อาณานิคมทางปัญญา


พี่มหา:

“ประเทศไทย ส่งนักเรียนไปเรียนเมืองนอกเมืองนา ด้วยความเชื่อว่าเมืองนอกดีกว่า เก่งกว่า มานานแสนนานแล้ว

แต่ทำไม หนังสือเรียนต่าง ๆ ในระดับอุดมศึกษา โดยเฉพาะในสาขาวิศวกรรมศาสตร์ ยังต้องใช้หนังสือฝรั่งอยู่มาก!!??”

อ่านต่อ: “ถ้ายังขาดความเป็นตัวของตัวเอง เรียนสูงแค่ไหนก็ไร้ความหมาย”

เดี๋ยวนี้ตำราเรียนที่เคยใช้ นอกจากฝรั่งเขียนแล้ว ยังมีอินเดียกับจีนด้วย (แต่เป็นภาษาอังกฤษ)

อืม .. นั่นน่ะสิเนอะ

อ่านความเห็น ที่ GotoKnow.org


7 responses to “อาณานิคมทางปัญญา”

  1. คนจีนหรืออินเดียเขียนมีมานานแล้วเฟ้ย คนเขียนเรื่องนี้ค่อนข้างอคตินะครับ สิ่งที่เราต้องเฉพาะเจาะจงลงไปก็คือ คนเก่งไม่จำเป็นต้องเขียนหนังสือเป็น คนที่เขียนเป็นแต่ไม่ชอบเขียน ก็ไปโทษเขาไม่ได้หรอกครับ ทางด้านวิศวกรรมศาสตร์ ถึงส่งคนไปเรียนมาเป็นร้อยปีแล้วแต่คนทางด้านวิศวกรรมศาสตร์ก็ยังน้อยกว่าวิทยาศาสตร์มากนัก จะเห็นได้ว่าหนังสือทางวิทยาศาสตร์หรือทางการแพทย์เราก็พอจะมองเห็นได้ว่ามีมากมายที่เป็นภาษาไทย ไม่ต้องดูไกลครับ ดูมหาวิทยาลัยของรัฐเมื่อ 10 ปีก่อน เราจะพบว่า ดร. ในสายวิศวกรรมศาสตร์เป็นชนกลุ่มน้อยนะครับ จะมีที่เยอะๆ ก็เฉพาะจุฬาฯ เท่านั้น และที่นั่นก็ผลิตตำราออกมาหลายเล่ม และก็ใช้กันอยู่โดยทั่วไป การที่อ้างว่าอาจารย์เอาตำราของคนที่สอนหนังสือมาไม่นามาสอน ก็ต้องเจาะจงลงไปว่าตำรานั้นเป็นตำราประเภทไหนเป็น research monograph หรือเปล่า ซึ่งพวกนี้ไม่จำเป็นต้องสอนหนังสือนานก็เขียนได้ เพราะเป็นตำราที่สร้างขึ้นจากงานวิจัยเป็นหลัก ไม่ใช้ตำราของวิชาพื้นฐาน อีกส่วนหนึ่งก็คือ การใช้หนังสือส่วนใหญ่จะเป็นไปตามนี้1. หนังสือที่ทั่วโลกยอมรับ ถ้าใช้ตำราเล่มนี้แล้ว การันตีได้ว่าไม่พลาดจุดสำคัญของวิชา เช่น calculus ของ Thomus ฯลฯ2. ตำราของอาจารย์ ไม่แปลกถ้าอาจารย์คนไทยจะใช้ตำราของอาจารย์ที่ท่านไปเรียนมาด้วย ถ้าหนังสือของอาจารย์ของอาจารย์ล้าสมัยแล้ว อาจารย์ก็อาจจะแต่งตำรา ลูกศิษย์ของอาจารย์ก็จะใช้ตามๆ กัน เช่นหนังสือวิเคราะห์วงจรของอาจารย์ไพรัช ที่ได้รับการยอมรับมาดีที่สุดในสมัยหนึ่ง หรือตำรา Z80 ของอาจารย์ยืน เป็นต้น3. อาจารย์ไม่ได้มีความรู้แตกฉานมากพอในเรื่องที่สอน