ปรับปรุง 2008.03.31: แก้สะกดผิด (สระเกิน ที่มองไม่เห็นบนวินโดวส์) เพิ่มลิงก์พี่ไตร แสงศตวรรษ และ technorati แปะคลิป / และตกลง network interface ไม่ได้เจ๊งครับ ปรากฎว่าสงสัยจะ update package อะไรไปแล้วมันเจ๊ง พอลงโอเอสใหม่ มันก็ใช้ได้เหมือนเดิมครับ เน็ตเวิร์ก (ตอนนี้ใช้ Ubuntu 8.04 Beta อยู่)
คลิป Kapook ชวนคุย วันเสาร์ที่ 22 มีนาคม 2550 ที่บ้านไร่กาแฟ ขึ้นแล้วนะครับ (ตั้งแต่เมื่อวานเที่ยง ๆ ได้ ผมเพิ่งจะต่อเน็ตได้ network interface โน๊ตบุ๊คเจ๊ง)
ที่ Duocore http://duocore.tv/ (ตอนพิเศษ xxx.kapook.com )
ที่ FukDuk http://fukduk.tv/ (รอ 1 เม.ย. รายการ “กำไข่ ใส่ข่าว”)
เชิญดูและพิจารณานะครับ ความเห็นของผู้คนต่าง ๆ น่าจะพอเห็นใน blogosphere บ้างแล้ว
ความเห็นของผมสั้น ๆ ตอนนี้ ก็คือ งานนี้ คุณปรเมศวร์ แฟร์ ตอบทุกคำถาม แม้จะยืดยาวกินเวลาไปหน่อย โดยเฉพาะในช่วงแรก และออกนอกเรื่องไปไกลหลายทีในช่วงถัด ๆ มา แต่ยังไงคุณปรเมศวร์ก็พยายามตอบทุกข้อ และทุกข้อก็พอฟังได้ – เป็นข้อ ๆ ไป – แต่อย่าเอาคำตอบทั้งหมดมาร้อยกัน เพราะมันจะไม่ค่อยสนิทกันเท่าไหร่นัก บางข้อมันขัดกันเอง – แต่โดยรวมไม่น่าเกลียดครับ ฟังได้ (เชื่อหรือไม่ก็แล้วแต่คนนะครับ ก็พิจารณาเป็นข้อ ๆ ไป)
แต่ที่(ผม)ฟังไม่ได้จริง ๆ ก็คงจะเป็นทีมงานของ Kapook คนหนึ่ง (เสื้อดำในวิดีโอ) และบางคำที่พี่ไตร-ชีพธรรม (เสื้อ eBay) พูด ลองดูในวิดีโอเองนะครับว่าเป็นอย่างไร (ผมไม่ได้รู้จักพี่ไตรเป็นการส่วนตัว แต่ก็ติดตามผลงานมาตลอด ตั้งแต่สมัยผมทำงานใหม่ ๆ และต้องไปเกี่ยวข้องเรื่องจัดอบรมที่ซอฟต์แวร์ปาร์ค และก็ชอบลีลาการอบรมของพี่เขามาก รู้สึกว่าคนนี้เกิดมาเพื่อสื่อสารเพื่อเป็นโค้ชจริง ๆ ผมเลยรู้สึกผิดหวังในทัศนคติของพี่เขาเรื่อง “ขี้อิจฉา อวดดี อยากเด่น” ฯลฯ – แต่นั่นก็เป็นเรื่องของตัวผมเอง ไม่ได้เป็นความผิดของพี่เขา)
อยากให้ดูคลิปที่ว่าจนจบนะครับ จะได้ฟังความเห็นของทุก ๆ คนอย่างรอบด้าน (เพิ่งดูคลิปของ Duocore จบ พบว่ามีตัดไปบ้างบางส่วน แต่เหมือนเป็นการตัดต่อให้ภาพมันต่อเนื่องมากกว่า เท่าที่ดู ไม่น่าจะมีประเด็นสำคัญอะไรถูกตัดออกไป ยกเว้นช่วงสุดท้ายที่ อดัม FukDuk ซักถามคำถามหลายคำถาม พร้อมข้อมูลประกอบที่ปริ๊นท์ออกมาหลายหน้า — คุณออย Duocore แจ้งว่า ตอนท้ายนี้ไม่ได้เป็นการตัด แต่ที่หายไปน่าจะเป็นเพราะแบตหมดแล้ว แต่ไม่ต้องห่วง ยังไงดูได้ที่เว็บ fukduk.tv ครับ 1 เม.ย. นี้)
