-
(Nearly) Free Speech hosting
เมืองไทยมีอะไรแบบนี้ไหม ? แล้วใครเคยใช้บ้าง จริงไหม ? กด ๆ ดู invisiblog.net (ซึ่งเหมือนจะหยุดให้บริการไปแล้ว) ก็ไปเจอบริการเว็บโฮสต์นี้เข้า NearlyFreeSpeech.Net น่าสนใจ นี่นโยบายความเป็นส่วนตัวของเขา: Privacy Policy ก็ประมาณว่า ไม่ขายข้อมูลที่จะระบุตัวตนบุคคลได้ (คำว่า ข้อมูลที่จะระบุตัวตนบุคคลได้ แปลจาก personally identifiable information ซึ่งเป็นคนละอย่างกับ ข้อมูลส่วนบุคคล personal information — อย่าง IP address บางคนอาจจะว่ามันไม่ใช่ข้อมูลส่วนบุคคล แต่มันเป็นข้อมูลที่จะระบุตัวตนได้แน่ ๆ) ไม่เปิดเผยข้อมูลที่ระบุตัวตนได้โดยไม่ได้รับอนุญาตจากผู้ใช้บริการ (เว้นว่ากฎหมายกำหนดไว้) จะพยายามแจ้งเตือนผู้ใช้บริการทุกครั้ง ที่มีการบังคับให้เปิดเผยข้อมูลที่ระบุตัวตนได้ (เว้นว่ากฎหมายห้ามไม่ให้ทำ) จะให้ความร่วมมือในการสืบสวนกับหน่วยงานรัฐของสหรัฐอเมริกา เมื่อตามกฎหมายจำเป็นต้องทำ การให้ความร่วมมือกับหน่วยงานบังคับกฎหมายจากประเทศอื่น และการร่วมมือในกรณีที่ตามกฎหมายแล้วมันไม่จำเป็น จะอยู่ที่ดุลยพินิจของผู้ให้บริการ – โดยจะพิจารณาสนับสนุน เสรีภาพและความยุติธรรม และไม่สนับสนุน การกดขี่และความรุนแรง ผู้ให้บริการจะแจ้งผู้ใช้บริการถึงการร่วมมือใด ๆ ที่ผู้ให้บริการมอบให้กับหน่วยงานบังคับกฎหมายใด ๆ (เว้นว่ากฎหมายห้ามไม่ให้ทำ)…
-
Steganography – hiding your information
cryptography steganography privacy ความเป็นส่วนตัว กับ secrecy ความลับ ต่างกันหน่อยนึง ตรงที่ กรณี privacy คนอื่นไม่รู้ว่าข้อมูลของเราคืออะไร แต่รู้ว่าเรามีข้อมูล ส่วน secrecy คือ คนอื่นไม่รู้เลยด้วยซ้ำ ว่าเรามีข้อมูล cryptography (ไทย: วิทยาการเข้ารหัสลับ) นี่เป็นชั้น privacy คือทำให้คนอื่นอ่านข้อมูลของเราไม่ออก ไม่รู้ว่ามันคืออะไร steganography (วิทยาการอำพรางข้อมูล) นี่ จะเป็นขั้น secrecy เพราะเราสามารถซ่อนข้อมูลลงไปในภาพหรือเสียงได้ คนอื่นมองมาก็นึกว่าเป็นไฟล์ภาพหรือเสียงธรรมดา ๆ ไม่รู้ว่ามันมีข้อมูลซ่อนอยู่ข้างใน – ข้อมูลที่จะซ่อนนี้ จะเป็นอะไรก็ได้ เสียง ภาพ ข้อความ pdf mp3 jpg mov txt xls ลองเล่น steganography ที่เว็บ stega.maxant.co.uk (ตัวอย่างที่เว็บ มีการซ่อนไฟล์ pdf ทั้งไฟล์ ลงในภาพ…
-
10th Anniversary – Right to Know
หนึ่งทศวรรษ สิทธิที่จะรู้ คอลัมน์ “ข้าราษฎร” โดย “สายสะพาย” หนังสือพิมพ์มติชน วันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2550 ปีที่ 30 ฉบับที่ 10861 (หน้า 26) ดร.นคร เสรีรักษ์ เขียนบทความ ในโอกาสที่ พ.ร.บ.ข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ.2540 มีอายุครบ 1 ทศวรรษ เริ่มใช้บังคับเมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2540 จึงมีอายุครบ 10 ปี ในวันที่ 10 ธันวาคม 2550 กฎหมายฉบับนี้กำหนดให้ “หน่วยงานของรัฐ” มีหน้าที่ “เปิดเผย” ข้อมูลข่าวสารต่อประชาชน ข้าราชการจึงต้องปฏิบัติงานด้วยความรอบคอบและโปร่งใสมากขึ้น เพราะเอกสารต่าง ๆ อาจถูกตรวจสอบได้ตลอดเวลา แม้จะเป็นกฎหมายที่มีอายุเพียง 10 ปี แต่เป็นที่ยอมรับกันว่า เป็นกฎหมายที่เป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อประชาชน และส่งผลให้สะเทือนอย่างมากในกระบวนการพัฒนาธรรมาภิบาล ในฐานะกลไกขับเคลื่อนการบริหารราชการแผ่นดินให้เป็นไปด้วยความโปร่งใสตรวจสอบได้ แม้หน่วยงานของรัฐจะมีคำสั่งไม่ให้เปิดเผยข้อมูล…
