Category: Cultures

  • ‘Censorship’ 2.0 : RoyalVDO.com – an organized User-DUPLICATED Content campaign

    ดูคำชักชวนและวิธีการ ใน RoyalVDO.com ที่เชิญชวนให้คนนำวีดิโอเกี่ยวกับในหลวงไปอัปโหลดตามที่ต่าง ๆ เยอะ ๆ เพื่อเป็นการ “ถวายงาน” แก่ในหลวงท่านแล้ว ก็เห็นว่าควรจะเขียนอะไรบางอย่าง ก่อนที่อะไร ๆ มันจะบิดเบี้ยวเลยเถิดไปหมดในสังคมนี้ … แม้แนวคิดโดยรวมของ RoyalVDO.com นั้น “เชื่อได้ว่า” คงจะมีเจตนาดี ผมพบว่ามัน “เกินพอดี” ไปหน่อย … จากหน้า เกี่ยวกับ ของเว็บไซต์ดังกล่าว : หากมีคนไทยจำนวนหนึ่ง ช่วยกัน DownLoad คลิปวิดีโอ แล้วนำไป UpLoad เข้าใน YouTube หรือเว็บ อื่นๆ วันละตอน สองตอน หรือมากกว่า จนรวมกันได้มาก เป็นหมื่น เป็นแสน หากจะมีการสืบค้น โดยใช้คำ ว่า King Thai หรือ King of Thailand หรืออื่นๆ ก็จะพบเป็นหมื่นเป็นแสนเรื่อง…

  • ReadCamp started (some how), call for SELF-organization 😉

    คอนเซปต์ของ ReadCamp หรือ “กางมุ้งอ่าน” ก็ยังตามที่ทวีตคุย ๆ กัน และที่โพสต์ถามลงใน Culture Lab คือจะเป็นงานลักษณะ unconference ทำนอง BarCamp ที่ชวนผู้ร่วมงานมาเสนอเรื่องการ “อ่าน” แล้วก็แลกเปลี่ยนกัน อ่าน หนังสือ. อ่าน หนัง. อ่าน เพลง. อ่าน โปสเตอร์. อ่าน โฆษณา. อ่าน เสื้อยืด. อ่าน พฤติกรรม. อ่าน trend. อ่าน วัฒนธรรม. อ่าน ปุ่มบนไมโครเวฟ user interface. อ่าน ตึก สถาปัตยกรรม. อ่าน การ์ตูน. อ่าน ภาพวาด งานศิลปะ. … … นั่นคือ เป็น “อ่าน” ในความหมายที่กว้างที่สุดนั่นเอง. ทั้งการอ่านตามตัวบท ตีความ…

  • Jealousy…

    ascii art courtesy of carleLdi, killerkrayon08, and others from YouTube   „¸¨°º¤ø„¸¸„ø¤º°¨¸„ø¤º°¨ ¨°º¤ø„The Killers¸„ø¤º°¨ ¸„ø¤º°¨ ROCKS “°º¤ø ¸„ø¤º°¨¸„ø¤º°¨¨°º¤ø„¸   I’m coming out of my cage And I’ve been doing just fine Gotta gotta be down Because I want it all It started out with a kiss How did it end up like this It was…

  • New Blood, New Media in the New City

    ไปเชียงใหม่มาเมื่อสองสัปดาห์ก่อน มีงานสัมมนาเกี่ยวกับสื่อใหม่/สื่อนฤมิต* จัดโดยคณะการสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เจอคนเยอะแยะ เดินทางสู่ผู้คน เลยงอกออกมาเป็นดูโอคอร์ตอนพิเศษ อย่างน่าดีใจ ร่วมแสดงความคิดเห็นได้ที่ channel.duocore.tv/new-media-in-chiang-mai ขอบคุณทีมงานคณะการสื่อสารมวลชน + CAMT ทีม minimal gallery ขลุ่ย เมฆ ชา และพี่ปูคนขับรถที่พาเราไปทุกที่ บรรยากาศเชียงใหม่เปลี่ยนไปนิดหน่อย ที่ช้างคลานผมเห็นร้านที่เคยไปปิดลง หลายร้านบนถนนนั้นก็ปิดด้วย คนที่นั่นว่ามันไม่บูมเหมือนสองปีก่อน ที่มีงานพืชสวนโลก แต่รวม ๆ มันก็ยังเป็นเชียงใหม่นั่นแหละ ไม่ได้ต่างจากเดิม จริง ๆ ที่ไหน ๆ มันก็เปลี่ยนทั้งนั้น และการเปลี่ยนแปลงก็ไม่ใช่เรื่องเลวร้ายเสมอ เหมือนใครซักคน (วิชา?) พูดระหว่างฝนตกหน้าร้าน minimal “คนที่บอกว่าปายเปลี่ยนไปไม่ดีเลย ก็คนเชียงใหม่คนกรุงเทพนั่นแหละ คนปายเขาชอบ” หรือที่แพทว่า “คนเชียงใหม่ไม่รู้หรอกว่านิมมานเปลี่ยนไป คนเชียงใหม่เขาไม่ได้มานิมมาน มีแต่คนกรุงเทพแหละที่มาเที่ยว” ใช่ หลายครั้งการเปลี่ยนแปลงมันโหดร้าย แม้กระทั่งกับ “การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์” ไปนอนบ้านริมน้ำ ซื้อของตลาดน้ำ ตกค่ำ ๆ ก็นั่งเรือไปดูหิ่งห้อย…

