Category: Rights & Freedom

  • Netizen Unite!

    ศิริพร สุวรรณพิทักษ์ (ปุ๊ก) เว็บมาสเตอร์ 212cafe.com ได้ประกันตัวแล้ว — หลังนอนในห้องขังหนึ่งคืน อ่านบล็อกของปุ๊ก: 212cafe.com เป็นข่าว! เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ หนังสือพิมพ์ มติชน ออนไลน์ และ ผู้จัดการ ออนไลน์ ลงข่าวชวนเข้าใจผิด และตัดสินปุ๊กไปแล้วในข่าว-โดยไม่ได้ตั้งอยู่บนหลักฐานที่ปรากฎ มติชนพาดหัวว่า “จับเว็บมาสเตอร์เว็บโป๊ แพร่ภาพคลิปลับว่อนเน็ต” ถ้านักข่าวมติชนใช้เวลาสักหนึ่งนาทีดูเว็บไซต์ 212cafe.com เสียหน่อย ก็จะรู้ว่ามันไม่ใช่เว็บโป๊ (เว็บไซต์ที่มีแต่ภาพโป๊หรือเนื้อหายั่วยุทางเพศ) ผู้จัดการพาดหัวว่า “ปดส.จับเจ้าของเว็บลามก แพร่ภาพเริงรักหนุ่มสาว” พร้อมลงรูปประกอบข่าว รูปหนึ่งเป็นภาพจับหน้าจอจากเว็บโป๊แห่งหนึ่ง-ซึ่งไม่ใช่ 212cafe.com ชวนให้ผู้อ่านเข้าใจผิดว่านั่นเป็นภาพที่จับหน้าจอมาจากเว็บ 212cafe.com (ล่าสุดได้มีการเปลี่ยนรูปแล้ว-แต่ไม่ได้แจ้งว่ามีการเปลี่ยนเกิดขึ้น) อันนั้นเป็นเรื่องของการนำเสนอในสื่อ-การตัดสินโดยพาดหัว อีกเรื่องก็คือ มาตรฐานในการจับกุมดำเนินคดีหรือการ “ขอความร่วมมือ” เรื่องที่เกี่ยวกับอินเทอร์เน็ตและพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ ที่ผ่านมาการ “ขอความร่วมมือ” มีในลักษณะด้วยจาวาทางโทรศัพท์บ่อย ๆ คำถามคือ มันเป็นเรื่องที่ยอมรับได้ไหม กับการบอกกล่าวด้วยวาจา ทางโทรศัพท์ ที่ไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่า อีกฝากหนึ่งของโทรศัพท์ ที่ขอความมือมานั้น เป็นใคร มีตำแหน่งหน้าที่เกี่ยวข้องในเรื่องนั้น…

  • The Hague Declaration, call for signers

    Support free and open information standards, for transparency, for equality, for participatory, for communication rights, for information freedom, and for freedom of expression. — please consider signing the The Hague Declaration. ขอเชิญพิจารณาและร่วมลงชื่อใน “คำประกาศเฮก” (The Hague Declaration) เพื่อสนับสนุนมาตรฐานดิจิทัลแบบเปิดและเสรี และเรียกร้องให้รัฐบาลทั่วโลกใช้และส่งเสริมมาตรฐานแบบเปิดและเสรี เพื่อความเท่าเทียมและโปร่งใสในการเข้าถึงข้อมูล มีส่วนร่วมในการปกครอง และใช้บริการของรัฐ ผ่านทางระบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Government) โดยไม่ถูกเลือกปฏิบัติ ตามสิทธิและเสรีภาพของเราใน ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน และตามรัฐธรรมนูญ มาตรา ๕๖ บุคคลย่อมมีสิทธิได้รับทราบและเข้าถึงข้อมูลหรือข่าวสารสาธารณะ ในครอบครองของหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่น เว้นแต่…

  • on press(ed)

    “The worst kind of censorship is self-censorship.” Short interviews/comments I gave (together with others) in recent months. For the records. Blogging the Coup By Dustin Roasa Columbia Journalism Review Short Takes, 10 April 2008 Bloggers don’t predict stability By Pravit Rojanaphruk The Nation, 22 December 2007 (Bangkok Pundit covered this) บทสัมภาษณ์ [PDF] กองบรรณาธิการ จดหมายข่าวปฏิรูปสื่อ, คณะกรรมการรณรงค์เพื่อการปฏิรูปสื่อ,…

  • Out of 20, we got 1 1/2. Ok, that’s something. Move on.

