Tag: thoughts

  • rent a house = high mobility ?

    เวลานั่งรถไฟฟ้า นั่งรถไปไหนมาไหน มองเห็นตึกแถวใช้ประโยชน์ไม่เต็มที่เยอะแยะมากมายในกรุงเทพ ตึกแถวต่าง ๆ น่าจะมีการใช้ประโยชน์ให้คุ้มค่ากว่านี้ จะได้ไม่ต้องสร้างตึกใหม่ให้เปลืองทรัพยากร ทำเป็น mixed use ซะ ใช้หลายประสงค์ ถือครองร่วมกันหลายคนหลายครอบครัวหรือเจ้าของตึกแบ่งเช่า ชั้นล่างให้เช่าเป็นร้านค้า/สำนักงาน ชั้นบน ๆ แบ่งชั้นให้แต่ละครอบครัวเช่า ชั้นดาดฟ้าบนสุดใช้ร่วมกัน เป็นลานซักล้าง-ตากผ้า หรือถ้าตึกข้างเคียงจะตกลงเปิดดาดฟ้าต่อกันก็ได้-ทำเป็นลานนั่งพักผ่อน/ทำกิจกรรม (ข้างล่างไม่มีที่) ถ้าจะทำ ต้องปรับปรุงเรื่องประตูเข้าออก ทางขึ้นลง ให้สะดวกกับทุกฝ่าย แบบนี้ ตึกแถวห้องหนึ่งอาจอยู่ได้ถึงสามสี่ครอบครัวเล็ก ๆ ตามลักษณะครอบครัวคนทำงานรุ่นใหม่ในเมือง อีกเรื่องที่เกี่ยวข้อง ที่จะทำให้เรื่องข้างบนเป็นไปได้มากขึ้น คือ ค่านิยมเรื่อง “เช่าบ้าน = ไม่มั่นคงในชีวิต” น่าจะปรับเปลี่ยนเป็น “เช่าบ้าน = คล่องตัวสูง” มี mobility เคลื่อนย้ายสะดวก ซึ่งน่าจะเหมาะกับลักษณะชีวิตคนทำงานรุ่นใหม่มากกว่า ที่ย้ายสถานที่ทำงานบ่อยครั้ง (ทั้งจากการย้ายองค์กร หรืออยู่ในองค์กรเดิมแต่ต้องเดินทางเปลี่ยนที่ทำงาน) ทั้งตอบสนองความต้องการที่จะมีบ้านอยู่ใกล้ที่ทำงาน เพื่อความสะดวก ลดค่าเดินทาง ประหยัดเวลา เพิ่มคุณภาพชีวิต (สามารถย้ายบ้านตามที่ทำงานได้สะดวก ไม่ต้องห่วงเรื่องซื้อขายบ้าน หรือทำสัญญาระยะยาว)…

