Tag: blogging

  • more bact’ updates on Twitter

    Get more quick microupdates + recommended links from my Twitter at http://twitter.com/bact — I still keep update this blogs, with rather original/longer writings. ช่วงที่ผ่านมา อัปเดตข่าวคราวผ่าน Twitter (ทวิตเตอร์) บ่อยกว่าทางบล็อก ยังไม่เลิกเขียนบล็อกนะครับ แต่คงจะเป็นงานเขียนแบบยาวหน่อย ส่วนสั้น ๆ หรือแชร์ลิงก์ ทวิตเตอร์มันเร็วดี ยังไงก็ติดตามได้ทาง http://twitter.com/bact อีกช่องทางหนึ่งครับ 🙂 ทวิตเตอร์คืออะไร ? ไม่รู้แฮะ ลองไปดูว่ามันทำอะไรได้บ้างละกัน btw, according to this quiz, I’m 93% addicted to Twitter (ouch, that’s sad).…

  • rt @shelisrael The Power of ReTweeting

    power of retweeting in action – พลังรีทวีต ในสถานการณ์ put #pad, #thaigov, or #thpol tag in your tweets about recent conflicts on Bangkok street. they will appear in bangkok51.morphexchange.com (similar to election.twitter) ใส่แท็ก #pad, #thaigov, หรือ #thpol ในทวีตของคุณเกี่ยวกับสถานการณ์พันธมิตรล้อมสภา ทวีตเหล่านั้นจะไปปรากฏใน bangkok51.morphexchange.com วันนี้เพิ่งตามทวิตเตอร์ ของ @mediabistro (ซึ่งเจอจากการตามทวิตเตอร์ของอีกคน) ก็ได้เจอลิงก์ที่น่าสนใจอันนี้: The Power of ReTweeting เลยขอถอดความมาให้อ่านกันครับ. อาจจะพอให้เราจินตนาการเชื่อมโยงทวิตเตอร์ ในฐานะเครื่องมือสื่อพลังสังคม (social media). สั้น ๆ…

  • flooded Planet (global warming!)

    พี่เทพเตือนมาเรื่องการอัพเดทโพสต์เก่า ซึ่งจะทำให้โพสต์นั้นจะกลับไปแสดงในหน้า Planet TLWG อีกรอบ และถ้าโพสต์มันยาว (หรือมีหลาย ๆ อันต่อ ๆ กัน) ก็เท่ากับเป็นการ flood พลาเน็ตไปเลย ต้องขอโทษทุกคนที่อ่าน Planet TLWG ด้วยนะครับ จะพยายามอัพเดทโพสต์เก่าให้น้อยที่สุด – โดยปกติแล้วการอัพเดทโพสต์เก่าของผม จะเป็นสองลักษณะ คือ จะเป็นการแก้คำผิด หรือลิงก์ที่ตายแล้ว (แทนด้วยลิงก์ใหม่ หรือแคช) หรือเพิ่มเติมลิงก์หรือ tag/label ที่เกี่ยวข้อง พวกนี้ส่วนใหญ่เป็นกรณีโพสต์ที่นานแล้ว แล้วบังเอิญกลับไปเจอ (เช่นมีความเห็นใหม่เข้ามา ทำให้ได้มีโอกาสไปอ่านอีกรอบ) อีกลักษณะคือ เพิ่มเติมตัวอย่างหรือคำอธิบายให้ชัดเจนขึ้น (แต่ไม่ได้มีประเด็นใหม่อะไรเพิ่มเติม จึงไม่โพสต์เป็นอันใหม่) พวกนี้ส่วนใหญ่จะเป็นโพสต์ที่ไม่ค่อยนานนัก บางทีก็ภายใน 5 นาที หรือวันสองวัน ประมาณนี้ แต่ไม่ว่าจะเป็นลักษณะไหน ก็จะก่อปัญหา flood เหมือน ๆ กัน (จะเว้นก็แต่กรณีอัพเดทหลังจากโพสต์ทีแรกไปแล้วในเวลาสั้น ๆ อันนี้อาจจะรอด เพราะพลาเน็ตยังไม่ได้ดูดไป หรือดูดไปแล้ว…

