Category: Science

  • Science Communication สื่อสารวิทยาศาสตร์ให้สาธารณะเข้าใจ

    สิ่งที่ทำให้วงการวิทยาศาสตร์ในต่างประเทศก้าวหน้า ไม่ใช่เพียงทรัพยากรในการพัฒนาตัวความรู้ แต่มีเรื่องของการสื่อสารความรู้ด้านวิทยาศาสตร์สู่สาธารณะด้วย

  • ตัวชี้วัดเป็นคนละอย่างกับสิ่งที่มันวัด

    ตัวชี้วัดเป็นคนละอย่างกับสิ่งที่มันวัด

    พยายามมองหาตัวชี้วัดมากเสียจนมองไม่เห็นสิ่งที่เป็นสาระรึเปล่า

  • โลกไม่ได้เป็นศูนย์กลาง วงโคจรไม่ได้เป็นวงกลม และ “วิทยาศาสตร์แย่ๆ” แบบ epicycle

    โมเดลคณิตศาสตร์ของโคเปอร์นิคัสทำให้ ทฤษฎีดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลาง ไม่ได้เป็นเพียง “การพินิจพิเคราะห์ทางปรัชญา” (philosophical speculation) อีกต่อไป แต่กลายสถานะเป็น “ดาราศาสตร์ที่ใช้เรขาคณิตและมีพลังในเชิงพยากรณ์” (predictive geometrical astronomy)

  • อำนาจและหน้าที่ของนักเทคโนโลยี

    หน้าที่ของนักเทคโนโลยีและวิศวกร นั้นไม่เพียงสร้างเครื่องมือแก้ปัญหาในชีวิตของมนุษย์ แต่ยังต้องอธิบายให้สังคมเข้าใจได้ด้วยว่า ระบบที่ว่าซับซ้อนนั้น ทำงานอย่างไร

  • wildlife crossing ทางข้ามสัตว์ป่า

    ทางข้ามสัตว์ป่า (wildlife crossing) เป็นทางเชื่อมต่อถิ่นที่อยู่ของสัตว์ป่า ช่วยให้สัตว์ป่าสามารถข้ามถนนได้อย่างปลอดภัย ทางข้ามดังกล่าวอาจเป็นสะพานข้าม อุโมงค์ลอด ท่อ หรือบันไดปลา ทางข้ามสัตว์ป่าเป็นทางหนึ่งในการอนุรักษ์ถิ่นที่อยู่ของสัตว์ป่า โดยการเชื่อมถิ่นที่อยู่ของสัตว์ป่าที่เคยถูกตัดขาดด้วยทางหลวง นอกจากนี้ยังช่วยลดอุบัติเหตุรถกับสัตว์ชนกัน การศึกษาหนึ่งประเมินว่าการมีทางข้ามดังกล่าวเพิ่มขึ้นในโครงการสร้างทางหลวง จะมีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นเพียง 7-8% (Bank et al. 2002) สำนักขนส่งเวอร์จิเนียทำการวิจัยที่ทางข้ามสัตว์ป่าต่างๆ ในเวอร์จิเนียเป็นเวลาหนึ่งปี พบว่าหากสัตว์ป่าใช้ทางข้ามแม้เพียงเล็กน้อย (ราว 2.6 ครั้งต่อปี) มูลค่าของทรัพย์สินที่ป้องกันความเสียหายได้ก็จะเกินค่าก่อสร้างแล้ว (Donaldson 2005) h/t I fucking love science / รูปประกอบโดย jeffwilcox (CC by)

  • โชติช่วงชีวิตแห่งการแชร์: ชัชวาล บุญปัน

    ผมไม่รู้ว่าอะไรทำให้ชัชวาลมีความสนใจในประเด็นทางสังคม รู้แต่เพียงว่า นี่คือตัวอย่างของอาจารย์ที่การศึกษาไทยจำเป็นต้องมีมากขึ้น เพื่อตอบคำถามให้ได้ว่า “วิทยาศาสตร์เกี่ยวอะไร?” — สมการของเดรกที่ได้รับการปรับปรุงแก้ไขภายหลัง มีพารามิเตอร์หนึ่งคือ “การล่าอาณานิคม(ดวงดาว)” เราต้องมีระบบการศึกษาแบบไหนที่อนุญาตให้คนคิดข้ามกรอบสาขาได้ขนาดนี้ ?

  • Mimic: ปรากฏการณ์ก๊อบลวงโลก

    บทความ Mimic: ปรากฏการณ์ก๊อบลวงโลก โดย แทนไท ประเสริฐกุล ลงเป็นตอน ๆ ใน onopen ตอน: ( 1 ) ( 2 ) ( 3 ) ( 4 ) ( 5 ) ( 6 ) ( 7 ) ( 8 ) สุดท้ายออกมาเป็นหนังสือ : “MIMIC เลียนแบบทำไม?” – พิมพ์ครั้งแรก พฤศจิกายน 2549 มีสาขาวิชาหนึ่ง เรียกว่า bionics เป็นการศึกษากลไกของสิ่งมีชีวิตเพื่อเลียนแบบความสามารถของมัน เช่น ใบบัวที่น้ำไม่เกาะ เท้าตุ๊กแกที่ติดหนึบกับกำแพงในแนวดิ่ง