ถึงขั้นแต่งตำราได้ ดังนั้นตำราวิชาพื้นฐานที่แต่งขึ้นเองนั้นจึงหาได้ยากยิ่ง ซึ่งเรื่องนี้เป็นเรื่องธรรมดาไม่ว่าที่ไหนในโลก เค้าก็ต้องใช้หนังสือที่คิดว่าดีและเหมาะสม จะเขียนใหม่ก็เมื่อเห็นว่าเล่มเก่าไม่ดีแล้ว หาอ่านได้ทั่วไปในบทนำที่เค้าชอยเขียนว่า ทำไมต้องมีอีกเล่มหนึ่งด้วย4. เด็กไทยยังเรียนปริญญาโทและปริญญาเอกน้อย และยังเปลี่ยนนิสัยการคิดได้ไม่ดีพอ(ความคิดว่า ที่เค้าเขียนมาดีพอ หรือควรต้องเพิ่มเติมหรือเปล่า ผมเองก็มีปัญหาเพราะส่วนใหญ่จะคิดว่าที่เค้าเขียนมาถูกแล้ว เราอ่านไม่เข้าใจเอง) ดังนั้นโจทย์ปัญหาใหม่ๆ ที่ถูกสร้างขึ้นระ-หว่างเรียนจึงมีน้อย ดังนั้นตำราที่จะถูกเขียนเมื่อแบบฝึก-หัดต้องลอกของคนอื่นมา อาจารย์ดีๆ จึงไม่ทำ หนังสือจึงไม่เสร็จซักที5. สำนักพิมพ์ไม่เื้อื้ออำนวย ประสบการณ์การพิมพ์หนังสือวิชาการของสำนักพิมพ์ไทยมีน้อย และไม่คุ้มค่าเพราะไอ้พวกบ้าหนังสือเล่นละสองร้อยมีร้อยกว่าหน้าก็เสือกถ่ายเอกสารทั้งเล่มแล้ว สำนักพิมพ์ที่ไหนเค้าจะไปลงทุนสร้างทีมวิชาการ ที่สามารถเขียนแบบ ใช้ LaTeX หรือขัดเกลาภาษาได้ ที่เห็นมีก็มีไม่มากนัก เห็น 2-3 ที่ แค่นั้นก็งานล้นมือแล้ว จึงมีที่ว่างให้งานเขียนทางด้านวิศวกรรมศาสตร์เป็นไปได้น้อย 6. การไม่ใ้ช้ LaTeX เขียนหนังสือ ทำให้ผลลัพท์ในระยะยาวมีน้อยลงไป การเก็บเอกสารแบบ word ซึ่งเปราะบางหรือการไม่เข้ากันได้แบบย้อนหลัง ไฟล์มีขนาดใหญ่ เรื่องเหล่านี้จะเป็นปัญหาในระยะยาว การเขียนด้วย LaTeX รวมไปถึงวาดรูปด้วย metapost หรืออื่นๆ จะช่วยให้ไฟล์มีขนาดเล็ก และสามารถนำไปแปลงเป็น pdf ที่ไหนก็ได้ในโลก การปรับแต่งเอกสารทำได้ง่ายมาก และค่อนข้างคงเส้นคงวา ดูเผินๆ ไม่น่าจะมีปัญหาอะไร แต่เราลองดูหนังสือไทยที่ดีๆ แต่ไม่มีการปรับปรุงแก้ไขสิถ้าจะทำทำได้ แต่เรื่องใหญ่มาก เขียนใหม่หมดง่ายกว่าในขณะที่สำนักพิมพ์ต่างประเทศใช้ LaTeX เป็นส่วนใหญ่ถึงตอนนี้ไม่มี Thomus อยู่แล้ว Finn ก็ยังผลิตผลงานออกมาได้โดยคงงานส่วนใหญ่ของ Thomus ไว้ฯลฯ ปัญหาเล่านี้ต้องรอนะครับ อย่าลืมว่าระบบการศึกษาไทยอายุยังไม่เท่าไหร่เลย ยังไม่มีมหาวิทยาลัยไหนอายุเกินร้อยเลย ในขณะที่ของยุโรปเค้าก้าวเข้าสู่หลักพันกันแล้ว

