Ashok Parthasarathi argues in favour of policies that allow scientific talent to circulate between developing and industrialised nations. One of them is the Visas for voluntary recirculation.
เกี่ยวกับนโยบายต่าง ๆ รวมถึงการออกวีซ่า ที่จะสนับสนุนให้เกิดการไหลเวียน (คือมีทั้งไปและกลับ) ของแรงงานมีฝีัมือ
หนึ่งในเหตุผลสำคัญ ที่แรงงานมีฝีมือไม่ค่อยอยากจะกลับบ้าน เนื่องจากกลัวที่จะสูญเสียสภาพแวดล้อม ทั้งด้านวัฒนธรรม วิทยาศาสตร์ และการลงทุน ที่จำเป็นต่อการรักษาและพัฒนาทักษะของพวกเขา นักเรียนต่างชาติส่วนใหญ่กลัวที่จะถูกตัดขาดออกจากการแลกเปลี่ยนความรู้ เนื่องจากความยุ่งยากและระเบียบมากมายในการขอวีซ่า (คือกลัวว่าถ้าตัดสินใจกลับไปประเทศแม่แล้ว ก็จะไม่มีโอกาสกลับมาประเทศที่เรียน/ทำงานอยู่ในปัจจุบันอีก)
ปัญหานี้สามารถแก้ได้ หากประเทศผู้รับ (ประเทศที่รับเอาแรงงานมีฝีมือต่างชาติเข้าไป) ยอมออกวีซ่าถาวรให้กับแรงงานมีฝีมือ เพื่อที่พวกเขาจะได้เดินทางได้ทุกเมื่อที่ต้องการ ในประเทศเนเธอร์แลนด์ ผู้อำนวยการของมหาวิทยาลัยมาสทริชต์ ได้เสนอแนวคิดที่จะมอบวีซ่าถาวรให้กับนักศึกษาต่างชาติ ซึ่้งจะช่วยให้เกิดการไหลเวียนของแรงงานมีฝีมือ ทั้งในประเทศแม่ของแรงงาน และประเทศที่ฝึกฝนแรงงานนั้น
อ่านต่อ: Turning brain drain into brain circulation — กลับสมองไหล ให้กลายเป็นสมองเวียน
via In the Name of Progress, via Thai Friend Forum
tags: brain drain, brain circulation, developing countries, science, development