  • On various little and BIG things

    ปรับปรุง 2008.03.31: แก้สะกดผิด (สระเกิน ที่มองไม่เห็นบนวินโดวส์) เพิ่มลิงก์พี่ไตร แสงศตวรรษ และ technorati แปะคลิป / และตกลง network interface ไม่ได้เจ๊งครับ ปรากฎว่าสงสัยจะ update package อะไรไปแล้วมันเจ๊ง พอลงโอเอสใหม่ มันก็ใช้ได้เหมือนเดิมครับ เน็ตเวิร์ก (ตอนนี้ใช้ Ubuntu 8.04 Beta อยู่) คลิป Kapook ชวนคุย วันเสาร์ที่ 22 มีนาคม 2550 ที่บ้านไร่กาแฟ ขึ้นแล้วนะครับ (ตั้งแต่เมื่อวานเที่ยง ๆ ได้ ผมเพิ่งจะต่อเน็ตได้ network interface โน๊ตบุ๊คเจ๊ง) ที่ Duocore http://duocore.tv/ (ตอนพิเศษ xxx.kapook.com) ที่ FukDuk http://fukduk.tv/ (รอ 1 เม.ย. รายการ…

  • Bloggers’ Code of Conduct (3)

    CyberJournalist.net นำ จรรยาบรรณของสมาคมผู้สื่อข่าวสหรัฐ มาปรับ เป็น จรรยาบรรณบล็อกเกอร์ ซึ่งอันนี้จะเน้นที่ตัวเนื้อหามากกว่าที่ทิมเสนอ (อันนั้นจะเน้นที่ความเห็น) เน้น 3 หลัก Be Honest and Fair – ซื่อตรง เท่าเทียม ซื่อตรง จริงใจ ยุติธรรมและเท่าเทียม ในการเสาะหา รายงาน และตีความข้อมูล Minimize Harm – ก่อให้เกิดความเสียหายน้อยที่สุด ปฏิบัติตัวต่อแหล่งข่าว และบุคคลในข่าว ในฐานะมนุษย์ ซึ่งสมควรได้รับความเคารพ Be Accountable – อธิบายได้ โปร่งใส รับผิดได้ ไม่ลำเอียง เปิดเผยอย่างชัดเจนเกี่ยวกับ จุดประสงค์และนโยบายของเว็บ ผลประโยชน์ทับซ้อน วาระส่วนตัว ความชื่นชอบส่วนตัว ผมว่าก็ชัดดี ดูรายละเอียดที่ A Bloggers’ Code of Ethics เรื่องในชุดนี้: Bloggers’ Code of…

  • Bloggers’ Code of Conduct (2)

    จรรยาบรรณสื่อใหม่ ที่ตอบโต้ได้ iTeau เปิดประด็นเอาไว้-นานแล้ว อันนี้คือสิ่งที่ Tim O’Reilly เสนอ ซึ่งจะเน้นเกี่ยวกับ “บล็อกเกอร์” เป็นหลัก ไม่ได้หมายถึง “ผู้สื่อข่าวพลเมือง” โดยตรง เอามาให้ดูเป็นไอเดีย ให้ต่อประเด็นได้ (ผมไม่ได้เห็นด้วยทั้งหมด และเห็นด้วยกับ Cory Doctorow พูดไว้ว่า จรรยาบรรณชุดนี้ “แลกเสรีภาพกับความสุภาพ”) รับผิดชอบ ไม่เพียงแค่สิ่งที่คุณพูด แต่รวมถึงความเห็นที่คุณอนุญาตให้แสดงบนบล็อกของคุณ บอกระดับความอดกลั้นของคุณต่อความเห็นหยาบคาย พิจารณานำความเห็นนิรนาม*ออกไป (* นิรนามในที่นี้ หมายถึงตามไม่ได้ว่าเป็นใคร – แต่ยังสามารถปกปิดตัวตนได้ – เช่นให้อีเมลจริงกับเจ้าของบล็อก แต่ไม่แสดงชื่อ/อีเมลแก่คนอ่านคนอื่น) เพิกเฉยต่อความเห็นที่จงใจก่อให้เกิดการทะเลาะเบาะแว้ง คุยกันออฟไลน์ คุยกันโดยตรง หรือหาคนกลางที่จะทำอย่างนั้นได้ ถ้าคุณรู้จักใครที่ทำตัวไม่ดี บอกเขา ถ้าคุณไม่พูดสิ่งไหนต่อหน้าคนอื่น อย่าพูดสิ่งนั้นออนไลน์ อ่านดูแล้ว ก็จะพบว่าเกือบทั้งหมด จะเกี่ยวกับการแสดงความคิดเห็นต่อสิ่งที่นำเสนอออนไลน์ (ถ้าพูดถึงกรณีข่าว ก็จะไม่ได้เกี่ยวกับ “ตัวข่าว” โดยตรง แต่เกี่ยวกับ “ความเห็นท้ายข่าว”) ตรงนี้ดู ๆ…