  • Dr. Sa-nguan life and thoughts

    จากหนังสือ งานกับอุดมคติของชีวิต นพ.สงวน นิตยารัมภ์พงศ์ (หน้า 3-5) … ผมเข้าร่วมขบวนการกิจกรรมนักศึกษาตั้งแต่ก่อนเหตุการณ์ 14 ตุลา 2516 จนกระทั่งขบวนการกิจกรรมนักศึกษาถูกทำลายในวันที่ 6 ตุลา พ.ศ. 2519 แม้ว่าจะไม่ใช่ประเภทมือไมค์ไฮปาร์ค ซึ่งไม่ใช่สไตล์ของนักศึกษามหิดล แต่เราก็มีรูปแบบกิจกรรมที่ไปเสริมกับนักศึกษามหาวิทยาลัยอื่น ๆ ในแนวทางของเรา ที่ผมมองว่าสังคมนักศึกษาขณะนั้นเป็นสังคมอุดมคติ ก็เพราะในขณะนั้นชีวิตนักศึกษาเป็นสังคมรวมหมู่ที่ทุกคนช่วยเหลือซึ่งกันและกัน เอาใจใส่ซึ่งกันและกัน โดยมีเป้าหมายอย่างเดียวกันก็คือ การที่จะสร้างสังคมที่เป็นธรรม และก็ทำให้ประเทศชาติเป็นประเทศที่มีความยุติธรรม ประชาชนทุกคนมีศักดิ์ศรี ไม่ถูกทอดทิ้ง ผมจำได้ว่ารู้สึกรักและนับถือเพื่อนนักศึกษาหลาย ๆ คน โดยเฉพาะผู้ที่ทุ่มเทชีวิตทั้งกายและใจเพื่อที่จะรับใช้ประชาชน ซึ่งแรงบันดาลใจและตัวอย่างจากคนเหล่านี้ ทำให้ผมมีแนวคิดและมีความฝังใจว่า อยากจะเห็นสังคมรวมหมู่ที่ดีที่ทุกคนแบ่งปันเอื้อเฟื้อซึ่งกันและกัน ซึ่งแนวความคิดนี้เป็นฐานคิดที่สำคัญของระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าที่ว่า เราจะไม่ปล่อยให้พี่น้องในสังคมเดียวกันนี้ต้องป่วยตายและตายไปโดยไม่ได้รับการดูแลด้วยเหตุว่าเขาไม่มีเงิน … เมื่อมีการปราบปรามนักศึกษาผมเองก็มีชื่ออยู่ในบัญชีที่ต้องถูกจับกุมเช่นเดียวกับเพื่อนนักกิจกรรมคนอื่น ๆ อีกหลายคน ในเวลานั้นพวกเราแต่ละคนต้องตัดสินใจเลือกทางชีวิตของตัวเอง ในจำนวนไม่กี่ทางเลือกที่มี ผมตัดสินเลือกที่จะอยู่ต่อสู้ในเมืองต่อไป แม้ว่าต้องหลบซ่อนตัวอยู่ระยะหนึ่งก็ตาม ในขณะที่เพื่อน ๆ จำนวนหนึ่งเลือกที่จะไปจากเมืองเพื่อต่อสู้กับรัฐบาล … นอกจากนั้น ความที่ผมไม่ถูกจับ แม้จะมีรายชื่อตามจับของทางการอยู่ ทำให้ผมไม่สามารถจะได้รับพระราชทานปริญญาบัตรต่อหน้าพระพักตร์สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว การรับปริญญาต่อหน้าพระพักตร์และมีรูปถ่ายไปติดที่บ้าน…

  • Does Wikipedia a real peer-to-peer production ?

    ต่อเนื่องจาก วิกิพีเดียไทยกำลังล้มเหลว – มีข้อสังเกตน่าสนใจจาก เชิงอรรถ ของ มหาวิหารกับตลาดสด (The Cathedral and the Bazaar) น่าสังเกตพอๆ กัน ว่าในชุมชนโอเพนซอร์สนั้น รูปแบบโครงสร้างชุมชนก็ตรงกับหน้าที่ที่ทำในหลายระดับ เครือข่ายนี้ครอบคลุมทุกอย่างและทุกที่ ไม่ใช่แค่อินเทอร์เน็ต แต่ผู้คนที่ทำงานยังได้สร้างเครือข่ายแบบกระจาย ขึ้นต่อกันอย่างหลวมๆ ในระดับเดียวกัน ที่มีส่วนที่ทดแทนกันได้เกิดขึ้นกลายส่วน และไม่ล้มครืนลงแบบทันทีทันใด ในเครือข่ายทั้งสอง แต่ละกลุ่มจะมีความสำคัญแค่ในระดับที่กลุ่มอื่นต้องการจะร่วมมือด้วยเท่านั้น ตรงส่วน “ในระดับเดียวกัน” นี้ สำคัญมากสำหรับผลิตภาพอันน่าทึ่งของชุมชน ประเด็นที่โครพอตกินพยายามจะชี้เกี่ยวกับความสัมพันธ์เชิงอำนาจ ได้ถูกพัฒนาต่อไปโดย ‘หลัก SNAFU’ ที่ว่า “การสื่อสารที่แท้จริง จะเกิดได้ระหว่างคนที่เท่าเทียมกันเท่านั้น เพราะผู้ที่ด้อยกว่าจะได้รับการตอบแทนอย่างสม่ำเสมอกว่า ถ้าพูดโกหกให้ผู้ที่เหนือกว่าพอใจ เทียบกับการพูดความจริง” ทีมงานที่สร้างสรรค์จะขึ้นอยู่กับการสื่อสารอย่างแท้จริง และจะถูกขัดขวางอย่างมากจากการมีความสัมพันธ์เชิงอำนาจ ชุมชนโอเพนซอร์ส ซึ่งปราศจากความสัมพันธ์เชิงอำนาจดังกล่าว จึงได้สอนเราในทางตรงกันข้าม ให้รู้ถึงข้อเสียของความสัมพันธ์ดังกล่าวในรูปของบั๊ก ผลิตภาพที่ถดถอย และโอกาสที่สูญเสียไป ข้อสังเกตนี้ ชี้ว่า ในการผลิตแบบเท่าเทียม (peer production) ชุมชนที่จะมีประสิทธิภาพควรจะต้องมีความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลในชุมชนแบบเท่าเทียม/ในระดับเดียวกัน … แล้วความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลในวิกิืพีเดีย(ไทย)เป็นแบบไหน…

