-
ไหลข้ามพรมแดน ทั้งคน ข้อมูล ทุน สินค้า และความน่าปวดหัว
แม้อุปลักษณ์ “เครือข่าย” จะเป็นอุปลักษณ์ยอดนิยม ที่ถูกใช้ในการเข้าใจและอธิบายแนวคิดและสิ่งต่างๆ ในยุค “อินเทอร์เน็ต” นี้ — แต่กรณีนี้ อุปลักษณ์ “ของไหล” อาจจะเหมาะกว่า การเจรจาหรือมาตรการระหว่างประเทศอื่นๆ จำนวนหนึ่งก็มาจากความคาดหวังในระดับของการไหลที่ไม่ตรงกันของสองพื้นที่
-
อุปลักษณ์ในอินเทอร์เน็ตศึกษา
รายงานชิ้นนี้ เสนอการพิจารณาอุปลักษณ์เชิงมโนทัศน์ (conceptual metaphor) ต่าง ๆ ที่ใช้กับอินเทอร์เน็ต เพื่อให้เห็นว่า “อินเทอร์เน็ต” ที่อาจดูเหมือนเป็นวัตถุชิ้นเดียวชนิดเดียวนั้น สามารถเป็นวัตถุศึกษาที่แตกต่างกันไปตามวัฒนธรรม แวดวง (habitus) หรือขอบเขตความรู้ (domain) ได้อย่างไร รวมถึงอุปลักษณ์แต่ละแบบซึ่งกำหนดวัตถุศึกษานั้น ได้ซ่อนหรือปกปิดประเด็นอะไรไปบ้างเกี่ยวกับเรื่องที่ศึกษา และทำไมจึงเป็นเรื่องจำเป็น ที่เราจะต้องตระหนักถึงข้อจำกัดของอุปลักษณ์ที่ใช้เข้าใจหรือสร้างวัตถุศึกษาหนึ่ง ๆ ขึ้นมา รายงานชิ้นนี้เสนอว่า เช่นเดียวกับอุปลักษณ์อื่น ๆ อุปลักษณ์เชิงมโนทัศน์ที่เกี่ยวกับอินเทอร์เน็ตนั้น ได้สร้างกรอบความเข้าใจต่อประเด็นอินเทอร์เน็ต และลักษณะทางการเมืองในการกำหนดความเข้าใจนี้ ได้ส่งผลต่อนโยบายเกี่ยวกับอินเทอร์เน็ต.
-
Country IS Body. Bangkok IS Head. #thaiflood
เห็นด้วยในหลักการว่า จำเป็นต้องรักษาบางส่วนที่สำคัญเอาไว้เพื่อให้รักษาส่วนอื่น ๆ ต่อไปได้ (แต่….) — มันเป็น ‘ธรรมชาติ’ มากสำหรับเรา ที่จะอยู่ในโหมดคิดที่เอาอุปลักษณ์ < บ้านเมืองคือร่างกาย> มามองสิ่งต่าง ๆ พอเทียบบ้านเมืองเป็นร่างกาย หัวเลยสำคัญ มาก และต้องมีหัวเดียวด้วย
-
อุปลักษณ์-อัปลักษณ์
การใช้อุปลักษณ์ (metaphor) ‘พ่อ’/’แม่'(-‘ลูก’) เช่น พ่อของแผ่นดิน อาจารย์แม่ บิดาแห่งวงการ… ฯลฯ ผลที่ตามมาอย่างเลี่ยงไม่ได้ (entailment) ในเชิงมโนทัศน์ อย่างหนึ่งก็คือ คนคนนั้นจะมีบุญคุณกับ ‘ลูก’ โดยอัตโนมัติ เป็นบุญคุณที่ชาตินี้ชาติหน้าก็ทดแทนกันไม่หมด ทั้ง ๆ ที่คน ๆ นั้นอาจจะไม่เคยทำอะไรให้ชีวิตคุณดีขึ้นมาแม้แต่น้อย ไม่เคยเกี่ยวข้องอะไรกับชีวิตคุณเลย ผมจึงไม่เห็นด้วยและต่อต้านการมัดมือชก ด้วย metaphor แบบนี้ ผมมีพ่อเดียว แม่เดียว ไม่ต้องเอาใครมาเป็นพ่อเป็นแม่ผมอีก หรือถ้าจะมี ก็ขอให้ผมเป็นคนเลือกใช้เอง ไม่ต้องมาจับยัดแบบผมไม่ได้เลือก (ผมเรียก อุบลรัตน์ ศิริยุวศักดิ์ ว่า ‘อาจารย์ย่า’ เพราะรู้สึกอย่างมากว่าคนคนนี้เคารพได้ และข้อเขียนและคำปรึกษาของเขา มีค่ากับผมมาก ทั้งในทางวิชาการและกิจกรรมอื่น ๆ แต่ผมไม่เรียก สุนีย์ สินธุเดชะ ว่า ‘อาจารย์แม่’ แน่ๆ เขาไม่ได้เกี่ยวข้องอะไรกับผมเลย) —- ผู้สนใจเรื่องอุปลักษณ์เชิงมโนทัศน์ (conceptual metaphor) วิกิพีเดียมีเขียนแนะนำไว้ หนังสือหลักเล่มหนึ่งของเรื่องนี้คือ…