(ข้างล่างนี้เกี่ยวข้องกับเรื่อง Kapook น้อยมาก ๆ)
เมื่อคืนได้แลกเปลี่ยน กับ MacroArt , jittat และ sugree ผ่าน twitter (บนรถเมล์ ผ่านมือถือ) ประเด็นสำคัญที่ผมคิดว่าควรจะต้องย้ำตรงนี้ก็คือ ไม่ใช่เรื่องทุกเรื่องที่เราจะจัดการกับมันแบบ ‘ ส่วนตัว’ ได้ (และหลายครั้งถึงทำได้ ก็ไม่ควรทำ) — ถ้าเป็นเรื่องประโยชน์ส่วนตัว ความเสียหายส่วนตัว แน่นอนว่ามันคงจะดีกว่า ถ้าจัดการกันแบบส่วนตัวได้ แต่เมื่อไรที่มันเป็นเรื่องประโยชน์สาธารณะ ความเสียหายสาธารณะ ผมไม่คิดว่าการจัดการแบบส่วนตัวจะสามารถทำได้ (และถึงทำได้ ก็ต้องไม่ทำ)
ยิ่งไม่ต้องพูดถึงเรื่อง ถ้าเห็นว่ามีปัญหาอะไร ก็รายงานไปที่ผู้ต้องหาสิ (เอาจริงสิ ? รายงานไปที่ ผู้ต้องหา นะ) — ผมเห็นเหมือน sugree ว่าเราควรจะมีที่กลางที่เราสามารถเชื่อใจเชื่อถือได้ เพื่อที่เราจะได้รายงานไปที่ดังกล่าวได้ และกระบวนการทุกอย่างต้อง มีส่วนร่วมได้-โปร่งใส-ตรวจสอบได้ (ทำนองเดียวกับการแจ้งไปที่ Bugzilla หรือส่ง support ticket หรือติดตามพัสดุผ่านเว็บ FedEx) —
ซึ่งตอนนี้ผมเห็นว่าไม่มี — จึงเป็นเรื่องปกติที่ผู้คนจะวิ่งไปแจ้งสื่อมากกว่าแจ้งตำรวจ หรือถนนพังก็แจ้งทีวี เพราะแจ้งทางการมาแล้วห้าปีไม่เห็นมีใครมาทำอะไร แจ้งแล้วก็เงียบหาย แจ้งทีวีสิเร็วดี ออกอากาศปุ๊บ รุ่งขึ้นมาเลย หรือในกรณีทุกวันนี้ อินเทอร์เน็ตก็เป็นช่องทางหนึ่ง ที่เราสามารถสื่อสารกับคนอื่น ๆ มาได้มากกว่า กว้างกว่าเดิม อย่างง่าย ๆ — ซึ่งก็มีทั้งเรื่องบอกเล่า ชื่นชม เห็นด้วย และไม่เห็นด้วย
ในกรณีที่ไม่เห็นด้วยนั้น คนเขียนก็อาจจะไม่ได้หวังให้ไปเอาผิดอะไรกับใครด้วยซ้ำ เพราะหลายทีที่มันไม่ได้ผิดกฎหมาย (และเพราะไม่ผิดกฎหมายจึงไปแจ้งตำรวจไม่ได้ อย่างเรื่อง SEO ตำรวจเขาคงงง ๆ มันไม่ผิดกฎหมายอยู่แล้ว) แต่เขียนไปเพื่อแจ้งให้คนอื่นได้ทราบสิ่งที่เกิด และบอกเล่าความคิดเห็นของเขากับสิ่งเหล่านั้น ว่าเขาไม่เห็นด้วยนะ เพราะอะไร ส่วนคนอื่นจะคิดอย่างไร ก็เป็นเรื่องของแต่ละคน และแต่ละคนก็มีสิทธิที่จะโต้แย้งได้อย่างเท่าเทียมเช่นกัน นี่คือสิ่งที่เกิดขึ้นในพื้นที่สาธารณะ
อินเทอร์เน็ตมีคุณค่า เพราะมันไม่ได้บรรจุแต่เพียง “ความจริง” แต่มันยังมี “บทสนทนาเพื่อแสวงหาความจริง” บรรจุรวมอยู่ด้วย (เราเรียกมันสั้น ๆ ว่า “ความคิดเห็น” )