-
Pretty Good Privacy
มาตรฐาน OpenPGP เป็นมาตรฐานการเข้ารหัสข้อมูลชนิดหนึ่ง ซึ่งนอกจากจะ ช่วยรักษาข้อมูลให้เป็นความลับ/เป็นส่วนตัว แล้ว (กันการแอบอ่าน) ยังช่วย ตรวจจับว่าข้อมูลถูกเปลี่ยนแปลงไปหรือไม่ ระหว่างทาง (กันการปลอมข้อมูล) และยัง ตรวจได้ว่าข้อมูลนั้นถูกส่งมาจากแหล่งที่อ้างรึเปล่า (กันการแอบอ้างตัวตน) PGP ย่อมาจาก Pretty Good Privacy (เป็นส่วนตัวดีทีเดียว) ถ้าอยากได้โปรแกรมเข้ารหัสที่ว่านี้ ลอง GnuPG ซึ่งเป็นซอฟต์แวร์เสรี หรือจะใช้ตัวอื่น ๆ ก็ได้ ลองค้นเน็ตคำว่า “PGP” ดู PGP ที่ว่านี้สามารถใช้กับอีเมลได้เช่นกัน โดยตัวโปรแกรม PGP หลายตัวสามารถใช้ร่วมกับโปรแกรมอีเมล เช่น Thunderbird, Outlook, Apple Mail ได้ง่าย ๆ สำหรับคนที่ใช้ Gmail แม้จะไม่มีตัว PGP เต็มรูปแบบให้ใช้ แต่ก็อาจจะลอง Gmail Encryption ดูได้ สคริปต์นี้ทำงานร่วมกับ Greasemonkey บน Firefox…
-
discourse/information/communication people
จดกันลืม บุคคลน่าสนใจ สาวิตรี คทวณิช คณะภาษาและการสื่อสาร สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ discourse analysis; critical discourse analysis; language and politics นคร เสรีรักษ์ การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล : ข้อเสนอเพื่อการพัฒนาสิทธิรับรู้ข้อมูลข่าวสารในกระบวนการธรรมรัฐไทย (วิทยานิพนธ์ วิทยาลัยสหวิทยาการ มธ.) Freedom of Information and Privacy Protection in Thailand วราภรณ์ วนาพิทักษ์ มาตรการการจัดการการเผยแพร่เนื้อหาที่ไม่เหมาะสมบนอินเทอร์เน็ตของประเทศไทย (วิทยานิพนธ์ วิทยาลัยสหวิทยาการ มธ.) สมสุข หินวิมาน คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ cultural studies technorati tags: people, freedom of information, discourse analysis
-
hidden messages
เดี๋ยวไป ประชาไทไนท์ แล้ว Grafedia ใส่ลิงก์ไปบนผนัง ถ้าส่งเอสเอ็มเอสหรืออีเมลไปตามที่อยู่/คีย์เวิร์ดบนผนังนั้น ก็จะมีรูปส่งกลับมาให้ดู [ ผ่าน WIRED News ] Steganography ซ่อนข้อความ/ข้อมูลไว้ในภาพ ภาพตัวอย่าง “Whaling” บรรจุข้อความในนวนิยายสองเรื่อง Moby Dick และ Typee เอาไว้ทั้งหมด-ในรูปเดียว! โปรแกรม technorati tags: privacy, censorship, Prachatai
-
Big Brother State
ข้อความจาก คณะอนุกรรมการโครงสร้างพื้นฐานทางกฎหมาย คณะกรรมการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (จัดตั้งตาม พระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544) แผนการดำเนินงานและข้อเสนอของคณะอนุกรรมการฯ ที่ควรเร่งผลักดัน คณะอนุกรรมการฯ มีแผนยุทธศาสตร์การบูรณาการกฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศ เป็นลำดับ โดยการดำเนินการในช่วงที่ผ่านมา ภายหลังจากที่พระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544 มีผลใช้บังคับ ทางคณะอนุกรรมการฯ ได้ศึกษาและพิจารณายกร่างพระราชกฤษฎีกาที่ออกตามความพระราชบัญญัติฯ แล้วเสร็จ จำนวน 2 ฉบับ ได้แก่ ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดธุรกรรมในทางแพ่งและพาณิชย์ที่ยกเว้นมิให้นำพระราช บัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544 มาใช้บังคับ พ.