(ควันหลง/เก็บตกจากงาน Hakuna Matata Night โดย TRN และกลุ่มอาสาสมัครเพื่อสังคมอื่น ๆ เมื่อคืนวันศุกร์ที่ผ่านมา แถวข้าวสาร – ผมไปเสนอเรื่อง Creative Commons แบบเบลอ ๆ – เค้าบอกให้มีแต่รูป เราทำมีแต่ตัวอักษรไป!)
update (2007.05.07): ดาวน์โหลดสไลด์ได้ที่ bact’ bazaar
นอกจากสื่อการเรียนการสอนในรูปแบบ open content แล้ว มากไปกว่านั้น Open Education Movement ยังเสนอ หลักสูตร แนวทาง นโยบาย แนวคิด และอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา โดยมีพื้นฐานอยู่บนหลักการกว้าง ๆ คือ:
- ความรู้จะต้องฟรีและเปิดให้ใช้/นำกลับมาใช้ได้
- การร่วมมือกันจะต้องง่ายขึ้น
- คนที่มอบอะไรให้กับการศึกษาวิจัย ควรจะได้รับการมองเห็นและคำชื่นชม
- แนวคิดและความคิดนั้นโยงร้อยกันในวิธีที่เราไม่ได้คาดคิด และไม่ได้เป็นเส้นตรงอย่างที่เห็นในหนังสือเรียน
โอเพ่นเอดูเคชั่นให้คำสัญญาที่จะเปลี่ยนแปลงอย่างถึงแก่นทั่วโลก ในวิธีที่ผู้เขียนหนังสือ ผู้สอน และผู้เรียน แลกเปลี่ยนโต้ตอบกัน
เรื่องนี้มีผู้สนใจทั่วโลก (ไม่ใช่ทั้งโลกนะ) รายชื่อเว็บข้างล่างนี้ เน้นหนักไปทางโอเพ่นคอนเทนท์ที่เกี่ยวกับการศึกษา
- OER Commons – รวมวัสดุการเรียนการสอนที่เผยแพร่ฟรีออนไลน์ กระบวนวิชา, หลักสูตร, บทบรรยาย, การบ้าน, แบบทดสอบ, กิจกรรมในห้องเรียนและห้องปฏิบัติการ, วัสดุการสอน, เกม, การจำลองงาน, และสื่อดิจิทัลอื่น ๆ ทุกระดับ
- OpenCourseWare Consortium – ระดับอุดมศึกษา (เริ่มต้นจาก MIT, ในประเทศไทยมีจุฬาเข้าร่วม)
- LearningSpace – ระดับอุดมศึกษา (Open University สหราชอาณาจักร)
- มหาวิทยาลัยไซเบอร์ไทย – บทเรียนออนไลน์ ระดับอุดมศึกษา ร่วมกับมหาวิทยาลัยนอกไซเบอร์ – ให้ปริญญาด้วย
- Project Gutenberg – หนังสือ audio book รายชื่อหนังสือ บทวิจารณ์หนังสือ
- Wikimedia Foundation – ความรู้ทั่วไป สารานุกรม พจนานุกรม เอกสารต้นฉบับ
- Internet Archive – เก็บเนื้อหาดิจิทัลทุกชนิด เว็บ ภาพเคลื่อนไหว ข้อความ เสียง ซอฟต์แวร์ การศึกษา
- Open Content Alliance – พันธมิตรโอเพนคอนเทนท์
- Creative Commons – สัญญาอนุญาต ครีเอทีฟคอมมอนส์ “สามัญรังสรรค์”
- Science Commons – เพื่อการพัฒนาของการวิจัยวิทยาศาสตร์
- OS4ED – Open Solutions for Education ซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สเพื่อการศึกษา
สำหรับในประเทศไทย น่ามีกลุ่มผู้สนใจเรื่องเหล่านี้อยู่หลายกลุ่ม กลุ่มหนึ่งนั้นคงเป็นพลพรรค TRN
อีกกลุ่มหนึ่งที่รู้จักก็คือ WOICT โดยจำนวนหนึ่งของ WOICT นั้นเป็นอาจารย์/นักวิชาการชาวไทยและต่างประเทศ ที่อาศัยอยู่แถบเชียงใหม่/เชียงราย
… ทำงานร่วมกับ TRN มาพักนึงแล้ว เดี๋ยวขึ้นไปทำกับ WOICT บ้างไหม? 🙂
- Hess, Charlotte. 2004. The Knowledge Commons: Theory and Collective Action; or Kollektive Aktionismus? Presented at Wizards of OS 3: The Future of the Digital Commons, Berlin, Germany, 10-12 June, 2004.
- Hess, Charlotte and Elinor Ostrom (ed.) 2006. Understanding Knowledge as a Commons: From Theory to Practice, MIT Press. ISBN 0-262-08357-4.
technorati tags:
WOICT,
TRN,
open education
2 responses to “Knowledge Commons”
จะจัดอีกเมื่อไรอะครับ น่าสนใจดีครับ
ไม่แน่ใจเหมือนกันครับเดี๋ยวจะลองลากทีมที่ทำมาตอบจริง ๆ เค้าฝากผมประชาสัมพันธ์ก่อนงานนะแต่วุ่นจนไม่ได้เอาลง จำได้นะ แต่ก็ไม่ได้เอาลง – -"สงสัยต้องทำ ปฏิทินกิจกรรม ซะแล้ว