Tag: anthropology

  • การร่วมสร้างอัตลักษณ์ “คนดี” โดยมวลมหาประชาชน: กรณีศึกษาสื่อส่วนบุคคล

    การร่วมสร้างอัตลักษณ์ “คนดี” โดยมวลมหาประชาชน: กรณีศึกษาสื่อส่วนบุคคล

    อาจินต์และอาทิตย์ ใช้แนวคิดเรื่อง “มีม” (meme) ศึกษาการมีส่วนร่วมในขบวนการทางการเมืองในประเทศไทยช่วงปี 2556-2557 ผ่านการผลิตมีมของผู้สนับสนุนขบวนการ โดยใช้นิยามของมีมว่า “หน่วยของการส่งผ่านวัฒนธรรม”

  • อุปลักษณ์ในอินเทอร์เน็ตศึกษา

    รายงานชิ้นนี้ เสนอการพิจารณาอุปลักษณ์เชิงมโนทัศน์ (conceptual metaphor) ต่าง ๆ ที่ใช้กับอินเทอร์เน็ต เพื่อให้เห็นว่า “อินเทอร์เน็ต” ที่อาจดูเหมือนเป็นวัตถุชิ้นเดียวชนิดเดียวนั้น สามารถเป็นวัตถุศึกษาที่แตกต่างกันไปตามวัฒนธรรม แวดวง (habitus) หรือขอบเขตความรู้ (domain) ได้อย่างไร รวมถึงอุปลักษณ์แต่ละแบบซึ่งกำหนดวัตถุศึกษานั้น ได้ซ่อนหรือปกปิดประเด็นอะไรไปบ้างเกี่ยวกับเรื่องที่ศึกษา และทำไมจึงเป็นเรื่องจำเป็น ที่เราจะต้องตระหนักถึงข้อจำกัดของอุปลักษณ์ที่ใช้เข้าใจหรือสร้างวัตถุศึกษาหนึ่ง ๆ ขึ้นมา รายงานชิ้นนี้เสนอว่า เช่นเดียวกับอุปลักษณ์อื่น ๆ อุปลักษณ์เชิงมโนทัศน์ที่เกี่ยวกับอินเทอร์เน็ตนั้น ได้สร้างกรอบความเข้าใจต่อประเด็นอินเทอร์เน็ต และลักษณะทางการเมืองในการกำหนดความเข้าใจนี้ ได้ส่งผลต่อนโยบายเกี่ยวกับอินเทอร์เน็ต.

  • การเมืองบนเฟซบุ๊ก / Facebook Politics

    การศึกษานี้พบว่า การเคลื่อนไหวออนไลน์ในประเทศไทยจำเป็นต้องอาศัยทุนเช่นเดียวกับการเคลื่อนไหวออฟไลน์ แต่เครือข่ายสังคมออนไลน์อนุญาตให้คนทั่วไปสะสมและแปลงทุนทางสังคมและทุนทางวัฒนธรรมได้สะดวกขึ้น แม้สิ่งที่เกิดขึ้นบนเครือข่ายสังคมออนไลน์จะไม่ใหม่ไปเสียทั้งหมด แต่ก็เกิดการขยายวงของการสื่อสาร อำนาจในการควบคุมพื้นที่เคลื่อนไปอยู่ในมือคนธรรมดามากขึ้น ความคิดสร้างสรรค์และทุนทางวัฒนธรรมก็ช่วยในการแสดงออกเรื่องที่โดยทั่วไปทำได้ยากในสังคม ซึ่งท้ายที่สุดแล้วทำให้มีเสรีภาพมากขึ้นในการแสดงออกและรวมตัว

  • เมื่อโลกใหม่ดิ้นรนจะบังเกิด และโลกเก่ากำลังตาย ?

    Anthropology News Volume 51, Issue 4, April 2010 ปีที่แล้วนี่เอง เป็นฉบับว่าด้วย “มานุษยวิทยาและวารสารศาสตร์” วันจันทร์ที่ผ่านมา [16 พ.ค.] ไปงาน Public forum: Reflection for the Thai Media in the post-2010 political violence เป็นเวทีสาธารณะจัดโดย สมาพันธ์สื่อมวลชนแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (SEAPA) ร่วมกับสมาคมนักข่าวฯ และสถาบันข่าวอิศรา มีหลายคนพูดถึงจริยธรรมสื่อ ถึงเรื่อง objectivity ที่ “เป็นมาตรฐาน” ของสื่อมวลชน บางคนก็ว่าจริยธรรมมันต้องมีจริยธรรมเดียว จะสื่อเก่าสื่อใหม่ก็ตาม ไม่งั้นก็ไม่ใช่สื่อมวลชน เป็นสื่อเฉพาะกลุ่ม เป็น “สื่อเทียม” บางคน (รวมถึงผมเอง) ก็ว่า อย่าเอาคุณค่าที่สื่อเก่าเห็นว่าดีว่าชอบ มาครอบงำกดทับสื่อใหม่ สมชัย สุวรรณบรรณ กรรมการนโยบาย ThaiPBS ที่เพิ่งเขียนบทความเรื่อง “สื่อชนเผ่า”…