ศ. …. และร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการในการทำธุรกรรมทาง อิเล็กทรอนิกส์ภาครัฐ พ.ศ. …. รวมถึงการพิจารณายกร่างกฎหมายแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ฯ เพื่อแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติเกี่ยวกับหน่วยงานธุรการและผู้ดำรงตำแหน่ง เลขานุการ และการร่วมพิจารณาให้ข้อคิดเห็นกฎหมายฉบับอื่นๆ ที่อยู่ในกระบวนการนิติบัญญัติ ได้แก่ ร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ พ.ศ. …. , ร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. …. และร่างพระราชบัญญัติการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศ พ.ศ. …. จากข้อมูลในหน้าเว็บนั้น จะเห็นได้ว่าโครงสร้างพื้นฐานทางกฎหมาย สำหรับธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์นั้น ประกอบไปด้วยกฎหมายหลายฉบับ…
-
personal is personal
ข้อมูลส่วนบุคคลของเรา เป็นของเรา เราต้องการ พระราชบัญญัติว่าด้วยการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. …. เดินเข้าร้านกาแฟ ต้องลงเวลาเข้าออก เดินเข้าโรงหนัง บันทึกว่าดูเรื่องอะไร เดินเข้าซูเปอร์มาร์เก็ต ขอดูบัตรประชาชน จะเก็บนั่นเก็บนี่ ตรวจตราสอดส่อง(แส่)ไปทุกเรื่อง – แล้วคุ้มครองป้องกันอะไรให้เราไหม ? มีหลักประกันอะไรให้เราไหม ? ข้อมูลส่วนบุคคลของคุณ เป็นของคุณ ข้อมูลส่วนบุคคลของคุณ เป็นของคุณ ข้อมูลส่วนบุคคลของคุณ เป็นของคุณ technorati tags: privacy
-
Private surfing in Ubuntu – using Tor+Privoxy
ท่องเว็บเงียบ ๆ ในอูบุนตูลีนุกซ์ (สำหรับวินโดวส์ ดูที่ http://wonam.exteen.com/20060923/tor ) Tor (ตอร์) เป็นเครือข่ายและโปรแกรมช่วยเพิ่มความเป็นส่วนตัวในการท่องเว็บ นอกจากนี้ยังอาจช่วยให้เราสามารถเข้าเว็บที่ถูกบล็อกได้อีกด้วย Privoxy (ไพรว็อกซี่) เป็นโปรแกรมพร็อกซี่ที่ช่วยเพิ่มความเป็นส่วนตัวในการท่องเว็บเช่นกัน โดยสามารถดักจับ ‘คุกกี้’ และกรองเนื้อหาบางอย่าง เช่น โฆษณา ออกไปได้ ติดตั้ง Tor และ Privoxy ใน Ubuntu 1 – ติดตั้งแพคเกจ “tor” และ “privoxy” จะใช้เมนู System -> Administration -> Synaptic Package Manager หรือจะใช้คำสั่งที่คอมมานด์ไลน์ก็ได้ คือ: sudo apt-get install tor privoxy 2 – ปรับตั้งค่าของ Privoxy โดยแก้ไฟล์ /etc/privoxy/config: sudo gedit…
-
Smooth OperaTor
เว็บเบราว์เซอร์ ระบบนิรนาม พร็อกซี่ รวมกัน Opera + Tor + Privoxy = OperaTor ใส่ในไดรฟ์ยูเอสบีได้ สบาย ๆ ใช้ง่าย ไม่ต้องติดตั้งอะไรเลย (รันได้โดยตรงจากยูเอสบี – เป็น portable apps) เหมาะมาก ลองแล้วชอบครับ คำเตือน (สำคัญ) การใช้งาน Java, BitTorrent ในตัว Opera, และโปรแกรมอีเมลและแชท IRC ในตัว Opera นั้น จะไม่ถูกทำให้เป็นนิรนาม เนื่องจากโปรแกรมเหล่านั้นไม่ได้ใช้ค่าพร็อกซี่ของ Opera — ควรระมัดระวังเรื่องนี้ด้วย ปรับปรุง 2008.03.19: ปรับปรุงลิงก์ (เดิม http://letwist.net/operator ; ใหม่ http://archetwist.com/opera/operator), เพิ่มคำเตือน technorati tags: Tor, Opera, Privoxy