-
computer crime?
ความผิดตามกฎหมายนั้น มีทั้งที่เป็น ความผิดอาญา (crime) และความผิดที่ไม่ใช่อาญา หากจะพิจารณาว่า อะไรควรจะนับเป็น อาชญากรรมคอมพิวเตอร์ (computer crime) และอะไรที่จะนับเป็นเพียง ความผิดที่เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ เราจำเป็นจะต้องพิจารณาว่า อะไรคือ ความผิดอาญา และอะไรที่ไม่ใช่ บางส่วนจากบทความ การกำหนดความผิดอาญา ตามกฎหมายเยอรมัน – สุรสิทธิ์ แสงวิโรจนพัฒน์ ที่ BioLawCom.de เพื่อการศึกษาแนวคิดในการกำหนดความผิดอาญา ในประเทศอื่น ในการถกเถียงเกี่ยวกับข้อปรับปรุงกฎหมายอาญาเมื่อสิบปีก่อนนั้น ประเด็นที่ว่า กฎหมายอาญาควรที่จะมีไว้เพื่อคุ้มครองนิติสมบัติเท่านั้น เป็นสิ่งที่มีบทบาทสำคัญมาก กล่าวคือ กฎหมายอาญาควรที่จะมีไว้เพื่อคุ้มครองเฉพาะ “สมบัติ” (บางประการที่กำหนดไว้เท่านั้น อย่างเช่น ชีวิต (มาตรา 211 เป็นต้นไป), ความปลอดภัยของร่างกาย (มาตรา 223 เป็นต้นไป), ชื่อเสียง (มาตรา 185 เป็นต้นไป) การที่กฎหมายอาญามีหน้าที่ในการให้ความคุ้มครองนิติสมบัติ หรือสิ่งที่กฎหมายประสงค์จะคุ้มครองนั้น ทำให้ความสงบเรียบร้อยของสังคมเป็นจริงขึ้นมาได้ จึงกล่าวได้ว่ากฎหมายอาญาเป็นระเบียบแห่งการคุ้มครองและระเบียบสันติภาพ ที่มีรากฐานมาจากระเบียบแห่งคุณค่าในทางจริยศาสตร์สังคมของรัฐธรรมนูญ จากรากฐานความสัมพันธ์ดังกล่าวทำให้กฎหมายอาญามีภารกิจในการที่จะให้ความคุ้มครองแก่คุณค่าพื้นฐานของการมีชีวิตอยู่ร่วมกันในสังคม, การคงไว้ซึ่งความสงบเรียบร้อยของสังคม และ…
-
rules
ถ้า – กฎเยอะซับซ้อน สะท้อน ความไร้ระเบียบ แล้ว – ศาสนาประจำชาติในกฎหมาย สะท้อน ความไร้ศาสนา ? ข้อเสนอประเด็นที่เกี่ยวข้องบางส่วน จาก ไทยพูด.คอม: หมวดที่ 3 ควรเปลี่ยนชื่อหมวด จาก ‘สิทธิและเสรีภาพของชนชาวไทย’ เป็น ‘สิทธิและเสรีภาพของประชาชน’ มาตรา 28 วรรคแรกที่ว่า “บุคคลย่อมอ้างศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์หรือใช้สิทธิและ เสรีภาพของตนได้เท่าที่ไม่ละเมิดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลอื่น ไม่เป็นปฏิปักษ์ต่อรัฐธรรมนูญ หรือไม่ขัดต่อศีลธรรมอันดีของประชาชน” เสนอให้ตัดเรื่อง ‘ศีลธรรมอันดีงาม’ ออก และควรเพิ่มประโยค ให้เป็น “บุคคลย่อมอ้างศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์หรือใช้สิทธิและ เสรีภาพของตนได้เท่าที่ไม่ละเมิดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลอื่น ไม่เป็นปฏิปักษ์ต่อรัฐธรรมนูญ หรือไม่ขัดต่อศีลธรรมอันดีของประชาชน รัฐไม่มีสิทธิ์ที่จะกำหนดว่าอะไรคือศีลธรรมอันดีงามของประชาชน ไม่ว่าจะผ่านหน่วยงานของรัฐหรือกลไกอื่นๆ” มาตรา 38 วรรคหนึ่ง ที่ระบุว่า “บุคคลย่อมมีเสรีภาพบริบูรณ์ในการถือศาสนา นิกาย ของศาสนา หรือลัทธินิยมในทางศาสนา และย่อมมีเสรีภาพในการ ปฏิบัติตามศาสนบัญญัติหรือปฏิบัติพิธีกรรมตามความเชื่อถือของตน เมื่อไม่เป็นปฏิปักษ์ต่อหน้าที่ของพลเมืองและไม่เป็นการขัดต่อความ สงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน” เสนอว่า ควรตัดประโยคเรื่องหน้าที่พลเมืองหรือความสงบเรียบร้อย/ศีลธรรมฯลฯ และเพิ่มความดังนี้ “บุคคลย่อมมีเสรีภาพบริบูรณ์ในการถือศาสนา…
-
Nipples and the Citizen Power
