Category: Rights & Freedom

  • [29 Mar] TNN’s brown bag meeting ชิมไปบ่นไป

    เครือข่ายพลเมืองเน็ต นัดคุยไปกินไป ครั้งที่ 1 ณ ห้องประชุม GM Hall ศศนิเวศ (ตรงข้ามเรือนไทย) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (ด้านข้าง MBK) อาทิตย์ 29 มีนาคม 2552 เปิดห้อง 12:30 น. เป็นต้นไป พบปะในแบบ brown bag meeting ในมื้อเที่ยงวันอาทิตย์ ทุกคนนำของกินที่ชอบติดไม้ติดมือกันมา เราจะคุยกันไปกินกันไป มีเครื่องดื่มง่าย ๆ บริการ หัวข้อกว้าง ๆ ที่ตั้งไว้คือ “เสรีภาพในโลกออนไลน์ ภายใต้ความย้อนแย้งของแนวคิดวัฒนธรรมเสรี vs กรอบเก่าๆของสังคมไทย อะไรคือสิ่งที่เราควรเรียนรู้ ยอมรับ และปรับตัว” โดยจะมีหลาย ๆ คนมาคุยกันในเรื่อง “ทำไมเราต้องสนใจเสรีภาพของโลกออนไลน์” อะไรคือความหมายของ วัฒนธรรมเสรี (free culture) และ ความเป็น พลเมือง ‘เน็ต’(netizen) สื่อออนไลน์มีความต่างจากสื่อมวลชน ชุมชนเน็ตคือวัฒนธรรมใหม่ที่ต้องเปิดกว้างแต่ใช่ว่าจะไร้ขอบเขต…

  • STOP ONLINE MEDIA INTIMIDATION

    English version here. แถลงการณ์เรื่องการคุกคามสิทธิเสรีภาพสื่อออนไลน์ สืบเนื่องจากกรณีพนักงานสอบสวนกองปราบปรามได้เข้าจับกุมนางสาวจีรนุช เปรมชัยพร ผู้อำนวยการเว็บไซต์หนังสือพิมพ์ออนไลน์ประชาไท (http://www.prachatai.com) เมื่อเวลาประมาณ 14.30 น. ของวันศุกร์ที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2552 และได้มีการสืบปากคำพร้อมทำสำเนาข้อมูลในฮาร์ดดิสก์คอมพิวเตอร์ส่วนตัวของ นางสาวจีรนุช และแจ้งข้อกล่าวหาว่าได้ทำการสนับสนุนผู้ถูกดำเนินคดีในข้อหา เป็นผู้ให้บริการจงใจสนับสนุนหรือยินยอมให้มีการกระทำผิด นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ปลอมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน หรือข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ ซึ่งอาจเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ ข้อมูลอันเป็นเท็จ โดยที่จะเกิดความเสียหายต่อความมั่นคงประเทศ และเผยแพร่ หรือส่งต่อ ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยรู้อยู่แล้วว่าเป็นข้อมูลคอมพิวเตอร์ ตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 มาตรา 14 (1) (3) (5) และ 15 เครือข่ายพลเมืองเน็ต คณะกรรมการรณรงค์เพื่อการปฏิรูปสื่อ (คปส.) เครือข่ายเสรีภาพต่อต้านการเซ็นเซอร์ประเทศไทย (FACT) เห็นว่าแม้รัฐอ้างว่าการดำเนินการดังกล่าวจะเป็นไปภายใต้อำนาจตามที่กฏหมายบัญญัติ ทว่าสิ่งที่เกิดขึ้นเข้าข่ายการใช้อำนาจทางกฏหมายในการข่มขู่ คุกคาม สิทธิเสรีภาพสื่อออนไลน์ ทั้งนี้เว็บไซต์ข่าวประชาไทถือเป็นหนังสือพิมพ์ออนไลน์ที่ทำงานบนกรอบของ จรรยาบรรณสื่อออนไลน์ซึ่งเป็นสื่อใหม่ที่เปิดพื้นที่ให้กับประชาชนผู้อ่านแสดงความคิดเห็น ทั้งนี้ทางผู้แลเว็บมีมาตรฐานที่เข้มงวดตามพรบ.คอมพิวเตอร์ฯ อยู่แล้วในการที่จะต้องเก็บข้อมูลการจราจรทางคอมพิวเตอร์ และการลบข้อความที่มีความละเอียดอ่อน และที่ผ่านมาก็ได้ประสานงานและให้ความร่วมมือกับเจ้าหน้าที่รัฐเสมอมาในการลบข้อความดังกล่าว…