  • Netizen Marathon 2010: Online Studies #nm10

    ส่วนหนึ่งของเทศกาล Netizen Marathon 2010 — hashtag: #nm10 อาทิตย์ 28 พ.ย. 15:00 – 17:00 คุยกับสถาปนิก เรื่อง คนกับพื้นที่ เบญจมาส วินิจจะกุล และ ดวงฤทธิ์ บุนนาค @ ร้านหนังสือและกาแฟก็องดิด ถนนตะนาว ใกล้สี่แยกคอกวัว [แผนที่] [Facebook event] จันทร์ 29 พ.ย. 09:00 – 17:00 เวทีวิชาการสาธารณะเพื่อพัฒนาคำถามวิจัย ออนไลน์ศึกษา @ คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา ตึกสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ ชั้น 4 ธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ [แผนที่] ปฏิทินกิจกรรม เทศกาลเน็ตติเซ่นมาราธอน 2553 thainetizen.org/marathon (Open Data BarCamp, Clip Kino, ReadCamp, ฯลฯ)…

  • พิธีกรรมสาธารณะ/วันที่ระลึกของไทย – Thai public rituals

    ในโอกาสพิธีกรรมสาธารณะ (ที่ปีนี้จัดอย่างยิ่งใหญ่ยิ่งยวด) รวบรวมและจัดประเภท (วันที่ถูกกำหนดให้เป็น)วันสำคัญ/วันที่ระลึก/วันหยุด จากแหล่งต่าง ๆ (ข้อมูลประกอบบทความที่เขียนไม่เสร็จ พิธีกรรมสาธารณะและสิ่งมันระลึกถึง – การบ้านเมื่อสองเทอมที่แล้ว) พิธีกรรมสาธารณะ/วันที่ระลึกของไทย (Thai public ritual table) รวบรวมจากเอกสารหลายฉบับ (ดูอ้างอิงที่ท้ายตาราง) แล้วทดลองจัดกลุ่มตามสิ่งที่ระลึกถึง ได้จำนวน 20 กลุ่ม – บางวันอาจอยู่ในกลุ่มมากกว่าหนึ่งกลุ่ม เช่น วันยุทธหัตถี (วันสมเด็จพระนเรศวรมหาราช) ที่อยู่ในกลุ่มการทหาร และกลุ่มสถาบันกษัตริย์/กษัตริย์, หรือ วันตำรวจ ที่อยู่ในกลุ่มราชการ/การปกครอง และกลุ่มอาชีพ/กลุ่มคน/องค์กร. กลุ่มจากการทดลองจัดนี้ สอดคล้องกับกลุ่มวันสำคัญของไทยที่จัดโดย ธวัชชัย พืชผล (2545). กลุ่ม : จำนวนวัน อาชีพ/กลุ่มคน/องค์กร : 23 สถาบันกษัตริย์/กษัตริย์ : 23 การทหาร : 20 การศึกษา/วิทยาการ : 13 ประเพณี : 10…

  • (เพื่อ "ภูมิซรอล") [review] ความเป็นมาของคำสยาม ไทย, ลาว และขอม และลักษณะทางสังคมของชื่อชนชาติ. โดย จิตร ภูมิศักดิ์.

    เทอมที่แล้ว เรียนวิชามานุษยวิทยาภาษากับยุกติ หนังสือเล่มแรกที่ทุกคนต้องอ่านและวิจารณ์ ก็คือ ความเป็นมาของคำสยาม ไทย, ลาว และขอม และลักษณะทางสังคมของชื่อชนชาติ โดย จิตร ภูมิศักดิ์ (กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ศยาม, 2544 [2519]). (ทั้งหมดต้องวิจารณ์สองเล่ม. อีกเล่มนั้น แล้วแต่ว่าใครจะเลือกเล่มไหน, จาก 3-4 เล่มที่ยุกติเลือกมาอีกที, ซึ่งผมเลือก Portraits of “the Whiteman”: Linguistic play and cultural symbols among the Western Apache โดย Keith Basso (Cambridge: Cambridge University Press, 1995 [1979]) ตามที่เคยโพสต์แบ่งกันอ่านไว้แล้ว) ช่วงนี้มีข่าว เรื่องเขมร ๆ โผล่มาบ่อย เริ่มจากการประท้วงของพันธมิตรที่ปราสาทพระวิหาร ตามด้วยเรื่องกลุ่ม 40 ส.ว. นำโดยนายไพบูลย์…

  • อันล่วงละเมิดมิได้ the Untouchable ?