  • Bloggers’ Code of Conduct

    ในอีเมลกลุ่มพลวัต กำลังถกกันเรื่อง “สื่อพลเมือง” และคิด ๆ กันว่า น่าจะมีเรื่องจรรยาบรรณสื่อพลเมืองด้วย ตอนนี้ก็ดู จรรยาบรรณบล็อกเกอร์ เทียบเคียงไปก่อน จดกันลืม (แต่เดี๋ยวก็จะลืมว่าเคยจดอยู่ดี) คนชายขอบ, จรรยาบรรณของสื่อพลเมือง (vdo) iTeau, จรรยาบรรณและมารยาทของการเขียนบล๊อก CyberJournalist.net, A Bloggers’ Code of Ethics (บนพื้นฐานจาก Society of Professional Journalists Code of Ethics) Blogger’s Code of Conduct (เสนอโดย Tim O’Reilly) — Cory Doctorow โต้ไว้ว่า จรรยาบรรณชุดนี้ “แลกเสรีภาพกับความสุภาพ” Blogging Wikia, Blogger’s Code of Conduct (มีเสนอ ‘โมดูล’) หลายอันให้เลือกประกอบใช้) คิดว่าเรื่องไหนสำคัญบ้าง ที่จะทำให้สิ่งที่เขียนบนบล็อก…

  • NODE101 – vdoblogging how-to

    สอนทำ Videoblogging: NODE101 ลูกค้าของคนสอน เช่น Google, Socialtext, Technorati, PBWiki technorati tags: videoblogging

  • Blogger Ethics ?

    จรรยาบรรณและมารยาทของการเขียนบล๊อก นำเสนอ จรรยาบรรณ+มารยาท ของบล็อกเกอร์ในมุมมองต่าง ๆ ทั้งจากสายวิชาการ สายนักข่าว กรณีบล็อกเกอร์เมืองไทย เมืองนอก tags: blog, blogger, ethics, code

  • แรงดึงดูด

    วิธีนึงที่จะรักษาความสัมพันธ์ที่ดี กับผู้คนที่เราพึงใจ และอยากคบหากันไปนานๆ ก็คือ การรักษาระยะห่าง ทำตัวสนิทกันมากๆ บางทีมันก็สนุก ดูจริงใจ แต่บางทีเยอะๆ มันก็อึดอัด ทุกคนต้องการความเป็นส่วนตัว และมีโลกอีกหลายใบที่เค้าต้องไปอยู่ ทั้งโลกส่วนตัวของเค้าเอง โลกของที่บ้าน โลกของเพื่อนที่โรงเรียน โลกของเพื่อนที่ทำงาน เราตามเค้าไปทุกโลกไม่ได้ ไม่ต้องทำ และไม่มีใครต้องการ แต่ละโลกมีแรงดึงดูดไม่เท่ากัน ระยะห่างที่พอดีระหว่างวัตถุก็ไม่เท่าตาม แต่ละโลกประกอบด้วยธาตุไม่เหมือนกัน คุณสมบัติของวัตถุก็แตกต่าง การคบเพื่อนในที่ทำงาน ระยะห่างจึงไม่เหมือนกับคบเพื่อนที่ไล่เตะกันมาแต่เด็ก รวมทั้งเรื่องที่จะคุยแล้วจะเกิดปฏิกริยากันได้ ก็เป็นหัวข้อที่ไม่เหมือนกัน เรื่องบางอย่างพูดได้กับคนไม่กี่คน และไม่ใช่ทุกเรื่องที่เพื่อนเล่าให้เราฟัง ต้องการคำตอบ .. เค้าแค่ต้องการปลดปล่อยพลังงานออกจากระบบ ไม่ให้ภายในตัวเค้าต้องวุ่นวายมากเท่านั้น — เราไม่ต้องป้อนพลังงานกลับ อยู่ในจักรวาลออนไลน์ ใหญ่เหลือเกิน รวมโลกของใครต่อใครเอาไว้เต็มไปหมด แถมกองทัพอุกกาบาตที่ผ่านมาเป็นพักๆ อีก (มาจากไหนไม่รู้ แต่เวลาเถียงกันยาวๆ อย่างใน pantip.com นี่ชอบเห็นมีชื่อแปลกๆ โผล่มาแจมเรื่อย) ถ้าไม่รักษาระยะห่างเอาไว้หน่อย ก็ตูมกันได้ง่ายๆ เรื่องเทคนิค และเรื่องที่คนอื่นอ่านไม่รู้เรื่อง ไกลตัว ดูเหมือนจะเป็นเรื่องที่ผมบล็อกเยอะสุด 😛 โอ้ น้ำ…