Tag: books

  • [review] Doing Ethnographies. (assignment)

    ส่งการบ้านวิจารณ์หนังสืออีกแล้ว Doing Ethnographies. โดย Mike Crang และ Ian Cook (Sage Publications, 2007) ด้วยรูปร่างหน้าตาเผิน ๆ เหมือนหนังสือ “ฮาวทู” แต่เมื่ออ่านช่วงต้นก็รู้สึกแว่บว่า “ต่อต้านฮาวทู” จนอ่านต่อก็รู้สึกว่า “อาจจะฮาวทู”, Doing Ethnographies เป็นหนังสือที่ควรอ่านมากกว่าหนึ่งรอบ ในวาระ วิธี ลำดับ และทิศทางต่าง ๆ กัน. ด้วยการสะกิดผู้อ่านให้นึกถึงทางเลือกยุ่บยั่บย้อนแย้งอยู่ทุกระยะ แครงก์และคุกสองผู้เขียนไม่เพียงแต่เล่าเรื่องราวยุ่งเหยิงในการ(จะไป)ทำชาติพันธุ์วรรณนาที่ไม่ค่อยจะมีใครเล่านัก แต่ยังทำให้เรารู้สึกสับสน อย่างที่เราควรจะรู้ว่ามันจะสับสนอย่างไรในสนาม. ผู้เขียนเสนอว่าสิ่งที่สำคัญที่สุดในการศึกษาความสัมพันธ์ของมนุษย์นั้นก็คือตัว ความสัมพันธ์ของมนุษย์ นั้นเอง. ไม่เพียงผู้ไขประตูสู่สนามเท่านั้นที่เป็นมนุษย์ แต่รวมถึงผู้ที่ถูกศึกษาและผู้ศึกษาด้วย, เหล่านี้นำไปสู่ประเด็นจริยธรรมและความเป็นภววิสัยของการศึกษา และสิ่งที่ผู้เขียนย้ำคือ ไม่มีสิ่งที่เรียกว่า “ข้อมูลดิบ” ทุกอย่างล้วนถูกประกอบสร้าง-โดยตัวผู้สังเกตก็มีส่วนกำหนด ความสัมพันธ์เชิงอำนาจมีอิทธิพลในการประกอบสร้างข้อมูลดังกล่าวเสมอ และความคิดต่าง ๆ ล้วนได้รับอิทธิพลมาจากความคิดก่อนหน้าอื่น ๆ. จงเป็นมนุษย์ที่ปรับตัวและรู้ตัวในทุกขณะ อาจเป็นคำแนะนำที่ไม่มีข้อยกเว้นเพียงอย่างเดียวของหนังสือ “อาจจะฮาวทู” เล่มนี้. บทวิจารณ์ (PDF, 5+1…

  • [review] Wisdom Sits in Places: Landscape and Language Among the Western Apache (assignment)

    การบ้านวิจารณ์หนังสือชิ้นแรก เสร็จแล้ว ส่งไปเมื่อวาน เป็นการเขียนหลังจากอ่านไปประมาณ 60-70% ได้ ข้ามไปข้ามมา ฉบับที่ให้ดาวน์โหลดนี้ แก้นิดหน่อยจากที่ส่งไป เป็นบทวิจารณ์ หนังสือเรื่อง Wisdom Sits in Places: Landscape and Language Among the Western Apache ซึ่งเขียนโดย Keith H. Basso นักมานุษยวิทยาที่สนใจเรื่องชนพื้นเมืองอเมริกัน เอาเข้าจริง ๆ ไม่อยากจะเรียกว่าวิจารณ์เท่าไหร่ เพราะมันเหมือนสรุปหนังสือให้ฟังเสียมากกว่า ไม่ได้วิจารณ์อะไรเลย ทั้ง ๆ ที่การบ้านเขาให้วิจารณ์ แม้เรื่อง “สถานสัมผัส” (sense of place) หรือการที่คนเราจะรับรู้ถึงสถานที่ (place) อย่างไรนั้น เป็นเรื่องสำคัญในการจะเข้าใจว่าผู้คนและชุมชนจะให้ความหมายและความสำคัญทางสังคมกับสถานที่อย่างไร รวมถึงความเข้าใจในอัตลักษณ์ทางบุคคลและอัตลักษณ์ทางสังคม, โดยเฉพาะในโลกปัจจุบันที่มีความปั่นป่วนไร้ระเบียบในเรื่องสถานที่มากขึ้น, แต่บาสโซพบว่างานชาติพันธุ์วรรณนากลับไม่ให้ความสำคัญกับสถานที่และสิ่งที่ผู้คนทำกับสถานที่เสียเท่าไหร่. งานชาติพันธุ์วรรณนามักพูดถึงสถานที่ในฐานะเพียงตัวผ่านไปสู่เรื่องอื่น แค่ปูพื้นฉากหลัง หรือบอกที่มาของบุคคล สิ่งของ (น. xiv, 105). แนวคิดทางมานุษยวิทยาในหนังสือเล่มนี้ได้รับอิทธิพลจาก…

