-
คำ “ออกตัว” — มาราธอน เล่มแรก
ด้านล่างนี้น่าจะเป็น “คำนำ” หนังสือเล่มครั้งแรกของผม วันนี้เพิ่งจะได้จับ ผมเลือกใช้คำว่า “มาราธอน” กับกิจกรรมของเครือข่ายพลเมืองเน็ตนี้ เพราะเห็นด้วยว่าการศึกษาและรณรงค์ประเด็นใดก็ตาม ไม่สามารถสำเร็จได้ชั่วข้ามคืน มาราธอนคือการวิ่งระยะไกล ข้ามเขตแดนและส่งข่าวสาร หนังสือเล่มวางตำแหน่งตัวเองเป็นจุดสตาร์ท ดังคำออกตัว
-
เมื่อโลกใหม่ดิ้นรนจะบังเกิด และโลกเก่ากำลังตาย ?
Anthropology News Volume 51, Issue 4, April 2010 ปีที่แล้วนี่เอง เป็นฉบับว่าด้วย “มานุษยวิทยาและวารสารศาสตร์” วันจันทร์ที่ผ่านมา [16 พ.ค.] ไปงาน Public forum: Reflection for the Thai Media in the post-2010 political violence เป็นเวทีสาธารณะจัดโดย สมาพันธ์สื่อมวลชนแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (SEAPA) ร่วมกับสมาคมนักข่าวฯ และสถาบันข่าวอิศรา มีหลายคนพูดถึงจริยธรรมสื่อ ถึงเรื่อง objectivity ที่ “เป็นมาตรฐาน” ของสื่อมวลชน บางคนก็ว่าจริยธรรมมันต้องมีจริยธรรมเดียว จะสื่อเก่าสื่อใหม่ก็ตาม ไม่งั้นก็ไม่ใช่สื่อมวลชน เป็นสื่อเฉพาะกลุ่ม เป็น “สื่อเทียม” บางคน (รวมถึงผมเอง) ก็ว่า อย่าเอาคุณค่าที่สื่อเก่าเห็นว่าดีว่าชอบ มาครอบงำกดทับสื่อใหม่ สมชัย สุวรรณบรรณ กรรมการนโยบาย ThaiPBS ที่เพิ่งเขียนบทความเรื่อง “สื่อชนเผ่า”…
-
ในโซเวียตรัสเซีย: การเลือกตั้งของชนเผ่า กับ ปัญหาของประวัติศาสตร์
การเลือกตั้งครั้งประวัติศาสตร์ กับ ปัญหาสื่อชนเผ่า (partisan press) โดย สมชัย สุวรรณบรรณ ผู้เขียนเป็นอดีตผู้สื่อข่าว BBC ปัจจุบันเป็นกรรมการ ThaiPBS บทความเรียกสื่อที่แบ่งขั้ว-เลือกข้าง หรือ partisan press ว่า “สื่อชนเผ่า” (ไม่รู้ว่าต้องการให้มี connotation อะไรหรือไม่) และวิพากษ์ “สื่อชนเผ่า” (ซึ่งใช้สื่อใหม่อย่างเคเบิลทีวี ดาวเทียม อินเทอร์เน็ต และวิทยุชุมชน) ว่าไม่ได้ “มาตรฐาน” ของสื่อ และทำลายประชาธิปไตย อ่านบทความนี้เมื่อคืนก่อนใน @thaireform แล้วก็คันไม้คันมือ แต่คอมเมนต์ในนั้นไม่ได้ เขาไม่เปิดพื้นที่ให้แสดงความเห็น เมื่อคืนประชาไทเอามาลง เลยขอหน่อย คอนเมนต์ไปในท้ายข่าว ดังนี้: —- โดยหลักการ พูดแบบรวม ๆ ก็โอเคนะครับ ไม่เอา hate speech เห็นด้วย (ส่วนจะนับว่าอะไรเป็น hate speech เนื่องจากในบทความไม่ได้ระบุเอาไว้ ก็ไม่พูดถึงละกัน แต่โน๊ตไว้ว่า…
-
การเมือง ว่าด้วย คลิปหลุด
