จักรวาล คือ คอมพิวเตอร์
Scientific American เล่มเดือนนี้ (Nov 2004) เรื่องเด่นขึ้นปกคือ Black Hole Computers
คนเขียนใช้ควอนตัมฟิสิกส์อธิบายว่า หลุมดำ และทุกสิ่งในจักรวาล รวมทั้งตัวจักรวาลเอง ก็คือตัวประมวลผลข้อมูล หรือเครื่องคอมพิวเตอร์นั่นเอง ในบทความอธิบายถึงขีดจำกัดทางฟิสิกส์ด้วย ว่าวัตถุมวลเท่านี้ จะประมวลผลข้อมูลได้ด้วยความเร็วสูงสุดเท่าไหร่ หรือว่าเก็บข้อมูลได้เยอะเท่าไหร่
ถ้าหาอ่านในนิตยสารไม่ได้ (อ่านออนไลน์ต้องจ่ายตังค์), ลองอ่านอันนี้แทนก็ได้ The Ultimate Laptop : A Black Hole หรือ ค้นกูเกิ้ลด้วย “black hole computers” มีบทความเรื่องนี้เยอะมาก (ชื่อสาขามันประมาณ the physics of information processing กะ quantum information processing ลองค้นด้วยคำพวกนี้ก็ได้)
ชอบที่คนเขียนบทความใน Scientific American สรุปตอนท้ายๆ ว่า “Computation is existence.”
ทำให้นึกถึงประโยค “Cogito Ergo Sum” (ภาษาอังกฤษ: “I think, therefore I am”, ภาษาไทย: “ฉันคิด ฉันจึงเป็น”)
ทุกอย่างในจักรวาล ประกอบด้วย บิต
4 responses to “Computation is existence.”
Brahman ๑ : Universe segfaults by /dev/urandom, Film at 11!Lohan : Ignoro ergo sum.Brahman ๒ : Ooops, lemme gdb.Lohan : Ignoro ergo sum.Brahman ๒ : Patched!
วันก่อนอ่านดูผ่านๆเหมือนกัน น่าสนใจตรงที่เขาบอกว่า "Nature is Discrete"ทุกอย่างแทนได้ด้วยบิตหมด เพราะทุกอะตอม ลงไปข้างในก็มีแกน spin 2 ทิศทาง ไม่มีระหว่างนั้น (บิต)หรือ "เวลา" ก็มีค่าเวลาน้อยที่สุดที่จำเป็นในการเปลี่ยนสถานะของ บิตไม่เข้าใจว่าเขาบอกว่าเวลาเดินทีละค่าๆนั้น ไม่ต่อเนื่องหรือเปล่า สรุปว่าอ่านแล้ว งง อีกอันที่น่าอ่านจากผู้เขียนคนเดียวกันSeth Lloyd, Ultimate physical limits to computation. Nature 406, 1047-1054 (2000)
ตรงนั้นด้วย ที่ว่า "Nature is discrete."เคยอ่านจาก Vcharkarn.com มั้ง ในทางฟิสิกส์ มันก็มี หน่วยเวลาที่สั้นที่สุด (ที่วัดได้) และ ความยาวที่สั้นที่สุด (ที่วัดได้) อยู่สิ่งที่สั้นกว่านั้น ถือว่าไม่มี เพราะวัดไม่ได้(พื้นฐานของวิทยาศาสตร์ทุกอย่างคือ สิ่งที่เราสังเกตุได้ ถ้าสังเกตุไม่ได้ ถือว่าไม่มี)ถ้าเป็นแบบนี้ แสดงว่า เวลา กะ ขนาด ก็ต้องเป็น discrete เพราะมันวิ่งจาก1 หน่วย มาเป็น 2 หน่วย เลย, ไม่มี 1.5 หน่วยระหว่างนั้นเมื่อเช้าตื่นมาก็นั่งนึกๆอย่างที่ว่า นิพพาน คือการหลุดพ้นนี่หมายถึงการหยุดคิดรึเปล่า หยุดคิดก็ไม่มีตัวตน (=ไม่ต้องเวียนว่าย?).. การทำวิปัสนานี่คือการทำให้จิตว่าง เกี่ยวกันรึเปล่า?