Tag: Internet censorship

  • TorPark : A quick Firefox jumps over a lazy watch dog

    Browse anonymously with TorPark. Tor (anonymous Internet connection) + Portable Firefox (Firefox on USB drive) = TorPark .. “Turn any internet terminal into a secure connection.” TorPark เป็นโปรแกรมเว็บบราวเซอร์ขนาดเล็ก (6 MB) สำหรับ Windows ที่ใช้ได้จากยูเอสบีไดร์ฟทันที จุดเด่นของโปรแกรม นอกจากจะไม่ต้องติดตั้ง (ทำให้ไม่ทิ้งร่องรอยการใช้งานไว้บนเครื่อง) แล้ว ยังทำการเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตผ่านโปรแกรม Tor ซึ่งทำให้การติดตามร่องรอยการใช้อินเทอร์เน็ตทำได้ยาก เราสามารถพก TorPark ใส่ยูเอสบีไดร์ฟไปใช้งานที่อื่นได้ เช่น ร้านอินเทอร์เน็ตคาเฟ่ (ยกเว้นร้านพี่หน่อย ที่ใช้ลีนุกซ์ทั้งร้าน :P) หรือคอมพิวเตอร์สาธารณะตามโรงเรียนและห้องสมุด ขอขอบคุณคุณ (นิรนาม..ละกัน) ที่แนะนำเข้ามาทางอีเมล p.s. It seems…

  • distributed, parallel, redundant discussion forum

    นึกมานานละ ทำเองไม่ได้ซักที ถามเลยละกัน อยากได้โปรแกรมทำนองเว็บบอร์ดธรรมดา ๆ นี่แหละ แต่ขอว่า เราสามารถติดตั้งโปรแกรมนี้ไว้ที่หลาย ๆ โฮสต์ได้ แล้วถ้าเกิดว่าโฮสต์ไหนดันล่ม ผู้ใช้ก็จะยังไปอ่านที่อีกโฮสต์ได้ (อาจจะ redirect อัตโนมัติ หรืออะไรก็ตาม) โดยเนื้อหาทั้งสองที่นี่จะออกมาเหมือนกันเลย คือเวลาโพสต์ทีโฮสต์นึงเนี่ย โปรแกรมมันจะเอาข้อมูลไปใส่ให้ที่เหลือทุกโฮสต์ (ถ้ามีโฮสต์ไหนหายไปซักพัก พอกลับมาใหม่ ก็จะได้รับข้อมูลในช่วงที่หายไปมาด้วย) คือไม่มีใครเป็น “ตัวกลาง” จริง ๆ แล้วแต่ละโฮสต์ที่ ไม่จำเป็นว่าจะต้องรันโดยคน ๆ เดียวกัน ใครอยากจะมารันก็ได้ เปิดเพิ่มก็ได้ ทำนองว่า BitTorrent / P2P น่ะ แต่เป็นเว็บบอร์ด มีมะ ? รู้จักอยู่ตัว คือ Freenet (เป็นโปรโตคอล) แต่ใช้ยาก ช้าด้วย (เคยลองนานแล้วล่ะ แต่เหมือนตอนนี้ก็ยังไม่ได้ดีขึ้นเท่าไหร่) ซึ่งแนวคิดเค้าดีมากเลยนะ แต่อาจจะหวังสูงไปหน่อย เลยเสร็จช้า (ยังไม่มีรุ่น 1.0 เลย) อยากได้แบบใช้เว็บเบราเซอร์ปกติ…

  • How to keeps your blog under the radar

    CNN — Guide aims to help bloggers beat censors PARIS, France (AP) — A Paris-based media watchdog has released an ABC guide of tips for bloggers and dissidents to sneak past Internet censors in countries from China to Iran. เขียนบล็อกยังไงไม่ให้โดนเซ็นเซอร์ และไม่มีใครรู้ว่าเราเขียน update 2007.05.26: Thai version available – มีฉบับภาษาไทยแล้ว

  • แถลงการณ์สมาคมผู้ดูแลเว็บไทย

    ปรับปรุง 2008.05.27: แก้ไขปี พ.ศ. ที่ผิดของรัฐธรรมนูญ เดิมคือ “พ.ศ.๒๕๔๗ มาตรา ๓๙” แก้เป็น “พ.ศ.๒๕๔๐ มาตรา ๓๙” แถลงการณ์สมาคมผู้ดูแลเว็บไทย เรื่อง การสั่งปิดเว็บไซต์การแสดงความคิดเห็นทางการเมือง ตามที่มีผู้อ้างตัวว่าเป็นสารวัตรอินเทอร์เน็ต สังกัดคณะกรรมการสืบสวนป้องกัน และปราบปรามอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ได้ดำเนินการปิดเว็บไซต์ ๒ แห่งได้แก่ เว็บไซต์ www.fm9225.com และเว็บไซต์ www.thai-insider.com โดยอ้างว่าเว็บไซต์ดังกล่าว มีเนื้อหาเข้าข่ายการยุยงให้เกิดความแยกแยกภายในชาติ อันจะเป็นภัยต่อความมั่นคงของชาติ จึงจำเป็นต้องสั่งปิด เพื่อดำเนินการตรวจสอบการจดทะเบียนเว็บไซต์ ว่าดำเนินการโดยถูกต้องหรือไม่นั้น สมาคมผู้ดูแลเว็บไทย ในฐานะสมาคมของผู้ประกอบวิชาชีพผู้ดูแลเว็บไซต์ในประเทศไทย และมีวัตถุประสงค์ในการส่งเสริมวิชาชีพผู้แลเว็บไซต์ รวมทั้งส่งเสริมสิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นภายใต้กรอบแห่งจริยธรรมวิชาชีพ ได้ประชุมหารือคณะกรรมการบริหารสมาคมแล้ว มีความเห็นต่อกรณีปัญหาที่เกิดขึ้นดังต่อไปนี้ ๑) สมาคมผู้ดูแลเว็บไทย ยึดมั่นในหลักการให้สิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น ตามบทบัญญัติมาตรา ๓๙ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.๒๕๔๐ ดังนั้น การสั่งปิดเว็บไซต์ที่มีการแสดงความคิดเห็นทางการเมือง ย่อมเป็นการปิดกั้นสิทธิเสรีภาพพื้นฐานของประชาชน ในระบอบประชาธิปไตย ตามนัยแห่งรัฐธรรมนูญมาตรานี้ ๒) การกล่าวอ้างของเจ้าหน้าที่กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารว่า จำเป็นต้องปิดเว็บไซต์ดังกล่าวเป็นการชั่วคราว เพราะมีเนื้อหาเป็นภัยต่อความมั่นคงของชาตินั้น…