    Office of the Official Information Commission (O.I.C.) asked Ministry of Information and Communication Technology to reveal names of people who MICT has contacted with for blocking business (item no.12) and partially-disclosed blocklist (item no.15), as requested by an Internet freedom group, Freedom Against Censorship Thailand. MICT admitted that it has blocked 1,893 websites before the…

  • standing-o-nation

    มันไม่ใช่เรื่อง จะ xxx หรือไม่ xxx มันคือเรื่อง ถ้ามีคน xxx หรือไม่ xxx ท่าทีของคุณต่อเขาจะเป็นยังไง ? คุณจะปกป้องสิทธิของคนที่ คิดเห็นไม่เหมือนคุณหรือกระทั่งขัดแย้งกับคุณ รึเปล่า ? หนังเรื่อง “แสงศตวรรษ” (และหนังอื่น ๆ จาก Kick The Machine) ที่ฉายในโรง ก่อนฉาย มีหนังสั้น ๆ เรื่องหนึ่งนำ … เปิดฉากสั้น ๆ ด้วยสาว ๆ กำลังจิบน้ำชาคุยกันที่ศาลาริมน้ำ เพื่อนคนหนึ่งชวนให้ฟังซีดีเพลงสรรเสริญ ที่เพลงไปเจิมปลุกเสกมา พร้อมอวดว่าจะเอาไปเปิดที่โรงหนัง ความศักดิ์สิทธิ์จะกระจายแผ่ออกไปทั่วโรงหนัง นั่นประไร ดังไปถึงอีกฝั่งคลองโน่น และที่เหลือของหนัง ก็บรรเลงเพลงสรรเสริญที่ว่า เป็นฉากในโรงยิม มุมมองของภาพหวุนวนไปรอบ ๆ โรงยิม เผยให้เห็นกิจกรรมทุกอย่างที่เกิดขึ้นพร้อม ๆ กันในโรงยิม คนตีแบตกัน ที่กลางคอร์ทสาว ๆ ที่ศาลาริมน้ำตะกี้นี้ มานั่งร้อยมาลัยกัน…

  • YouTube – "This video is not available in your country"

    YouTube ถูกเซ็นเซอร์ครับ เป็นการเซ็นเซอร์ตัวเอง (self-censorship) ของ YouTube ซึ่งก็อย่างที่เราทราบ เป็นไปตามข้อตกลงของรัฐบาลไทย โดยกระทรวงไอซีที กับทางกูเกิล ที่ทางรัฐบาลไทยสามารถร้องขอให้ทาง YouTube ปิดการแสดงวิดีโอชิ้นใดก็ได้ … วิเศษครับ This video is not available in your country. Oh, thank you for reminding me that I’m in Thailand. http://youtube.com/watch?v=70m1ncXQjXA No matter what it is, the question is that, why I can’t judge it myself whether I want to see it…

