Category: Cultures

  • Rethinking Cultural Studies

    The 7th Annual Conference of Anthropology: “Rethinking Cultural Studies” 26-28 March 2008 at Sirindhorn Anthopology Centre, Bangkok, Thailand การประชุมประจำปีทางมานุษยวิทยาครั้งที่ 7 “ยกเครื่องเรื่องวัฒนธรรมศึกษา” 26-28 มีนาคม 2551 ณ หอประชุมศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร กรุงเทพ การประชุมประจำปีทางมานุษยวิทยา ครั้งที่ 7 จะเน้นที่การศึกษาศิลปวัฒนธรรม ซึ่งเป็นเรื่องที่กว้างขวางมาก เนื่องจากคำว่า วัฒนธรรม เป็นคำและมโนทัศน์ที่ใช้กันทั้งในวงการวิชาการ ทั้งสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ ในวงราชการ สื่อ และในชีวิตประจำวัน ทำให้มีปริมณฑลของความหมายที่หลากหลาย ซ้อนทับกันบ้าง ขัดแย้งกันบ้าง และปรับเปลี่ยนอยู่ตลอดเวลา ในการประชุมครั้งนี้ เราจะเริ่มด้วยสิ่งที่เรียกว่า “วัฒนธรรมศึกษา” ซึ่งปัจจุบันกลายเป็นหลักสูตรที่เปิดกันอย่างครึกโครมในสถาบันการศึกษาในประเทศไทย เรียกได้ว่าเป็น สาขาใหม่ ที่ “ดึงดูดลูกค้า” ได้อย่างกว้างขวาง ดูกำหนดการแล้ว ที่เล็ง ๆ…

  • Zellig Harris’s Operator Grammar

    ค้น ๆ เรื่อง Dependency Grammar อยู่ ก็ไปเจอนี่เข้า: Operator Grammar เท่าที่อ่าน ๆ ไม่กี่หน้า ก็ประมาณว่า Operator Grammar เสนอข้อจำกัดสากล (universal constraint) 3 อย่าง คือ Dependency การจะใช้คำบางคำได้จำเป็นต้องมีคำอื่นบางคำร่วมด้วย, Likelihood การใช้คำร่วมกันบางแบบมีโอกาสเกิดมากกว่าแบบอื่น, Reduction คำในแบบผสมที่มีโอกาสเกิดสูงสามารถลดรูปให้สั้นลงได้ และบางครั้งก็ละทั้งหมดได้เลย ซึ่งนักภาษาศาสตร์บางคนก็ชี้ การมี Likelihood นี้ หมายถึง Operator Grammar นี้ คำนึงถึงเรื่อง สถิติ/ความน่าจะเป็น ในแก่นของไวยากรณ์เลย ไม่ใช่เป็นการเพิ่มเติมทีหลัง ส่วนเรื่อง Reduction ก็เป็นตัวชี้ให้เห็นได้ว่า การลดขนาดของข้อความ/จำนวนคำ ไม่จำเป็นต้องเป็น การลดจำนวนของสารสนเทศ (information) นอกจากนี้ในการวิพากษ์เปรียบเทียบ Link Grammar และ Operator Grammar (ซึ่งต่างก็มีแนวคิดบางส่วนคล้ายคลึง/ได้อิทธิพลมาจาก Dependency…

  • Corpus-Related Research

    สาขาวิจัยที่สามารถใช้ประโยชน์จากคลังข้อความได้ เช่น ภาษาศาสตร์เชิงคำนวณ วัฒนธรรมศึกษา และ การวิเคราะห์วาทกรรม ใน Linguistics of Political Argument: The Spin-Doctor and the Wolf-Pack at the White House [gbook], Alan Partington รองศาสตราจารย์ด้านภาษาศาสตร์ แห่งคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยคาเมรีโน ประเทศอิตาลี ได้พิจารณาความสัมพันธ์ระหว่างทำเนียบขาวกับสื่อ โดยการวิเคราะห์ทางภาษาศาสตร์จากคลังข้อความ ซึ่งประกอบไปด้วยสรุปคำแถลงข่าวประมาณ 50 ชิ้นในช่วงปีท้าย ๆ ของการดำรงตำแหน่งของประธานาธิบดีคลินตัน โดยหัวข้อนั้น มีตั้งแต่เรื่องในโคโซโวไปจนถึงเรื่องความสัมพันธ์คลินตัน-เลวินสกี งานชิ้นนี้ไม่เหมือนใครก่อนหน้า ตรงที่มันทำให้เราเห็นว่า เราสามารถนำเทคโนโลยี concordance (การแสดงคำที่กำหนดในบริบทต่าง ๆ) และหลักฐานทางภาษาศาสตร์อย่างละเอียด มาใช้ในการศึกษาคุณสมบัติต่าง ๆ ของวาทกรรม ทั้งในตัวบทและกลวิธีการสื่อสารของผู้พูดได้-อย่างไร Tony McEnery and Andrew Wilson, Corpus Linguistics, Edinburgh…