  • [review] Doing Ethnographies. (assignment)

    ส่งการบ้านวิจารณ์หนังสืออีกแล้ว Doing Ethnographies. โดย Mike Crang และ Ian Cook (Sage Publications, 2007) ด้วยรูปร่างหน้าตาเผิน ๆ เหมือนหนังสือ “ฮาวทู” แต่เมื่ออ่านช่วงต้นก็รู้สึกแว่บว่า “ต่อต้านฮาวทู” จนอ่านต่อก็รู้สึกว่า “อาจจะฮาวทู”, Doing Ethnographies เป็นหนังสือที่ควรอ่านมากกว่าหนึ่งรอบ ในวาระ วิธี ลำดับ และทิศทางต่าง ๆ กัน. ด้วยการสะกิดผู้อ่านให้นึกถึงทางเลือกยุ่บยั่บย้อนแย้งอยู่ทุกระยะ แครงก์และคุกสองผู้เขียนไม่เพียงแต่เล่าเรื่องราวยุ่งเหยิงในการ(จะไป)ทำชาติพันธุ์วรรณนาที่ไม่ค่อยจะมีใครเล่านัก แต่ยังทำให้เรารู้สึกสับสน อย่างที่เราควรจะรู้ว่ามันจะสับสนอย่างไรในสนาม. ผู้เขียนเสนอว่าสิ่งที่สำคัญที่สุดในการศึกษาความสัมพันธ์ของมนุษย์นั้นก็คือตัว ความสัมพันธ์ของมนุษย์ นั้นเอง. ไม่เพียงผู้ไขประตูสู่สนามเท่านั้นที่เป็นมนุษย์ แต่รวมถึงผู้ที่ถูกศึกษาและผู้ศึกษาด้วย, เหล่านี้นำไปสู่ประเด็นจริยธรรมและความเป็นภววิสัยของการศึกษา และสิ่งที่ผู้เขียนย้ำคือ ไม่มีสิ่งที่เรียกว่า “ข้อมูลดิบ” ทุกอย่างล้วนถูกประกอบสร้าง-โดยตัวผู้สังเกตก็มีส่วนกำหนด ความสัมพันธ์เชิงอำนาจมีอิทธิพลในการประกอบสร้างข้อมูลดังกล่าวเสมอ และความคิดต่าง ๆ ล้วนได้รับอิทธิพลมาจากความคิดก่อนหน้าอื่น ๆ. จงเป็นมนุษย์ที่ปรับตัวและรู้ตัวในทุกขณะ อาจเป็นคำแนะนำที่ไม่มีข้อยกเว้นเพียงอย่างเดียวของหนังสือ “อาจจะฮาวทู” เล่มนี้. บทวิจารณ์ (PDF, 5+1…

  • social problems in Old Town Rome, lecture by Michael Herzfeld

    เชิญร่วมการบรรยายพิเศษ “ปัญหาสังคมในเขตเมืองเก่า: กรณีศึกษากรุงโรม” โดย ศ.ไมเคิล เฮิร์ซเฟลด์ (Michael Herzfeld) ภาควิชามานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด วันศุกร์ที่ 25 กรกฎาคม 2551 13:00-16:00 น. ห้องประชุม 1 ชั้น 2 ตึกคณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มธ. ศูนย์รังสิต ไมเคิล เฮิร์ซเฟลด์ เป็นศาสตราจารย์มานุษยวิทยา และภัณฑารักษ์ชาติพันธุ์วิทยายุโรปประจำพิพิธภัณฑ์พีบอดี ที่มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด, ที่ซึ่งเขาสอนมาตั้งแต่ ค.ศ. 1991. หัวข้อวิจัยที่สนใจได้แก่ ทฤษฎีสังคม, ประวัติศาสตร์ของมานุษยวิทยา, social poetics, การเมืองของประวัติศาสตร์, ยุโรป (โดยเฉพาะกรีซและอิตาลี) และประเทศไทย. สำหรับประเทศไทยไมเคิลมีผลงานเด่นคือการศึกษาชุมชนป้อมมหากาฬในกรุงเทพ. technorati tags: Michael Herzfeld, Rome, old town

  • hauntedness management

    ว่าจะไปอยู่ ท่าจะเจ๋ง เชิญร่วม เสวนา “ศิลปะร่วมสมัยกับการจัดการประวัติศาสตร์” (กรณี 6 ตุลา 19) อาทิตย์ 6 ก.ค. 2551 9:30-17:00 น. @ สถาบันปรีดี พนมยงค์ ซอยทองหล่อ และ นิทรรศการศิลปะร่วมสมัย “อดีตหลอน” (’76 Flash Back) 2-23 ส.ค. 2551 @ สถาบันปรีดี พนมยงค์ ซอยทองหล่อ งานนี้ริเริ่มโดยศิลปินภาพถ่าย มานิต ศรีวานิชภูมิ ผู้สร้างสรรค์ผลงานภาพถ่าย/การแสดงชุด “Pink Man” (ตัวอย่าง) รายละเอียดเพิ่มเติม ดูที่บล็อกคนป่วย technorati tags: contemporary arts, October 6, history