  • Two Bits (book)

    หนังสือ Two Bits: The Cultural Significance of Free Software โดย Christopher M. Kelty อาจารย์มานุษยวิทยาที่มหาวิทยาลัยไรซ์ อ่านฟรี (PDF – ครีเอทีฟคอมมอนส์ by-nc-sa) คำบรรยายสรรพคุณ จากใบปลิว: Drawing on ethnographic research that took him from an Internet healthcare start-up company in Boston to media labs in Berlin to young entrepreneurs in Bangalore, Kelty describes the technologies and the moral vision that…

  • The Future of the Internet–and How to Stop It

    อนาคตของอินเทอร์เน็ต และจะหยุดมันอย่างไร เจอหนังสือเล่มนี้จากเว็บ EFF (มูลนิธิ Electronic Frontier Foundation — องค์กรต่างชาติ!) The Future of the Internet—and How to Stop It โดย Jonathan Zittrain ศาสตราจารย์ด้านการปกครองและการวางระเบียบอินเทอร์เน็ต ที่ Oxford Internet Institute หนังสือนี้อธิบายถึงกลจักรสำคัญที่ทำให้อินเทอร์เน็ตเติบโตและแพร่หลายไปทั่วอย่างทุกวันนี้ และเผยให้เห็นว่า ปัญหาต่าง ๆ ในอินเทอร์เน็ตทุกวันนี้ ก็เกิดมาจากความสำเร็จอย่างรวดเร็วของอินเทอร์เน็ตเอง และโดยไม่รู้ตัว ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตกันเองนี่แหละ ที่จะนำมันไปสู่ระบบที่ถูกล็อก ทำให้นวัตกรรมต่าง ๆ ที่เคยเกิดขึ้นบนอินเทอร์เน็ตอยู่ตลอดเวลา ก็จะถึงจุดจบ และนั่นก็จะนำไปสู่การควบคุมอินเทอร์เน็ตโดยคนไม่กี่กลุ่ม หนังสือยกตัวอย่างถึง ไอพอด ไอโฟน เครื่องเล่นเกม เอกซ์บ็อกซ์ และกล่องรับทีวี ทิโว ซึ่งเป็นคลื่นลูกแรกของเครื่องใช้ที่ต่อกับอินเทอร์เน็ต ที่ไม่เปิดโอกาสให้คนทั่วไปแก้ไขดัดแปลงมันได้โดยง่าย เว้นแต่จะเป็นผู้แทนจำหน่ายเท่านั้น “เครื่องใช้ที่ถูกพันธนาการ” นี้ ไม่ค่อยเป็นที่รู้กันนักว่าเกิดขึ้น แต่สิ่งที่มันทำนั้น…

  • lost in the jungle of books, very happily

    สงครามยังไม่จบ แต่เราก็นับศพทหารไปเรื่อย ๆ … เนื่องในโอกาสงานหนังสือ – หนังสือที่ได้มาเมื่อราวสองสามเดือนที่ผ่านมา (พยายามเรียงตามลำดับที่ได้มา ยิ่งบนยิ่งใหม่): งานหนังสือ ครั้งแรก/2551: (โฉบผ่าน open แบบรีบ ๆ คนเยอะมาก เลยขอบาย ครั้งนี้ซื้อหนังสือเก่าเยอะ) ดีไซน์ + คัลเจอร์ – ประชา สุวีรานนท์ – ฟ้าเดียวกัน [310 หน้า สี่สีทั้งเล่ม ราคา 300 บาท! งานนี้ทำ “เอากล่อง”! จริง ๆ ครับ ในงานลดอีก 20% เหลือ 240 บาท ไม่อยากจะเชื่อ] [พระเอกของงาน] 101 Thai Forms – วิจิตร อภิชาติเกรียงไกร – 4d What is art…

