Category: Cultures

  • [30 Oct] Richard Stallman to give a keynote at FLossEd Bangkok

    ฝากบอกต่อครับ ริชาร์ด สตอลล์แมน ผู้ริเริ่มแนวคิด copyleft และ ซอฟต์แวร์เสรี จะปาฐกถาเปิดงานซอฟต์แวร์เสรีเพื่อการศึกษา FLossEd BK ศุกร์ 30 ตุลานี้ 19:30น. ที่โรงเรียนนานาชาติ เค.ไอ.เอส. ห้วยขวาง [แผนที่] Richard M. Stallman, of copyleft and Free Software Foundation, will give a keynote speech at FLossEd BK conference, at KIS International School, Bangkok. 19:30. Friday, October 30, 2009. [map] http://flossedbk.flossed.org technorati tags: Richard Stallman, free software, keynote,…

  • เข้านอก ออกใน วัฒนธรรมศึกษา หลังนวยุค งานหนังสือ

    วันนี้ไปงานหนังสือ ตอนไปตั้งใจว่าจะซื้อแค่เล่มเดียว คือ ดีไซน์+คัลเจอร์ 2 (ประชา สุวีรานนท์; สำนักพิมพ์อ่าน; 2552) (อ่านบทวิจารณ์เล่มแรก โดย สุภาพ พิมพ์ชน, @Duangruethai, @birdwithnolegs, ฯลฯ) สุดท้ายตัดสินใจ ยังไม่ซื้อ ดีไซน์+คัลเจอร์ 2 ด้วยเหตุอยากจำกัดงบไม่ให้บาน และคิดว่าไว้ซื้อวันหลังได้ วันนี้เลยขอเฉพาะหนังสือที่คิดว่า คงหาซื้อตามร้านที่ปกติจะไป-ไม่ได้ พวกหนังสือเก่า หนังสือจากสำนักพิมพ์เล็ก ๆ (ซึ่งผมคิดว่า นี่เป็นความดีงามอย่างหนึ่ง[หรือหนึ่งอย่าง?]ของงานหนังสือ ผมได้รู้จัก สถาบันสถาปนา ก็จากงานหนังสือสมัยคุรุสภานี่แหละ เขาเอามาเลหลังลดราคา) ได้สามเล่มนี้มา: ประวัติศาสตร์ในมิติวัฒนธรรมศึกษา (สุวรรณา เกรียงไกรเพ็ชร์ บรรณาธิการ; ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร; 2552) เล่มที่ 3 ในชุด ยกเครื่องเรื่องวัฒนธรรมศึกษา รวมบทความจากการประชุมประจำปีทางมานุษยวิทยาครั้งที่ 7 เล่มนี้มีบทความของ ธีระ นุชเปี่ยม, ชาตรี ประกิตนนทการ, วรสิทธิ์ ตันตินิพันธุ์กุล, นิติ ภวัครพันธุ์…

  • (เพื่อ "ภูมิซรอล") [review] ความเป็นมาของคำสยาม ไทย, ลาว และขอม และลักษณะทางสังคมของชื่อชนชาติ. โดย จิตร ภูมิศักดิ์.

    เทอมที่แล้ว เรียนวิชามานุษยวิทยาภาษากับยุกติ หนังสือเล่มแรกที่ทุกคนต้องอ่านและวิจารณ์ ก็คือ ความเป็นมาของคำสยาม ไทย, ลาว และขอม และลักษณะทางสังคมของชื่อชนชาติ โดย จิตร ภูมิศักดิ์ (กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ศยาม, 2544 [2519]). (ทั้งหมดต้องวิจารณ์สองเล่ม. อีกเล่มนั้น แล้วแต่ว่าใครจะเลือกเล่มไหน, จาก 3-4 เล่มที่ยุกติเลือกมาอีกที, ซึ่งผมเลือก Portraits of “the Whiteman”: Linguistic play and cultural symbols among the Western Apache โดย Keith Basso (Cambridge: Cambridge University Press, 1995 [1979]) ตามที่เคยโพสต์แบ่งกันอ่านไว้แล้ว) ช่วงนี้มีข่าว เรื่องเขมร ๆ โผล่มาบ่อย เริ่มจากการประท้วงของพันธมิตรที่ปราสาทพระวิหาร ตามด้วยเรื่องกลุ่ม 40 ส.ว. นำโดยนายไพบูลย์…

