จรรยาบรรณสื่อใหม่ ที่ตอบโต้ได้
iTeau เปิดประด็นเอาไว้-นานแล้ว
อันนี้คือสิ่งที่ Tim O’Reilly เสนอ
ซึ่งจะเน้นเกี่ยวกับ “บล็อกเกอร์” เป็นหลัก ไม่ได้หมายถึง “ผู้สื่อข่าวพลเมือง” โดยตรง
เอามาให้ดูเป็นไอเดีย ให้ต่อประเด็นได้ (ผมไม่ได้เห็นด้วยทั้งหมด และเห็นด้วยกับ Cory Doctorow พูดไว้ว่า จรรยาบรรณชุดนี้ “แลกเสรีภาพกับความสุภาพ”)
- รับผิดชอบ ไม่เพียงแค่สิ่งที่คุณพูด แต่รวมถึงความเห็นที่คุณอนุญาตให้แสดงบนบล็อกของคุณ
- บอกระดับความอดกลั้นของคุณต่อความเห็นหยาบคาย
- พิจารณานำความเห็นนิรนาม*ออกไป
(* นิรนามในที่นี้ หมายถึงตามไม่ได้ว่าเป็นใคร – แต่ยังสามารถปกปิดตัวตนได้ – เช่นให้อีเมลจริงกับเจ้าของบล็อก แต่ไม่แสดงชื่อ/อีเมลแก่คนอ่านคนอื่น) - เพิกเฉยต่อความเห็นที่จงใจก่อให้เกิดการทะเลาะเบาะแว้ง
- คุยกันออฟไลน์ คุยกันโดยตรง หรือหาคนกลางที่จะทำอย่างนั้นได้
- ถ้าคุณรู้จักใครที่ทำตัวไม่ดี บอกเขา
- ถ้าคุณไม่พูดสิ่งไหนต่อหน้าคนอื่น อย่าพูดสิ่งนั้นออนไลน์
อ่านดูแล้ว ก็จะพบว่าเกือบทั้งหมด จะเกี่ยวกับการแสดงความคิดเห็นต่อสิ่งที่นำเสนอออนไลน์
(ถ้าพูดถึงกรณีข่าว ก็จะไม่ได้เกี่ยวกับ “ตัวข่าว” โดยตรง แต่เกี่ยวกับ “ความเห็นท้ายข่าว”)
ตรงนี้ดู ๆ ไป ในตอนแรกผมคิดว่า ก็อาจจะไม่เกี่ยวกับ “จรรยาบรรณสื่อ”
แต่ดูอีกที การมองแบบนั้น เพราะเราไปดูจรรยาบรรณสื่อของสื่อเก่า-ที่มันตอบโต้ไม่ได้รึเปล่า?
“จรรยาบรรณสื่อพลเมือง” ควรจะโยงไปถึง “จรรยาบรรณสื่อใหม่” ไหม?
สื่อใหม่ ที่ผู้สื่อข่าวพลเมืองใช้ มันตอบโต้ได้นะ“
งั้นในจรรยาบรรณนอกจากจะพูดถึง “การพูด” แล้วยังต้องพูดถึง “การฟัง” (ซึ่งก็คือการพูดของคนอื่น) ด้วยไหม?
เรื่องในชุดนี้: Bloggers’ Code of Conduct: (1) (2) (3)
ขอเชิญทุกคนที่สนใจ คุยเรื่องนี้ต่อที่ เมลกลุ่ม YouFest — hunt กับ mk ตอบกลับมาแล้ว
technorati tags:
citizen media,
code,
ethics