Tag: Thailand

  • [2 Apr] Official launch Creative Commons Thailand Licenses @ BACC

    โครงการซีซีไทย เปิดตัว สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์สำหรับประเทศไทย พฤหัส 2 เมษายน 2552 13:00-16:00 น. @ ห้องประชุม ชั้น 5 หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร (แยกปทุมวัน ตรงข้าม MBK) ขอเชิญทุกท่านที่สนใจในการเผยแพร่งานให้สาธารณะได้ใช้งานและพัฒนาต่อยอด ร่วมหรือส่งตัวแทนร่วมงานเปิดตัวสัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์สำหรับประเทศไทย ไม่ว่าคุณจะเป็น บล็อกเกอร์ นักเขียน นักถ่ายภาพ นักสร้างหนัง นักแต่งเพลง นักดนตรี หน่วยงานที่ต้องการเผยแพร่ข้อมูลต่อสาธารณะ องค์กรสาธารณประโยชน์ ห้องสมุด พิพิธภัณฑ์ คลังข้อมูล เว็บไซต์เพื่อการศึกษา ผู้ให้บริการเนื้อหาพื้นที่บล็อก เว็บบอร์ด ฯลฯ รู้จักสัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบต่าง ๆ แนวทางการเลือกใช้สัญญาอนุญาตแต่ละแบบ พร้อมตัวอย่าง วิธีการใช้สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์กับงานแต่ละประเภท เช่น งานเขียน บล็อก ดนตรี วีดิโอ งานรีมิกซ์ งานวิจัย สื่อการศึกษา ฯลฯ รู้จักเพื่อน ๆ และหน่วยงานที่สนใจครีเอทีฟคอมมอนส์และแนวคิดวัฒนธรรมเสรี พูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ในประเด็นวัฒนธรรมเสรีและการเผยแพร่เนื้อหาแบบเปิด (open…

  • Bangkok Post: Taking time to consider lese majeste law

    Report from the seminar last weekend, from today (2009.03.25)’s Bangkok Post http://www.bangkokpost.com/opinion/opinion/13931/taking-time-to-consider-lese-majeste-law (More from this seminar at Prachatai (English): Seminars recount lese majeste law fears, Lese Majeste: Differences of legal opinion aired at forum on defamation of royalty) Thailand: Monarchy and Democracy Taking time to consider lese majeste law by Atiya Achakulwisut, Bangkok Post, 25…

  • STOP ONLINE MEDIA INTIMIDATION

    English version here. แถลงการณ์เรื่องการคุกคามสิทธิเสรีภาพสื่อออนไลน์ สืบเนื่องจากกรณีพนักงานสอบสวนกองปราบปรามได้เข้าจับกุมนางสาวจีรนุช เปรมชัยพร ผู้อำนวยการเว็บไซต์หนังสือพิมพ์ออนไลน์ประชาไท (http://www.prachatai.com) เมื่อเวลาประมาณ 14.30 น. ของวันศุกร์ที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2552 และได้มีการสืบปากคำพร้อมทำสำเนาข้อมูลในฮาร์ดดิสก์คอมพิวเตอร์ส่วนตัวของ นางสาวจีรนุช และแจ้งข้อกล่าวหาว่าได้ทำการสนับสนุนผู้ถูกดำเนินคดีในข้อหา เป็นผู้ให้บริการจงใจสนับสนุนหรือยินยอมให้มีการกระทำผิด นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ปลอมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน หรือข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ ซึ่งอาจเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ ข้อมูลอันเป็นเท็จ โดยที่จะเกิดความเสียหายต่อความมั่นคงประเทศ และเผยแพร่ หรือส่งต่อ ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยรู้อยู่แล้วว่าเป็นข้อมูลคอมพิวเตอร์ ตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 มาตรา 14 (1) (3) (5) และ 15 เครือข่ายพลเมืองเน็ต คณะกรรมการรณรงค์เพื่อการปฏิรูปสื่อ (คปส.) เครือข่ายเสรีภาพต่อต้านการเซ็นเซอร์ประเทศไทย (FACT) เห็นว่าแม้รัฐอ้างว่าการดำเนินการดังกล่าวจะเป็นไปภายใต้อำนาจตามที่กฏหมายบัญญัติ ทว่าสิ่งที่เกิดขึ้นเข้าข่ายการใช้อำนาจทางกฏหมายในการข่มขู่ คุกคาม สิทธิเสรีภาพสื่อออนไลน์ ทั้งนี้เว็บไซต์ข่าวประชาไทถือเป็นหนังสือพิมพ์ออนไลน์ที่ทำงานบนกรอบของ จรรยาบรรณสื่อออนไลน์ซึ่งเป็นสื่อใหม่ที่เปิดพื้นที่ให้กับประชาชนผู้อ่านแสดงความคิดเห็น ทั้งนี้ทางผู้แลเว็บมีมาตรฐานที่เข้มงวดตามพรบ.คอมพิวเตอร์ฯ อยู่แล้วในการที่จะต้องเก็บข้อมูลการจราจรทางคอมพิวเตอร์ และการลบข้อความที่มีความละเอียดอ่อน และที่ผ่านมาก็ได้ประสานงานและให้ความร่วมมือกับเจ้าหน้าที่รัฐเสมอมาในการลบข้อความดังกล่าว…