(ไม่ได้พยายามจะโยงพุทธเข้ามาเกี่ยวกะควอนตัมฟิสิกส์ ไม่รู้เรื่องทั้งคู่ ศีลไม่ได้ถือ ตกฟิสิกส์ม.ปลายด้วย แต่เผอิญมันนึกได้พอดี)เมื่อวานนึกเลยไปอีกแบบนี้ถ้ามีอีก 'โลก' นึง ซึ่ง เวลา ขนาด มิติ อะไรต่างๆ ของเค้า่มันไปตกอยู่ระหว่าง 'ช่องว่าง' ที่โลกของเราสังเกตุไม่ได้ (อยู่ระหว่าง 1 หน่วย กับ 2 หน่วย) และกลับกันแบบนี้เป็นไปได้มั๊ย ว่า 'โลก' เหล่านี้หลายๆ อัน จะอยู่ทับซ้อนกันได้โดยที่ต่างฝ่ายต่างไม่รู้สึกถึงการมีอยู่ของอีกฝ่ายเลยยิ่งเขียนยิ่งเหมือนนิยายวิทยาศาสตร์ -_-"
> ถ้าเป็นแบบนี้ แสดงว่า เวลา กะ ขนาด ก็ต้องเป็น discrete เพราะมันวิ่งจาก> 1 หน่วย มาเป็น 2 หน่วย เลย, ไม่มี 1.5 หน่วยระหว่างนั้นเพิ่งถกเรื่องนี้เมื่อวานซืนนี้เองมั้งกับฮินดูคนนึงที่คุยกันสรุปกันว่า(เพราะขี้เกียจคุย) ค่าที่สังเกตได้เป็นทั้ง R+-R' และ Z ในขณะเดียวกันแล้วแต่ว่าจะมองมันอย่างไร> นี่หมายถึงการหยุดคิดรึเปล่า หยุดคิดก็ไม่มีตัวตน (=ไม่ต้องเวียนว่าย?)> .. การทำวิปัสนานี่คือการทำให้จิตว่าง เกี่ยวกันรึเปล่า?ที่เวียนว่ายตามปฏิจสมุปบาททั้งหมดมาจากความไม่รู้ (อวิชชา)สภาพธรรมที่ทำลายอวิชชาคือปัญญาที่เกิดจากวิปัสนาแต่ว่าวิปัสนาไม่ใช่การ "หยุดคิด" แต่เป็นการ "รู้ทัน" จิตเพราะในพุทธ การหยุดคิด ไม่ว่าจะภวังค์ หรือสมาธิ (เอกคตา)ก็ยังมีอารมณ์อยู่ เกิดจากความไม่รู้ถึงความเป็นอนัตตาพูดถึงตรงนี้นึกถึงรูปปั้นสิบแปดอรหันต์ที่จะทำท่าทางแปลกๆต่างๆไปเขาบอกว่าเป็นท่าทางในขณะที่กำลังบรรลุธรรม ทำไว้แสดงให้เห็นว่าวิปัสนาไม่ใช่การนั่งนิ่งๆ เงียบๆ แต่เมื่อสติมีกำลังด้วยสติปัฏฐานสติก็เอื้อให้ปัญญาเกิด ปัญญาเกิดก็จะทำลายอวิชชา วงจรอิทิปัจจยตาที่มีอวิชชาเป็นตัวตั้งต้นก็จะขาดลง ไม่เวียนว่ายตายเกิดอีกควอนตัมกับพุทธใช้หลักการเดียวกันในการสังเกต คือบอกว่าการสังเกตใดๆจะได้ค่ามาในรูปแบบของความน่าจะเป็น ในพุทธกล่าวถึงจุดสังเกตว่าไม่แน่นอน และไม่สามารถหาค่าต่อไปที่จะเกิดกับจุดสังเกตที่แน่นอนได้(อนัตตา)อ่านตัวอย่างชัดๆได้จากเรื่อง สัจจกนิครนถ์ และศึกษาในรายละเอียดได้จากพระอภิธรรม