  • Mashable.com got blocked – ความมั่วของ CS Loxinfo กับการบล็อคเว็บ

    Mashable, an Internet technology news blog [url: http://mashable.com/], got blocked by CS Loxinfo, one of the major ISPs in Thailand. Discovered on 2009.02.02, 04:59 local time (UTC+7). เว็บไซต์ Mashable [url: http://mashable.com/] ซึ่งเป็นบล็อกที่เสนอข่าวสารเกี่ยวกับเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ต ถูกปิดกั้นโดยซีเอสล็อกซ์อินโฟ โดยพบว่าถูกปิดกั้นเมื่อเวลาตีห้าของวันที่ 2 ก.พ. 2552 Here’s the (grand) reason / โดยซีเอสล็อกซ์อินโฟได้แจ้งว่า :     URL นี้ได้ถูกปิดกั้นแล้ว เนื่องจาก มีคำสั่งศาลให้ปิดกั้น หรือ มีลักษณะเข้าข่ายที่อาจกระทบต่อความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร หรืออาจขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน This URL…

  • แบบสำรวจ “สิทธิเสรีภาพในอินเทอร์เน็ต” – An Online Survey on Internet Rights and Freedom

    เชิญร่วมตอบแบบสอบถาม เรื่อง “สิทธิเสรีภาพในการใช้งานอินเทอร์เน็ต” เพื่อสำรวจความคิดเห็นเกี่ยวกับสิทธิเสรีภาพในการใช้งานอินเทอร์เน็ต ความคิดเห็นต่อการดูแลอินเทอร์เน็ต และอิทธิพลของอินเทอร์เน็ตในชีวิตประจำวัน — แบบสอบถามใช้เวลาทำประมาณ 7 นาที http://bit.ly/netfreedom-q ผลสำรวจจะถูกนำเสนอในงานเสวนา “การเมืองกับโลกออนไลน์” (ดูรายละเอียดด้านล่าง) เสวนา “การเมืองกับโลกออนไลน์” วันเวลา: อาทิตย์ที่ 25 มกราคม 2552 13.00-16.00น. สถานที่: สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ตรงข้ามโรงพยาบาลวชิระ ถนนสามเสน (แผนที่: http://tja.or.th/map.jpg, เว็บไซต์: http://tja.or.th/) เป้าหมาย: เพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์ระหว่างผู้สนใจในการนำอินเทอร์เน็ตและสื่อใหม่ มาเป็นเครื่องมือในการช่วยผลักดันนโยบายจากภาคประชาชน การตรวจสอบนักการเมืองและพรรคการเมือง ส่งเสริมสิทธิเสรีภาพในการแสดงความเห็นและการมีส่วนร่วมในประชาธิปไตยบนอินเทอร์เน็ต รูปแบบงาน: เสวนากลุ่มย่อยระหว่างผู้สนใจ เน้นการมีส่วนร่วมของผู้เสวนา กำหนดการ: 13:00-13:30 “เสรีภาพในการแสดงความเห็นบนโลกออนไลน์” โดย เครือข่ายพลเมืองเน็ต (Thai Netizen Network) 13:30-14:00 “การสำรวจความคิดเห็นด้านการเมืองของผู้ใช้อินเทอร์เน็ตไทย” โดย Siam Intelligence Unit 14:00-14:30 “เว็บไซต์ฐานข้อมูลนักการเมืองไทย” โดย…

  • What is an alternative media ?

