คุณ Patiwat จุดประเด็นเอาไว้ (ผมขออนุญาตแปลไว้ตรงนี้):
บทความเมื่อเร็ว ๆ นี้ ในวิกิพีเดียภาษาอังกฤษ ที่ชื่อ “Wikipedia is Failing” [วิกิพีเดียกำลังล้มเหลว] ทำให้ผมต้องพิจารณาอย่างหนักว่า วิกิพีเดียไทยนั้นเป็นอย่างไรบ้าง.
ผลลัพธ์นั้นชวนหดหู่.
โปรดสังเกตว่าบทความดังกล่าวนั้น ไม่ได้ ชื่อว่า “Wikipedia Can Improve” [วิกิพีเดียยังพัฒนาได้].
ผู้เขียนได้บอกเป็นนัยว่าปัญหาเชิงระบบและปัญหามูลฐานนั้นคือต้นเหตุแห่งความล้มเหลว.
นี่คือการพิจารณาชั้นต้นในตัวชี้วัดที่พอเทียบเคียงได้ในวิกิพีเดียไทย.
ไปอ่านข้อเขียนนี้+ความเห็นจากชาววิกิพีเดียอื่น ๆ ได้ที่ “วิกิพีเดียไทยกำลังล้มเหลว”
สำหรับผมแล้ว ปัญหา “สองมาตรฐาน” (double standard) คือปัญหาใหญ่ที่สุดอย่างหนึ่งของวิกิพีเดียไทย
สองมาตรฐาน เช่น บางครั้งก็เข้มงวดกับกฎเกณฑ์ บางครั้งก็ผ่อนปรน โดยที่ไม่แน่ชัดว่า อะไรคือหลักในการพิจารณาว่าเมื่อไรถึงจะเข้มหรือจะผ่อน หรือเนื้อหาลักษณะเดียวกัน แต่เขียนโดยคนละคน กลับได้รับการเพ่งเล็งปฏิบัติแตกต่างกัน ฯลฯ
ความอัปลักษณ์ทั้งหลายที่มีอยู่ในวิกิพีเดียไทยตอนนี้ ผมเห็นว่ามีรากฐานมาจากปัญหา (ทัศนคติ?) ดังกล่าวทั้งสิ้น และปัญหานี้เองที่จะทำให้วิกิพีเดียค่อย ๆ เสื่อมลงได้อย่างเป็นระบบ
ทำไมผมจึงเห็นว่า มันเป็นกระบวนการเสื่อมลงอย่างเป็นระบบ ?
ก็เพราะในสภาพเช่นนี้เอง ที่จะทำให้คนที่ยึดมั่นในหลักการ “สารานุกรมเสรี” อยู่ไม่ได้ หรืออยู่ได้ด้วยต้นทุนที่สูงกว่าปกติ
เพราะพวกเขาต้องเหนื่อยกว่าปกติ ในการที่จะเขียนจะแก้อะไรซักอย่าง โดยเฉพาะเรื่องที่กำลังเป็นที่ขัดแย้งในสังคม … สุดท้ายแล้ว เมื่อถึงจุดที่ความเหนื่อยล้ามันเกินความต้องการรักษาหลักการ คนเหล่านั้นก็จะโบกมือลาวิกิพีเดียไป (อย่างถาวรหรือชั่วคราว) ทีละคนทีละคน
เมื่อคนที่พยายามจะทำตามหลักการลดลง อะไร ๆ มันจะก็เป็นไปอย่างหลวม ๆ หยวน ๆ ตามแต่จะถูกใจ (ตัวเองหรือคนอื่นก็ตามที) สุดท้ายก็กลายเป็นกฎหมู่เหนือกฎหมาย หลักการอะไรไม่ต้อง ขอให้ทำถูกใจพี่ใหญ่เป็นพอ ถ้าคุณทำถูกใจพี่ใหญ่ คุณก็ไม่เหนื่อย แต่ถ้าไปขัดใจเขา คุณก็เหนื่อยหน่อย ใครแรงดีก็อยู่นาน
สุดท้ายระบบทั้งหมดในทางปฏิบัติ ก็จะไปขึ้นอยู่กับคนกลุ่มเล็ก ๆ … มองถึงตรงนี้ แล้วจะไม่เรียกว่าวิกิพีเดียกำลังล้มเหลวได้อย่างไร ถ้าเรายังยึดอยู่ว่า วิกิพีเดีย คือ สารานุกรม เสรี ที่ทุกคนมีส่วนร่วม
แหม แต่จะหลักการอะไรกันนักหนา
ลงมือทำดีกว่า! อย่า “ดีแต่ปาก” เลย แมวจะสีอะไรก็ช่างเถอะ
สัมฤทธิผลนิยม เท่านั้นที่เจ๋งที่สุดในยุคนี้
ดังนั้น ผมขอเสนอให้ยกเลิกหลักการทั้งหมดซะ — เพื่อความรุ่งโรจน์ของวิกิพีเดียไทย!
สะดวกดี
ปล.1 เอ่อ .. เพิ่งจะรู้สึกตัว ลองแทนคำว่า วิกิพีเดียไทย ด้วย ประเทศไทย อะไรทำนองนี้ … ก็ดูจะไปได้แฮะ 😛
ปล.2 Wikipedia: the Free Encyclopedia โดยคุณ Phisite เสนอที่งาน YouMedia
ลูกติดพัน followed-ups
- ตอนต่อ: ตอนนี้ วิกิพีเดีย เป็น peer production จริง ๆ รึเปล่า ?