  • discourse/information/communication people

    จดกันลืม บุคคลน่าสนใจ สาวิตรี คทวณิช คณะภาษาและการสื่อสาร สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ discourse analysis; critical discourse analysis; language and politics นคร เสรีรักษ์ การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล : ข้อเสนอเพื่อการพัฒนาสิทธิรับรู้ข้อมูลข่าวสารในกระบวนการธรรมรัฐไทย (วิทยานิพนธ์ วิทยาลัยสหวิทยาการ มธ.) Freedom of Information and Privacy Protection in Thailand วราภรณ์ วนาพิทักษ์ มาตรการการจัดการการเผยแพร่เนื้อหาที่ไม่เหมาะสมบนอินเทอร์เน็ตของประเทศไทย (วิทยานิพนธ์ วิทยาลัยสหวิทยาการ มธ.) สมสุข หินวิมาน คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ cultural studies technorati tags: people, freedom of information, discourse analysis

  • Horror in Pink

    ภาพชุด “Horror in Pink” (ปีศาจสีชมพู) ในซีรี่ส์ “Pink Man” โดย มานิต ศรีวานิชภูมิ (ขวัญใจ anpanpon) 1 ใน 100 ช่างภาพร่วมสมัยที่ “น่าตื่นเต้น” ที่สุดในโลก จากการคัดเลือกของ 10 ภัณฑารักษ์ชั้นนำ (หนังสือ Blink. โดยสำนักพิมพ์ Phaidon) เข้ากับกระแสเสื้อชมพูตอนนี้ดี Q: What did they die for? A: So we can go shopping. เมื่อปี 48 มานิตเคยจัดนิทรรศการ “นีโอ-ชาตินิยม” วสันต์ สิทธิเขตต์ หนึ่งในศิลปินผู้ร่วมแสดง (ต่อมาได้รับรางวัลศิลปาธร ประจำปี พ.ศ. 2550) ได้กล่าวไว้ว่า: “เพราะฉะนั้นการที่เรามาตั้งสติคิดว่า ฉันไม่ขอเป็นชาตินิยมกับคุณ ถ้าชาตินิยมนั้นหมายถึงการที่จะต้องคับแคบ อคติ…

  • คปส. สัมภาษณ์เรื่อง FACT อินเทอร์เน็ต และการปฏิรูปสื่อ

    “ที่เอาพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์เพราะไม่อยากเอาพ.ร.บ.ใหญ่กว่านี้” — พ.ต.อ.ญาณพล ยั่งยืน ผู้บัญชาการสำนักคดีเทคโนโลยีและสารสนเทศ กรมสอบสวนคดีพิเศษ กระทรวงยุติธรรม (DSI), 8 พ.ย. 2550 พี่ที่คณะกรรมการรณรงค์เพื่อการปฏิรูปสื่อ (คปส.) ส่งอีเมลมาสัมภาษณ์ตั้งแต่สองอาทิตย์ที่แล้ว เพิ่งมีเวลาตอบกลับไปเมื่อวันอังคารที่ผ่านมา วันศุกร์เขาโทรมาอีกที บอกว่าขออนุญาตรีไรท์ใหม่ เพราะจดหมายข่าวที่เขาจะเอาไปลง มันบางนิดเดียว ลงให้ได้สามหน้า แต่ที่ผมส่งไปมันเก้าหน้ากว่า ๆ ได้ 😛 เขาจะแบ่งลงเป็นสองฉบับแล้วกัน สัมภาษณ์ลงฉบับนี้ และเลือกประเด็นบางอย่างไปลงฉบับหน้า ผมบอกไปว่ารีไรท์ตามสบายเลยพี่ เพราะพี่รู้จักกลุ่มผู้อ่านดีกว่าผม จะได้เขียนให้เป็นภาษาที่กลุ่มผู้อ่านเข้าใจได้ง่าย ๆ เลยขอเอาฉบับเต็ม ๆ ที่ส่งไปให้เขาทีแรก (แก้ไขนิดหน่อย) มาลงในบล็อกนี้ (ในนี้ผมใช้ “บล็อก” สำหรับ “blog” และ “บล็อค” สำหรับ “block”) เพื่อให้รับกับงานสัมมนา “พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ฉบับใหม่และการคัดค้านของโลกไซเบอร์ : จากตำราสู่การปฏิบัติจริง” เมื่อ 8 พ.ย. ที่พึ่งผ่านมา (ดูความเห็นคนอื่น ๆ: wonam, คนชายขอบ (พร้อมแผ่นนำเสนอ), วิดีโอสัมภาษณ์วิทยากร (ดาวน์โหลด [wmv]))…