  • Mashable.com got blocked – ความมั่วของ CS Loxinfo กับการบล็อคเว็บ

    Mashable, an Internet technology news blog [url: http://mashable.com/], got blocked by CS Loxinfo, one of the major ISPs in Thailand. Discovered on 2009.02.02, 04:59 local time (UTC+7). เว็บไซต์ Mashable [url: http://mashable.com/] ซึ่งเป็นบล็อกที่เสนอข่าวสารเกี่ยวกับเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ต ถูกปิดกั้นโดยซีเอสล็อกซ์อินโฟ โดยพบว่าถูกปิดกั้นเมื่อเวลาตีห้าของวันที่ 2 ก.พ. 2552 Here’s the (grand) reason / โดยซีเอสล็อกซ์อินโฟได้แจ้งว่า :     URL นี้ได้ถูกปิดกั้นแล้ว เนื่องจาก มีคำสั่งศาลให้ปิดกั้น หรือ มีลักษณะเข้าข่ายที่อาจกระทบต่อความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร หรืออาจขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน This URL…

  • แบบสำรวจ “สิทธิเสรีภาพในอินเทอร์เน็ต” – An Online Survey on Internet Rights and Freedom

    เชิญร่วมตอบแบบสอบถาม เรื่อง “สิทธิเสรีภาพในการใช้งานอินเทอร์เน็ต” เพื่อสำรวจความคิดเห็นเกี่ยวกับสิทธิเสรีภาพในการใช้งานอินเทอร์เน็ต ความคิดเห็นต่อการดูแลอินเทอร์เน็ต และอิทธิพลของอินเทอร์เน็ตในชีวิตประจำวัน — แบบสอบถามใช้เวลาทำประมาณ 7 นาที http://bit.ly/netfreedom-q ผลสำรวจจะถูกนำเสนอในงานเสวนา “การเมืองกับโลกออนไลน์” (ดูรายละเอียดด้านล่าง) เสวนา “การเมืองกับโลกออนไลน์” วันเวลา: อาทิตย์ที่ 25 มกราคม 2552 13.00-16.00น. สถานที่: สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ตรงข้ามโรงพยาบาลวชิระ ถนนสามเสน (แผนที่: http://tja.or.th/map.jpg, เว็บไซต์: http://tja.or.th/) เป้าหมาย: เพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์ระหว่างผู้สนใจในการนำอินเทอร์เน็ตและสื่อใหม่ มาเป็นเครื่องมือในการช่วยผลักดันนโยบายจากภาคประชาชน การตรวจสอบนักการเมืองและพรรคการเมือง ส่งเสริมสิทธิเสรีภาพในการแสดงความเห็นและการมีส่วนร่วมในประชาธิปไตยบนอินเทอร์เน็ต รูปแบบงาน: เสวนากลุ่มย่อยระหว่างผู้สนใจ เน้นการมีส่วนร่วมของผู้เสวนา กำหนดการ: 13:00-13:30 “เสรีภาพในการแสดงความเห็นบนโลกออนไลน์” โดย เครือข่ายพลเมืองเน็ต (Thai Netizen Network) 13:30-14:00 “การสำรวจความคิดเห็นด้านการเมืองของผู้ใช้อินเทอร์เน็ตไทย” โดย Siam Intelligence Unit 14:00-14:30 “เว็บไซต์ฐานข้อมูลนักการเมืองไทย” โดย…