ไม่ว่าเราจะมีระบบแจ้งเหตุที่น่าเชื่อถือแล้วหรือไม่ อินเทอร์เน็ต/มณฑลสาธารณะจะต้องเป็นที่ที่เราสามารถแสดงความคิดเห็นอย่างเป็นธรรมต่อเรื่องต่าง ๆ ได้อย่างเสรี ถ้าสิ่งที่เราพูดนั้นมีมูล มีเหตุที่เชื่อถือได้อันทำให้เราเชื่อเช่นนั้น และเราพูดไปเพื่อประโยชน์สาธารณะ เราก็ควรจะได้รับการปกป้องทางกฎหมายด้วย (ดูกรณี ชินคอร์ป vs สุภิญญา ที่ชินคอร์ปฟ้องสุภิญญา หลังเธอให้สัมภาษณ์ถึงการเอื้อประโยชน์แก่ธุรกิจครอบครัวของอดีตนายก ซึ่งสุดท้ายศาลอาญามีคำพิพากษาให้ยกฟ้อง “เนื่องจากเห็นว่าเป็นการกล่าวแสดงความคิดเห็นโดยสุจริตและติชมด้วยความเป็นธรรมเพื่อประโยชน์สาธารณะ ซึ่งเป็นวิสัยของบุคคลและประชาชนพึงกระทำได้ ไม่ได้เป็นการมุ่งประสงค์ใส่ความบริษัทให้ต้องเสียชื่อเสียงหรือถูกดูหมิ่น เกลียดชังแต่อย่างใด” [ผมหวังให้พี่ไตรได้อ่านตรงนี้])
เมื่อคืนตอนที่ผมแลกเปลี่ยนกับทุก ๆ คน (อย่างทุลักทุเล จิ้ม ๆ บนมือถือ) ผมคิดว่านี่ไม่ใช่เรื่องของเว็บใดเว็บหนึ่ง หรือกระทั่งเป็นเรื่องเจาะจงเฉพาะอินเทอร์เน็ต แต่ผมคิดถึงกรณีทั่วไปทั้งหมดเลย (คิดว่าคนอื่น ๆ ก็น่าจะประมาณนี้) เป็นเรื่องของสิทธิในการ(ไม่)สื่อสาร สิทธิที่จะ(ไม่)รู้ และสิทธิที่จะ(ไม่)พูด แน่นอนว่าในกรอบที่จะต้องรับผิดชอบกับสิ่งที่(ต้องพูดแต่ไม่)พูดด้วย – แต่ย้ำว่านี่เป็นการรับผิดชอบต่อสาธารณะ
สิทธิในการสื่อสารเป็นสิทธิโดยธรรมชาติ เราทุกคนเกิดมาพร้อมสิทธิอันนี้ เป็นสิทธิที่เกิดขึ้นและดำรงอยู่ได้โดยไม่ต้องถูกรับรองโดยกฎหมาย
เราทุกคนนั้นเมื่อเกิดมาก็ดู ก็ฟัง ก็พูดได้เหมือนกันหมด การกระทำใด ๆ ที่จะทำให้เราดูไม่ได้ ฟังไม่ได้ พูดไม่ได้ (เช่น ดูไม่ได้เพราะเขาเห็นว่าเราโง่เกินไปที่จะดูพระเล่นกีต้าร์ หรือพูดไม่ได้เพราะเราไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญ หรือกลัวว่าจะถูกฟ้องหมิ่นประมาท) ย่อมเป็นการริดรอนสิทธิโดยธรรมชาติของเราอันนี้ทั้งสิ้น
คุณ MacroArt สนใจประเด็น code of conduct จรรยาบรรณของบล็อกเกอร์/สื่อพลเมือง จึงขอเสนอลิงก์ด้านล่างอีกรอบครับ
(เมื่อวาน tweet หลายเรื่องมาก เช่น เรื่องหลักฐาน การทำลายหลักฐาน ความเสียหายที่เกิดต่อสาธารณะแล้ว ฯลฯ ยังไงไปกดหาใน twitter นะครับ ปวดฉี่ ไปแล้ว อยู่ร้านเน็ต หวัดดีครับ)
technorati tags:
Internet ,
code of conduct ,
blogger ,
public sphere ,
xxx ,
kapook ,
xxx.kapook.com ,
ethics