  • [สรุป] High and Low Thai: Views from Within (A.V.N. Diller 1985)

    Diller เสนอว่า ความแตกต่างของระดับภาษามีเรื่องความขัดแย้งทางวัฒนธรรมอยู่ด้วย ซึ่งสะท้อนออกมาในความขัดแย้งทางระบบการศึกษา การศึกษาและสอนภาษาตามแนว prescriptive (มีภาษาแบบแผนในอุดมคติที่ถูกต้อง) และ descriptive (ภาษาอย่างที่มันเป็น)

  • หนีตามกาลิเลโอ / ผู้มาก่อนกาล / ที่เมืองไทยไม่ต้องการ

    หาก คนยังคงยืนเด่นโดยท้าทาย ในสังคม คนดีเมืองไทยไม่ต้องการ ไม่ไหว ทางหนึ่งคือ หนีตามกาลิเลโอ ไปเป็น ยิปซี ร่อนเร่ เฮ็ดในสิ่งที่เซื่อ พิสูจน์ความเชื่อของตัว … แต่ทุกอย่างไหม ที่ทำแบบนั้นได้ มีอะไรบ้างไหม ที่จำเป็นต้องสู้ที่นี่ สู้จากข้างใน — ข่าวเมืองไทยต้อนรับแสดงความยินดีกับ เภสัชกร กฤษณา ไกรสินธุ์ ทำให้ผมนึกถึงกลอนบทนี้: พ่อสร้างชาติด้วยสมองและสองแขน พ่อสร้างแคว้นธรรมศาสตร์ประกาศศรี พ่อของข้านามระบือชื่อปรีดี แต่คนดีเมืองไทยไม่ต้องการ คุณจะทำดีทำเด่น ทำอะไรก้าวหน้าก็เถอะ ถ้ามันเข้ากับระบบเก่า ระบบที่มีอยู่เดิมไม่ได้ คุณก็จะไม่ได้รับการยอมรับ – โชคยังดี ที่ในโลกสมัยนี้ โอกาสในการออกนอกประเทศหนึ่งไปทำงานที่อื่น มันเปิดกว่าเดิม โดยเฉพาะถ้าเป็นงานที่ไม่ได้ติดกับพื้นที่ ทำให้คนที่ทำงานจริงจัง สามารถได้รับการยอมรับในที่อื่น แม้บ้านเกิดที่เขาอยากทำงานให้ จะไม่เหลียวแล (แต่ขอเฮด้วยตอนดังแล้ว) — ใน Another week of trying to comprehend fuzzy politics บทความโดย…

  • อันล่วงละเมิดมิได้ the Untouchable ?

    จาก ร่างพระราชบัญญัติอุปถัมภ์และคุ้มครองพระพุทธศาสนา อีกหนึ่งกฎหมายที่ถูกดัน เข้าสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ซึ่งถูกตั้งขึ้นหลังรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 (มีกฎหมายจำนวนมากถูกนำเข้าสนช.ในช่วงนั้น กฎหมายจำนวนมากที่ผ่านออกประกาศใช้จากการนำเข้าพิจารณาในช่วงนั้น เป็นกฎหมายที่ในเวลาปกติน่าจะผ่านออกมาลำบาก จะต้องมีการอภิปรายหรือถูกตรวจสอบจากสังคมอย่างมากแน่) มีอยู่ร่างหนึ่งจาก พ.ศ. 2551 มีมาตรานี้: มาตรา 40 ผู้ใดโฆษณาหรือไขข่าวด้วยประการใด ๆ ด้วยภาพ ตัวอักษร หรือข้อความที่ทำให้ปรากฏ ไม่ว่าด้วยวิธีใด ๆ หรือกระทำการกระจายเสียงหรือกระจายภาพ หรือกระทำการป่าวประกาศโดยวิธีอื่นเกี่ยวกับพระพุทธศาสนา พระภิกษุ สามเณร บรรพชิต หรือแม่ชี อันเป็นเหตุให้เกิดความเสื่อมเสียหรือเสียหายต่อพระพุทธศาสนา หรือเป็นเหตุให้พระภิกษุ สามเณร บรรพชิต หรือแม่ชี แล้วแต่กรณี เสื่อมเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่นหรือถูกเกลียดชัง ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ปัจจุบัน ร่างพ.ร.บ.ดังกล่าว มีหลายร่างจากหลายองค์กร ติดตามความเคลื่อนไหวได้ที่เว็บ phrathai.net หลายมาตราถูกเพิ่มเข้าเอาออกหรือแก้ไข อย่างไรก็ตาม ไม่ว่ามาตรา 40 อย่างในร่างข้างต้น สุดท้ายจะไปโผล่ในกฎหมายฉบับจริงหรือไม่ แต่มันก็สะท้อนได้ว่า…

