Thai Education System on the Cross-road


อุดมศึกษาไทย บนทางแพร่ง — วิวัฒน์ชัย อัตถากร

สมมุติหากหลายมหาวิทยาลัยพัฒนาถึงขั้น “ระดับโลก” ในอนาคตแบบมหาวิทยาลัย Harvard, MIT, Oxford, Cambridge ฯลฯ ได้จริง ถามอีกว่าแล้วคนไทยส่วนใหญ่ของประเทศได้อะไร แล้วใครได้บ้าง คนจนยังต้องเป็นแรงงานรับจ้างราคาถูกเช่นเดิมไหม?

การพัฒนาสู่ “ความเป็นเลิศ” จะมีความหมายในบริบททางสังคมไทยจริงก็ต่อเมื่อ “รับใช้” อย่างกระจายตัวควบคู่ไปด้วยเสมอๆ

ทิศทางการผลิตความรู้ควรแก้ปัญหาพื้นฐานของชาติให้ตรงจุด สามารถ “ชี้นำทางสังคม” ไม่ใช่เพียงแค่ “ความเป็นเลิศแบบลอยๆ” แต่ “ขาดความเป็นธรรม” ควรตั้งโจทย์จากความเป็นจริงจากชุมชนด้วย การตั้งโจทย์ได้ถูกต้องจึงมิใช่การขานรับตามๆ กัน เห็น “ช้างขี้ก็ขี้ตามช้าง” หรือ “ตามดูแห่” การเดินตามกระแสโลกอย่างขาดจังหวะก้าว อาจสร้างความเสี่ยงภัยโดยไม่รู้ตัวอย่างไม่จำเป็น ควรเดินเข้าหาโลกาภิวัตน์ด้วยปัญญาอย่างมิสติและศักดิ์ศรีเกียรติภูมิ

ผู้เขียนไม่คิดค้านเปิดเสรี หากแต่ไทยจะเปิดเสรีในวิถีทางใดมากกว่าจึงจะยั่งยืน

เรา “เปิดเสรีการค้า” เราก็ขาดดุลการค้า เรา “เปิดเสรีการลงทุน” เราก็เป็นหนี้ล้นพ้นตัวจากซื้อเทคโนโลยีเขา เรา “เปิดเสรีการเงิน” เราก็พ่ายแพ้ในสงครามการเงิน ในช่วงห้าสิบปีมานี้เกิดวิกฤตชาติมาสองครั้งสองคราแล้ว พอจะเป็น “อุทาหรณ์” สอนใจได้บ้างหรือไม่นั้น ก็น่าลองฉุกคิดหรือพิจารณาใคร่ครวญดูบ้าง

(อยากให้) อ่านต่อ…


Leave a Reply

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.