-
พระราชดำรัสและคติพจน์เหมาเจ๋อตุง
ไอเดียการเผยแพร่พระราชดำรัส ยกโควตมาออกอากาศช่วงข่าวภาคค่ำ และในโอกาสต่างๆ นี่เหมือนกับการพิมพ์เผยแพร่หนังสือ “คติพจน์เหมาเจ๋อตุง” (毛主席语录) ในช่วงการปฏิวัติวัฒนธรรม ซึ่งเป็นหนังสือขายดีอันดับ 2 ของโลก รองจากไบเบิล
-
คำ “ออกตัว” — มาราธอน เล่มแรก
ด้านล่างนี้น่าจะเป็น “คำนำ” หนังสือเล่มครั้งแรกของผม วันนี้เพิ่งจะได้จับ ผมเลือกใช้คำว่า “มาราธอน” กับกิจกรรมของเครือข่ายพลเมืองเน็ตนี้ เพราะเห็นด้วยว่าการศึกษาและรณรงค์ประเด็นใดก็ตาม ไม่สามารถสำเร็จได้ชั่วข้ามคืน มาราธอนคือการวิ่งระยะไกล ข้ามเขตแดนและส่งข่าวสาร หนังสือเล่มวางตำแหน่งตัวเองเป็นจุดสตาร์ท ดังคำออกตัว
-
Mimic: ปรากฏการณ์ก๊อบลวงโลก
บทความ Mimic: ปรากฏการณ์ก๊อบลวงโลก โดย แทนไท ประเสริฐกุล ลงเป็นตอน ๆ ใน onopen ตอน: ( 1 ) ( 2 ) ( 3 ) ( 4 ) ( 5 ) ( 6 ) ( 7 ) ( 8 ) สุดท้ายออกมาเป็นหนังสือ : “MIMIC เลียนแบบทำไม?” – พิมพ์ครั้งแรก พฤศจิกายน 2549 มีสาขาวิชาหนึ่ง เรียกว่า bionics เป็นการศึกษากลไกของสิ่งมีชีวิตเพื่อเลียนแบบความสามารถของมัน เช่น ใบบัวที่น้ำไม่เกาะ เท้าตุ๊กแกที่ติดหนึบกับกำแพงในแนวดิ่ง
-
เข้านอก ออกใน วัฒนธรรมศึกษา หลังนวยุค งานหนังสือ
วันนี้ไปงานหนังสือ ตอนไปตั้งใจว่าจะซื้อแค่เล่มเดียว คือ ดีไซน์+คัลเจอร์ 2 (ประชา สุวีรานนท์; สำนักพิมพ์อ่าน; 2552) (อ่านบทวิจารณ์เล่มแรก โดย สุภาพ พิมพ์ชน, @Duangruethai, @birdwithnolegs, ฯลฯ) สุดท้ายตัดสินใจ ยังไม่ซื้อ ดีไซน์+คัลเจอร์ 2 ด้วยเหตุอยากจำกัดงบไม่ให้บาน และคิดว่าไว้ซื้อวันหลังได้ วันนี้เลยขอเฉพาะหนังสือที่คิดว่า คงหาซื้อตามร้านที่ปกติจะไป-ไม่ได้ พวกหนังสือเก่า หนังสือจากสำนักพิมพ์เล็ก ๆ (ซึ่งผมคิดว่า นี่เป็นความดีงามอย่างหนึ่ง[หรือหนึ่งอย่าง?]ของงานหนังสือ ผมได้รู้จัก สถาบันสถาปนา ก็จากงานหนังสือสมัยคุรุสภานี่แหละ เขาเอามาเลหลังลดราคา) ได้สามเล่มนี้มา: ประวัติศาสตร์ในมิติวัฒนธรรมศึกษา (สุวรรณา เกรียงไกรเพ็ชร์ บรรณาธิการ; ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร; 2552) เล่มที่ 3 ในชุด ยกเครื่องเรื่องวัฒนธรรมศึกษา รวมบทความจากการประชุมประจำปีทางมานุษยวิทยาครั้งที่ 7 เล่มนี้มีบทความของ ธีระ นุชเปี่ยม, ชาตรี ประกิตนนทการ, วรสิทธิ์ ตันตินิพันธุ์กุล, นิติ ภวัครพันธุ์…
-
(เพื่อ "ภูมิซรอล") [review] ความเป็นมาของคำสยาม ไทย, ลาว และขอม และลักษณะทางสังคมของชื่อชนชาติ. โดย จิตร ภูมิศักดิ์.
