การบ้านวิจารณ์หนังสือชิ้นแรก เสร็จแล้ว ส่งไปเมื่อวาน เป็นการเขียนหลังจากอ่านไปประมาณ 60-70% ได้ ข้ามไปข้ามมา
ฉบับที่ให้ดาวน์โหลดนี้ แก้นิดหน่อยจากที่ส่งไป
เป็นบทวิจารณ์ หนังสือเรื่อง Wisdom Sits in Places: Landscape and Language Among the Western Apache ซึ่งเขียนโดย Keith H. Basso นักมานุษยวิทยาที่สนใจเรื่องชนพื้นเมืองอเมริกัน
เอาเข้าจริง ๆ ไม่อยากจะเรียกว่าวิจารณ์เท่าไหร่ เพราะมันเหมือนสรุปหนังสือให้ฟังเสียมากกว่า ไม่ได้วิจารณ์อะไรเลย ทั้ง ๆ ที่การบ้านเขาให้วิจารณ์
แม้เรื่อง “สถานสัมผัส” (sense of place) หรือการที่คนเราจะรับรู้ถึงสถานที่ (place) อย่างไรนั้น เป็นเรื่องสำคัญในการจะเข้าใจว่าผู้คนและชุมชนจะให้ความหมายและความสำคัญทางสังคมกับสถานที่อย่างไร รวมถึงความเข้าใจในอัตลักษณ์ทางบุคคลและอัตลักษณ์ทางสังคม, โดยเฉพาะในโลกปัจจุบันที่มีความปั่นป่วนไร้ระเบียบในเรื่องสถานที่มากขึ้น, แต่บาสโซพบว่างานชาติพันธุ์วรรณนากลับไม่ให้ความสำคัญกับสถานที่และสิ่งที่ผู้คนทำกับสถานที่เสียเท่าไหร่. งานชาติพันธุ์วรรณนามักพูดถึงสถานที่ในฐานะเพียงตัวผ่านไปสู่เรื่องอื่น แค่ปูพื้นฉากหลัง หรือบอกที่มาของบุคคล สิ่งของ (น. xiv, 105). แนวคิดทางมานุษยวิทยาในหนังสือเล่มนี้ได้รับอิทธิพลจาก คลิฟฟอร์ด เกียร์ซ (Clifford Geertz), ทางสังคมวิทยาจาก เออร์วิง กอฟฟ์แมน (Erving Goffman), และทางภาษาศาสตร์สังคมจาก เดลล์ ไฮมส์ (Dell Hymes) (น. xv). ส่วนการศึกษาเรื่องชื่อสถานที่ (place-names, toponym) และระบบการตั้งชื่อสถานที่ (place-naming, geographical nomenclatures) นั้นได้ตามแนวที่ ฟรานซ์ โบแอส (Franz Boas) ริเริ่มไว้ (น. 43). ประเด็นในหนังสือเล่มนี้แม้จะศึกษากับชาวเวสเทิร์นอาปาเช่ แต่บาสโซเชื่อว่าเรื่องสถานที่และชื่อสถานที่นี้เป็นเรื่องค่อนข้างสากล, เช่นเดียวกับที่เราพบว่าชื่อสถานที่นั้น เป็นประเภทของคำที่พบได้ในภาษาจำนวนมาก.
sikkha(tr) อ่านแล้วบอกว่า นี่มันไม่ได้วิจารณ์อะไรเลยนี่นา และให้คำปรึกษาว่า ถ้าจะวิจารณ์อะไร มันต้องมีจุดยืนในการวิจารณ์ก่อน ว่าจะมองจะวิจารณ์จากมุมไหน ถ้ายังไม่มี ก็วิจารณ์ไม่ได้
ถ้าอยากรู้เรื่องแบบไม่เพี้ยน อันเกิดจากการตีความของผม อ่าน บทคัดย่อ ดีกว่า ส่วนถ้าอยากอ่านบทวิจารณ์ ลองดูบทวิจารณ์ใน The Journal of American Folklore
ส่วนถ้าใครสนใจจะลองอ่านของผมก็ยินดีมากครับ อยากให้ช่วยวิจารณ์ด้วย ผมไม่เคยเขียนอะไรแบบนี้เลย
สัปดาห์ที่แล้วอาจารย์ให้ความเห็นมาว่า งานครั้งก่อน ๆ ที่ส่งไป มันไม่อ่านแล้วไม่ค่อยเป็นความเรียงอย่างที่เขาตั้งใจจะให้เขียน
มันดูเป็นหัวข้อ ๆ แยก ๆ กัน เหมือนประมาณ bullet point ในสไลด์ซะมากกว่า
(ขอบคุณคนรอบ ๆ ตัวที่เป็นห่วงเป็นใย เห็นผมเหมือนเครียด ๆ จริง ๆ ไม่ได้เครียดอะไรมาก แต่มันแนว ๆ ไม่รู้จะทำอะไรก่อนหลังเสียมากกว่า รู้สึกงานมันเยอะ แล้วก็อยากให้ทุก ๆ อันมันออกมาดี ๆ กันหมด แต่ไม่ได้เป็นอะไรมากกว่านั้นนะ)
technorati tags: Western Apache, folklore, book review, native American
2 responses to “[review] Wisdom Sits in Places: Landscape and Language Among the Western Apache (assignment)”
sense of place อันนี้ น่าจะเป็น "สถานสำนึก" มากกว่า "สถานสัมผัส"
เรื่อง 'ภูมินาม' ชื่อหมู่บ้าน สถานที่ มีที่มา เกี่ยวข้องกับชีวิตผู้คนอย่างไรเปลี่ยนชื่อภูมิซรอล กับคำเรียกหมู่บ้านชายแดนใต้, มูฮำหมัด ดือราแม (ประชาไท, 2009-09-28)