-
Thailand’s Corruption Perceptions Index 2002-2009: Thaksin, Coup, Military, Abhisit
อัปเดต: คำอธิบายกราฟงบประมาณกองทัพ: แก้ไขหน่วยเงินเป็นเหรียญสหรัฐ (USD), เดิมใส่ผิดเป็นบาท (THB). เพิ่มลิงก์ เอแบคโพลล์, นายกตอบคำถามเรื่องปัญหาคอร์รัปชัน (วิดีโอ) จากข้อมูลของ Transparency International นี่คือกราฟแสดงดรรชนีชี้วัดภาพลักษณ์คอร์รัปชัน (CPI) จากปี 2545-2552: เครดิต: กราฟพล็อตโดย คุณหนูเอง โดยใช้ข้อมูลจาก Corruption Perceptions Index 2009 อ่านทื่อ ๆ ตามกราฟได้ว่า: ดัชนี CPI ชี้ว่า ช่วงปี 2545-2548 ระหว่างสมัยรัฐบาลทักษิณ ภาพลักษณ์การคอร์รัปชันลดลงตามลำดับ. กระทั่งปี 2549 ปีที่รัฐประหาร ภาพลักษณ์การคอร์รัปชันกลับมาขยายตัวอีกอย่างรวดเร็ว ต่อเนื่องถึงปี 2550. พอปี 2551 สมัยรัฐบาลสมัคร รัฐบาลสมชาย ภาพลักษณ์การคอร์รัปชันลดลงอีกครั้ง (อภิสิทธ์เป็นนายก 17 ธ.ค. 2551, หลังการประกาศ CPI 2008/2551). ปี 2552…
-
computer crime?
ความผิดตามกฎหมายนั้น มีทั้งที่เป็น ความผิดอาญา (crime) และความผิดที่ไม่ใช่อาญา หากจะพิจารณาว่า อะไรควรจะนับเป็น อาชญากรรมคอมพิวเตอร์ (computer crime) และอะไรที่จะนับเป็นเพียง ความผิดที่เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ เราจำเป็นจะต้องพิจารณาว่า อะไรคือ ความผิดอาญา และอะไรที่ไม่ใช่ บางส่วนจากบทความ การกำหนดความผิดอาญา ตามกฎหมายเยอรมัน – สุรสิทธิ์ แสงวิโรจนพัฒน์ ที่ BioLawCom.de เพื่อการศึกษาแนวคิดในการกำหนดความผิดอาญา ในประเทศอื่น ในการถกเถียงเกี่ยวกับข้อปรับปรุงกฎหมายอาญาเมื่อสิบปีก่อนนั้น ประเด็นที่ว่า กฎหมายอาญาควรที่จะมีไว้เพื่อคุ้มครองนิติสมบัติเท่านั้น เป็นสิ่งที่มีบทบาทสำคัญมาก กล่าวคือ กฎหมายอาญาควรที่จะมีไว้เพื่อคุ้มครองเฉพาะ “สมบัติ” (บางประการที่กำหนดไว้เท่านั้น อย่างเช่น ชีวิต (มาตรา 211 เป็นต้นไป), ความปลอดภัยของร่างกาย (มาตรา 223 เป็นต้นไป), ชื่อเสียง (มาตรา 185 เป็นต้นไป) การที่กฎหมายอาญามีหน้าที่ในการให้ความคุ้มครองนิติสมบัติ หรือสิ่งที่กฎหมายประสงค์จะคุ้มครองนั้น ทำให้ความสงบเรียบร้อยของสังคมเป็นจริงขึ้นมาได้ จึงกล่าวได้ว่ากฎหมายอาญาเป็นระเบียบแห่งการคุ้มครองและระเบียบสันติภาพ ที่มีรากฐานมาจากระเบียบแห่งคุณค่าในทางจริยศาสตร์สังคมของรัฐธรรมนูญ จากรากฐานความสัมพันธ์ดังกล่าวทำให้กฎหมายอาญามีภารกิจในการที่จะให้ความคุ้มครองแก่คุณค่าพื้นฐานของการมีชีวิตอยู่ร่วมกันในสังคม, การคงไว้ซึ่งความสงบเรียบร้อยของสังคม และ…
-
Thai political timeline แผนผังการเมืองไทย โดย ThaisWatch.com
แผนผังการเมืองไทย (timeline เลื่อนไปมาได้) โดย ศูนย์ข้อมูลนักการเมืองไทย ThaisWatch.com [via @iPattt] technorati tags: Thailand, politics, timeline, visualization
-
Thai laws and regulations on official document/information administration and archives
กฎหมาย กฎกระทรวง และระเบียบ ที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลข่าวสารของรัฐ โดยเฉพาะที่เกี่ยวกับการเก็บรักษาและการทำลายเอกสาร – เอกสารอิเล็กทรอนิกส์ พระราชบัญญัติ ข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540 ระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ. 2526 — มี หมวด 3 ว่าด้วย การเก็บรักษา ยืม และทำลายหนังสือ ระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยงานสารบรรณ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2548— แก้ไขเพิ่มเติมฉบับ พ.ศ. 2526 ที่สำคัญคือ: เพิ่มนิยามคำว่า อิเล็กทรอนิกส์ (การประยุกต์ใช้วิธีการทางอิเล็กตรอน ไฟฟ้า คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า หรือวิธีอื่นใดในลักษณะคล้ายกัน และให้หมายความรวมถึงการประยุกต์ใช้วิธีการทางแสง วิธีการทางแม่เหล็ก หรืออุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับการประยุกต์ใช้วิธีต่าง ๆ เช่นว่านั้น) และ ระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ (การรับส่งข้อมูลข่าวสารหรือหนังสือผ่านระบบสื่อสารด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์) ลดอายุเอกสารก่อนที่จะให้ส่วนราชการส่งหนังสือเข้าหอจดหมายเหตุ จากเดิม 25 ปี เหลือ 20 ปี (=จัดส่งเข้าหอฯเร็วขึ้น)…
-
ชมรมผู้ผลิตข่าวออนไลน์: พิทักษ์สิทธิตัว มั่วสิทธิคนอื่น?