  • Language is What Culture Looks Like

    Typographics อนิเมชันโดย Boca (a.k.a. Marcos Ceravolo) และ Ryan Uhrich หลักสูตรออกแบบดิจิทัล Vancouver Film School ในตอนต้นของหนัง มีคำพูดนี้: “Typography is What Language Looks Like” — Ellen Lupton Ellen Lupton เป็นนักออกแบบกราฟิก นักเขียน ภัณฑารักษ์ และนักการศึกษา เธอเป็นหนึ่งในกลุ่มนักออกแบบ 33 คน ที่ร่วมลงชื่อในคำประกาศ First Things First 2000 manifesto (อ่าน) ซึ่งเป็นการตั้งคำถามถึง คุณค่า ของการออกแบบ นักออกแบบควรจะคำนึงถึงคำถามทางสังคมการเมืองหรือไม่ นักออกแบบควรจะวิพากษ์และประกาศจุดยืนในงานของตัวเองหรือไม่ ตัวอย่างเช่น จะไม่โฆษณาสินค้าหรืออุตสาหกรรมที่เป็นอันตรายต่อสังคม ซึ่งนี่คือคำถามที่นำไปสู่คำถามในเชิงต่อสู้ที่ว่า นักออกแบบและการออกแบบ จะต้านทาน cultural hegemony การครอบงำผูกขาดทางวัฒนธรรม หรือไม่ อย่างไร Thinking with…

  • Dr. Sa-nguan life and thoughts

    จากหนังสือ งานกับอุดมคติของชีวิต นพ.สงวน นิตยารัมภ์พงศ์ (หน้า 3-5) … ผมเข้าร่วมขบวนการกิจกรรมนักศึกษาตั้งแต่ก่อนเหตุการณ์ 14 ตุลา 2516 จนกระทั่งขบวนการกิจกรรมนักศึกษาถูกทำลายในวันที่ 6 ตุลา พ.ศ. 2519 แม้ว่าจะไม่ใช่ประเภทมือไมค์ไฮปาร์ค ซึ่งไม่ใช่สไตล์ของนักศึกษามหิดล แต่เราก็มีรูปแบบกิจกรรมที่ไปเสริมกับนักศึกษามหาวิทยาลัยอื่น ๆ ในแนวทางของเรา ที่ผมมองว่าสังคมนักศึกษาขณะนั้นเป็นสังคมอุดมคติ ก็เพราะในขณะนั้นชีวิตนักศึกษาเป็นสังคมรวมหมู่ที่ทุกคนช่วยเหลือซึ่งกันและกัน เอาใจใส่ซึ่งกันและกัน โดยมีเป้าหมายอย่างเดียวกันก็คือ การที่จะสร้างสังคมที่เป็นธรรม และก็ทำให้ประเทศชาติเป็นประเทศที่มีความยุติธรรม ประชาชนทุกคนมีศักดิ์ศรี ไม่ถูกทอดทิ้ง ผมจำได้ว่ารู้สึกรักและนับถือเพื่อนนักศึกษาหลาย ๆ คน โดยเฉพาะผู้ที่ทุ่มเทชีวิตทั้งกายและใจเพื่อที่จะรับใช้ประชาชน ซึ่งแรงบันดาลใจและตัวอย่างจากคนเหล่านี้ ทำให้ผมมีแนวคิดและมีความฝังใจว่า อยากจะเห็นสังคมรวมหมู่ที่ดีที่ทุกคนแบ่งปันเอื้อเฟื้อซึ่งกันและกัน ซึ่งแนวความคิดนี้เป็นฐานคิดที่สำคัญของระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าที่ว่า เราจะไม่ปล่อยให้พี่น้องในสังคมเดียวกันนี้ต้องป่วยตายและตายไปโดยไม่ได้รับการดูแลด้วยเหตุว่าเขาไม่มีเงิน … เมื่อมีการปราบปรามนักศึกษาผมเองก็มีชื่ออยู่ในบัญชีที่ต้องถูกจับกุมเช่นเดียวกับเพื่อนนักกิจกรรมคนอื่น ๆ อีกหลายคน ในเวลานั้นพวกเราแต่ละคนต้องตัดสินใจเลือกทางชีวิตของตัวเอง ในจำนวนไม่กี่ทางเลือกที่มี ผมตัดสินเลือกที่จะอยู่ต่อสู้ในเมืองต่อไป แม้ว่าต้องหลบซ่อนตัวอยู่ระยะหนึ่งก็ตาม ในขณะที่เพื่อน ๆ จำนวนหนึ่งเลือกที่จะไปจากเมืองเพื่อต่อสู้กับรัฐบาล … นอกจากนั้น ความที่ผมไม่ถูกจับ แม้จะมีรายชื่อตามจับของทางการอยู่ ทำให้ผมไม่สามารถจะได้รับพระราชทานปริญญาบัตรต่อหน้าพระพักตร์สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว การรับปริญญาต่อหน้าพระพักตร์และมีรูปถ่ายไปติดที่บ้าน…