  • หวัด 2009 และ อคติในการยกตัวอย่าง

    ช่วงนี้ หวัด 2009 ระบาด รักษาสุขภาพด้วย หลีกเลี่ยงการเอามือมาสัมผัส ตา จมูก ปาก (ทีโซน T-zone) — ลดเสี่ยงทั้งหวัด ทั้งสิว สิ่งที่งานสาธารณสุขห่วงตอนนี้ ไม่ใช่ว่ากลัวมันระบาด มันระบาดไปแล้ว ไม่ต้องกลัว ที่กลัวคือกลัวคนเป็นพร้อม ๆ กันเยอะ ๆ แล้วไปโรงพยาบาลพร้อม ๆ กันคราวเดียว โรงพยาบาลจะรับไม่ไหว คนป่วยโรคอื่น ๆ ก็กระทบไปด้วย เจ้าหน้าที่และทรัพยากรไม่เพียงพอที่จะรับ peak แบบนั้น แต่ถ้าชะลอการติดเชื้อออกไปได้ ให้มันเกลี่ย ๆ ไม่เป็นพร้อม ๆ กันหมด ระบบสาธารณสุขก็จะรับมือไหว มีอาการ คิดว่าเป็นหวัด หยุดอยู่บ้านเลย ไม่ต้องใส่หน้ากากออกมาเพ่นพ่าน รับข่าวสารได้ทางทวิตเตอร์ @flu2009th และเว็บไซต์ www.flu2009thailand.com … มีโอกาสไปได้ยินผู้บริหารระดับสูงขององค์การที่เกี่ยวข้องกับสุขภาวะ แสดงความห่วงใยเรื่องดังกล่าว ขอความร่วมมือให้ช่วยกัน … ก็น่ายินดี มีอะไรช่วยเหลือได้ก็แน่นอน จะทำเต็มที่…

  • [review] Portraits of “the Whiteman”: Linguistic play and cultural symbols among the Western Apache.

    ช่วงนี้ไม่ค่อยได้อัปบล็อก เอาของเก่ามาหากินละกัน :p นี่เป็นการบ้านของวิชาหนึ่งในเทอมที่ผ่านมา คือ วิชามานุษยวิทยาภาษา (linguistic anthropology). งานในวิชานี้มีวิจารณ์หนังสือ 2 เล่ม กับรายงานจบเทอมชิ้นหนึ่ง. ด้านล่างนี้เป็นบทวิจารณ์หนังสือเล่มที่สอง คือหนังสือ Portraits of “the Whiteman”: Linguistic play and cultural symbols among the Western Apache โดย Keith Basso. ส่วนเล่มแรกที่วิจารณ์คือ ความเป็นมาของคำสยาม, ไทย, ลาว และขอม และลักษณะทางสังคมของชื่อชนชาติ โดย จิตร ภูมิศักดิ์. เทอมที่แล้ว เคยวิจารณ์หนังสือที่ Keith Basso เขียน ไปแล้วเล่มหนึ่ง คือ Wisdom Sits in Places: Landscape and Language Among the…