เพิ่มเติม: 2009.10.12 – เสียงในอินเทอร์เน็ต เกี่ยวกับเรื่องนี้ จากพันทิป.คอม และ ทวิตภพ (ล่างสุด) หลังจากสื่อหลักรวมตัวจัดตั้ง ชมรมผู้ผลิตข่าวออนไลน์ กันไป (ข่าว: ประชาไท ไทยโพสต์ ไทยรัฐออนไลน์) เนื่องจากต้องการรวมตัวกันรักษาสิทธิของตัว ในเรื่องการถูกละเมิดลิขสิทธิ์ โดยเฉพาะจากเว็บท่า (portal site) ทั้งหลาย ที่คัดลอกเนื้อหาที่มีลิขสิทธิ์ไปใช้ฟรี ๆ แถมตัดราคาโฆษณาแข่งกับเว็บไซต์หนังสือพิมพ์อีก ผมสนับสนุนการปกป้องสิทธิของตัวเอง ของบรรดาสมาชิกชมรมผู้ผลิตข่าวออนไลน์ ผู้สร้างสรรค์ผลงานควรมีสิทธิในงานของตัว ในส่วนที่เขาได้สร้างสรรค์เพิ่มเติมขึ้นมา อันที่จริง บล็อกเกอร์ ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตต่าง ๆ ก็ถูกทั้งเว็บท่าและเว็บไซต์ของสื่อเอง ละเมิดลิขสิทธิ์อยู่เรื่อย ๆ มาโดยตลอดเช่นกัน (ตัวอย่างเว็บท่า1, ตัวอย่างเว็บท่า2, ตัวอย่างสื่อ1, ตัวอย่างสื่อ2) เพียงแต่ส่วนใหญ่ไม่มีกำลังจะไปเรียกร้องอะไรได้มากนัก โดยไม่กระทบกับการดำเนินชีวิตประจำวันเขาพวกเขา นาน ๆ จะมีฮึดอย่าง @iannnn บ้าง (ภาคแรก, สอง, สาม) แต่ก็เห็นได้ว่า มันเหนื่อย ใช้เวลา และความพยายามมากมายแค่ไหน…
-
‘อ่าน’ อีกรอบ: ตอบ @Oakyman เรื่องโชว์ของ @suthichai และ @PM_Abhisit
ต่อเนื่องจากบล็อกเรื่อง สิทธิชัย หยุ่น สัมภาษณ์ นายกอภิสิทธิ์ ผ่านทวิตเตอร์, มีคำถามมา ผมตอบ : @Oakyman: @nopparat @bact คนเพิ่งหัดใช้ twitter จะใช้ @ เพื่อ reply เป็นเหรอ? บนหน้าเว็บมันมีปุ่ม update อยู่ปุ่มเดียวนิ เห็นใจ @PM_Abhisit หน่อยเถอะ @bact: @Oakyman ถ้าพูดแบบนั้น คือ @suthichai นี่ไม่น่าเห็นใจใช่ป่ะ @Oakyman: @bact เห็นด่าแต่ทั่นนายกฯ หนะ อย่างน้อยคุณ @suthichai เค้ายัง rt เป็นนะ @bact: @Oakyman ไม่ได้ด่าใครนะ เรายกคำพูดต่างๆ ที่เห็นว่า mode สื่อสารของ @PM_Abhisit และ @suthichai ยังเป็น mode “คุยกันแค่สองคน” มาน่ะ @bact:…
-
@suthichai และ @PM_Abhisit แสดงสด-ออนไลน์-เพื่อออฟไลน์
ด้านล่างนี้คือการ ตัดต่อ เลือกแสดง ความคิดเห็นจากทวิตภพ ช่วงสามทุ่มครึ่ง 7 ก.ย. 2552 @suthichai สัมภาษณ์ @PM_Abhisit ทางทวิตเตอร์ @nopparat: อ่าน Tweeterview รายการในวันนี้ สงสัยว่าไม่มีใครใช้ reply เป็นเลยหรือไงวะ @PM_Abhisit: ช่อง9จบแล้วครับ ให้ผมเข้านอนได้รึยังครับ @up2gu: @PM_Abhisit ไปหลังจากช่อง 9 เลิกถ่ายทอด เพราะความเพลียจริงๆ หรือหมดประโยชน์ที่จะพูดกับสื่อที่ไม่ใช่ฟรีทีวีแล้ว? @mormmam: ส่วนคนดูก็สรุปได้ว่า อืมม มวยล้มต้มคนดู กูนั่งดูปาหี่ นี่หว่า @AdmOd: สิ้นหวังแล้ว! สิ้นหวังกับทวิตเตอร์แล้ว! @kohsija: นี่ เจ้าของเว็บต้องทำแบบนี้ คน follow จะได้เพิ่มเร็วๆ http://komchadluek.net/ ครั้งแรกของโลก สุทธิชัย หยุ่น คนข่าว digital พันธุ์ใหม่ สัมภาษณ์อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ผ่าน…