  • 2551

    ปีที่ผ่านมา อ่านหนังสือ (หนังสือ นสพ. เว็บ ทุกอย่าง) น้อยลงอย่างเห็นได้ชัด (ซื้อมากขึ้น อ่านน้อยลง) ความรู้ ไอเดียที่ได้จาก 2549 ดูจะใช้ไปหมดแล้วใน 2550 ส่วน 2551 นี้ ยังนึกไม่ออก ว่าจะเอาจากไหน เพราะที่เก็บมาใน 2550 ดูท่าจะไม่พอ 2549-2550 ทั้งปี ช่วงก่อนกลับมากรุงเทพ และหลังจากนั้นหนึ่งปี ดูจะเป็นช่วงที่กระจัดกระจายทางความคิดมาก สำหรับผม วิ่งออกไปทุกทางที่อยากไป นึกถึง ไม่มีอะไรที่โฟกัสชัดเจนมาก ๆ ปีนี้ควรจะลองเก็บเอาทุกอย่างที่ได้ลอง ได้เล่น ในสองปีที่ผ่านมา มาผสมกันให้มันตกผลึกมากกว่านี้เสียหน่อย ให้เวลากับเรื่องใดเรื่องหนึ่งให้นานขึ้น มากขึ้น หนักขึ้น ลึกชึ้น หรือไม่ก็หายไปเลย technorati tags: way

  • Understanding Language Understanding

    ชอบชื่อหนังสือเล่มนี้จริง ๆ – -“ Understanding Language Understanding: Computational Models of Reading Ashwin Ram and Kenneth Moorman (Ed.) MIT Press, Cambridge, MA, 1999. ISBN 0-262-18192-4 | Google Book Search technorati tags: books, computational linguistics, language understanding, creative reading

  • Criticism

    ที่เคยว่าไว้ เรื่องมีหนังสือเกี่ยวกับการวิจารณ์เยอะแยะเลย ในงานหนังสือที่ผ่านมา วันนี้เอารายการมาให้ดูดีกว่า เกือบทั้งหมดเอามาจากรายชื่อหนังสือ จากบูทของ สกว. Criticism as Cross-Cultural Encounter, เจตนา นาควัชระ การวิจารณ์ทัศนศิลป์ : ข้อคิดของนักวิชาการไทย, เก่ากับใหม่ อะไรไหนดี : มนุษศาสตร์ไทยในกระแสของความเปลี่ยนแปลง, เจตนา นาควัชระ จากแผ่นดินแม่สู่แผ่นดินอื่น : รวมบทความวิชาการและบทวิจารณ์, เจตนา นาควัชระ จากศิลปะสู่การวิจารณ์ : รายงานการวิจัย ตามใจฉัน-ตามใจท่าน : ว่าด้วยการวิจารณ์และการวิจัย, เจตนา นาควัชระ ทางสายใหม่แห่งวรรณกรรมไทย : ทัศนะวิจารณ์ต่อนวนิยายยุคแรก, สุวรรณา เกรียงไกรเพ็ชร (บรรณาธิการ) พลังการวิจารณ์ : ทัศนศิลป์ พลังการวิจารณ์ : วรรณศิลป์, รื่นฤทัย สัจจพันธุ์ พลังการวิจารณ์ : ศิลปะการละคร, ปาริชาติ จึงวิวัฒนาภรณ์ พลังการวิจารณ์…