  • Sociology+Anthropology activities calendar

    สำหรับคนที่สนใจงานเสวนา สัมมนา บรรยาย ประชุมวิชาการ พูดคุย ดูหนัง ศิลปะ นิทรรศการ ท่องเที่ยว ทางด้านสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ โดยเฉพาะด้านสังคมวิทยา มานุษยวิทยา และวรรณกรรมวิจารณ์ ลองใช้ปฏิทิน Soc-Ant Cafe นี้ดูครับ (เป็น Google Calendar) แบบดูบนเว็บ : http://bit.ly/socant-calendar แบบ iCal : http://bit.ly/socant-ical แบบ RSS feed : http://bit.ly/socant-feed แถม (โฆษณา) โครงการบัณฑิตศึกษา คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ขอเชิญผู้สนใจสมัครเข้าศึกษาต่อ หลักสูตรสังคมวิทยาและมานุษยวิทยาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชามานุษยวิทยา ปีการศึกษา 2552 (รุ่นที่ 1) รับสมัครผ่านทางเว็บไซด์ http://www.reg.tu.ac.th/ ตั้งแต่วันที่ 15 มกราคม – 28 กุมภาพันธ์ 2552 ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ http://www.socio.tu.ac.th/…

  • Sulak Sivaraksa says ‘NO’ to Kukrit Pramoj

    “ … วิธีการเช่นนี้ คุณชายคึกฤทธิ์ใช้มากับผมและบุคคลอื่นๆ ที่เธอรังเกียจก่อนแล้วที่สยามรัฐ ก็ถ้าสื่อมวลชนใช้อคติส่วนตัวของผู้บริหารสูงสุดเป็นตัวกำหนด ว่าควรเอ่ยชื่อใครหรือไม่ และบทความของใครควรลงพิมพ์หรือไม่ โดยที่คนๆ นั้นเป็นคนที่ผู้บริหารสูงสุดรังเกียจเสียแล้วละก็ สื่อมวลชนดังกล่าวมีความเป็นกลางละหรือ รักสัจจะหรืออาสัตย์อาธรรม์กันแน่ แม้อนันตริยกรรมข้อนี้ ประการเดียว บุคคลคนนั้น ยังควรได้รับยกย่องให้เป็นคนสำคัญของโลกอีกละหรือ โดยไม่จำต้องเอ่ยว่าสี่แผ่นดิน นั้นเป็นนวนิยายที่ใช้ล้างสมองให้คนเห็นว่าประชาธิปไตยเป็นของเลว ราชาธิปไตยเป็นของวิเศษ ชาติวุฒิสำคัญยิ่งกว่าคุณวุฒิของสามัญชนคนธรรมดา และแล้วเราก็ยังถูกสะกดให้อยู่ในอีหรอบนี้อยู่ หรือมิใช่ … ” ส.ศิวรักษ์ เขียนจดหมายเปิดผนึกถึงบรรณาธิการไทยโพสต์ เพื่อแสดงความเห็นต่อบทความ “คึกฤทธิ์คนสำคัญของโลก” ในคอลัมน์ บังอบายเบิกฟ้า ซึ่งตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ไทยโพสต์เมื่อวันที่ 4 ม.ค. 2552 แสดงความไม่เห็นด้วยกับการเสนอชื่อ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช ต่อยูเนสโกเพื่อให้รับรองเป็นบุคคลสำคัญของโลก นอกจากนี้ยังเสนอให้รัฐบาลทำประชามติก่อน หากจะมีการเสนอชื่อผู้ใด ไม่ใช่ทำกันแต่เป็นการภายใน โดยไม่สนใจประชาชน (ถัดจากนี้คือเนื้อความในจดหมายดังกล่าว) : ๑๒๗ ซอยสันติภาพ ถนนนเรศ บางรัก กรุงเทพฯ ๑๐๕๐๐ ๘ มกราคม ๒๕๕๒ เรียนบรรณาธิการไทยโพสต์ ผมรู้จักคุณธรรมเกียรติ…

Exit mobile version