  • Open Document Standard, e-Government, and Universal Information Access

    ต่อเรื่อง open document standard มาตรฐานเอกสารแบบเปิด ที่ใน duocore ตอนที่ 66 ลืมพูด/เวลาไม่พอเลยข้ามไป open standard นี่ ทั้งตัว format และ protocol ทุกอย่างที่เกี่ยวข้องเลยนะ มาตรฐานเอกสารแบบเปิด กับระบบรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (e-Government) เช่นเรื่อง backoffice ระบบบริหารจัดการข้อมูลของระบบราชการ หน่วยงานรัฐ ที่ต้องประมวลผลเอกสารมาก ๆ ทั้งภายในหน่วยงานเอง ระหว่างหน่วยงานรัฐ และกับภาคเอกชน ประชาชน ถ้าไม่ใช่ฟอร์แมตเปิด การสร้างซอฟต์แวร์ระบบที่จะอ่าน/เขียนเอกสารเหล่านั้นได้อย่างอัตโนมัติ ก็ลำบาก (ต้อง reverse engineering แกะสเปกกันวุ่นวาย) แถมยังไม่สามารถมั่นใจเต็ม 100% ได้ว่าจะอ่าน/เขียนได้ตรงเป๊ะ ซึ่งก็อาจทำให้ข้อมูลบางอย่างตกหล่นสูญหายได้ ยิ่งคิดว่าในกระบวนการทำงานจะต้องมีการส่งเอกสารกันหลายทอด อ่าน/เขียนกันหลายรอบ ก็เป็นไปได้ที่การสูญหายดังกล่าวจะสะสมเยอะขึ้นได้ด้วย มาตรฐานเอกสารแบบเปิด กับการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารถ้วนหน้า (universal information access) นอกจากนี้ กรณีที่สเปกรูปแบบเอกสารที่มันปิด ไม่ได้เป็นมาตรฐานเปิด ก็ทำให้มีโอกาสอยู่มาก ที่จำนวนโปรแกรมที่จะมาอ่าน/เขียนเอกสารเหล่านั้นได้…

  • Burmese Anti-Blogging Measures

    Niknayman (ต้องลงฟอนต์พม่าก่อน ถึงจะอ่านได้) บล็อกพม่าที่รายงานเหตุการณ์ลุกฮือในพม่าเมื่อกันยาปีที่แล้ว รายงานว่า: รัฐบาลทหารพม่า ใช้เทคนิควิธีหลายอย่าง เพื่อสกัดกั้นบล็อกเกอร์/ผู้สื่อข่าวพลเมืองในอินเทอร์เน็ต วิธีมีตั้งแต่การปิดกั้นให้เข้าบล็อกไม่ได้ การแทรกคำต่าง ๆ เข้าไปในบล็อก การเปลี่ยนทางลิงก์ในบล็อก (ไปโผล่เว็บโป๊แทน) ไปจนถึงการพยายามทำให้อินเทอร์เน็ตช้าลง เพื่อผู้ใช้อินเทอร์เน็ตจะได้เข้าถึงบล็อกและเว็บไซต์เหล่านั้นไม่ได้ Committee to Protect Bloggers: Report on Anti-Blogging Measures from Burmese Blogger Irrawaddy: Burmese Regime Attacks Bloggers (รายงานเข้า iReport) เพิ่มเติม (2008.01.26): จากที่เพื่อนชาวพม่าเล่าให้ฟัง รัฐบาลทหารได้ควบคุมการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตในพม่าอย่างเข้มงวดมากขึ้น หลังเหตุการณ์ลุกฮือดังกล่าว เพื่อป้องกันไม่ให้มีการรายงานสถานการณ์ใด ๆ ไปยังนอกประเทศ เนื่องจากโครงสร้างพื้นฐานอินเทอร์เน็ตของพม่ายังไม่ทั่วถึง การใช้อินเทอร์เน็ตส่วนใหญ่จึงทำที่ร้านอินเทอร์เน็ต ซึ่งรัฐบาลทหารก็มีคำสั่งให้ร้านอินเทอร์เน็ตทุกร้าน ห้ามไม่ให้ผู้ใช้นำอุปกรณ์ใด ๆ มาใช้กับคอมพิวเตอร์ของร้าน เพื่อป้องกันการส่งไฟล์ภาพหรือข้อมูลใด ๆ (จากกล้องหรือแฟลชไดรว์) และบังคับให้ร้านอินเทอร์เน็ตจะต้องจับภาพหน้าจอของคอมพิวเตอร์ทุกเครื่อง ทุก ๆ 15…