  • Free Software Culture

    รวมบทความเกี่ยวกับ วัฒนธรรมแฮ็กเกอร์ ซอฟต์แวร์เสรี และโอเพนซอร์ส สำรวจ วัฒนธรรมแฮกเกอร์ ซึ่งเป็นจุดกำเนิดของวัฒนธรรมซอฟต์แวร์เสรี และกระบวนโอเพนซอร์ส เพื่อทำความเข้าใจด้านที่นอกเหนือไปจากเรื่องเทคโนโลยี ของ การเคลื่อนไหวซอฟต์แวร์เสรี บทความทั้งหมดนี้ เขียน/แปลโดยอาสาสมัครจาก (หรือมีความเกี่ยวข้องกับ) linux.thai.net ชุมชนซอฟต์แวร์เสรีรุ่นบุกเบิกชุนชนหนึ่งของไทย มาเป็นแฮ็กเกอร์กันเถอะ! เนื้อหาบางส่วนอ้างอิงจาก How to become a Hacker ของ Eric Steven Raymond (ESR) บทความสั้น วัฒนธรรมแฮ็กเกอร์ ใครคือแฮ็กเกอร์ พวกเขาทำอะไร และจะเป็นได้อย่างไร มหาวิหารกับตลาดสด แปลจาก The Cathedral and the Bazaar ของ ESR บทความชุด สำรวจวัฒนธรรมโอเพนซอร์ส ทำไมโครงการซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สที่ประสบความสำเร็จ จึงประสบความสำเร็จเช่นนั้น วิธีทำงานกับซอฟต์แวร์เสรี แปลจาก Working on Free Software ของ Havoc Pennington…

  • Thailand, FOSS, and Community

    (ขอรวมมันที่เดียวเลยละกัน ไปตามแก้โพสต์ก่อน ๆ แล้วงง – -“) รายงาน TLUG รายงาน มัลติมีเดีย และรวมลิงก์ที่เกี่ยวข้อง ที่เว็บ Blognone TLUG Resurrection รายงานประเด็นต่าง ๆ ในงานเสวนา โดย เทพพิทักษ์ การุญบุญญานันท์ รายงาน : เสวนาโอเพนซอร์ส “อนาคตโอเพนซอร์สไทย” รายงาน และสัมภาษณ์พิเศษคุณเทพพิทักษ์ พร้อมมัลติมีเดีย และลิงก์ที่เกี่ยวข้อง ที่เว็บ พลวัต Thailand FOSS Retrospects ย้อนมองวงการซอฟต์แวร์เสรีเมืองไทย บทความวิเคราะห์ โดย เทพพิทักษ์ การุญบุญญานันท์ รวมบทความ วัฒนธรรมแฮ็กเกอร์ ซอฟต์แวร์เสรี และโอเพนซอร์ส สำรวจและทำความเข้าใจกับ วัฒนธรรมแฮ็กเกอร์ ซึ่งเป็นจุดกำเนิดของวัฒนธรรมซอฟต์แวร์เสรี และกระบวนโอเพนซอร์ส มีบทความเด่น เช่น มหาวิหารกับตลาดสด วีดิโอของงาน TLUG อนาคตโอเพนซอร์สไทย ตัดมาเฉพาะตอนที่เกี่ยวกับชุมชน ดูวีดิโอทั้งหมดได้ที่…

