Category: Places

  • My Moving Moving 2010 in Moving Pictures

    ภาพเคลื่อนไหวจาก 2553 ปีแห่งการ เคลื่อนที่ ของผม ปีที่ผ่านมา ถ่ายรูป ถ่ายวีดิโอ อัดเสียง ไว้เยอะมาก จากงานต่าง ๆ ที่โน่นนี่ รวมทั้งบนท้องถนน แต่ก็เป็นลักษณะถ่ายเก็บ ๆ เสียส่วนมาก คือเก็บเข้ากรุไปเลย ไม่ได้ดู ไม่ได้เอามาทำอะไรเท่าไหร่นัก เหมือนว่าในโลกแห่งสื่อดิจิทัล ที่การบันทึกมันทำได้ง่าย ได้เร็ว ได้ถูก เราก็เอาแต่บันทึก แต่ไม่ค่อยได้กลับมาย่อยของพวกนี้เข้าหัวเท่าไหร่ ช่วงสัปดาห์ท้ายปี คาบเกี่ยวปีใหม่ มีโอกาสถอดเทปของที่ค้างไว้ (จากงาน Open Data – ยังมีค้างอยู่สองคน) แล้วก็มาตัดต่อวีดิโอจากปาร์ตี้ จากงาน และจากเรียน วันนี้คิดว่าน่าจะโพสต์ ๆ รวมไว้เสียหน่อย รวมถึงวีดิโออื่น ๆ ในปีที่ผ่านมาด้วย (ยังมีของค้างจาก Mekong ICT Camp 2 ที่รอเพื่อนตัดอยู่ ชุดนั้นเยอะมาก) วีดิโอคลิปส่วนมาก ถ่ายจาก Kodak PlaySport Zx3…

  • ปิดสนามบิน ปิดสนามหลวง เปิดสาธารณะ Berlin-Tempelhof re-opens as the city’s largest public park

    อยากไปเดินบ้าง~~~! รัฐบาลท้องถิ่นเบอร์ลิน เปิดสวนสาธารณะแห่งใหม่เมื่อพฤษภาคมที่ผ่านมา มันเคยเป็นสนามบิน ชื่อ Berlin Tempelhof Tempelhof เป็นสนามบินที่ผมไม่เคยใช้ ไม่เคยไป ได้แต่ผ่านเฉียดไปเฉียดมา เบอร์ลินสมัยที่ผมอยู่ มี 3 สนามบิน คือ Tempelhof (THF), Tegel (TXL), และ Schönefeld (SXF) — อันหลังนี่ จริง ๆ มันอยู่นอกเบอร์ลินไปหน่อย อยู่ในรัฐ Brandenburg ตอนไปเบอร์ลินครั้งแรก ผมนั่ง EasyJet ไปลง Schönefeld (คิดว่าน่าจะมาจากสนามบิน Luton – ไม่ค่อยชัวร์) ส่วนตอนกลับเมืองไทย ผมกลับ Austrian Airlines จาก Tegel Tegel เป็นสนามบินอันนึงที่ผมชอบ คือมันเล็กดี แล้วมันเป็นวงกลม (หกเหลี่ยม) = เดินง่ายและไม่เหนื่อย วิกิพีเดียบอกว่า ระยะทางจากเครื่องบินไปจนถึงประตูทางออกจากอาคารผู้โดยสาร แค่…

  • bangspace – a Bangkok hackerspace

    It’s already three months, since Bangkok’s hackerspace – “bangspace” opens its doors to hacker community in Bangkok. It’s a slow start, but we getting more and more people who show interest of joining the space. Everybody are welcome to join the space, membership is also welcome. The hackerspace is just on Ekamai 2, walking distant…

  • (เพื่อ "ภูมิซรอล") [review] ความเป็นมาของคำสยาม ไทย, ลาว และขอม และลักษณะทางสังคมของชื่อชนชาติ. โดย จิตร ภูมิศักดิ์.

    เทอมที่แล้ว เรียนวิชามานุษยวิทยาภาษากับยุกติ หนังสือเล่มแรกที่ทุกคนต้องอ่านและวิจารณ์ ก็คือ ความเป็นมาของคำสยาม ไทย, ลาว และขอม และลักษณะทางสังคมของชื่อชนชาติ โดย จิตร ภูมิศักดิ์ (กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ศยาม, 2544 [2519]). (ทั้งหมดต้องวิจารณ์สองเล่ม. อีกเล่มนั้น แล้วแต่ว่าใครจะเลือกเล่มไหน, จาก 3-4 เล่มที่ยุกติเลือกมาอีกที, ซึ่งผมเลือก Portraits of “the Whiteman”: Linguistic play and cultural symbols among the Western Apache โดย Keith Basso (Cambridge: Cambridge University Press, 1995 [1979]) ตามที่เคยโพสต์แบ่งกันอ่านไว้แล้ว) ช่วงนี้มีข่าว เรื่องเขมร ๆ โผล่มาบ่อย เริ่มจากการประท้วงของพันธมิตรที่ปราสาทพระวิหาร ตามด้วยเรื่องกลุ่ม 40 ส.ว. นำโดยนายไพบูลย์…