    บางทีเราอาจจะต้องดีใจในบางขณะ ที่เราอยู่ในสถานะถูกควบคุมคุกคามเช่นนี้ เพราะนี่อาจจะเป็นสิ่งที่ยืนยันว่า เรายังเป็นสื่อทางเลือกอยู่ และไม่ได้ลืมความเป็นตัวตนของเราไป บางทีการเป็นสื่อทางเลือก อาจจะหมายถึง การทำให้ตัวเองอยู่ในฐานะหมิ่นเหม่ ท้าทาย “เป็นตัวปัญหากับความคิดกระแสหลัก” อยู่ตลอดเวลาเช่นนี้ก็เป็นได้ เพราะที่สุดแล้ว สิ่งที่สื่อทางเลือกท้าย ไม่ได้เป็นสิ่งจำเพาะใด ๆ เป็นการเฉพาะเจาะจง ไม่ว่าจะเป็นศาสนจักร สถาบัน วิทยาศาสตร์ ท้องถิ่น หรือโลกาภิวัฒน์ แต่สิ่งที่สื่อทางเลือกท้าท้าย ก็คือสิ่งที่เป็น “ปกติ” “ธรรมชาติ” ในสังคม ในวันที่ศาสนจักรมีอำนาจเหนือสังคม สื่อทางเลือกคือเหล่านักวิทยาศาสตร์ผู้กล้าตายที่ประกาศว่าพระเจ้าไม่ได้สร้างโลก มนุษย์กำหนดชะตากรรมตนเองได้ พวกเขาเป็นตัวปัญหาของสังคม หลายคนถูกตราหน้าว่าเป็นพวกนอกศาสนานอกรีต และถูกเผาทั้งเป็น เวลาผ่านไป ในวันหนึ่ง วันที่วิทยาศาสตร์ได้กลายเป็นวาทกรรมที่มีอำนาจเหนือสังคม สิ่งที่สื่อทางเลือกเสนอก็จะไม่ใช่วิทยาศาสตร์อีกต่อไป แต่เป็นคุณค่าที่วิทยาศาสตร์ได้กดทับมัน ในชื่อที่ผู้คนเหล่านี้สร้างคุณค่าใหม่ให้มันอีกครั้ง ในชื่อ “ภูมิปัญญาท้องถิ่น” และในวันที่ภูมิปัญญาท้องถิ่นเหล่านี้ ได้กลายเป็นวาทกรรมหลักในสังคม ก็เป็นหน้าที่ของสื่อทางเลือกนี้แหละ ที่จะท้าทายภูมิปัญญาท้องถิ่นเหล่านี้ ด้วยชุดวาทกรรมท้าทายใหม่ ๆ ทั้งหมดนี้เพราะอะไร ก็เพราะภารกิจของสื่อทางเลือกนั้น ไม่ใช่อะไรมากไปกว่า การเสนอทางเลือกให้กับสังคม “นักปฏิวัติท้ายที่สุดแล้วจะเป็นนักปฏิรูปที่ขยันที่สุด ก้าวหน้าที่สุด ในทางตรงข้าม นักปฏิรูปหากทำการปฏิรูปเพียงลำพังโดยปราศจากเป้าในการปฏิวัติ ก็จะเป็นผู้รักษาระบบแห่งการกดขี่ที่ขยันที่สุดอย่างขันแข็งที่สุดเช่นกัน”…

  • [seminar] Personal Data and Risks from e-Government

    Center for Ethics of Science and Technology, Chulalongkorn University, will held an open seminar on personal data and risks in the age of e-government on Wednesday, July 9, 2008, 13:00-16:30 @ Room 105, Maha Chulalongkorn building, Chulalongkorn University (near MBK). For more info, please contact Soraj Hongladarom +66-2218-4756 ใครสนใจเรื่อง ข้อมูลส่วนบุคคล (personal data) และความเป็นส่วนตัว (privacy) และร่างพ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลที่ยังไม่ได้เกิดสักที…

  • ทฤษฎีเก่า "Old Theory" – Thailand Bill of Rights

    (น่าจะเก่าอยู่ล่ะ ตั้ง 76 ปี แล้ว วันนี้วันที่ 24 มิ.ย. ครบรอบการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครอง) “เอกราช ปลอดภัย เศรษฐกิจ เสมอภาค เสรีภาพ การศึกษา” — หลัก 6 ประการของคณะราษฎร 24 มิถุนายน 2475 สิ่งที่ “ทฤษฎีใหม่” และลูก ๆ พอเพียงต่าง ๆ เสนอ คือเรื่องเกี่ยวกับเศรษฐกิจ อาจจะโยงไปได้ถึงเอกราช แต่ขาดเรื่อง เสมอภาค และ เสรีภาพ ซึ่งนั่นเป็นสิ่งที่มีใน “ทฤษฎีเก่า” เอกราช ปลอดภัย เศรษฐกิจ เสมอภาค เสรีภาพ การศึกษา 76 ปีแล้ว ดูเหมือนเราจะยังไปไม่ถึงหลักหกประการนั้นสักที โดยเฉพาะประการที่ 4 และ 5 หลัก 6 ประการของคณะราษฎร จะต้องรักษาความเป็นเอกราชทั้งหลาย เช่น…

  • small, yet unneglectable, voices from consumers who don’t want to pay for things they will never use