- คุณ Phisite, หนึ่งในผู้ดูแล บล็อกถึง
- ช่วยกันดู 3 นโยบายหลักด้านเนื้อหา ของวิกิพีเดีย
technorati tags:
Wikipedia,
Thai Wikipedia
6 responses to “Thai Wikipedia is Failing”
เป็นเพราะระบบชุมชนไม่เข้มแข็งด้วยหรือเปล่า ปกติผมก็เข้าแต่หน้า Recent Changes ไม่ค่อยไปชุมนุมประชาคมอะไรกับชาวบ้านSysop ที่เป็นแกนหลักก็มีน้อยด้วยละมั้ง อย่างน้อยๆ รุ่นเรา (jittat, phisite, …) ช่วงหลังก็หายกันหมด มันคงเบื่อๆ
isriya:ระบบชุมชนเข้มแข็งเพียงอย่างเดียวไม่สามารถรับประกันอะไรที่เกี่ยวกับ1) สารานุกรม 2) เสรี 3) ที่ทุกคนมีส่วนร่วม ได้แม้แต่อย่างเดียวครับระบบชุมชนที่เข้มแข็ง ไม่สามารถรับประกันคุณภาพได้หากชุมชนนั้นไม่ยอมรับหลักการตรวจสอบคุณภาพระบบชุมชนที่เข้มแข็ง ยิ่งไม่ได้รับประกันความเสรีมันอาจจะรับประกันความเสรีของสมาชิกที่ได้รับการยอมรับในชุมชนนั้น แต่จำกัดความเสรีของผู้อื่น ในแง่มุมอื่นและสุดท้ายระบบชุมชนเข้มแข็ง อาจจะจเป็นตัวกีดกันให้คนอื่น ๆ ที่อาจคิดเห็นไม่ตรงกัน แต่เสียงดังไม่เท่า ไม่อยากเข้าไปมีส่วนร่วมด้วยก็เพราะ "มันคงเบื่อ ๆ" นี่แหละ การที่ผู้ดูแล "เหลือน้อย"อาจจะได้หมายถึง การตัดสินใจต่าง ๆ ได้กระจายตัวออกไปอย่างอัตโนมัติกลุ่มคนบางกลุ่ม (ไม่ว่าจะเป็นผู้ดูแลหรือไม่) สามารถมีอิทธิพลเหนือการตัดสินใจได้ ไม่ว่าจะตั้งใจหรือไม่ก็ตามเพราะระบบการพิจารณาตัดสินใจของวิกิพีเดียปัจจุบันมันยังไม่ชัดเจน หลาย ๆ เรื่องยังไม่มีหลักยึดพอหลักการตัดสินใจอะไรมันไม่ชัดเจนแล้วสุดท้ายก็ไปลงที่ลงประชามติ แบบพวกมากลากไปพอเป็นแบบนี้ เรื่องแบบเดียวกัน ลักษณะเดียวกัน ก็สามารถตัดสินออกมาต่างกันได้(หรือเราจะเรียกว่านี่คือการกระจายอำนาจ ? แบบนี้บ้านเมืองก็ไม่ต้องมีกฎหมาย ไม่ต้องมีศาล ใช่ไหม ? ใช้โหวตเอาตลอด เอ้าวิ่งราวเหรอ ? เรียกคนแถวนั้นมา โหวตซิ ผิดมั๊ย ? เอ้า ถ้าผิด ติดคุกกี่ปีดีเอ่ย ? ส่ง sms เข้ามาซิ…)ภาวะนี้เองแหละ ที่มันทำให้เกิดอาการ "สองมาตรฐาน" ขึ้นเป็นเหตุให้ผู้ใช้ส่วนหนึ่ง มันก็เลย "เบื่อ ๆ"
ปัญหาที่คุณปฏิวัติ ยกมานั้นน่าคิดทีเดียวแต่ผมลองค้นๆดู แต่ละเรื่อง ที่คุณปฏิวัติเขาเขียน มันแปลกๆนะครับ (งงๆว่าเขาถนัดเขียนสารานุกรมเริ่องอะไร)
ส่วนใหญ่คุณ Patiwat เขาจะเขียนที่วิกิพีเดียภาษาอังกฤษครับเรื่องที่มาดูในวิกิพีเดียไทยส่วนใหญ่ เท่าที่เห็น ก็จะเป็นเรื่องของเมืองไทยที่เป็นประเด็นในระดับสากล คือดูทั้งฝั่งวิกิพีเดียภาษาอังกฤษและภาษาไทยครับ นอกจากนี้ก็ยังเห็นดูเรื่องนโยบาย เรื่องการอ้างอิง ความน่าเชื่อถือ มุมมองเป็นกลาง อะไรพวกนี้ด้วย น่าสนใจทีเดียว
อืม ที่แท้เขาถนัด เขียนเรื่องเมืองไทย ลงวิกิพีเดียภาษาอังกฤษงั้นบทความของเขา คงมีบทบาทต่อภาพลักษณ์ ของเมืองไทย ที่ปรากฎต่อ คนที่อ่านเรื่องเมืองไทยจากวิกิพีเดียภาษาอังกฤษหวังว่าเรื่องคงไม่ลุกลามไปใหญ่โต
bpitk: เรื่องอะไรลุกลาม?ิbact': การเปลี่ยนแปลงวิกิพีเดียไทย อาจจะทำให้ประเทศไทยเปลี่ยนไปเลยก็ได้สงสัยผมจะเลือกเรื่องที่แก้ไม่ค่อยดีเท่าไหร่ ไม่ค่อยมีคนคุยด้วยเลย -_-'