั้นดี ไม่มีสวนสาธารณะขนาดใหญ่ใจกลางเมืองที่ไม่มีรั้วกั้น ไม่มีหอศิลป์ที่ดี ไม่มีกิจกรรมที่ไม่ต้องใช้เงินซื้อ ไม่มีทางเลือกอื่นใดให้เด็ก ๆ นอกจากการไปเดินห้างและเที่ยวกลางคืน คุณคิดว่าเด็ก ๆ ในเมืองนั้นจะใช้ชีวิตแบบไหน … ในเมื่อเมืองไม่มีสิ่งเหล่านี้ให้พวกเขาเลย พวกเขาก็ต้องนัดกันไปบริโภค ดื่ม แดก ดริงค์ แล้วก็จบลงบนเตียงด้วยเซ็กส์ที่น่าเบื่อกับคู่ที่น่าเบื่อ (เพราะขาดไร้ซึ่งวุฒิภาวะ และปัญญาพอ ๆ กันไปหมดทั้งเมือง) จนต้องตระเวนหาคู่ใหม่ไปเรื่อย ๆ ทุกคืน ๆ…
-
City of Loneliness
เรื่องของคนเหงาอีกแล้ว ให้ตายสิ คนใกล้ตัวอย่างน้อยสองคน เคยพูดในโอกาสต่างกัน ว่า “กรุงเทพมันเหงา” มองถนนโล่ง ๆ หน้าสยามสแควร์ตอนสี่ทุ่ม พิจารณาแล้วว่า จริง มันไม่ใช่เรื่องว่า รอบ ๆ ตัว ไม่มีหมาเดินซักตัว แต่เป็น “ภาวะความรู้สึกที่อยากมีใครอยู่ด้วย” แต่ก็ไม่รู้ว่ากรุงเทพ และ “หมานคร” ทั้งหลาย มีเคมีอะไร ที่ทำให้ผู้คนเกิดภาวะนั้นได้ถี่เหลือเกิน หรือด้วยจังหวะของเมืองที่มันเร่ง เร็ว เราเลยไม่มีโอกาสได้นึกถึงคนอื่นเท่าไหร่นักในช่วงเวลาปกติ กู กู กู กู กู กู และ กู และทันใดที่จังหวะผ่อน พอเริ่มจะนึกถึงคนอื่นได้ มันก็ตูมออกมา อย่างอดอยาก (บางทีเพื่อจะพบว่า คนที่เราคิดถึง ยังอยู่ในจังหวะ กู กู กู กู กู อยู่ .. ก็เศร้าไป) เอาบล็อกเหงา ๆ ไปอ่าน “การมีแฟนของคนสมัยนี้ มันก็แค่การบริโภคร่วมกัน…