  • [12 Sep] the 1st ccSalon in Bangkok — Music and Creative Commons

    ซีซีซาลอน กรุงเทพ ครั้งที่หนึ่ง! ถ้าคุณสนใจดนตรี สนใจครีเอทีฟคอมมอนส์ บ่ายวันที่ 12 กันยานี้ ไปคุยกันในงาน ccSalon (ซีซีซาลอน) ที่ TCDC ห้องออดิทอเรียม คงปฏิเสธไม่ได้ว่า ทุกวันนี้โลกใบเล็กของเรากำลังกลายเป็นโลกที่ไร้ขอบเขต ทุกคนสามารถเข้าถึงข้อมูลจากทั่วโลกได้อย่างรวดเร็วด้วยอินเทอร์เน็ต ซึ่งเปรียบเสมือนแหล่งความรู้ไม่สิ้นสุด ชุมชนออนไลน์ที่ร่วมแบ่งปันข้อมูลได้ขยายตัวขึ้นเรื่อยๆ ทำให้การนำผลงานสร้างสรรค์ของผู้อื่นจากอีกมุมโลกมาใช้เป็นไปได้ง่าย ขณะเดียวกัน ก็ทำให้การละเมิดลิขสิทธิ์ผลงานเป็นไปได้ง่ายเช่นกัน สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์ (Creative Commons Licenses) เป็นสัญญาที่จัดทำขึ้นเพื่อให้เจ้าของผลงานอันมีลิขสิทธิ์ สามารถเปิดให้สาธารณะนำงานของตนไปใช้ได้ โดยไม่ต้องขออนุญาต เพียงแต่ต้องทำตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ เช่น อ้างที่มา ไม่ใช้เพื่อการค้า หรือ คงต้นฉบับไม่ดัดแปลง ทำให้การแลกเปลี่ยนไหลเวียนของไอเดียเป็นไปได้อย่างสะดวกรวดเร็ว การใช้สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์ ไม่ใช่การสละลิขสิทธิ์หรืออุทิศงานเป็นสาธารณสมบัติ เจ้าของงานยังคงเป็นผู้ถือครองลิขสิทธิ์เช่นเดิม หากมีการนำงานไปใช้โดยผิดเงื่อนไข เจ้าของงานสามารถฟ้องร้องและบังคับผู้ที่ทำผิดได้ตามที่กฎหมายลิขสิทธิ์ คุ้มครอง ซึ่งประเทศไทยได้รองรับกฎหมายนี้แล้ว สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์ จึงถือกำเนิดขึ้น เพื่อให้ “วัฒนธรรมการให้” ยังคงอยู่และเผยแพร่ไหลเวียนไปทั่วสังคมโดยเสรี ให้ไอเดียได้พัฒนาต่อยอด ขณะเดียวกันก็คุ้มครองสิทธิของผู้สร้างสรรค์ด้วย งานสัมมนาเชิงปฏิบัติการนี้จัดขึ้นตามแบบ ccSalon ที่จัดขึ้นในประเทศต่างๆ ทั่วโลก เพื่อแนะนำวิธีการใช้สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์…

  • เขตป-อดบุหรี่

    smoke free zone → smoke lung zone ข้างตึกรัฐศาสตร์ ท่าพระจันทร์ หน้าร้านถ่ายเอกสาร ถ่ายด้วย jibjib + Twitter + Twitpic technorati tags: do not smoke, prank, signs

  • Putting Pedestrian First

    ปรับปรุง: 2009.08.22 @poakpong ได้ไปแจ้งที่ป้อมแล้ว (ซึ่งคราวนี้มีเจ้าหน้าที่อยู่) และทางเจ้าหน้าที่รับไปดำเนินการต่อแล้ว …แต่ก็ยังมีประเด็น บ่ายวันพฤหัสที่ผ่านมา รอข้ามถนนตรงแยกบางลำพู และพบว่ามันเป็นเรื่องไร้สาระ ที่จะรอ อดไม่ไหว ขอถ่ายเก็บมาดูหน่อย โกรธ ระหว่างถ่าย ก็ได้โอกาสเก็บภาพรถราที่ไม่ยอมเสียเวลาแม้แต่น้อย วิ่งฝ่าทางม้าลายตลอดเวลา แม้ไฟคนข้ามจะเขียวอยู่ แม้จะมีคนกำลังข้ามอยู่ เมืองเป็นที่อยู่ของคน คนก่อน รถทีหลัง คืนถนนให้คนเดินเท้า! Putting Pedestrians First technorati tags: traffic light, pedestrain rights, Bangkok