เทอมที่แล้ว เรียนวิชามานุษยวิทยาภาษากับยุกติ หนังสือเล่มแรกที่ทุกคนต้องอ่านและวิจารณ์ ก็คือ ความเป็นมาของคำสยาม ไทย, ลาว และขอม และลักษณะทางสังคมของชื่อชนชาติ โดย จิตร ภูมิศักดิ์ (กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ศยาม, 2544 [2519]). (ทั้งหมดต้องวิจารณ์สองเล่ม. อีกเล่มนั้น แล้วแต่ว่าใครจะเลือกเล่มไหน, จาก 3-4 เล่มที่ยุกติเลือกมาอีกที, ซึ่งผมเลือก Portraits of “the Whiteman”: Linguistic play and cultural symbols among the Western Apache โดย Keith Basso (Cambridge: Cambridge University Press, 1995 [1979]) ตามที่เคยโพสต์แบ่งกันอ่านไว้แล้ว) ช่วงนี้มีข่าว เรื่องเขมร ๆ โผล่มาบ่อย เริ่มจากการประท้วงของพันธมิตรที่ปราสาทพระวิหาร ตามด้วยเรื่องกลุ่ม 40 ส.ว. นำโดยนายไพบูลย์…
-
ร้อยภาพ-พันคำ
“ในเวียดนาม มีช่างภาพเพียงไม่กี่คนที่มีการรวบรวมผลงานออกตีพิมพ์ในชื่อของตน แม้ผมจะใช้ความพยายามอย่างยิ่ง แต่ก็ไม่เคยพบเห็นวางขายในร้านหนังสือท้องถิ่นเลย ซึ่งเหตุผลสำคัญที่ผมพอจะนึกออกก็คงมาจากการที่รัฐบาลเวียดนามยังคงเข้มงวดกับภาพลักษณ์ของสงครามที่ต้องการให้ปรากฏต่อหน้าสาธารณชน ซึ่งว่ากันอันที่จริงแล้ว พวกเราชาวอเมริกันก็ตกอยู่ในสภาพเดียวกัน …” (จากย่อหน้ารองสุดท้ายของบทความ ภาพถ่ายที่ล้างด้วยน้ำจากลำธาร, คอลัมน์ ร้อยภาพ-พันคำ, หน้า 52, เนชั่นสุดสัปดาห์ ปีที่ 17 ฉบับที่ 872 วันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2552) ผมอ่านบทความดังกล่าวมาเรื่อย ๆ ก็สนุกดี มางงเอาตอนท้ายนี่แหละ คือคิดไปได้สองอย่าง อย่างแรกคือ คุณบัญชร ชวาลศิลป์ ผู้เขียน เป็นชาวอเมริกัน (ซึ่งเป็นไปได้) หรือไม่บทความนี้ก็เป็นบทความแปล (แต่ในหน้าคอลัมน์ทั้งหน้า ก็ไม่มีส่วนไหนที่ระบุไว้ว่าเป็นบทความแปลเลย) แล้วก็ทำนึกถึงเรื่องที่ได้ผ่านตาเมื่อสัปดาห์ที่แล้วจากทวิตเตอร์ เรื่องหนังสือถ่ายภาพ (ถ่ายภาพให้ได้อย่างมือโปร) โดยคุณอนันต์ จิรมหาสุวรรณ (เลขาธิการ สมาคมถ่ายภาพแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ ประจำปี 2550-2552) ที่ดูเหมือนจะแปลมาจากภาษาอังกฤษทั้งเล่ม (Learning to See Creatively: Design, Color & Composition…
-
If I Were a Carpenter
ควรจะหาไม้มาทำชั้นหนังสือได้แล้ว ก่อนจะไม่มีที่นั่ง ไปซื้อแถวไหนดีครับ เอาถูก ๆ ไม้บอร์ดธรรมดา ๆ ก็ได้ แค่วางหนังสือได้ก็พอแล้ว ไปดูโฮมโปรมันไม่มีแฮะ จะไปหาแถวไหนดี มีเว็บช่างไม้แนะนำมั๊ยครับ เอาของไทย technorati tags: books, shelf, carpenter
-
ReadCamp started (some how), call for SELF-organization 😉
คอนเซปต์ของ ReadCamp หรือ “กางมุ้งอ่าน” ก็ยังตามที่ทวีตคุย ๆ กัน และที่โพสต์ถามลงใน Culture Lab คือจะเป็นงานลักษณะ unconference ทำนอง BarCamp ที่ชวนผู้ร่วมงานมาเสนอเรื่องการ “อ่าน” แล้วก็แลกเปลี่ยนกัน อ่าน หนังสือ. อ่าน หนัง. อ่าน เพลง. อ่าน โปสเตอร์. อ่าน โฆษณา. อ่าน เสื้อยืด. อ่าน พฤติกรรม. อ่าน trend. อ่าน วัฒนธรรม. อ่าน ปุ่มบนไมโครเวฟ user interface. อ่าน ตึก สถาปัตยกรรม. อ่าน การ์ตูน. อ่าน ภาพวาด งานศิลปะ. … … นั่นคือ เป็น “อ่าน” ในความหมายที่กว้างที่สุดนั่นเอง. ทั้งการอ่านตามตัวบท ตีความ…