-
หนีตามกาลิเลโอ / ผู้มาก่อนกาล / ที่เมืองไทยไม่ต้องการ
หาก คนยังคงยืนเด่นโดยท้าทาย ในสังคม คนดีเมืองไทยไม่ต้องการ ไม่ไหว ทางหนึ่งคือ หนีตามกาลิเลโอ ไปเป็น ยิปซี ร่อนเร่ เฮ็ดในสิ่งที่เซื่อ พิสูจน์ความเชื่อของตัว … แต่ทุกอย่างไหม ที่ทำแบบนั้นได้ มีอะไรบ้างไหม ที่จำเป็นต้องสู้ที่นี่ สู้จากข้างใน — ข่าวเมืองไทยต้อนรับแสดงความยินดีกับ เภสัชกร กฤษณา ไกรสินธุ์ ทำให้ผมนึกถึงกลอนบทนี้: พ่อสร้างชาติด้วยสมองและสองแขน พ่อสร้างแคว้นธรรมศาสตร์ประกาศศรี พ่อของข้านามระบือชื่อปรีดี แต่คนดีเมืองไทยไม่ต้องการ คุณจะทำดีทำเด่น ทำอะไรก้าวหน้าก็เถอะ ถ้ามันเข้ากับระบบเก่า ระบบที่มีอยู่เดิมไม่ได้ คุณก็จะไม่ได้รับการยอมรับ – โชคยังดี ที่ในโลกสมัยนี้ โอกาสในการออกนอกประเทศหนึ่งไปทำงานที่อื่น มันเปิดกว่าเดิม โดยเฉพาะถ้าเป็นงานที่ไม่ได้ติดกับพื้นที่ ทำให้คนที่ทำงานจริงจัง สามารถได้รับการยอมรับในที่อื่น แม้บ้านเกิดที่เขาอยากทำงานให้ จะไม่เหลียวแล (แต่ขอเฮด้วยตอนดังแล้ว) — ใน Another week of trying to comprehend fuzzy politics บทความโดย…
-
อันล่วงละเมิดมิได้ the Untouchable ?
จาก ร่างพระราชบัญญัติอุปถัมภ์และคุ้มครองพระพุทธศาสนา อีกหนึ่งกฎหมายที่ถูกดัน เข้าสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ซึ่งถูกตั้งขึ้นหลังรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 (มีกฎหมายจำนวนมากถูกนำเข้าสนช.ในช่วงนั้น กฎหมายจำนวนมากที่ผ่านออกประกาศใช้จากการนำเข้าพิจารณาในช่วงนั้น เป็นกฎหมายที่ในเวลาปกติน่าจะผ่านออกมาลำบาก จะต้องมีการอภิปรายหรือถูกตรวจสอบจากสังคมอย่างมากแน่) มีอยู่ร่างหนึ่งจาก พ.ศ. 2551 มีมาตรานี้: มาตรา 40 ผู้ใดโฆษณาหรือไขข่าวด้วยประการใด ๆ ด้วยภาพ ตัวอักษร หรือข้อความที่ทำให้ปรากฏ ไม่ว่าด้วยวิธีใด ๆ หรือกระทำการกระจายเสียงหรือกระจายภาพ หรือกระทำการป่าวประกาศโดยวิธีอื่นเกี่ยวกับพระพุทธศาสนา พระภิกษุ สามเณร บรรพชิต หรือแม่ชี อันเป็นเหตุให้เกิดความเสื่อมเสียหรือเสียหายต่อพระพุทธศาสนา หรือเป็นเหตุให้พระภิกษุ สามเณร บรรพชิต หรือแม่ชี แล้วแต่กรณี เสื่อมเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่นหรือถูกเกลียดชัง ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ปัจจุบัน ร่างพ.ร.บ.ดังกล่าว มีหลายร่างจากหลายองค์กร ติดตามความเคลื่อนไหวได้ที่เว็บ phrathai.net หลายมาตราถูกเพิ่มเข้าเอาออกหรือแก้ไข อย่างไรก็ตาม ไม่ว่ามาตรา 40 อย่างในร่างข้างต้น สุดท้ายจะไปโผล่ในกฎหมายฉบับจริงหรือไม่ แต่มันก็สะท้อนได้ว่า…