  • แอนิเมชัน – ประวัติศาสตร์ของอินเทอร์เน็ต

    แอนิเมชันเล่าประวัติศาสตร์ความเป็นมาของอินเทอร์เน็ต มันไม่ได้อยู่ดี ๆ ก็เกิดขึ้นโดยนักประดิษฐ์คนเดียวหรือกลุ่มเดียว แต่เกิดจากความพยายามในการสร้างเครือข่ายเพื่องานวิทยาศาสตร์ ความมั่นคง และเชิงพาณิชย์ ในศูนย์วิจัยต่าง ๆ ในสหรัฐอเมริกาและยุโรป ต่างคนต่างทำ ด้วยจุดประสงค์แตกต่างกัน เมื่อเวลาผ่านไปแต่ละคนก็เรียนรู้แนวคิดของกันและกัน สร้างมาตรฐานที่จะแลกเปลี่ยนกันได้ และเครือข่ายต่าง ๆ ก็เชื่อมต่อกัน และกลายเป็นอินเทอร์เน็ต แนวคิดการสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่เพื่อเชื่อมต่อแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างหน่วยงาน ได้รับการสนับสนุนโดยโครงการ ARPANET (สหรัฐอเมริกา) แนวคิด packet-switching ถูกสร้างขึ้นที่ National Physical Laboratory (สหราชอาณาจักร) (พร้อม ๆ กับที่ห้องปฏิบัติการอื่น ๆ) เพื่อหลีกเลี่ยงความคับคั่งของเครือข่าย แนวคิด distributed computer network ถูกสร้างขึ้นศูนย์วิจัย RAND เพื่อให้มันใจว่าระบบจะยังทำงานแม้โหนดจำนวนหนึ่งในเครือข่ายจะทำงานไม่ได้ แนวคิด inter-networking (การเชื่อมต่อของเครือข่ายกับเครือข่าย) และแนวคิดการส่งผ่านข้อมูลโดย physical layer ถูกสร้างขึ้นในโครงการ CYCLADES (ฝรั่งเศส) ที่ Institut de Recherche d’lnformatique…

  • เทคโนโลยี-ภาพลวงตา

    เจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติของสหรัฐ บอกว่าเทคโนโลยีทำให้คนทำอะไรโง่ ๆ ผมว่ามันน่าสนใจดี เทคโนโลยีทำให้คนมั่นใจเกินเหตุ คนที่ก่อนหน้านี้อาจจะไม่กล้าปีนเขา ไม่กล้าทำอะไรบางอย่าง เพราะประสบการณ์ยังไม่พอ ความสามารถยังไม่ถึง พอมีเครื่องมืออะไรช่วยที่ทำให้เขามั่นใจ เขาก็จะกล้า ด้านดีมันก็มี คือมันก็เปิดโอกาส เปิดพรมแดนใหม่ ๆ ลดกำแพงการเข้าถึงสิ่งต่าง ๆ ด้านแย่ก็คือ เออ บางทีมันมั่นใจเกินเหตุ สร้าง illusion ไปว่า กูแน่ กูทำได้ ผมสนใจว่า ด้วยเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ต การสื่อสาร ฯลฯ เนี่ย มันทำให้คนในขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคม มั่นใจอะไรเกินเหตุไปไหม ว่าเทคโนโลยีจะมาช่วยให้กิจกรรมกิจการอะไรต่าง ๆ มันไปได้ง่ายดาย เราทำได้ ฯลฯ คือมันไม่ได้ง่ายขนาดนั้นน่ะ มันก็ยังต้องอาศัยปัจจัยอื่น ๆ ด้วย จะพึ่งเทคโนโลยีซะเยอะคงไม่ไหว ทำคลิป ทำอะไร ๆ มันก็ทำได้แล้วแหละ มือถือถ่ายรูป ทำข่าว ทำรายงานต่าง ๆ แต่สุดท้ายคลิปที่ถ่าย ๆ มา ก็โดนศอฉ.เอาไปใช้ พากษ์ทับเป็นอีกอย่าง…

  • [5 Oct] Seedcamp Singapore – apply now [deadline: 19 Sep]

    Seedcamp ครั้งแรกในเอเชีย 5 ตุลาคม 2553 ที่สิงคโปร์ Seedcamp เป็นกองทุนตั้งต้นกิจการขนาดเล็ก เน้นธุรกิจเทคโนโลยี เงินลงทุนมาตรฐานอยู่ที่ราว 30,000-50,000 ยูโร บริษัทที่ผ่านการคัดเลือกจะได้รับทุนไปอยู่ลอนดอน 3 เดือน เพื่อบ่มเพาะและพัฒนาธุรกิจ ซึ่งจะได้รับการสนับสนุนจากทีมเมนเตอร์ ที่มีทั้งนักลงทุน ผู้ประกอบการ ผู้เชี่ยวชาญผลิตภัณฑ์ นักทรัพยากรบุคคล นักการตลาด นักกฎหมาย และนักหนังสือพิมพ์ ข้อมูลกองทุนและการลงทุนของ Seedcamp จาก CrunchBase / ตัวอย่างบริษัท Seedcamp ลงทุน และผมรู้จัก คือ Zemanta สนใจ สมัครภายในวันที่ 19 กันยานี้ – ข่าวว่ามีบริษัทจากเมืองไทยไปสมัครแล้วพอสมควร technorati tags: Seedcamp, Singapore, investment

Exit mobile version