  2. SIIT มีอาจารย์ไทยที่แต่งตำรา ระบบควบคุมเป็นภาษาอังกฤษด้วยไม่ใช่เหรอ

  3. โห ตอบยาวฮะ (กะแย้ว คุ้ม~ม :D)Calculus นี่ ผมเคยใช้อยู่สองเล่ม อีกเล่มจำชื่อไม่ได้ว่าใคร อีกเล่มจำได้เพราะชอบ ของ Anton แบบว่าภาพสวย (และทำให้เข้าใจว่า ไอ้ diff นี่ มัน diff ไปทำอะไร มีพวกภาพตัดต่าง ๆ ให้ดูละเอียดดี ก็เลยชอบน่ะ)เรื่องอาจารย์ที่สิรินธร แต่งตำราระบบควบคุมนี่ไม่รู้อ่ะครับ -_-" (แหม ไม่ได้เป็นคนในวงการ :P)รู้แต่ อ.สวัสดิ์ นี่ มีแต่งหนังสือพวกสื่อสารอ่ะเอ้อ ใช่ ภาคระบบควบคุมนี่ เค้ายุบภาคไปแล้วนะครับ -_-" เปิดมาได้ไม่กี่ปีเอง เ้ด็กเลือกน้อยน่ะครับ ตอนนี้ก็กลับไปอยู่กับไฟฟ้าเหมือนเดิม(ปีก่อนมี 15 ภาค ปีนี้เหลือ 9 เฮ่ย … ส่วนใหญ่ที่หายไปนี่เป็นพวก พลังงาน กะ สิ่งแวดล้อม อ่ะครับ … อ.ปรีดา ไม่อยู่ ก็เลยหายไปด้วยเลย สงสัยว่างั้น (ไม่เชิงหายไปเลยหรอก แต่ก็ลดฐานะจากภาควิชา กลับไปเป็นวิชาเอกให้เลือกตอนปี 3-4 เหมือนเดิม) ส่วนไฟฟ้ากำลังนี่ ท่าจะหมดแววรุ่ง เด็กเลือกไม่ถึงสิบคนอ่ะ ได้ข่าวมา วิชาเอกก็คงจะไม่มีให้เลือกแล้วถ้ายังเป็นแบบนี้)—-ประเด็นที่ 5,6 ที่พี่จอยพ่อของหมาอ้วนว่ามา เหมือนเป็นเรื่องเทคนิค น่าจะแก้ได้ง่ายหน่อย คือไม่ต้องรอบ่มเพาะอะไรมาก ถ้าอยากจะเปลี่ยนจริง ๆ ก็เริ่มทำได้ตอนนี้เลยประเด็นที่ 4 นี่น่าสนใจเขียนหนังสือว่ายากแล้วคิดแบบฝึกหัด คิดโจทย์ที่จะมาประเมินว่าคนอ่าน อ่านเข้าใจ ดูจะยากกว่าอันนี้คงจะเป็นข้อแตกต่างระหว่าง หนังสือเรียน (text book) กับ หนังสือ… อะไรดี หนังสือวิชาการ (อย่าง monograph ที่พี่จอยว่ามา) ได้ผมว่าเรื่องคิดแบบฝึกหัดนี่ ก็คงวกกลับไปที่ประเด็นที่ 3คือต้องมีความรู้แตกฉานในเรื่องนั้น ๆ (ไม่งั้นก็ไม่รู้จะตั้งโจทย์ยังไง)และต้องมีประสบการณ์การสอนมาพอสมควรล่ะ (รู้ว่า คนเริ่มเรียนใหม่ ๆ จะพลาดตรงไหน จะดัก จะวัดได้ยังไง)ประเด็น 1 กะ 2 นี่เห็นด้วย.. รวม ๆ คือ มันอุ่นใจ(1) คือใคร ๆ ก็ใช้, (2) คือ อย่างน้อยก็เคยใช้มาก่อน และรู้ว่ามันดีไม่ดียังไงแต่ผมก็คิดเหมือนกันนะว่าภาษาอังกฤษเราไม่ได้แข็งแรงกันหมดผมเองตอนนี้อ่านอะไรยาก ๆ นี่ก็ยังต้องทวนหลายรอบเลยนี่ขนาดใช้มาตลอดอย่างน้อยก็ .. 8-9 ปีนะเนี่ยคือคิดว่า ถ้ามีตำราภาษาไทยมันก็จะช่วยเรื่องการถ่ายทอดความรู้ได้ไหลลื่นขึ้นน่ะครับก็เป็นผลดีกับคนเรียนด้วยไม่มีกำแพงภาษามาวุ่นวาย (แค่เนื้อหาวิชาก็ปวดหัวพอแล้ว)อย่างตอนนี้สมมติผมสนใจเรื่อง อะไรดีล่ะSociology หยั่งงี้อ่ะแล้วให้ผมไปเริ่มเรียนด้วยตำราภาษาอังกฤษผมเองยังแหยง ๆ เลย -_-"ไม่มีคนไกด์ด้วยไงถ้าเรามีตำราวิศวกรรมศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ภาษาไทยเยอะ ๆจะเป็นการส่งเสริมการเรียนรู้ด้วยตนเองสำหรับบุคคลทั่ว ๆ ไปได้ด้วยรึเปล่าไม่ได้จำกัดอยู่แค่เฉพาะนักศึกษา อาจารย์ (หรือใครก็ตามที่ "เค้าจ้างให้มาอ่านหนังสือ" อะไรทำนองนั้น)เขียนบล็อกเยอะ ๆ นี่จะทำให้เขียนหนังสือได้ดีขึ้นมะ ?