  • [review] Wisdom Sits in Places: Landscape and Language Among the Western Apache (assignment)

    การบ้านวิจารณ์หนังสือชิ้นแรก เสร็จแล้ว ส่งไปเมื่อวาน เป็นการเขียนหลังจากอ่านไปประมาณ 60-70% ได้ ข้ามไปข้ามมา ฉบับที่ให้ดาวน์โหลดนี้ แก้นิดหน่อยจากที่ส่งไป เป็นบทวิจารณ์ หนังสือเรื่อง Wisdom Sits in Places: Landscape and Language Among the Western Apache ซึ่งเขียนโดย Keith H. Basso นักมานุษยวิทยาที่สนใจเรื่องชนพื้นเมืองอเมริกัน เอาเข้าจริง ๆ ไม่อยากจะเรียกว่าวิจารณ์เท่าไหร่ เพราะมันเหมือนสรุปหนังสือให้ฟังเสียมากกว่า ไม่ได้วิจารณ์อะไรเลย ทั้ง ๆ ที่การบ้านเขาให้วิจารณ์ แม้เรื่อง “สถานสัมผัส” (sense of place) หรือการที่คนเราจะรับรู้ถึงสถานที่ (place) อย่างไรนั้น เป็นเรื่องสำคัญในการจะเข้าใจว่าผู้คนและชุมชนจะให้ความหมายและความสำคัญทางสังคมกับสถานที่อย่างไร รวมถึงความเข้าใจในอัตลักษณ์ทางบุคคลและอัตลักษณ์ทางสังคม, โดยเฉพาะในโลกปัจจุบันที่มีความปั่นป่วนไร้ระเบียบในเรื่องสถานที่มากขึ้น, แต่บาสโซพบว่างานชาติพันธุ์วรรณนากลับไม่ให้ความสำคัญกับสถานที่และสิ่งที่ผู้คนทำกับสถานที่เสียเท่าไหร่. งานชาติพันธุ์วรรณนามักพูดถึงสถานที่ในฐานะเพียงตัวผ่านไปสู่เรื่องอื่น แค่ปูพื้นฉากหลัง หรือบอกที่มาของบุคคล สิ่งของ (น. xiv, 105). แนวคิดทางมานุษยวิทยาในหนังสือเล่มนี้ได้รับอิทธิพลจาก…

  • Two Bits (book)

    หนังสือ Two Bits: The Cultural Significance of Free Software โดย Christopher M. Kelty อาจารย์มานุษยวิทยาที่มหาวิทยาลัยไรซ์ อ่านฟรี (PDF – ครีเอทีฟคอมมอนส์ by-nc-sa) คำบรรยายสรรพคุณ จากใบปลิว: Drawing on ethnographic research that took him from an Internet healthcare start-up company in Boston to media labs in Berlin to young entrepreneurs in Bangalore, Kelty describes the technologies and the moral vision that…

  • standing-o-nation

    มันไม่ใช่เรื่อง จะ xxx หรือไม่ xxx มันคือเรื่อง ถ้ามีคน xxx หรือไม่ xxx ท่าทีของคุณต่อเขาจะเป็นยังไง ? คุณจะปกป้องสิทธิของคนที่ คิดเห็นไม่เหมือนคุณหรือกระทั่งขัดแย้งกับคุณ รึเปล่า ? หนังเรื่อง “แสงศตวรรษ” (และหนังอื่น ๆ จาก Kick The Machine) ที่ฉายในโรง ก่อนฉาย มีหนังสั้น ๆ เรื่องหนึ่งนำ … เปิดฉากสั้น ๆ ด้วยสาว ๆ กำลังจิบน้ำชาคุยกันที่ศาลาริมน้ำ เพื่อนคนหนึ่งชวนให้ฟังซีดีเพลงสรรเสริญ ที่เพลงไปเจิมปลุกเสกมา พร้อมอวดว่าจะเอาไปเปิดที่โรงหนัง ความศักดิ์สิทธิ์จะกระจายแผ่ออกไปทั่วโรงหนัง นั่นประไร ดังไปถึงอีกฝั่งคลองโน่น และที่เหลือของหนัง ก็บรรเลงเพลงสรรเสริญที่ว่า เป็นฉากในโรงยิม มุมมองของภาพหวุนวนไปรอบ ๆ โรงยิม เผยให้เห็นกิจกรรมทุกอย่างที่เกิดขึ้นพร้อม ๆ กันในโรงยิม คนตีแบตกัน ที่กลางคอร์ทสาว ๆ ที่ศาลาริมน้ำตะกี้นี้ มานั่งร้อยมาลัยกัน…

Exit mobile version