คือจริง ๆ เค้าควรจะบอกมาเลยนะ ว่าประเทศนี้มันไม่ใช่ประชาธิปไตย แล้วมันจะง่ายขึ้น ประเทศนี้เป็นเผด็จการ คือมึงบอกกูมาเลยดีกว่า แล้วกูจะได้ใช้ชีวิต ไปกับพวกมึงได้
— เป็นเอก รัตนเรือง (ผู้กำกับภาพยนตร์)
วิดีโอรณรงค์เครือข่ายเพื่อเสรีภาพภาพยนตร์ไทย Free Thai Cinema Movement
(ได้ดูครั้งแรกในงาน Thai Short Film and Video Festival ที่แกรนด์อีจีวี สยามดิสคัฟเวอรี งานมีถึง 26 นี้ — โปรแกรมวันศุกร์ 19:00 น่าดูมาก ๆ เป็นหนังสั้นต้านรัฐประหาร 😛 หลายเรื่อง)
ด้านล่างนี้ จดมาจากวิดีโอ ใครพูดอันไหน ลองดู (ผมรู้จักไม่กี่คน :P)
มาใหม่ 2007.08.27: ความเห็นของ สุนิตย์, mk, girl friday, และคนอื่น ๆ เกี่ยวกับเรื่องนี้
พ.ร.บ.ชุดนี้ที่เกี่ยวข้องกับภาพยนตร์ นอกจากจะควบคุมแล้ว ยังไม่มีการสนับสนุน
เซ็นเซอร์บ้านเรามีปัญหา เพราะว่า ไม่ทราบว่าเอามาตรฐานที่ไหนมาวัด
การจัดเรตติ้ง มันไม่ควรจะมาควบคู่กับ การแบน การเซ็นเซอร์
คือโลกนี้มันมีสองด้านอยู่แล้ว เราควรจะให้เด็กรู้ทั้งสองด้าน
แล้วสิ่งที่ไม่เหมาะสมในชีวิต ที่เยาวชนต้องเจอ ในเรื่องชีวิตจริง มันมีเยอะ มากมาย กว่าเรื่องสมมติที่เกิดขึ้นในภาพยนตร์อยู่แล้ว
คุณจะไปปกป้องคน ๆ นึงจาก สิ่งที่มันเป็นส่วนหนึ่งของการมีชีวิตเนี่ย ไปได้นานแค่ไหน
เราจะพูดถึงสิ่งที่มันดี ๆ สวยงาม โลกเรามันมีแต่ความสดใส อย่างเดียว มันเป็นไปไม่ได้นะ
งานทุกชิ้นมันควรจะมีที่ทางของมัน
เราควรจะมีอิสรภาพในการคิดว่าเราควรจะคิดอะไร ไม่ใช่ให้ใครคนนึงมาคิดไว้ตั้งแต่ล่วงหน้าแล้วว่า ถ้ามึงดูหยั่งงี้ แล้วต้องมึงคิดอย่างงั้น
เปิดโอกาสให้ทุกคน ได้คิด ได้ลอง ได้ถูก ได้ผิด ด้วยตัวเอง
พลเมืองทุกคน เมื่อเราเรียกร้องจะมีสิทธิเสรีภาพในการพูด การคิด การเขียน เราทุกคนก็พร้อมรับผิดในคำพูดของเรา
เราไม่มีทางรู้ได้เลยว่า มันจะดีหรือไม่ดี ถ้าเราไม่ได้ใช้สมองเราคิดเอง
ต้องให้มันเติบโต คืออยากให้ต้นไม้โต ก็ต้องลงดิน ไม่ใช่เอาไปใส่กระถาง
บ้านเราเนี่ย ปัญหามันอยู่ที่ว่า เราไม่ค่อยแน่ใจ ไม่ค่อยมั่นใจ ว่าเรามีปัญญารึเปล่า
คือในโอกาสที่คุณจำกัดเนี่ย คุณจะรู้ได้ไงว่าสิ่งที่คุณ ไม่ให้เค้าดูเนี่ย มันเป็นเรื่องที่ดีหรือไม่ดี อย่างแท้จริงนะ คุณจะรู้ได้ยังไง
ควรจะเผอิญหน้ากับความจริงดีกว่า
เลิกไปเหอะ พ.ร.บ.เนี้ย
ตรงนี้มันเป็นโอกาสที่ดี เป็นจังหวะที่ดีนะ ก็คือว่า มันยังมีการที่กลับมาคุยกันได้อีก ก่อนมันจะผ่านไป
คือจริง ๆ เค้าควรจะบอกมาเลยนะ ว่าประเทศนี้มันไม่ใช่ประชาธิปไตย แล้วมันจะง่ายขึ้น ประเทศนี้เป็นเผด็จการ คือมึงบอกกูมาเลยดีกว่า แล้วกูจะได้ใช้ชีวิต ไปกับพวกมึงได้