  • Jacks the Giant Killer – Prachatai Night

    ประชาไทไนท์ ตอน แจ็คผู้ฆ่ายักษ์(เขียวตาเดียว) พฤหัส 2 สิงหา 17:30 @ โรงละครมะขามป้อม BTS สะพานควาย ขอเชิญเหล่า “แจ็ค” ตัวเล็ก ๆ ร่วมปันไอเดียมัน ๆ ในสไตล์ 20×20 จะทำยังไงกับ “เจ้ายักษ์” ดี จะอยู่ร่วมกัน จะสนุกกับมัน จะหลบหลีกมัน จะจัดการมันเสีย หรือจะอะไรยังไงดี ? ในปาร์ตี้สบาย ๆ สไตล์ชาวบ้าน ๆ แสนเอกขเนก คงมีแต่ “ชาวบ้าน” อย่างแจ็คเท่านั้นที่จะช่วยเหล่าชาวบ้านด้วยกันเองได้ … ก็ “ยักษ์” อื่น ๆ ที่ไหนจะมาสนใจ ? [ ลิงก์ ประชาไท ] technorati tags: events, Bangkok, censorship

  • Free Thai Cinema – Revise the Film & Video Act

    Free Thai Cinema Movement ความเป็นมา และการเคลื่อนไหวเรียกร้อง ให้มีการแก้ไข พ.ร.บ.ภาพยนตร์และวิดีทัศน์ ฉบับ พ.ศ…. [ ลิงก์ filmsick ] technorati tags: films, Thai

  • Taisoc

    ที่โอเพ่นออนไลน์มีบทความใหม่ ประเด็นร้อนตอนนี้ merveillesxx : เมื่อกองเซ็นเซอร์ดับ “แสงศตวรรษ” – หนัง เซ็นเซอร์ เรทติ้ง ยูทูบ ซีเอ็นเอ็น ยุกติ มุกดาวิจิตร : Online-phobia – สังคมออนไลน์ รัฐ ชาติ การควบคุม ยูทูบ ไอซีที สนธยา ทรัพย์เย็น : แสงศตวรรษ (Syndromes and a Century) แสงสะท้อนความอัปยศอดสูของชนเผ่าสยาม – ภาษาหนัง (update) เดือนก่อน อ่านภาคผนวกของ 1984, เรื่อง Newspeak (นิวสปีก) เจ๋งดี (ตัวนิยายยังไม่ได้อ่านหรอกนะ ข้ามมาอ่านภาคผนวกเลย) ผมว่ามันทำได้จริง ๆ นะ ภาษามีอิทธิพลต่อความคิดมาก (อย่างน้อยนักภาษาศาสตร์และนักจิตวิทยาส่วนหนึ่งก็เชื่อเช่นนั้น) เช่นเวลาเราคิด เราคิดเป็นภาษารึเปล่า ? มันอาจจะไม่เสมอไป บางคนอาจแย้ง แต่ส่วนใหญ่แล้ว…

  • Nation-State and the Netizen

    เราสามารถนำคำอธิบายความขัดแย้ง ระหว่าง รัฐ (state) กับ ชาติ (nation, กลุ่มคน) มาใช้อธิบายความขัดแย้งระหว่าง รัฐ กับ ชาว(เผ่า)อินเทอร์เน็ต ได้ไหม ? ชาวอินเทอร์เน็ตบางส่วน มีคุณค่าพื้นฐานที่ยึดถือร่วมกันอยู่ เช่น netiquette, open-source culture, hacker ethic และเป็นลักษณะที่ข้ามเขตพรมแดน เลยขอบเขตของรัฐออกไป (แฮกเกอร์เวียดนามก็ยึดถือคุณค่าเดียวกับแฮกเกอร์ญี่ปุ่น เป็นต้น) อย่างนี้แล้ว แม้ชาวอินเทอร์เน็ตกลุ่มนั้นจะไม่ถึงขนาดนับเป็น กลุ่มชาติพันธุ์ (ethnic group) ได้ แต่เราจะเรียกว่า เผ่า (tribe) จะพอไหวไหม ? Netizen ? แล้วกรณีที่รัฐพยายามจะเข้ามาจัดการจัดระเบียบอินเทอร์เน็ต (รวมถึงการเซ็นเซอร์) ก็คือการที่รัฐพยายามจะมามีอำนาจเหนือชาติ (อินเทอร์เน็ต) ส่วน(คนใน)ชาตินั้นก็พยายามจะต่อสู้เพื่อให้ได้มาซึ่งการกำหนดชะตาชีวิตของตัวเอง แต่ความพยายามของรัฐ จะประสบความยากลำบากอย่างหลีกหนีไม่พ้น เพราะเครื่องมือของรัฐนั้น มีขีดจำกัดอำนาจอยู่แค่ในเขตแดนของรัฐเท่านั้น ในขณะที่ชาติครอบคลุมเกินไปกว่า นึก ๆ เรื่องนี้ขึ้นมาได้ ระหว่างอ่าน รัฐ-ชาติกับ(ความไร้)ระเบียบโลกชุดใหม่ โดย…

Exit mobile version