  • การสูญเสียความสามารถในการแข่งขันของไทย หลังพ.ร.บ.คอมฯ

    ปตท.เขาถามเราบ่อย ๆ (ในโฆษณา) ว่า ประเทศเราจะอยู่ตรงไหนในแผนที่โลก ? สงสัยต้องถามปตท.กลับ ว่า แผนที่โลกยุคไหนล่ะพี่ ? ด้วยกฎหมายต่าง ๆ ของเมืองไทยในปัจจุบัน ที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาในอินเทอร์เน็ต และผู้จะต้องร่วมรับผิดชอบหากพบว่ามีเนื้อหาใด ๆ ผิดกฎหมาย (แม้จะไม่ใช่ของตัวก็ตาม) ผมไม่แน่ใจว่า นี่จะทำให้โอกาสของประเทศไทย ที่จะเป็นศูนย์กลางธุรกิจ สื่อดิจิทัล และ ดาต้าเซนเตอร์ ในระดับภูมิภาค กระทบหรือไม่ ทั้งนี้รวมถึงธุรกิจเกี่ยวเนื่อง เช่น บริการเทคโนโลยีสารสนเทศ ซอฟต์แวร์ ศูนย์ข่าว (อย่างพวกรอยเตอร์ เอพี บลูมเบิร์ก) ศูนย์กระจายข้อมูล และ โครงข่ายสื่อสาร ด้วย ผมไม่แน่ใจนัก แต่คิดว่า ที่ผ่านมา ที่สำนักข่าวบางแห่ง เลือกที่จะตั้งศูนย์ภูมิภาคที่กรุงเทพ และไม่ใช่สิงคโปร์ เพราะที่ผ่านมา ชื่อเสียงเรื่องเสรีภาพสื่อของเมืองไทยดีมาก ดีกว่าทุกประเทศในภูมิภาคนี้อย่างชัดเจน — แต่ปัจจุบันนี้คงไม่ใช่แล้ว คือโดยสาธารณูปโภค โครงข่ายสื่อสาร เราคงไปสู้มาเลเซีย หรือสิงคโปร์ ไม่ได้อยู่แล้ว แต่ในอดีตเขาก็สู้เราไม่ได้เหมือนกัน…

  • decentralized/distributed Internet censorship on the work in Thailand

    ประชาไท, ปิดเว็บไซต์ฟ้าเดียวกัน อ้างหมิ่นฯ (อีกแล้ว), ประชาไท, 5 ม.ค. 2551 เว็บไซต์สำนักพิมพ์ฟ้าเดียวกันถูกปิด (ลองเข้าตั้งแต่เมื่อคืนวันที่ 4 ม.ค. เข้าไม่ได้ ไม่แน่ใจว่าเข้าไม่ได้ตั้งแต่ตอนไหน) บริษัทโฮสติ้งขอยกเลิกบริการ หลังถูกบริษัทดาต้าเซ็นเตอร์ที่บริษัทโฮสติ้งเช่าพื้นที่อยู่ปิดเซิร์ฟเวอร์ทั้งหมด ส่งผลให้เว็บไซต์รายอื่น ๆ ไม่สามารถดำเนินการได้ โดยอ้างว่า สำนักพิมพ์ฟ้าเดียวกันซึ่งเป็นหนึ่งในเว็บไซต์ที่ให้บริการอยู่นั้น มีการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ทำให้บริษัทโฮสติ้งจำเป็นต้องปิดเว็บไซต์ฟ้าเดียวกัน เข้าแก๊ป พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ เป๊ะ เป๊ะ การที่เว็บโฮสติ้งและผู้ให้บริการที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ จะต้องได้รับผิดไปด้วย ทำให้เกิดความกลัว ความผิดในประเด็นคลุมเครือ ตีความได้กว้างขวาง และเจ้าทุกข์ไม่จำเป็นต้องฟ้องเองก็ได้ ความกลัวที่จะต้องพลอยยุ่งยากกับข้อกล่าวหาความผิดนี้ไปด้วย (ไม่ว่าจะผิดจริงหรือไม่ก็ตาม) จึง “กันไว้ดีกว่าแก้” “ไม่อยากมีเรื่อง” “ตัดไฟแต่ต้นลม” ขอยกเลิกบริการเสียเลย ยินดีต้อนรับสู่ Thai Wide Web! เว็บบอร์ดฟ้าเดียวกัน (ชั่วคราว) http://getmorestudio.com/samesky/ กานต์ ยืนยง, การปิดเว็บไซต์ฟ้าเดียวกันเป็นเรื่องควรยินดี, พลวัต, 6 ม.ค. 2551…