  • Bangkok Red Shirts gatherings map by Prachatai

    fyi, to avoid/observe/join the Red Shirts. แผนที่และข่าว แสดงความเคลื่อนไหวเสื้อแดงทั่วกรุงเทพ โดยทีมข่าวประชาไท บน Google Maps (คลิกที่ หมุดสีแดง พื้นที่สีแดง หมุดสีฟ้า พื้นที่สีฟ้า หมุดสีชมพู เพื่อดูความเคลื่อนไหวล่าสุด) ดู แผนที่และข่าว แสดงความเคลื่อนไหวเสื้อแดงทั่วกรุงเทพ ในแผนที่ขนาดใหญ่กว่า url: http://maps.google.co.th/maps/ms?ie=UTF8&hl=th&msa=0&msid=107550157098327041781.000467042bca478ba991d&source=embed&ll=13.761562,100.554428&spn=0.086368,0.154495&z=13 short url: http://bit.ly/Kdz2L screenshot (for historical reason, I like to captured and keep this. Map visualization of a mob.): [via Prachatai newspaper] technorati tags: Red Shirts, map, news, Thailand

  • [22-23 Dec] Conference on Nationalism and Multiculturalism

    ประชุมวิชาการ “ชาตินิยมกับพหุวัฒนธรรม” 22-23 ธ.ค. 2551 @ เชียงใหม่ http://202.28.25.21/conf2008/ สังคมไทยในอดีตเป็นสังคมที่ยอมรับความหลากหลายทางชาติพันธุ์ และการอยู่ร่วมกันของกลุ่มชาติพันธุ์ แนวคิดชาตินิยมที่ก่อตัวขึ้นมาพร้อมๆ กับการกระบวนการสร้างรัฐชาติ ได้ส่งผลต่อการให้นิยามวัฒนธรรมประจำชาติและอัตลักษณ์ประจำชาติ ศาสนา ภาษา แนวคิดเรื่องการพัฒนาและระบบคุณค่าทางสังคมภายใต้รัฐชาติไทย เหล่านี้ ได้นำไปสู่การกดทับ และทำลายอัตลักษณ์ วัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ท้องถิ่น ของกลุ่มคนที่ด้อยกว่า กลุ่มชาติพันธุ์ ตลอดจนกลุ่มอารยธรรมย่อย นอกจากนี้ ยังนำไปสู่อคติทางชาติพันธุ์ ที่มองกลุ่มชาติพันธุ์ที่มีวิถีชีวิตและวัฒนธรรมที่แตกต่างไปอย่างเป็น “คนอื่น” และการสร้างภาพแบบเหมารวม เช่น ชาวเขาทำลายป่าและค้ายาเสพติด ชาวมุสลิมชอบใช้ความรุนแรง ในบางครั้งนำไปสู่ความขัดแย้งทางชาติพันธุ์และความรุนแรงในสังคม นอกจากนี้ นโยบายการพัฒนาภายใต้วาทกรรมความทันสมัย ผ่านโครงการพัฒนาต่างๆ ของรัฐที่เข้าไปดำเนินงานในชุมชนกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ มักมุ่งเน้นไปที่ปัญหาความมั่นคงของชาติและการส่งเสริมให้เกิดการ เปลี่ยนแปลงการผลิตไปสู่ระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม ได้ส่งผลกระทบต่อกลุ่มชาติพันธุ์ เช่น การจำกัดสิทธิในการเข้าถึงทรัพยากร การปรับเปลี่ยนจากวิถีชีวิตแบบยังชีพเข้าสู่ระบบการตลาด โครงการพัฒนาต่างๆ นั้น ยังละเลยการให้ความสำคัญกับมิติทางวัฒนธรรม อันประกอบด้วยความหลากหลายและซับซ้อนของประวัติศาสตร์ท้องถิ่น ภูมิปัญญาท้องถิ่น พลังทางวัฒนธรรม ทุนทางสังคม ตลอดจนการมีส่วนร่วมของชุมชนในการกำหนดชะตากรรมของตนเอง ซึ่งมิไม่ได้เปิดพื้นที่ให้กลุ่มวัฒนธรรมต่างๆ ได้ตอบโต้หรือเคลื่อนไหวเพื่อแสดงออกถึงอัตลักษณ์ของตน การประชุมวิชาการ “ชาตินิยมกับพหุวัฒนธรรม”…

  • IdeaBangkok

    ใครมีความคิดอะไรสำหรับกรุงเทพฯ ไปเสนอได้ที่ IdeaBangkok.com ให้ทุกคนมาช่วยกันโหวต แสดงความคิดเห็น วิพากษ์วิจารณ์ เพื่อกรุงเทพที่น่าอยู่

Exit mobile version