  • Sulak Sivaraksa says ‘NO’ to Kukrit Pramoj

    “ … วิธีการเช่นนี้ คุณชายคึกฤทธิ์ใช้มากับผมและบุคคลอื่นๆ ที่เธอรังเกียจก่อนแล้วที่สยามรัฐ ก็ถ้าสื่อมวลชนใช้อคติส่วนตัวของผู้บริหารสูงสุดเป็นตัวกำหนด ว่าควรเอ่ยชื่อใครหรือไม่ และบทความของใครควรลงพิมพ์หรือไม่ โดยที่คนๆ นั้นเป็นคนที่ผู้บริหารสูงสุดรังเกียจเสียแล้วละก็ สื่อมวลชนดังกล่าวมีความเป็นกลางละหรือ รักสัจจะหรืออาสัตย์อาธรรม์กันแน่ แม้อนันตริยกรรมข้อนี้ ประการเดียว บุคคลคนนั้น ยังควรได้รับยกย่องให้เป็นคนสำคัญของโลกอีกละหรือ โดยไม่จำต้องเอ่ยว่าสี่แผ่นดิน นั้นเป็นนวนิยายที่ใช้ล้างสมองให้คนเห็นว่าประชาธิปไตยเป็นของเลว ราชาธิปไตยเป็นของวิเศษ ชาติวุฒิสำคัญยิ่งกว่าคุณวุฒิของสามัญชนคนธรรมดา และแล้วเราก็ยังถูกสะกดให้อยู่ในอีหรอบนี้อยู่ หรือมิใช่ … ” ส.ศิวรักษ์ เขียนจดหมายเปิดผนึกถึงบรรณาธิการไทยโพสต์ เพื่อแสดงความเห็นต่อบทความ “คึกฤทธิ์คนสำคัญของโลก” ในคอลัมน์ บังอบายเบิกฟ้า ซึ่งตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ไทยโพสต์เมื่อวันที่ 4 ม.ค. 2552 แสดงความไม่เห็นด้วยกับการเสนอชื่อ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช ต่อยูเนสโกเพื่อให้รับรองเป็นบุคคลสำคัญของโลก นอกจากนี้ยังเสนอให้รัฐบาลทำประชามติก่อน หากจะมีการเสนอชื่อผู้ใด ไม่ใช่ทำกันแต่เป็นการภายใน โดยไม่สนใจประชาชน (ถัดจากนี้คือเนื้อความในจดหมายดังกล่าว) : ๑๒๗ ซอยสันติภาพ ถนนนเรศ บางรัก กรุงเทพฯ ๑๐๕๐๐ ๘ มกราคม ๒๕๕๒ เรียนบรรณาธิการไทยโพสต์ ผมรู้จักคุณธรรมเกียรติ…

  • [22-23 Dec] Conference on Nationalism and Multiculturalism

    ประชุมวิชาการ “ชาตินิยมกับพหุวัฒนธรรม” 22-23 ธ.ค. 2551 @ เชียงใหม่ http://202.28.25.21/conf2008/ สังคมไทยในอดีตเป็นสังคมที่ยอมรับความหลากหลายทางชาติพันธุ์ และการอยู่ร่วมกันของกลุ่มชาติพันธุ์ แนวคิดชาตินิยมที่ก่อตัวขึ้นมาพร้อมๆ กับการกระบวนการสร้างรัฐชาติ ได้ส่งผลต่อการให้นิยามวัฒนธรรมประจำชาติและอัตลักษณ์ประจำชาติ ศาสนา ภาษา แนวคิดเรื่องการพัฒนาและระบบคุณค่าทางสังคมภายใต้รัฐชาติไทย เหล่านี้ ได้นำไปสู่การกดทับ และทำลายอัตลักษณ์ วัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ท้องถิ่น ของกลุ่มคนที่ด้อยกว่า กลุ่มชาติพันธุ์ ตลอดจนกลุ่มอารยธรรมย่อย นอกจากนี้ ยังนำไปสู่อคติทางชาติพันธุ์ ที่มองกลุ่มชาติพันธุ์ที่มีวิถีชีวิตและวัฒนธรรมที่แตกต่างไปอย่างเป็น “คนอื่น” และการสร้างภาพแบบเหมารวม เช่น ชาวเขาทำลายป่าและค้ายาเสพติด ชาวมุสลิมชอบใช้ความรุนแรง ในบางครั้งนำไปสู่ความขัดแย้งทางชาติพันธุ์และความรุนแรงในสังคม นอกจากนี้ นโยบายการพัฒนาภายใต้วาทกรรมความทันสมัย ผ่านโครงการพัฒนาต่างๆ ของรัฐที่เข้าไปดำเนินงานในชุมชนกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ มักมุ่งเน้นไปที่ปัญหาความมั่นคงของชาติและการส่งเสริมให้เกิดการ เปลี่ยนแปลงการผลิตไปสู่ระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม ได้ส่งผลกระทบต่อกลุ่มชาติพันธุ์ เช่น การจำกัดสิทธิในการเข้าถึงทรัพยากร การปรับเปลี่ยนจากวิถีชีวิตแบบยังชีพเข้าสู่ระบบการตลาด โครงการพัฒนาต่างๆ นั้น ยังละเลยการให้ความสำคัญกับมิติทางวัฒนธรรม อันประกอบด้วยความหลากหลายและซับซ้อนของประวัติศาสตร์ท้องถิ่น ภูมิปัญญาท้องถิ่น พลังทางวัฒนธรรม ทุนทางสังคม ตลอดจนการมีส่วนร่วมของชุมชนในการกำหนดชะตากรรมของตนเอง ซึ่งมิไม่ได้เปิดพื้นที่ให้กลุ่มวัฒนธรรมต่างๆ ได้ตอบโต้หรือเคลื่อนไหวเพื่อแสดงออกถึงอัตลักษณ์ของตน การประชุมวิชาการ “ชาตินิยมกับพหุวัฒนธรรม”…

