[review] Doing Ethnographies. (assignment)


ส่งการบ้านวิจารณ์หนังสืออีกแล้ว

Doing Ethnographies. โดย Mike Crang และ Ian Cook (Sage Publications, 2007)

ด้วยรูปร่างหน้าตาเผิน ๆ เหมือนหนังสือ “ฮาวทู” แต่เมื่ออ่านช่วงต้นก็รู้สึกแว่บว่า “ต่อต้านฮาวทู” จนอ่านต่อก็รู้สึกว่า “อาจจะฮาวทู”, Doing Ethnographies เป็นหนังสือที่ควรอ่านมากกว่าหนึ่งรอบ ในวาระ วิธี ลำดับ และทิศทางต่าง ๆ กัน. ด้วยการสะกิดผู้อ่านให้นึกถึงทางเลือกยุ่บยั่บย้อนแย้งอยู่ทุกระยะ แครงก์และคุกสองผู้เขียนไม่เพียงแต่เล่าเรื่องราวยุ่งเหยิงในการ(จะไป)ทำชาติพันธุ์วรรณนาที่ไม่ค่อยจะมีใครเล่านัก แต่ยังทำให้เรารู้สึกสับสน อย่างที่เราควรจะรู้ว่ามันจะสับสนอย่างไรในสนาม. ผู้เขียนเสนอว่าสิ่งที่สำคัญที่สุดในการศึกษาความสัมพันธ์ของมนุษย์นั้นก็คือตัว ความสัมพันธ์ของมนุษย์ นั้นเอง. ไม่เพียงผู้ไขประตูสู่สนามเท่านั้นที่เป็นมนุษย์ แต่รวมถึงผู้ที่ถูกศึกษาและผู้ศึกษาด้วย, เหล่านี้นำไปสู่ประเด็นจริยธรรมและความเป็นภววิสัยของการศึกษา และสิ่งที่ผู้เขียนย้ำคือ ไม่มีสิ่งที่เรียกว่า “ข้อมูลดิบ” ทุกอย่างล้วนถูกประกอบสร้าง-โดยตัวผู้สังเกตก็มีส่วนกำหนด ความสัมพันธ์เชิงอำนาจมีอิทธิพลในการประกอบสร้างข้อมูลดังกล่าวเสมอ และความคิดต่าง ๆ ล้วนได้รับอิทธิพลมาจากความคิดก่อนหน้าอื่น ๆ. จงเป็นมนุษย์ที่ปรับตัวและรู้ตัวในทุกขณะ อาจเป็นคำแนะนำที่ไม่มีข้อยกเว้นเพียงอย่างเดียวของหนังสือ “อาจจะฮาวทู” เล่มนี้.

บทวิจารณ์ (PDF, 5+1 หน้า จัดหน้าใหม่ เพิ่มขนาดฟอนต์ กลายเป็น 7 หน้า) เป็น CC-by-3.0

ฉบับดั้งเดิมของหนังสือเล่มนี้ (1995 เขียนระหว่างที่ผู้เขียนทั้งสองกำลังทำวิทยานิพนธ์อยู่) สามารถดาวน์โหลดได้ฟรีที่ Durham e-Prints

technorati tags: , ,


6 responses to “[review] Doing Ethnographies. (assignment)”

  1. ยังมีคะแนนเหลือให้ได้เีอกเหรอ ส่งช้าปานนั้นbact' เนี่ยเป็นวิศวกรปะ

  2. fat dog father: คิดว่าคงไม่เหลือแล้ว :pเขียนคร่าว ๆ ไปรอบนึงแล้ว แต่ไม่ได้ทำให้จบเจอประเด็นที่คิดว่าน่าสนใจ เลยเปลี่ยนไปค้นอันอื่น (บางอันที่เพิ่มมาในอ้างอิง)แล้วเขียนใหม่ หน้าตาสุดท้ายออกมาไม่เหมือนตอนแรกทำไปทำมาไม่ได้เน้นเรื่องส่ง-ซึ่งน่าจะเป็นเรื่องที่เน้นสำหรับ "การบ้าน"-ไปเน้นเรื่องอยากซะมาก