จากเสวนา การเมืองว่าด้วยคลิป: พื้นที่ส่วนตัว/สาธารณะ ในงานคลิปคิโนะ เมื่อ 18 ธ.ค. 2553 คุยกับนักวิชาการด้านวัฒนธรรม ด้านสื่อ และคนที่อยู่ในวิชาชีพสื่อสารมวลชน เรื่องคลิป ๆ และเรื่องหลุด ๆ กับการเมืองของความเป็นส่วนตัวและความเป็นสาธารณะ ประเด็นไม่ได้อยู่ที่ว่าทั้งสองคำมีความหมายว่าอะไร ? มากเท่ากับเส้นแบ่งขอบเขตที่เป็นประเด็นปัญหามากกว่า เรานิยามสิ่งหนึ่งให้เป็นคู่ตรงข้ามของอีกสิ่งหนึ่ง เราจะนิยามเส้นแบ่งว่ามันคืออะไร ซึ่ง ณ เวลานี้คิดว่ามันเริ่มพร่ามัวขึ้น — วันรัก สุวรรณวัฒนา Social Media มีความทับซ้อนพอสมควร ว่าเรื่องส่วนตัวหรือสาธารณะคืออะไร บางสิ่งเราอาจอยากนำเสนอสำหรับคนไม่กี่คน แต่บางทีมันกระจายออกไปได้วงกว้าง ซึ่งในบางครั้งเราไม่สามารถจำกัดขอบเขตการรับรู้ได้ มันมีการ tag ต่อไปเรื่อย ๆ — มานะ ตรีรยาภิวัฒน์ คนสามารถแสดงความเป็นส่วนตัวในพื้นที่สาธารณะได้ ในทางกลับกันทำให้สาธารณะมาสู่พื้นที่ส่วนตัวได้ … สื่อไม่ได้มีหน้าที่ในแง่การกระจายข่าวอย่างเดียว แต่มีเรื่องของการสร้างมิติความสัมพันธ์ให้มากขึ้น — เกษม เพ็ญภินันท์ สื่อหลักไม่ได้กลัวรัฐบาล เรากลัวความสัมพันธ์กับคนหลายฝ่าย ทั้งเพื่อนเราหรือคนในองค์กร เราจะจัดการอย่างไร — ปราบต์…
-
สมเกียรติ ตั้งนโม กับเว็บที่มาก่อน 2.0
ปรับปรุงจากข้อเขียนเพื่องานเสวนา ความรู้และปฏิบัติการของ สมเกียรติ ตั้งนโม โดย มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน 28 สิงหาคม 2553 ณ หอนิทรรศการศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ข้อเขียนชิ้นดังกล่าวถูกนำเสนอโดย ชูวัส ฤกษ์ศิริสุข ร่วมกับข้อเขียนของชูวัสเองและของ เคโกะ เซย์ เพื่อเป็นเกียรติแด่ สมเกียรติ ตั้งนโม ผู้ก่อตั้งและอดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
-
‘อ่าน’ อีกรอบ: ตอบ @Oakyman เรื่องโชว์ของ @suthichai และ @PM_Abhisit
ต่อเนื่องจากบล็อกเรื่อง สิทธิชัย หยุ่น สัมภาษณ์ นายกอภิสิทธิ์ ผ่านทวิตเตอร์, มีคำถามมา ผมตอบ : @Oakyman: @nopparat @bact คนเพิ่งหัดใช้ twitter จะใช้ @ เพื่อ reply เป็นเหรอ? บนหน้าเว็บมันมีปุ่ม update อยู่ปุ่มเดียวนิ เห็นใจ @PM_Abhisit หน่อยเถอะ @bact: @Oakyman ถ้าพูดแบบนั้น คือ @suthichai นี่ไม่น่าเห็นใจใช่ป่ะ @Oakyman: @bact เห็นด่าแต่ทั่นนายกฯ หนะ อย่างน้อยคุณ @suthichai เค้ายัง rt เป็นนะ @bact: @Oakyman ไม่ได้ด่าใครนะ เรายกคำพูดต่างๆ ที่เห็นว่า mode สื่อสารของ @PM_Abhisit และ @suthichai ยังเป็น mode “คุยกันแค่สองคน” มาน่ะ @bact:…