  • accounting tool for (un)accountable business

    rt @suntiwong http://tinyurl.com/6zp3ed รายงานสด คะแนนโหวตนายก คะแนนต่อคะแนน a Thai netizen uses free online tools to report today prime minister vote. Look at the vote summary at http://tinyurl.com/6zp3ed (Google Spreadsheet), and follow the minute-by-minute updates at http://twitter.com/suntiwong (Twitter). ทำด้วย Google Spreadsheet, กระจายข่าวด้วย Twitter technorati tags: citizen reporter, politics, Twitter, Internet, Thailand

  • ‘Censorship’ 2.0 : RoyalVDO.com – an organized User-DUPLICATED Content campaign

    ดูคำชักชวนและวิธีการ ใน RoyalVDO.com ที่เชิญชวนให้คนนำวีดิโอเกี่ยวกับในหลวงไปอัปโหลดตามที่ต่าง ๆ เยอะ ๆ เพื่อเป็นการ “ถวายงาน” แก่ในหลวงท่านแล้ว ก็เห็นว่าควรจะเขียนอะไรบางอย่าง ก่อนที่อะไร ๆ มันจะบิดเบี้ยวเลยเถิดไปหมดในสังคมนี้ … แม้แนวคิดโดยรวมของ RoyalVDO.com นั้น “เชื่อได้ว่า” คงจะมีเจตนาดี ผมพบว่ามัน “เกินพอดี” ไปหน่อย … จากหน้า เกี่ยวกับ ของเว็บไซต์ดังกล่าว : หากมีคนไทยจำนวนหนึ่ง ช่วยกัน DownLoad คลิปวิดีโอ แล้วนำไป UpLoad เข้าใน YouTube หรือเว็บ อื่นๆ วันละตอน สองตอน หรือมากกว่า จนรวมกันได้มาก เป็นหมื่น เป็นแสน หากจะมีการสืบค้น โดยใช้คำ ว่า King Thai หรือ King of Thailand หรืออื่นๆ ก็จะพบเป็นหมื่นเป็นแสนเรื่อง…

  • Questions to be answered – Dissolution then what ?

    ประสิทธิ์ ปิวาวัฒนพานิช: ขอประณามการกระทำของพันธมิตร “ นอกจากนี้ ข้อเสนอของผู้บัญชาการทหารบกที่เรียกร้องให้นายกรัฐมนตรียุบสภาและให้ พันธมิตรยุติการชุมนุมนั้น เป็นข้อเรียกร้องที่ไม่มีหลักประกันว่า 1. หากยุบสภาแล้ว พันธมิตรจะยุติการชุมนุมหรือไม่ 2. หากยุบสภาแล้วพรรคพลังประชาชนได้รับเลือกตั้งเข้ามาอีกครั้ง พันธมิตรและผู้อยู่เบื้องหลังพันธมิตรจะยอมรับผลการเลือกตั้งโดยประชาชนหรือไม่ 3. หากพันธมิตรไม่ยุติการชุมนุม ผบ.ทบ. จะทำอย่างไร ประเด็นต่าง ๆ เหล่านี้ ล้วนเป็นคำถามที่ผบ.เหล่าทัพรวมทั้งบรรดานักวิชาการที่สนับสนุนพันธมิตรต้องตอบแก่ประชาชน มิใช่เพียงแค่มากดดันให้รัฐบาลยุบสภาอย่างเดียว ” technorati tags: Thailand, PAD, politics