ประชาธิปไตยหนังไทย : สิทธิคนดู เสรีคนทำ
Democracy of Thai Cinema : Freedom to Watch, the Right to Make(หลายอย่างแล้วนะเนี่ย)
(นี่หลายอย่างแล้วนะเนี่ย)
บทความจากมูลนิธิหนังไทย โดย ศริยา สมุทรพยนต์
ระบบเซ็นเซอร์ไทยกับศิลปะในสังคมประชาธิปไตย
เสื้อยืด Free Thai Cinema Movement สุดสวย ซื้อได้กับนิตยสารไบโอสโคป
[ ผ่าน ประชาไท Blogazine, พิณ พัฒนา ]
technorati tags:
censorship,
films,
Thailand
5 responses to “Freedom to Watch, the Right to Make”
เผอิญเรื่องนี้ผมเห็นด้วยกับ พรบ. ภาพยนต์ วะ… คือปัญหาใหญ่ๆก็คือคนทำหนังไทย โดยเฉพาะตลกทำหนังไทยช่วงหลังๆมันอ้างแต่ Freedom แต่ไม่ค่อยจะมี responsibility คือมันจะเอาแต่เสรีภาพแต่ไม่รับผิดชอบ จะให้คนดู โดยเฉพาะพวกเด็กๆที่อาจจะไม่มีวิจารณญาณเท่าพวกท่าน ให้พวกเขาติดคำหยาบ ภาษารุนแรง การแสดงออกทางเพศที่ไร้ขีดกำกัด หรืออย่างไร เดี๋ยวก็เอากัน เดี๋ยวก็ล้อกระเทย ผมว่าหนังไทยตลาดยุคหลังๆนี้เลวร้ายพอๆกับนโยบายประชานิยมของทักษิณ ือมอมเมาประชาชน พอติดแล้วก็ทำให้วัฒนธรรมและการดำเนินชีวิตเลวร้ายขึ้นเรื่อยๆคือไม่ได้เหมาหมดว่าเป็นอย่างงั้นนะ แต่ตอนนี้มันไม่มีขื่อไม่มีแป จะสร้างหนังก็ไปติดสินบนเจ้าพนักงานที่ดูแล คนสร้างหนังใหม่ๆก็สร้างได้แต่ distribute ไม่ค่อยจะได้ ติดไปหมดเป้าหมายหลักอยู่ที่การจัดให้มี Rating ตามมาตรฐานสากล เท่านั้นเอง ส่วนเรื่อง censor นั้นใช้เฉพาะกับหนังที่ไม่สามารถรับได้ในประเทศไทย ประเด็นอยู่ที่การทำให้กรรมการที่ดูแลมาจากภาคประชาชนและส่วนที่เกี่ยวข้อง ไม่ใช้ให้ตำรวจหรือข้าราชการหัวโบราณไม่กี่คนมาตัดสินเหมือนใน พรบ. อันเก่าที่สำคัญขั้นตอนช่วงนี้คือกำลังจะเข้าสู่กรรมาธิการซึ่งย่อมจะทำให้เนื้อหานั้นเบาลงมากๆ เช่นเดียวกับ พรบ. การกระทำความผิดที่เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ซึ่งก่อนเข้าไปนั้นก็ให้อำนาจฝ่ายรัฐมหาศาล แต่ออกมากลายเป็นเสือกระดาษอย่างที่เห็น คืออะไรที่ออกจากกฤษฏีกามันก็ต้องให้รัฐเยอะหน่อย พอเข้ากรรมาธิการก็จะอ่อนลงเอง ผมคิดว่าน่าจะไปช่วยทำข้อมูลประกอบการตัดสินใจในชั้นกรรมาธิการ ดีกว่าจะไปคว่่ำมันทั้งอันเหมือนที่พวกนายทุนเจ้าของโรงหนังอยากได้ เพราะพอมี rating ออกมา หนังอย่างคู่แรด ก็จะต้องเข้า rate R ซึ่งคนดูจะน้อยลงทันที ขายได้น้อยลงผ่านโรง ซึ่งจะบีบให้นายทุนมันต้องลงทุนกับหนังที่มีเนื้อหาคุณภาพดีขึ้น ตลกไม่ต้องลามก ไม่ต้องด่ากันแรงๆก็ได้ ไม่ใช่อะไรๆก็งัดเอาความเลวร้ายมาขายแบบตอนนี้ พออยากจะล้ม พรบ. พวกนายทุนก็ซื้อความน่าเชื่อถือของพวกเจ้าบ้าเงิน (จะเอาไปทำหนัง) ให้ไป lobby มันหมดตั้งแต่ สนช. ถึงรัฐมนตี ผมขยะแขยงกับพวกสัตว์นรกพวกนี้มาก และถ้าประเทศไทยไม่มีความเป็นประชาธิปไตยอยู่บ้าง คนอย่างผู้กำกับที่พูดจาอย่างงี้คงทำหนังไม่ได้หรอกครับ คนทั่วไปก็มีเสรีภาพที่จะดูตาม rate ตามความเหมาะสมของอายุ ไม่ใช่ขาวกะดำนะครับคือโลกที่มีความเป็นประชาธิปไตยมากกว่าเรา เช่น อังกฤษ อเมริกัน ยุโรป มันก็มี rating และ censor ทั้งคู่ทั้งนั้นนะครับ คือผมว่า พรบ. ฉบับนี้เป็นจุดเริ่มต้นที่ดี ที่จะให้เราจากหลายภาคส่วนมาช่วยกันกำกับดูแลหนังไทยให้ไม่บัดซบ แต่ค่อยๆทำให้ดีขึ้นครับ สุนิตย์
เท่าที่เคยคุย เค้าก็ไม่ได้จะล้มนะแต่อยากให้มีการปรับแก้และสุดท้ายไม่ว่ากฎหมายไหนมันก็เหมือนกันหมดคือ abuse ได้อยู่ดีจึงคิดว่า Free Thai Cinema Movement เป็นจุดเริ่มต้นที่ดี ที่นอกจากจะกระตุ้นคนทำหนังให้มาร่วมตรวจสอบ (ตั้งแต่ยังไม่ออก พ.ร.บ.) แล้วยังกระตุ้นคนดูให้มาร่วมด้วย
ดีด้วยจ้า ก็ผมก็คุยกับบางคนในวงนั้นเหมือนกัน เห็นด่า พรบ. ซะแบบว่าไม่เหลืออะไรเลย มีคนทางสายกลางๆหน่อยบ้างก็ดี sunit
note: เผอิญไปตอบไว้ที่บล็อกสุนิตย์แล้วเพิ่งเห็นอันนี้ ขอก็อปมาแปะซ้ำ—–ผมเห็นด้วยกับสุนิตย์ว่าต้องมีการควบคุมอย่าง จริงจัง (what) แต่วิธี (how) นั้นผมก็เห็นด้วยกับ bact' ว่าควรเป็นการจัดเรตติ้ง ไม่ใช่การตัดทิ้งแต่ผมก็ challenge กลุ่มคนทำหนัง ว่าคุณบอกสักแต่จัดเรต แต่ไม่พูดถึงการควบคุมคนเข้าโรงไปได้อย่างไรกัน (ซึ่งยังไม่เห็นมีใครตอบประเด็นนี้ได้ ใครรู้จักกลุ่มเคลื่อนไหวพวกนี้ ฝากวานไปถาม)
เรื่องกรองคนเข้าโรงคนหนึ่งในกลุ่ม Free Thai Cinema Movement ผู้ชาย พูดในงานสัมมนาที่นิเทศจุฬาผมจำไม่ได้แล้วว่าชื่ออะไรตอบว่า เรื่องนี้ก็เหมือนกรองคนเข้าผับ กรองคนซื้อเหล้าบุหรี่เซเว่นซึ่งผมเห็นด้วยผมคิดว่าคนไม่ค่อยพูดถึงเรื่องนี้ เรื่องกรองคนเข้าโรง เพราะว่าคำตอบมันชัดเจนมากอยู่แล้วนอกจากเรื่องในโรงก็เป็นเรื่องหนังในแผ่น ก็น่าจะเหมือนกับการซื้อเหล้าบุหรี่ คือตรวจบัตรตอนซื้อ(แต่ถ้าคิดไปอีก ก็จะมีเรื่อง ฝากคนอื่นซื้อ แต่นั่นมันก็คิดกันไปได้เรื่อย ๆ ไม่จบ)แล้วก็มีเรื่อง หนังที่ฉายทางทีวีซึ่งเค้าก็จะใช้ระบบช่วงเวลา ซึ่งทางทีวีก็กำลังทำอยู่ทั้งหมดนี้จะเห็นว่า มันเป็นระบบที่ต้องช่วยกันทั้งสองฝ่ายถ้าพูดถึงจะดูแลเยาวชนคือฝ่ายทำหนังฝ่ายตรวจหนัง ก็ทำเรตไปส่วนพ่อแม่ก็ต้องร่วมมือด้วย ถ้าอยู่บ้านเดียวกัน หนังเขาก็ฉายตอนดึกแล้ว แล้วลูกจะดูอีก แล้วพ่อแม่ไม่ห้ามหรือห้ามไม่ได้ ก็ไม่รู้ว่าจะให้รัฐไปร้องเพลงกล่อมนอนลูกที่บ้านเลยรึเปล่า – -"