  3. ปกติควรจะได้ศูนย์นะน้อง งานที่ส่งไม่ทันกำหนดถึงจะดีแค่ไหนก็ไร้คุณค่า

  4. ก็เชื่อว่าสามารถเป็นอย่างนั้นได้ครับเช่นโครงการซอฟต์แวร์ที่ deploy ได้ไม่ทันวันกำหนดเปิดตัว เนื่องจากคุณค่าอันนั้นอาจจะเป็นการเปิดตัวให้ทันแผนการตลาด ซึ่งเชื่อมกับแผนธุรกิจ อันเป็นสิ่งที่ทำให้เกิดความต้องการโครงการซอฟต์แวร์นั้นแต่แรกในกรณีของผม คุณค่าที่ผมให้กับงานชิ้นนี้ ผมเห็นว่า ที่อาจารย์ให้อ่านและวิพากษ์ เพราะว่ามันจะเป็นตัวปูพื้นไปสู่การทำงาน fieldwork ที่อาจารย์จะมอบหมายให้สัปดาห์ถัดไปแต่พออ่านพ้นส่วนแรกของเล่มที่เป็นประเด็นถกเถียงหลักของหนังสืออย่าง ความรู้/อำนาจ แล้วในส่วนที่สองของหนังสือ ผมพบว่ามันไม่ได้ตอบโจทย์อันนั้น คือผมคิดว่าผมเอาเรื่องในบท 4-7 ไปใช้กับงานภาคสนามของผมไม่ได้ (ดังที่ได้วิพากษ์ไว้ในตัวบทวิจารณ์) ก็เลยไปค้นเล่มอื่นมาอ่าน — เพื่อเป็นฐานในการวิจารณ์ + เพื่อปูพื้นตัวเองในการไปทำงานภาคสนาม (ในสัปดาห์ถัดไปและอื่น ๆ) ซึ่งเป็นอีกเรื่องที่ผมให้คุณค่าด้วย นอกเหนือจากการส่งงานผมดีเฟนต์จุดนี้เฉพาะงานนี้นะ ไม่ได้หมายความว่าจะใช้ 'เหตุผล' อันนี้ได้กับงานอื่น ๆและจริง ๆ แล้ว ถ้าอาจารย์เขาให้คุณค่ากับการให้งานนี้ เพราะว่าอยากจะวัดว่าสามารถทำอะไรได้เท่าไหนในเวลาที่กำหนด – ซึ่งแสดงว่า ถ้าส่งเลยกำหนดก็จะทำให้ไม่สามารถวัดได้ เท่ากับเหตุผลในการให้งานตั้งแต่ทีแรกนั้นได้เสียไปแล้ว = คุณค่าของงานเป็นศูนย์ ผมก็โอเคนะคือก็แล้วแต่จะให้คุณค่ามันยังไงน่ะในฐานะการบ้าน มันมีคุณค่าเป็นศูนย์ หน่วย Aในฐานะผมได้ explore แนวคิดชุดหนึ่งที่ผมสนใจ ก็มีคุณค่าอีกอย่าง สมมติ 5 หน่วย Bในฐานะที่ทำให้ fat dog father มาช่วยวิพากษ์วิธีการทำงานของผม ก็มีคุณค่าอีกอย่าง สมมติ 10 หน่วย Cส่วนอาจารย์ประจำวิชาเขาจะให้คุณค่ามันยังไง ก็มีความเป็นไปได้ต่าง ๆ นานาเช่นกันน่ะครับฟังดูจะเป็นการเรียนตามอัธยาศัยไปหน่อยแต่ผมก็อยากให้มันก็เป็นอย่างนั้นน่ะครับ ถึงได้มาเรียน

  5. โหเครียด ผมมองในจุดนี้นะ (อาจจะแรง ได้โปรดอย่าโกรธ)1. เราต้องแยกให้ออกว่าอะไรคือการบ้าน อะไรคืองานวิจัย อะไรคือข้อสอบถ้าการบ้านมีผลกับคะแนนแบบอิงกลุ่ม อะไรคือความยุติธรรม ในเมื่อเราส่งช้าแล้วได้คะแนน โกงโดยไม่รู้ตัวหรือ อาจารย์ก็ร่วมมือด้วย 2. ถ้าเราเรียนแล้วบอกว่าไม่สนคะแนน งานที่เราทำคืองานวิจัย ไม่ต้องมีอาจารย์ตรวจ คนที่ตรวจคือเวทีวิจัย อยากเป็นอย่างนั้นก็ไม่เห็นต้องเรียน เขียนบทความส่งมติชน ไม่ดีกว่าเหรอ ได้ประโยชน์กว่า บรรณาธิการจะตรวจให้ด้วย ผลเสียของการยอมให้มีการส่งงานช้า1. เมื่อหนึ่งคนทำได้ คนอื่น ๆ ก็ทำได้ ระบบนี้ฝังรากในจิตใจของคนในประเทศไทยมาก ๆ เพราะบ้านเราไม่มีสงคราม อุดมสมบูรณ์ ไม่มีภัยพิบัติมากนัก สมมติว่าเราดี ช้าเพราะอยากได้ดี แต่คนทั่วไปหล่ะ2. การล่มสลายของมือถือ Siemens เป็นการตอบโจทย์ของความเสียหายของความช้าได้เป็นอย่างดี การบินไทยเป็นตัวอย่างถัดไป (ซื้อเครื่องใหม่ช้า) 3. การยอมให้ส่งการบ้านช้า ก็ไม่ต่างอะไรกับการเลื่อนตารางเวลาการบิน เพราะท่านนายกฯ มาสายหรอก

Leave a ReplyCancel reply

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.

Exit mobile version