  4. อันนี้เห็นด้วยเรื่องเราควรจะผลิตหนังสือไทยให้เยอะๆ เริ่มต้นไม่ต้องเขียนเองครับ ซื้อลิขสิทธิ์มาแปลเลย อย่างที่อาจารย์สิทธิชัย เค้าพยายามทำที่มหานคร รัฐบาลควรจะสนับสนุึนหนังสือเล่มไหนดี เล่มไหนเด่น ซื้อมาผลิตในราคาที่นักศึกษาหาซื้อได้ อย่างที่จีน ญี่ปุ่น เกาหลีทำ จริงๆ แล้วก็ต้องเข้าใจว่าทุกประเทศที่เจริญแล้วเค้าก็ทำอย่างนี้แหละ รัสเซียก็แปลตำราภาษาอังกฤษ อเมริกาก็แปลตำราฝรั่งเศส เยอรมัน กันเยอะแยะมั่วไปหมด

  5. ที่ รู้จัก แล้วก็จำแม่นๆ โน่นเลยอาจารย์ ยืนเรียนมาตั้งแต่ ปวช ยัน ป.ตรีสุดยอด

  6. หาบทความต้นฉบับไม่เจอ ไม่รู้หายไปไหนแต่ยอมรับว่ามีอคติครับสาเหตุคงเป็นเพราะ Blog นั้นมีไว้ระบาย เพราะฉะนั้นจะคิดถึง Blog นั้น หรืออยากจะเขียนอะไรใน Blog นั้นก็ตอนที่หงุดหงิดกับปัญหาอะไรบางอย่างเท่านั้น เช่นตอนที่แล้วหงุดหงิดกับปัญหาระบบการเงินของราชการเป็นต้นแน่นอนว่าถ้ามองให้รอบด้าน ประเด็นที่เอ่ยถึงมันก็คงไม่เลวร้ายขนาดนั้น แต่ว่า Blog มันเขียนตอนที่คนเขียนหงุดหงิดไง มันเลยดูร้าย ๆ เกินไปสักหน่อย

Leave a Reply

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.