    จาก ร่างพระราชบัญญัติอุปถัมภ์และคุ้มครองพระพุทธศาสนา อีกหนึ่งกฎหมายที่ถูกดัน เข้าสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ซึ่งถูกตั้งขึ้นหลังรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 (มีกฎหมายจำนวนมากถูกนำเข้าสนช.ในช่วงนั้น กฎหมายจำนวนมากที่ผ่านออกประกาศใช้จากการนำเข้าพิจารณาในช่วงนั้น เป็นกฎหมายที่ในเวลาปกติน่าจะผ่านออกมาลำบาก จะต้องมีการอภิปรายหรือถูกตรวจสอบจากสังคมอย่างมากแน่) มีอยู่ร่างหนึ่งจาก พ.ศ. 2551 มีมาตรานี้: มาตรา 40 ผู้ใดโฆษณาหรือไขข่าวด้วยประการใด ๆ ด้วยภาพ ตัวอักษร หรือข้อความที่ทำให้ปรากฏ ไม่ว่าด้วยวิธีใด ๆ หรือกระทำการกระจายเสียงหรือกระจายภาพ หรือกระทำการป่าวประกาศโดยวิธีอื่นเกี่ยวกับพระพุทธศาสนา พระภิกษุ สามเณร บรรพชิต หรือแม่ชี อันเป็นเหตุให้เกิดความเสื่อมเสียหรือเสียหายต่อพระพุทธศาสนา หรือเป็นเหตุให้พระภิกษุ สามเณร บรรพชิต หรือแม่ชี แล้วแต่กรณี เสื่อมเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่นหรือถูกเกลียดชัง ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ปัจจุบัน ร่างพ.ร.บ.ดังกล่าว มีหลายร่างจากหลายองค์กร ติดตามความเคลื่อนไหวได้ที่เว็บ phrathai.net หลายมาตราถูกเพิ่มเข้าเอาออกหรือแก้ไข อย่างไรก็ตาม ไม่ว่ามาตรา 40 อย่างในร่างข้างต้น สุดท้ายจะไปโผล่ในกฎหมายฉบับจริงหรือไม่ แต่มันก็สะท้อนได้ว่า…

  • [review] Portraits of “the Whiteman”: Linguistic play and cultural symbols among the Western Apache.

    ช่วงนี้ไม่ค่อยได้อัปบล็อก เอาของเก่ามาหากินละกัน :p นี่เป็นการบ้านของวิชาหนึ่งในเทอมที่ผ่านมา คือ วิชามานุษยวิทยาภาษา (linguistic anthropology). งานในวิชานี้มีวิจารณ์หนังสือ 2 เล่ม กับรายงานจบเทอมชิ้นหนึ่ง. ด้านล่างนี้เป็นบทวิจารณ์หนังสือเล่มที่สอง คือหนังสือ Portraits of “the Whiteman”: Linguistic play and cultural symbols among the Western Apache โดย Keith Basso. ส่วนเล่มแรกที่วิจารณ์คือ ความเป็นมาของคำสยาม, ไทย, ลาว และขอม และลักษณะทางสังคมของชื่อชนชาติ โดย จิตร ภูมิศักดิ์. เทอมที่แล้ว เคยวิจารณ์หนังสือที่ Keith Basso เขียน ไปแล้วเล่มหนึ่ง คือ Wisdom Sits in Places: Landscape and Language Among the…

  • Sociology+Anthropology activities calendar

    สำหรับคนที่สนใจงานเสวนา สัมมนา บรรยาย ประชุมวิชาการ พูดคุย ดูหนัง ศิลปะ นิทรรศการ ท่องเที่ยว ทางด้านสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ โดยเฉพาะด้านสังคมวิทยา มานุษยวิทยา และวรรณกรรมวิจารณ์ ลองใช้ปฏิทิน Soc-Ant Cafe นี้ดูครับ (เป็น Google Calendar) แบบดูบนเว็บ : http://bit.ly/socant-calendar แบบ iCal : http://bit.ly/socant-ical แบบ RSS feed : http://bit.ly/socant-feed แถม (โฆษณา) โครงการบัณฑิตศึกษา คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ขอเชิญผู้สนใจสมัครเข้าศึกษาต่อ หลักสูตรสังคมวิทยาและมานุษยวิทยาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชามานุษยวิทยา ปีการศึกษา 2552 (รุ่นที่ 1) รับสมัครผ่านทางเว็บไซด์ http://www.reg.tu.ac.th/ ตั้งแต่วันที่ 15 มกราคม – 28 กุมภาพันธ์ 2552 ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ http://www.socio.tu.ac.th/…

Exit mobile version