เข้าใจว่า The Crown ในชื่อซีรีส์ มันไม่ใช่มงกุฎ แต่หมายถึงหน่วยทางการเมือง เป็น Crown เดียวกับ Crown ใน Crown prosecutor (อัยการ, ทำนองเดียวกับ public prosecutor), Crown Estate (UK) หรือ Crown Property Bureau (สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ของไทย)
The Crown เป็นแนวคิดที่เริ่มพัฒนาในอังกฤษ เพื่อแยกอำนาจที่ใช้ผ่านกษัตริย์ (crown) ออกมาจากตัวกษัตริย์ (monarch)
การแบ่งแยกในเชิงแนวคิดนี้สำคัญสำหรับ Commonwealth realm ด้วย เพราะในทางบุคคล แม้จะเป็นกษัตริย์คนเดียวกัน (แง่เลือดเนื้อ-กายภาพ) แต่ในทางอำนาจ ถือว่าเป็นอำนาจคนละอำนาจกันในแต่ละประเทศ (เป็นอลิซาเบ็ธเดียวกัน แต่เป็นคนละควีนกันในแคนาดาและออสเตรเลีย)
เวลาอ้างอำนาจในทางปกครอง ไม่ว่าจะฝ่ายบริหาร นิติบัญญัติ หรือตุลาการ จะอ้างไปที่ crown ไม่ใช่ monarch เช่น ในการฟ้องคดีที่รัฐเป็นผู้ฟ้อง แม้จะเขียนว่า Rex/Regina (ราชา/ราชินี) v … แต่เวลาอ่านออกเสียงจะอ่านว่า The Crown v …
….
อันนี้คิดต่อเฉยๆ ว่า การพยายามนำแนวคิด The Crown มาใช้ในไทย หลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง แต่พอไม่มีรูปคำมารองรับ (ไม่มีคำที่ใช้แทนคำว่า crown ได้ตรงๆ) ก็ทำให้แนวคิดมันไม่มีที่อยู่ที่แข็งแรงรึเปล่า
Crown Property Bureau หรือ สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ในตอนแรกของไทยพยายามแยกทรัพย์สินตรงนี้ออกมาจากจากทรัพย์สินส่วนพระองค์ แรกๆ รัฐบาลก็มีอำนาจจัดการส่วนนี้จริง แต่ทำไปทำมา กลายเป็นดินแดนที่คนทั่วไปเชื่อว่าเป็นของกษัตริย์ (monarch แบบมีเลือดเนื้อ) ในแบบที่ในทางปฏิบัติ รัฐบาลเข้าไปยุ่งได้ยากแล้ว
ทำไปทำมา สำหรับเมืองไทย crown กับ monarch ก็ดูจะค่อยๆ กลืนกลับไปเป็นเนื้อเดียวกันมากขึ้นไหม? อย่างน้อยก็ในเชิงมโนทัศน์ เพราะเวลาเราเปล่งเสียงในภาษาไทย เพื่อให้หมายถึงความหมายอย่าง crown กับ monarch อย่างแยกกัน ยังลำบากเลย
2 responses to “The Crown”
ราชบัลลังคน กับ พระมหากษัตริย์ งี้มะ
[…] – “The Crown” (28 พ.ย. […]