… ในฐานะที่เคยเป็นรัฐมนตรีกระทรวงไอซีทีในอดีต <คุณสุวิทย์ คุณกิตติ> ได้ให้สัมภาษณ์หนังสือพิมพ์ฉบับหนึ่งว่า “ คุณต้องยอมรับว่า ไม่ว่าคุณจะพยายามบล็อกอินเทอร์เน็ตด้วยวิธีใดก็ตาม คุณไม่มีวันทำได้สำเร็จ ถ้าเราปิดเว็บไซต์ไปสักแห่งหนึ่ง ใครๆ ก็สามารถหาพร็อกซี่เพื่อเข้าถึงมันจนได้ การเซ็นเซอร์เครือข่ายอินเทอร์เน็ตทำร้ายประชาชน ทำร้ายรัฐบาล และยังเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนอีกด้วย ” ท่านยังกล่าวด้วยว่า แทนที่จะเซ็นเซอร์ ทางที่จะแก้ปัญหา [การใช้อินเทอร์เน็ตแบบผิดๆ] เป็นทางแก้ทางสังคม – ให้การศึกษา, ศีลธรรม, สำนึกทางสังคมแก่ประชาชนเพื่อที่ประชาชนจะได้ตัดสินใจอย่างรอบรู้เอง สังคมไทยจะเป็นสังคมที่สามารถใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีสมัยใหม่ ซึ่งมีทั้งคุณและโทษ ได้ดีเพียงไร ข้อสรุปอันแรกที่ผมอยากย้ำไว้ก็คือ คนไทยต้องเลี้ยงลูกเอง เลิกคิดที่จะให้รัฐเลี้ยงลูกแทนเสียที เพราะถ้าคิดอย่างนั้นหอบลูกไปทิ้งไว้หน้าสถานเลี้ยงเด็กกำพร้าของรัฐดีกว่า นอกจากนี้ควรเข้าใจด้วยว่าอำนาจที่รัฐได้มาจากการปกป้องสายตาเด็กจากหัวนมผู้หญิงนั้น รัฐได้ใช้มันไปในทางฉ้อฉลเพื่อบดบังความรับรู้ของประชาชนต่อเสียงวิพากษ์วิจารณ์รัฐ หรือข้อมูลข่าวสารซึ่งเป็นภัยต่อกลุ่มอำนาจด้วย เว็บที่ถูกกระทรวงไอซีทีบล็อกนั้นไม่ได้มีแต่เว็บโป๊ แต่รวมถึงเว็บอื่น ๆ ที่มีข้อความซึ่งผู้มีอำนาจเห็นเป็นอันตรายต่อตัวด้วย ดาบศีลธรรมนั้นบั่นรอนทั้งศีลธรรมและเสรีภาพทางอื่น ๆ ไปพร้อมกัน บั่นรอนศีลธรรมเพราะทำให้มนุษย์ไม่พัฒนาตนเองให้ใช้วิจารณญาณของตนเอง จึงไม่อาจศีลธรรมได้จริง บั่นรอนเสรีภาพเพราะข้อมูลข่าวสารที่เรารับรู้ถูกตัดตอนจนทำให้เสรีภาพเหลือเพียงเสรีภาพที่จะทำตามคำสั่งของเบื้องบน ผมไม่ได้หมายความว่ารัฐไม่มีประโยชน์นะครับ ตรงกันข้าม รัฐสามารถช่วยครอบครัว, โรงเรียน, สื่อ, ชุมชน และสังคมได้มาก (เพราะกระจุกทรัพยากรจำนวนมากของเราทั้งหมดไว้จัดการเอง) ในอันที่จะเพิ่มสมรรถภาพทางหัวใจของเราก็จะเผชิญกับโลกที่เป็นจริง แต่ต้องไม่ปล่อยให้รัฐถือดาบศีลธรรมเที่ยวฟาดฟันอย่างโง่ๆ…
-
For God’s Sake
“ ปัญหาของการเมือง มันไม่ใช่ปัญหาของการมีผู้นำที่ดีหรือผู้มีคุณธรรม หรือการที่มีใครบางคนที่มีอิทธิพลทางการเมืองขณะนี้ บอกว่านายกฯ คนนี้เป็นคนดี และทุกคนเชื่อว่าเป็นคนดี… นี่ไม่ใช่กระบวนการประชาธิปไตย นี่ไม่ใช่โลกการเมืองที่เป็นประชาธิปไตย การที่คุณบอกว่าคนๆ หนึ่งเป็นคนดีแล้วจบ คือเป็นคนดีแล้วคุณต้องดีตาม… มันไม่ใช่ สาระของกิจกรรมการเมือง มันไม่ใช่เรื่องเอาคนดีมาปกครองประเทศ แต่คือการตรวจสอบดุลอำนาจ การ Check and Balance [ตรวจสอบและถ่วงดุล] อำนาจทางการเมืองต่างหาก และนั่นคือเงื่อนไขสำคัญของระบอบประชาธิปไตย ที่จะทำให้ระบอบประชาธิปไตยทำงานได้ ” “ ทำไมประเด็นคุณธรรมความดี จึงไปกันได้กับสังคมการเมืองไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อประธานองคมนตรีออกมารับรองว่า พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ เป็นคนดี แล้วทุกอย่างจบ ” ข้างบนนั่น คือส่วนหนึ่งของบทสัมภาษณ์ อ.เกษม เพ็ญภินันท์ นักวิชาการด้านปรัชญา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ คุยกับนักปรัชญา: เมื่อ ‘ความดี’ และ ‘คนดี’ ทำให้ประชาธิปไตยถอยหลัง มีหลายข้อคิดเห็นที่น่าสนใจ ถ้ามีเวลาก็อยากให้ลองอ่านกัน (มันค่อนข้างยาว) ผมชอบตอนหนึ่งมาก เพราะคิดว่ามันอธิบายได้ดี ว่าทำไมจึงเกิดกรณีขายหุ้นชินคอร์ปแบบไม่เสียภาษีได้ (รวมถึงกรณีอื่น…