  • TLUG presentation

    อนาคต+โอเพนซอร์ส+ไทย — 20 อย่างที่พอนึกออก (ดูแบบ PDF หรือ OpenDocument — ไฟล์ชนิด OpenDocument เปิดได้ด้วยโปรแกรมเช่น OpenOffice.org หรือ KOffice) พูดในงาน TLUG 25 พ.ย. 2549 ที่เขียนถึงในโพสต์ก่อนหน้านี้ อันนี้เป็นรุ่นต้นฉบับ เหมือนที่ใช้ในงานเลย มีหมายเหตุประกอบ (“Notes”) อยู่นิดหน่อย ลองเปิดดูได้ จะพยายามเพิ่มหมายเหตุประกอบเข้าไปอีก แล้วอัพขึ้นอีกทีนะครับ ตอนนี้ดูอันนี้ไปก่อน มันไม่มีเนื้อหาอะไรมาก มีแค่คำสำคัญ จุดประสงค์หลักคือเพื่อจุดประเด็นความสนใจ หวังให้เป็นหัวข้อพูดคุยต่อไป ถ้าใครสนใจประเด็นไหนเป็นพิเศษบอกได้ ผมก็อยากศึกษาแล้วมีคนคุยด้วยน่ะ 😛 การนำเสนอ/หัวข้ออื่น ๆ Economics of Free and Open Source in Thailand โดย กานต์ ยืนยง (ไฟล์แบบ PowerPoint ดูได้โดย PowerPoint Viewer…

  • Government Scholarship

    เป็นนักเรียนทุนรัฐบาล … ต้องสำนึกคุณใครดี ? (ที่นอกเหนือจากบุพการี) ไม่ต้อง, รัฐบาล (ผู้ให้ทุน), รัฐ (เจ้าของทุนตัวจริง? รัฐบาลเป็นแค่ผู้บริหาร), ผู้เสียภาษี (ก็ทุนมาจากนี่), ประชาชนทั้งหมด (เจ้าของรัฐ ที่ฝากรัฐบาลบริหารอยู่), … ? tags: government | scholarship

  • Dynamicism

    พอคอมพิวเตอร์มีประสิทธิภาพมาถึงจุดนึง เราก็สามารถ “ฟุ่มเฟือย” พลังประมวลผล ไปกับคำสั่งที่อาจจะไม่จำเป็นบางอย่าง ยกหน้าที่เรื่องการเขียนภาษาเครื่องให้กับตัวคอมไพเลอร์ แล้วเราก็ไปเขียนภาษาในระดับที่สูงกว่านั้นแทน เพื่อแลกกับความสะดวกในการเขียนโปรแกรม .. ลดเวลาในการเขียน และเพิ่มความง่ายในการ port พอคอมพิวเตอร์มีประสิทธิภาพมาถึงอีกจุดนึง เราก็สามารถ “ฟุ่มเฟือย” พลังประมวลผล ไปกับการแปลงโค้ดทุกครั้งที่รันได้ (โดยแปลงเป็นภาษากลางล่วงหน้าก่อน แล้วค่อยเป็นภาษาเครื่อง) เพื่อแลกกับความสะดวกเรื่องการใช้งานข้ามแพลตฟอร์ม .. ลดจำนวนโปรแกรมที่ต้องเขียน และถึงตอนนี้ก็ไม่ต้อง port แล้ว รันได้เลย แล้วพอจะไปถึงอีกจุดนึง เราก็สามารถ “ฟุ่มเฟือย” พลังประมวลผล ไปกับการแปลงโค้ดทุกครั้งที่รัน (จริง ๆ – จากภาษาโปรแกรม ไปเป็นภาษาเครื่องเลย) เพื่อแลกกับความง่ายในการเขียนโปรแกรม (บางอย่างที่อาจจะยาก ถ้าต้องเขียนแบบ static) .. ลดจำนวนบรรทัดที่ต้องเขียน/ความซับซ้อนของโปรแกรม เพิ่มผลิตภาพ แล้วถึงตอนนั้น ก็อาจจะไม่ต้องเขียนโปรแกรมบางอย่างเองล่วงหน้าแล้ว ปล่อยให้โปรแกรมมันไปเขียนโปรแกรมตอนรันเอาเอง คาดว่าหลังจากนั้น ก็คงจะถึงยุคของ การไม่ต้องเขียนโปรแกรม แต่เปลี่ยนเป็นบอกว่า เราอยากได้อะไร (declarative) (จากเมื่อก่อนเป็นการบอกขั้นตอนว่าทำอย่างไร) คงจะเป็นทำนอง Prolog…

