-
#มาตรา37 #กสทช. สื่อ กับสังคมโคตรอ่อนไหว อยากจะร้องไห้
ที่เคยทำงานเคยเรียนกันมาแล้วเห็นว่าดีว่าเหมาะ ตั้งแต่ยุคทศวรรษ 1980 หรือ 1990 คำถามคือมันยังเหมาะกับวันนี้ไหม? สังคมไม่มีความเปลี่ยนแปลงเลยหรือ? ไม่มีปัญหาอะไรถ้าเราจะเป็นอนุรักษ์นิยม แต่ถ้ามาอยู่ในสาขาเหล่านี้ ช่วยเป็นอนุรักษ์นิยมของปี 2030 หน่อย อย่าเป็นอนุรักษ์นิยมของปี 1980 เลย
-
ททบ.5 นี่มันททบ.5 จริงๆ ครับ
สาระประโยชน์เพียบครับ “ทีวีบริการสาธารณะ” ของไทย เราจะได้ดูแบบนี้นี่แหละในทีวีดิจิทัล ดูกันไปอีก 15 ปีครับ แหม่ กว่าเขาจะจัดสรรใบอนุญาตกันใหม่v
-
นักข่าว 0.8: กรณีการจับผู้อำนวยการนสพ.ประชาไท และข่าวที่กรุงเทพธุรกิจออนไลน์รายงาน #freejiew
[เพิ่มเติม 2010.09.27 14:21: ผมเขียนบล็อกโพสต์นี้ เพราะตระหนักว่า เนื้อหาในการฟ้องนั้นก็เรื่องหนึ่ง ส่วนภาพที่ถูกสร้างให้ปรากฏต่อสาธารณะ-ทางสื่อ-นั้นก็อีกเรื่องหนึ่ง การนำเสนอภาพกระบวนการการจับกุมซึ่งผิดไปจากความเป็นจริงอย่างมีนัยยะนี้ ส่งผลต่อภาพประทับในหัวของคน และให้โทษกับผู้ถูกกล่าวหา นี่ไม่ใช่เรื่องเล็กน้อย] [เพิ่มเติม 2010.09.27 14:54: เพื่อความสะดวกในการ(ไม่)อ่าน ขอแจ้งว่าโพสต์นี้ไม่มีข้อมูลใหม่หรือการวิเคราะห์อะไรเกี่ยวกับคดีของจีรนุชเลย. เนื้อหาแบ่งเป็น 3 ตอน: 1) วารสารศาสตร์ (อันเป็นที่มาของชื่อ นักข่าว 0.8 ที่เทียบกับ เว็บ 2.0); 2) ข้อเสนอในเรื่องความรับผิดของตัวกลางและการดำเนินคดี; 3) ข้อสังเกตต่อสมาคมวิชาชีพสื่อ] เมื่อเย็นวันศุกร์ (24 กันยา) ผมมีเหตุให้ต้องไปขอนแก่นเป็นครั้งแรก กลับมาก็ได้อ่านข่าวเกี่ยวกะเหตุการณ์นั้นตามสื่อต่าง ๆ ก็ตรงบ้าง คลาดเคลื่อนบ้าง นิด ๆ หน่อย ๆ เป็นอันเข้าใจได้ เพราะจำนวนหนึ่งรายงานในระหว่างที่เรื่องยังไม่ชัดเจนหรือยังไม่จบดี แต่วันนี้ได้อ่านข่าวฉบับของกรุงเทพธุรกิจออนไลน์ พบว่ามันคลาดเคลื่อนจนน่าตลก ขำเสียจนไม่รู้จะพอเพียงอย่างไรไหว เนื้อความหรือก็ราวกับนิยายเพื่อความปรองดอง คือไม่รู้จะพูดอย่างไรดี นอกจากนึกภาพ ตำรวจตรวจคนเข้าเมืองกอดคอกะนักข่าวกรุงเทพธุรกิจออนไลน์ แล้วร้องว่า ร่วมกัน เราทำได้!…
-
รักทหาร รัฐทหาร
ข่าวร่างพ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ…. คปส. รายงาน วุฒิฯผ่านกม.คลื่น-เปิดทหารคุม กสทช. วุฒิสภาไม่ถึงครึ่งผ่านร่างพ.ร.บ.จัดสรรคลื่นความถี่ฯ เพิ่มกสทช.ฝ่ายความมั่นคง ศาสนา จาก 11 เป็น 15 คน เปิดให้องค์กรรัฐ-เอกชนด้านความมั่นคงและบริหารราชการคัดเลือกกันเอง และต้องจัดคลื่นเพื่อความมั่นคงอย่างพอเพียง ความเห็นจาก สุภิญญา กลางรณงค์ นอกเหนือจากความเป็นห่วงอย่างมากเรื่องการครอบงำของกองทัพ ยังมีเรื่องประสิทธิภาพการทำงานของคณะกรรมการขนาด 15 คน ที่พบจากประสบการณ์ว่า นอกจากจะไม่คล่องตัวและสิ้นเปลืองงบประมาณเพิ่มแล้ว คณะกรรมการขนาดใหญ่ ยังนำไปสู่การจับขั้วแบ่งกลุ่มแบ่งฝ่าย ล็อบบี้กันภายในคณะกรรมการเอง เกิดการลงคะแนนต่างตอบแทน ทำให้กรรมการแต่ละคนตัดสินใจได้เป็นอิสระน้อยลง เมื่อเทียบกับคณะกรรมการขนาดเล็ก technorati tags: media reform, military
