ภาพชุด “Horror in Pink” (ปีศาจสีชมพู) ในซีรี่ส์ “Pink Man” โดย มานิต ศรีวานิชภูมิ (ขวัญใจ anpanpon)
1 ใน 100 ช่างภาพร่วมสมัยที่ “น่าตื่นเต้น” ที่สุดในโลก จากการคัดเลือกของ 10 ภัณฑารักษ์ชั้นนำ (หนังสือ Blink. โดยสำนักพิมพ์ Phaidon)
เข้ากับกระแสเสื้อชมพูตอนนี้ดี
Q: What did they die for?
A: So we can go shopping.
เมื่อปี 48 มานิตเคยจัดนิทรรศการ “นีโอ-ชาตินิยม”
วสันต์ สิทธิเขตต์ หนึ่งในศิลปินผู้ร่วมแสดง (ต่อมาได้รับรางวัลศิลปาธร ประจำปี พ.ศ. 2550) ได้กล่าวไว้ว่า:
“เพราะฉะนั้นการที่เรามาตั้งสติคิดว่า ฉันไม่ขอเป็นชาตินิยมกับคุณ ถ้าชาตินิยมนั้นหมายถึงการที่จะต้องคับแคบ อคติ หรือชิงชังกับคนที่มีความเห็นแตกต่างจากตัวเอง…. แล้วเราจะอยู่ในความต่างกันได้อย่างไร สิ่งนี้แหละคือสิ่งที่พูดถึงความมีวัฒนธรรม ความมีอารยธรรม เพื่อที่มนุษย์จะพัฒนาสติปัญญามากขึ้น เพื่อที่จะให้ทุกคนมีความรู้ ไม่ใช่ให้อยู่ในความโง่เขลา แล้วจูงเขาไปสู่ผลประโยชน์ของตัวเอง โดยผู้ปกครอง”
[ ลิงก์ Manit Sriwanichpoom | ผ่าน New Mandala ]
(ในเว็บ New Mandala, mk แนะนำให้อ่าน Royalist propaganda and policy nonsense)
technorati tags: photographic art, Manit Sriwanichpoom, pink
10 responses to “Horror in Pink”
สยองโคตร !!
เออ ดีเลย ขอบคุณมาก กำลังจะทำเรื่องคุณมานิตอยู่พอดี ไม่รู้ว่าคุณ prof จะโอเคเปล่าเนี่ย
ภาพชุดนี้ตอนดูครั้งแรกว่า "โดน" มากแล้วมาดูอีกทีตอนนี้ ยิ่งโดนขึ้นอีก
จำได้ว่าเคยเดินดูตรงทางเชื่อมรถไฟฟ้าสยาม-สนามกีฬาฯ เมื่อปีสองปีก่อนชอบจริงๆ เลย
โดนจับคงโดนกันยกทีม ลิงก์วนๆ อยู่แค่นี้ (ปิดหน้าต่างดีๆ นะครับ เดี๋ยวโดนบุกทางหน้าต่าง ฮา)
มันชัดกันจังเลยอ่า
ตอนแรกก่อนคลิกเข้ามาอ่านละเอียด ยังนึกว่าเพิ่งเป็นสิ่งที่ทำออกมาตอนนี้ แต่ว่าพอดูๆแล้วนี่ออกมาตั้งแต่ปี 2001 (ใช่หรือไม่)"โดน"
cotton: อื้ม งานชุดนี้เป็นงานเก่าหลายปีแล้วครับ
ดูภาพแล้วไม่ "โดน" เลยครับ แต่กลับเสียใจ หดหู่ และเศร้าใจ มากๆ
มาอ่านท่อนสุดท้าย ที่ยกคำพูดวสันต์มาอีกที"… แล้วจูงเขาไปสู่ผลประโยชน์ของตัวเอง โดยผู้ปกครอง”ก็รู้สึกทะแม่ง ๆ แฮะ คือมันแปลว่า ก็ต้องให้ใครซักคนซักกลุ่ม มาจูงอยู่ดีใช่ไหม?