-
@suthichai และ @PM_Abhisit แสดงสด-ออนไลน์-เพื่อออฟไลน์
ด้านล่างนี้คือการ ตัดต่อ เลือกแสดง ความคิดเห็นจากทวิตภพ ช่วงสามทุ่มครึ่ง 7 ก.ย. 2552 @suthichai สัมภาษณ์ @PM_Abhisit ทางทวิตเตอร์ @nopparat: อ่าน Tweeterview รายการในวันนี้ สงสัยว่าไม่มีใครใช้ reply เป็นเลยหรือไงวะ @PM_Abhisit: ช่อง9จบแล้วครับ ให้ผมเข้านอนได้รึยังครับ @up2gu: @PM_Abhisit ไปหลังจากช่อง 9 เลิกถ่ายทอด เพราะความเพลียจริงๆ หรือหมดประโยชน์ที่จะพูดกับสื่อที่ไม่ใช่ฟรีทีวีแล้ว? @mormmam: ส่วนคนดูก็สรุปได้ว่า อืมม มวยล้มต้มคนดู กูนั่งดูปาหี่ นี่หว่า @AdmOd: สิ้นหวังแล้ว! สิ้นหวังกับทวิตเตอร์แล้ว! @kohsija: นี่ เจ้าของเว็บต้องทำแบบนี้ คน follow จะได้เพิ่มเร็วๆ http://komchadluek.net/ ครั้งแรกของโลก สุทธิชัย หยุ่น คนข่าว digital พันธุ์ใหม่ สัมภาษณ์อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ผ่าน…
-
New Blood, New Media in the New City
ไปเชียงใหม่มาเมื่อสองสัปดาห์ก่อน มีงานสัมมนาเกี่ยวกับสื่อใหม่/สื่อนฤมิต* จัดโดยคณะการสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เจอคนเยอะแยะ เดินทางสู่ผู้คน เลยงอกออกมาเป็นดูโอคอร์ตอนพิเศษ อย่างน่าดีใจ ร่วมแสดงความคิดเห็นได้ที่ channel.duocore.tv/new-media-in-chiang-mai ขอบคุณทีมงานคณะการสื่อสารมวลชน + CAMT ทีม minimal gallery ขลุ่ย เมฆ ชา และพี่ปูคนขับรถที่พาเราไปทุกที่ บรรยากาศเชียงใหม่เปลี่ยนไปนิดหน่อย ที่ช้างคลานผมเห็นร้านที่เคยไปปิดลง หลายร้านบนถนนนั้นก็ปิดด้วย คนที่นั่นว่ามันไม่บูมเหมือนสองปีก่อน ที่มีงานพืชสวนโลก แต่รวม ๆ มันก็ยังเป็นเชียงใหม่นั่นแหละ ไม่ได้ต่างจากเดิม จริง ๆ ที่ไหน ๆ มันก็เปลี่ยนทั้งนั้น และการเปลี่ยนแปลงก็ไม่ใช่เรื่องเลวร้ายเสมอ เหมือนใครซักคน (วิชา?) พูดระหว่างฝนตกหน้าร้าน minimal “คนที่บอกว่าปายเปลี่ยนไปไม่ดีเลย ก็คนเชียงใหม่คนกรุงเทพนั่นแหละ คนปายเขาชอบ” หรือที่แพทว่า “คนเชียงใหม่ไม่รู้หรอกว่านิมมานเปลี่ยนไป คนเชียงใหม่เขาไม่ได้มานิมมาน มีแต่คนกรุงเทพแหละที่มาเที่ยว” ใช่ หลายครั้งการเปลี่ยนแปลงมันโหดร้าย แม้กระทั่งกับ “การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์” ไปนอนบ้านริมน้ำ ซื้อของตลาดน้ำ ตกค่ำ ๆ ก็นั่งเรือไปดูหิ่งห้อย…