เทคโนโลยี-ภาพลวงตา


เจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติของสหรัฐ บอกว่าเทคโนโลยีทำให้คนทำอะไรโง่ ๆ

ผมว่ามันน่าสนใจดี เทคโนโลยีทำให้คนมั่นใจเกินเหตุ

คนที่ก่อนหน้านี้อาจจะไม่กล้าปีนเขา ไม่กล้าทำอะไรบางอย่าง เพราะประสบการณ์ยังไม่พอ ความสามารถยังไม่ถึง พอมีเครื่องมืออะไรช่วยที่ทำให้เขามั่นใจ เขาก็จะกล้า

ด้านดีมันก็มี คือมันก็เปิดโอกาส เปิดพรมแดนใหม่ ๆ ลดกำแพงการเข้าถึงสิ่งต่าง ๆ

ด้านแย่ก็คือ เออ บางทีมันมั่นใจเกินเหตุ สร้าง illusion ไปว่า กูแน่ กูทำได้

ผมสนใจว่า ด้วยเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ต การสื่อสาร ฯลฯ เนี่ย มันทำให้คนในขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคม มั่นใจอะไรเกินเหตุไปไหม ว่าเทคโนโลยีจะมาช่วยให้กิจกรรมกิจการอะไรต่าง ๆ มันไปได้ง่ายดาย เราทำได้ ฯลฯ คือมันไม่ได้ง่ายขนาดนั้นน่ะ มันก็ยังต้องอาศัยปัจจัยอื่น ๆ ด้วย จะพึ่งเทคโนโลยีซะเยอะคงไม่ไหว

ทำคลิป ทำอะไร ๆ มันก็ทำได้แล้วแหละ มือถือถ่ายรูป ทำข่าว ทำรายงานต่าง ๆ

แต่สุดท้ายคลิปที่ถ่าย ๆ มา ก็โดนศอฉ.เอาไปใช้ พากษ์ทับเป็นอีกอย่าง ใช่ไหม ?

The Net Delusion โดย Evgeny Morozov เป็นหนังสือเล่มหนึ่ง ที่พยายามจะพูดถึงประเด็นนี้ อินเทอร์เน็ตไม่ได้นำมาซึ่งการเปลี่ยนแปลงทางสังคมแบบ “เสกได้” แน่นอนว่ามันเป็นเครื่องมือที่ทรงพลัง แต่ไม่ใช่เพียงฝ่ายก้าวหน้า ฝ่ายปฏิวัติ “ฝ่ายประชาชน” “ฝ่ายสว่าง” จะใช้มันได้ ฝ่ายอำนาจนำ ฝ่ายรัฐ “ฝ่ายมืด” ก็ใช้มันได้เหมือนกัน และอาจจะใช้ได้เก่งกว่า มีประสิทธิภาพกว่าด้วยซ้ำ

Morozov คุยถึงเนื้อหาจากหนังสือเล่มนี้ กับอาจารย์ทางด้านรัฐศาสตร์และความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ อีกสองคน ที่ Open Society Institute นิวยอร์ก:

Morozov คุยหัวข้อเดียวกัน ที่ Carnegie Council (วีดิโอ + บันทึกเป็นข้อความ)

รีวิวหนังสือที่ The Economist, The Observer, The Independent, The Telegraph, NPR

Cory Doctorow เขียนถึง (โต้): We need a serious critique of net activism (ลิงก์จาก @Fringer)

อนิเมชั่นเรื่องขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมและอินเทอร์เน็ต พากษ์โดย Morozov:


, ,

Leave a ReplyCancel reply

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.

Exit mobile version