    คุณซาจาล ชาวอินเดียในไทย กำลังเลือกซื้อโน้ตบุ๊กเครื่องใหม่ และพบว่าโน้ตบุ๊กรุ่นต่าง ๆ ที่เขาสนใจนั้นล้วนรวมราคาวินโดวส์มาด้วยแล้ว คุณซาจาลรู้สึกว่าตนเองกำลังถูกบังคับใช้จ่ายค่าไลเซนส์วินโดวส์ทั้ง ๆ ที่ไม่ได้จะใช้ จึงเขียนจดหมายฉบับนี้ขึ้นมาเป็นภาษาอังกฤษ ตีพิมพ์ที่บล็อกของเขา ผมเห็นว่าน่าสนใจ และก็รู้สึกเช่นเดียวกันในตอนเลือกซื้อโน้ตบุ๊ก จึงขออนุญาตแปลมาเป็นภาษาไทยให้เราอ่านกันครับ โดยตีพิมพ์ลงที่ Blognone: จดหมายเปิดผนึกถึงไมโครซอฟท์และผู้จำหน่ายโน้ตบุ๊กในเมืองไทย มีความเห็นน่าสนใจจำนวนมากที่ Blognone ขอเชิญอภิปรายที่นั่นจะสะดวกกว่าครับ technorati tags: notebook, consumer rights, Windows

  • Protect Our Internet (English translation + Facebook)

    followed up the previous post (get the media kit there). ผู้ใช้ Facebook เข้าร่วมกลุ่ม Protect Our Internet group หรือเพิ่มแอพพลิเคชั่น Protect Our Internet application ได้ตามสะดวกครับ [ ผ่าน pittaya ] Manifesto from Internet users and bloggers who support rights and freedom of expression on the Internet 29 May 2008 Subject: A call for accountability from Thepthai Senpong and…

  • Protect Our Internet — online petition

    จาก http://gopetition.com/online/19589 (ดูต้นฉบับ และร่วมลงชื่อได้ที่ลิงก์ดังกล่าว) แถลงการณ์จาก ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตและสื่อพลเมือง ผู้สนับสนุนสิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น 29 พฤษภาคม 2551 เรื่อง ขอเรียกร้องความรับผิดชอบจากนายเทพไท เสนพงศ์ และ พรรคประชาธิปัตย์ และขอเชิญชวนพลเมืองทุกคนร่วมกันปกป้องสิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น ตามที่นายเทพไท เสนพงศ์ ผู้ช่วยเลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ ออกมาเปิดเผยรายชื่อ 29 เว็บไซต์ ว่าเป็นเว็บไซต์อันตรายที่ส่อเค้าหมิ่นเบื้องสูง พร้อมทั้งเรียกร้องให้รัฐบาลและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศจัดการ ตามข่าวทางสื่อมวลชนทั่วไป ความแจ้งแล้วนั้น พวกเราดังมีรายนามข้างท้ายมีความเห็นต่อกรณีดังกล่าว ดังต่อไปนี้ 1. เราเห็นว่าสิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นที่แตกต่างหลากหลาย ต้องได้รับการเคารพและปกป้อง สังคมประชาธิปไตยทุกสังคม ที่ปรารถนาความสงบสุข สันติภาพ และความสมานฉันท์ จำเป็นต้อง ส่งเสริม และ ปกป้อง สิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นของประชาชนอย่างเต็มที่ เหตุเพราะความเคารพและความเข้าใจอันดีต่อกัน “เอาใจเขามาใส่ใจเรา” เป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดเรื่องหนึ่งในการอยู่ร่วมกันอย่างสันติในสังคมที่ผู้คนมีความแตกต่างหลากหลาย และหนทางเดียวที่จะนำเราไปสู่การเรียนรู้ที่จะเข้าใจและเคารพกันได้ คือสภาพสังคมที่เอื้อให้ทุก ๆ คน มีสิทธิเสรีภาพในแสดงออกด้วยความรับผิดชอบอย่างเต็มที่ ประตูที่จะนำไปสู่ความยอมรับเคารพซึ่งกันและกัน จะถูกปิดตาย เมื่อปากและใจของเราถูกบังคับให้ปิดลง 2. เราไม่เห็นด้วยกับการนำสถาบันพระมหากษัตริย์มาเป็นเครื่องมือทางการเมือง รายชื่อเว็บไซต์และเว็บล็อกส่วนใหญ่ที่ถูกระบุชื่อ มิได้นำเสนอข้อมูลหรือเนื้อหาที่หมิ่นพระมหากษัตริย์…