-
คปส. สัมภาษณ์เรื่อง FACT อินเทอร์เน็ต และการปฏิรูปสื่อ
“ที่เอาพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์เพราะไม่อยากเอาพ.ร.บ.ใหญ่กว่านี้” — พ.ต.อ.ญาณพล ยั่งยืน ผู้บัญชาการสำนักคดีเทคโนโลยีและสารสนเทศ กรมสอบสวนคดีพิเศษ กระทรวงยุติธรรม (DSI), 8 พ.ย. 2550 พี่ที่คณะกรรมการรณรงค์เพื่อการปฏิรูปสื่อ (คปส.) ส่งอีเมลมาสัมภาษณ์ตั้งแต่สองอาทิตย์ที่แล้ว เพิ่งมีเวลาตอบกลับไปเมื่อวันอังคารที่ผ่านมา วันศุกร์เขาโทรมาอีกที บอกว่าขออนุญาตรีไรท์ใหม่ เพราะจดหมายข่าวที่เขาจะเอาไปลง มันบางนิดเดียว ลงให้ได้สามหน้า แต่ที่ผมส่งไปมันเก้าหน้ากว่า ๆ ได้ 😛 เขาจะแบ่งลงเป็นสองฉบับแล้วกัน สัมภาษณ์ลงฉบับนี้ และเลือกประเด็นบางอย่างไปลงฉบับหน้า ผมบอกไปว่ารีไรท์ตามสบายเลยพี่ เพราะพี่รู้จักกลุ่มผู้อ่านดีกว่าผม จะได้เขียนให้เป็นภาษาที่กลุ่มผู้อ่านเข้าใจได้ง่าย ๆ เลยขอเอาฉบับเต็ม ๆ ที่ส่งไปให้เขาทีแรก (แก้ไขนิดหน่อย) มาลงในบล็อกนี้ (ในนี้ผมใช้ “บล็อก” สำหรับ “blog” และ “บล็อค” สำหรับ “block”) เพื่อให้รับกับงานสัมมนา “พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ฉบับใหม่และการคัดค้านของโลกไซเบอร์ : จากตำราสู่การปฏิบัติจริง” เมื่อ 8 พ.ย. ที่พึ่งผ่านมา (ดูความเห็นคนอื่น ๆ: wonam, คนชายขอบ (พร้อมแผ่นนำเสนอ), วิดีโอสัมภาษณ์วิทยากร (ดาวน์โหลด [wmv]))…
-
Don’t put all your eggs in the Internet
อย่าแม้แต่จะคิดพึ่งพิงช่องทางใดช่องทางหนึ่งเป็นหลัก เตรียมหาทางเลือก ทางสำรองเอาไว้ตลอดเวลา เมื่อวานและวันนี้ อินเทอร์เน็ตในประเทศไทยยังอยู่ในสภาพพิการ เข้าได้บ้างไม่ได้บ้าง และช้าอืด พื้นที่สาธารณะ สื่อพลเมือง เวทีประชาธิปไตย ฯลฯ อะไรก็ตาม อินเทอร์เน็ตคือโอกาส แต่ไม่ใช่คำตอบเบ็ดเสร็จที่จะโถมตัวเข้ามาหมด วิทยุชุมชน ทีวีชุมชน หนังสือพิมพ์ท้องถิ่น ศาลาประชาคม วัด โรงเรียน เหล่านี้ยังมีความสำคัญเสมอ นอกจากจะมองมันเป็น “ทางสำรอง” สำหรับคนเมืองผู้มีอินเทอร์เน็ตบรอดแบนด์แล้ว มันยังเป็น “ทางหลัก” ในอีกหลายพื้นที่ ที่แม้แต่คอมพิวเตอร์ก็ยังไม่มีด้วย (เลิกหวังกับ แลปทอปร้อยเหรียญ ได้แล้ว — รัฐบาลกลัวอะไร?) ส่วนตัวการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตของไทยเอง ก็ควรจะทบทวนด้วยไหม ว่าได้เทน้ำหนักการเชื่อมต่อออกต่างประเทศไปกับประเทศใดประเทศหนึ่ง เส้นทางใดเส้นทางหนึ่ง มากเกินไปไหม มีเส้นทางสำรอง เส้นทางทางเลือก ที่พอเพียงหรือไม่ ? หากเกิดภัยธรรมชาติสร้างความเสียหายให้กับเส้นทางบางเส้นทาง เส้นทางที่เหลือจะยังรองรับการจราจรที่เพิ่มขึ้นคับคั่งขึ้นได้หรือไม่ ? ทั้งที่เพิ่มขึ้นโดยธรรมชาติ จากการที่ต้องแบกรับการจราจรจากเส้นทางอื่นที่เสียไป และที่เพิ่มขึ้นจากความตื่นตระหนกของผู้คน เช่น ตอนที่เกิดสึนามิเมื่อสองปีก่อน การจราจรบนอินเทอร์เน็ตก็พุ่งขึ้นสูงทันที ทุกคนอยากรู้ข่าว แน่นอนว่า เส้นทางสำรอง เส้นทางทางเลือก…