หม่อม(ไม่)ปลื้ม ‘ทีวีสาธารณะ’ (ของรัฐบาลไทย โดยทีมคุณหมอและพ่อแม่ เพื่อมาตรฐานคุณธรรมแห่งชาติ):
“ โดยรวมแล้ว ผมมีปัญหากับทิศทางการบริหารประเทศใน 3 ปี ที่ผ่านมา ผมคิดว่าการที่ทักษิณเข้ามาตั้งแต่แรกเป็นสิ่งที่ดี สิ่งที่ไม่ดีก็คือการคอรัปชั่น ซึ่งมันเกิดขึ้นในรัฐบาลเขา แต่สิ่งที่ดีคือ ‘ความเปลี่ยนแปลง’ คือเขาเป็นคนเดียวที่มีศักยภาพพอที่จะดึงอำนาจจากขั้วอำนาจเดิมในประเทศ คือทหาร, เทคโนแครต, องคมนตรี…อะไรพวกนี้ ทักษิณเป็นคนเดียวที่ ‘กล้า’ หรือ ‘บ้า’ พอที่จะดึงอำนาจมาเพื่อ balance หรือ มาถ่วงดุลกับอำนาจที่มีอยู่ ซึ่งโอเค…อำนาจนั่นมันก็ได้มาจากการที่ประชาชนลงคะแนนเสียงให้เขาเยอะ การที่เขามีเสน่ห์ การที่เขามีเงินเยอะ มันก็เป็นปัจจัยหนึ่ง แต่เมื่อเขามาอยู่ในอำนาจ แล้วไปลุแก่อำนาจนี่ มันก็เป็นสิ่งที่ไม่ควรทำ คือที่มันมีหลาย ๆ โครงการโกงกันในช่วงรัฐบาลเขา ถ้ามันเกิดขึ้นอย่างนั้นจริง ๆ ก็เป็นสิ่งที่ไม่ควรทำ แต่ว่าโดยรวมแล้วมันเป็นความเปลี่ยนแปลงที่ ‘ต้องมี’ ในเมืองไทย เพราะเมืองไทยมันล้าหลัง ดูอย่างการบริหารงานในรัฐบาลของพลเอกสุรยุทธ์สิ มันชัดเลยว่ามันหมดยุคไปแล้ว เพราะฉะนั้น สิ่งที่เกิดขึ้น อย่างที่เกิดกับทีไอทีวี มันเป็นสิ่งที่สะท้อนให้เห็นถึงการต่อสู้ระหว่างทุนกับอำนาจเดิม ๆ ซึ่งต้องดึงอำนาจรัฐมาช่วย เพราะว่าไม่มีทุน ”
“ คือไม่ใช่ว่าทีวีสาธารณะเลวร้าย ทีวีสาธารณะสำหรับผมน่ะดี มันต้องมีสักช่อง แต่จุดที่มันเลวร้ายของ พ.ร.บ.นี้คือดันไปเขียนไว้ในกฎหมายว่า ต้องเอาคลื่นนี้ [คลื่นที่ไอทีวีใช้] เท่านั้น ซึ่งมันไม่จำเป็น ถ้าคุณไม่ต้องรีบทำขนาดนี้ คุณก็ไม่ต้องไปแย่งคลื่นนี้มา แต่ด้วยความที่ไปเขียนในกฎหมายเลย … คือมันมีคลื่นอีกเยอะไง ไม่ต้องรีบ แต่เขาจะเอาแต่ ‘คลื่นนี้’ ให้ได้ มันก็เลยกลายเป็นสงครามเกิดขึ้นตอนนี้ ซัดกันเละเลย ”
“ สิ่งที่เกิดขึ้น อย่างที่เกิดกับทีไอทีวี มันเป็นสิ่งที่สะท้อนให้เห็นถึงการต่อสู้ระหว่างทุนกับอำนาจเดิม ๆ ซึ่งต้องดึงอำนาจรัฐมาช่วย เพราะว่าไม่มีทุน ”
“ ถ้าผมผลิตรายการห่วย ๆ ออกช่อง 3 เรตติ้งไม่ดี เรตติ้งตก รายการอยู่ได้แค่ 3 เดือนก็หลุด แต่ถ้าผมผลิตรายการห่วยออกช่อง 11 หลุดไหม? ไม่หลุด เพราะคุณไม่ต้อง accountable [พร้อมรับผิด และอธิบายสิ่งที่ได้ทำลงไป] ซึ่งก็คือคุณไม่ต้องรับผิดชอบต่อผู้ถือหุ้น ”
“ สิ่งที่คุณจะทำ..คือการไปคัดหา ‘สภาประชาชน’ มาประเมินคุณภาพรายการ เสร็จแล้วคุณจะให้คณะกรรมการที่เป็นนักวิชาการ 9 คนของคุณมาพิจารณาอีกที ถามว่ามันได้ตามที่ประชาชนต้องการจริง ๆ หรือ? มันอาจจะได้ แต่คงคล้ายกับสิ่งที่เคยเกิดขึ้นในสหภาพโซเวียต ”
“ ตอนนี้เราเหลืออย่างเดียวที่ยังไม่เกิดคือ ‘สงครามกลางกรุง’ คือสื่อก็ยังซัดกันเองหมดเลย ประชาชนไม่มีสิทธิ์ ประชาชนจงไปเลือกตั้ง แต่ผลการเลือกตั้ง 3 ครั้งที่ผ่านมากลับไม่ได้รับการเคารพ ”
ตติกานต์ เดชชพงศ, สัมภาษณ์ ม.ล.ปลื้ม (ณัฏฐกรณ์ เทวกุล) ‘เกมอำนาจ’ ช่วงชิง ‘ทีวีสาธารณะ’ ประชาชนอยู่ตรงไหน?, ประชาไท, 18 ม.ค. 2551
technorati tags:
public television,
Thailand,
politics,
TPBS,
interview