  • Taking Back the Web, with Cautions

    ช่วงนี้มีคนพูดถึง Web 2.0 บ่อยขึ้นทุกที บางคนคิดว่ามันหมายถึงเทคโนโลยีอย่าง AJAX, อินเทอร์เฟสที่ลื่นไหลขึ้น โต้ตอบได้ทันใจ ทำให้การใช้งานเว็บสะดวกขึ้น มีการพูดถึงว่า ต่อไปเราจะทำทุกอย่างได้ในเว็บเบราเซอร์ (ตอนนี้ก็มีทั้งโปรแกรมอีเมล ตารางนัดหมาย ประมวลคำ ตารางคำนวณ ฯลฯ) แต่แค่เทคโนโลยีอย่างเดียวจริง ๆ เหรอ ที่ทำให้คนสนใจ Web 2.0 ? เพราะจะว่าไป ไอ้เจ้าเทคโนโลยีทั้งหลายใน Web 2.0 นั้น ไม่ได้เป็นของใหม่เลย มันมีมานานแล้ว แล้วสิ่งที่ใหม่คืออะไรล่ะ ? ก็คือมุมมองในการใช้เทคโนโลยีเหล่านั้นนั่นเอง ที่เป็นของใหม่ หัวใจของ Web 2.0 อยู่ที่ “คน” เพื่อคน และโดยคน เมื่อเปรียบเทียบกับ “Web 1.0” ที่หัวใจอยู่ที่เนื้อหา(ทางเดียว) เพื่อการค้่า และโดยผู้จัดพิมพ์รายใหญ่ (ส่วน “Web prototype” นั่น หัวใจคงเป็นเรื่องการวิจัย เพื่อความมั่นคง และโดยรัฐ) สิ่งที่สร้าง…

  • Data, Information, Knowledge, Understanding, and Wisdom

    ปรับปรุงและเพิ่มเติม จากความเห็นในหัวข้อ ทำไมต้อง KM , อะไรคือ data , information , and knowledge ที่ GotoKnow.org (ลิงก์เดิม) systems-thinking.org ให้ความหมายของ ข้อมูล, สารสนเทศ, ความรู้, ความเข้าใจ, และปัญญา ไว้ดังนี้ (ถอดความเป็นภาษาไทย): ข้อมูล: (data) ชุดสัญลักษณ์ สารสนเทศ: (information) ข้อมูลที่ถูกประมวลผลให้มีประโยชน์แล้ว; ตอบคำถาม “ใคร”, “อะไร”, “ที่ไหน”, “เมื่อใด” ความรู้: (knowledge) การประยุกต์ข้อมูลและสารสนเทศ; ตอบคำถาม “อย่างไร” ความเข้าใจ: (understanding) ความตระหนักว่า “ทำไม” ปัญญา: (wisdom) ความเข้าใจที่ถูกประเมินแล้ว กรณีตัวอย่าง สูตรลับก๋วยเตี๋ยว: ถ้ายึดตามเกณฑ์ข้างบนนั้น จากตัวอย่างสูตรลับก๋วยเตี๋ยวที่ว่ามา “ สมมติธุรกิจดั้งเดิมของที่บ้านขายก๋วยเตี๋ยว มีสูตรลับเฉพาะในการทำเส้นที่มีมาตั้งแต่รุ่นปู่ทำมาอย่างไร ก็มีเอกลักษณ์ของการทำเส้นร้านนั้นถ่ายทอดถึงรุ่นลูก…