-
Privacy by design, at the protocol level
ข้อพิจารณาถึงความเป็นส่วนตัวในการออกแบบและพัฒนาโปรโตคอลอินเทอร์เน็ต Doing privacy at the core internet infrastructure level. Privacy considerations in the design and implementation of internet protocols and mechanisms, like DNS and DHCP. RFCs and best practices from Internet Engineering Task Force (IETF) and Internet Architecture Board (IAB).
-
การออกแบบระบบสารสนเทศและการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อการตรวจสอบหาความจริงกรณีละเมิดสิทธิมนุษยชนขนาดใหญ่
หนังสือเล่มนี้มีเนื้อหาครอบคลุมประเด็น การเก็บหลักฐาน การทำมาตรฐานข้อมูลและรายการคำศัพท์เพื่อการจัดหมวดหมู่ การออกแบบหน้าจอเพื่อป้อนข้อมูล การออกแบบโครงสร้างข้อมูลและภาพแทนข้อมูลในฐานข้อมูล การประมวลผลข้อมูล การสร้างรายงานเชิงวิเคราะห์ การวิเคราะห์กลุ่มตัวอย่าง การนำเสนอข้อมูลด้วยตารางและผังภาพเพื่อให้เห็นความเชื่อมโยงของข้อมูล การพัฒนาอรรถาภิธานศัพท์เพื่อลดรูปข้อมูลเชิงบรรยายไปเป็นรหัส
-
Thai-Style Sufficient Human Rights #amessinthailand
ขอยืนยันว่ารัฐบาลได้ให้ความสำคัญกับเรื่องสิทธิมนุษยชน เห็นได้จากนโยบายที่ให้มีการเรียนฟรีและเบี้ยยังชีพเป็นต้น — ชวนนท์ อินทรโกมาลย์สุต เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศ, 2553 เจ๋งเป้ง Human Rights Watch ประเทศไทย: สิทธิมนุษยชนถดถอยอย่างหนักในปี 2552, บัวแก้วเตรียมแจงกรณีฮิวแมนไรท์วอทช์ ยันข้อมูลไม่ตรงความจริง technorati tags: human rights, failed, Thailand
-
Land conflicts: Mortal Kombat and the hierarchical exceptions #amessinthailand
มือปืนไม่ต่ำกว่า 2 คน กราด M16 ใส่ สมพร พัฒนภูมิ เกษตรกรไร้ที่ดิน แกนนำเรียกร้องโฉนดชุมชน ตายคาที่พัก จังหวัดสุราษฎร์ธานี. อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ: ทำไมสังคมต้องมาขัดแย้งกันในเรื่องที่ดินแปลงเดียว. เขาพูด คนละเรื่อง กัน. อภิสิทธิ์พูดถึงที่ดิน 21 ไร่ ที่เขายายเที่ยง ของสุรยุทธ์ ที่ดินป่าสงวนที่ถูกระบุว่าเป็น ป่าเสื่อมโทรม และจัดสรรให้เกษตรกร. ส่วนสมพร ตายบนที่ดิน 1 ไร่ ที่สุราษฎร์ธานี ที่ดินสปก. สุดท้ายทั้งสองผืนไม่ได้ใช้ในทางการเกษตร. สมพรพยายามจะทำไร่ไถนาบนที่ดิน 1 ไร่นั้น และราคาที่ต้องจ่ายคือ ชีวิต. สุ-ราษฎร์-ธานี .. เมือง-คน-ดี .. แต่คนดีต้องตายนะ. ถ้ายุ่งกับเจ้าที่ดิน. โถ ยังไงก็คน. พระเขายังไม่เว้น. แต่องคมนตรีอาจจะเว้น .. ก็ดูกันไป. แต่ยังไงเขาก็ mortal. ที่ดินของ immortal สิ…
-
Awzar Thi: Saneh must now resign
(ต้อนรับ 08.08.08 โอลิมปิกปักกิ่ง, ครบรอบ 20 ปี 8888 Uprising ในพม่า, 41 ปีก่อตั้งอาเซียน ด้วยเรื่องสิทธิมนุษยชน) “ เสน่ห์ [จามริก] มีเรื่องเดียวที่ต้องทำในตอนนี้คือ ลาออก บทบาทประธานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ไม่ใช่การเป็นนักโฆษณาชวนเชื่อนโยบายต่างประเทศ ” Preah Vihear saga: After a crazy move from Thailand’s ‘human rights’ chief, Saneh Chamarik, where on July 29 he sent an open letter to the head of the United Nations expressing “the most serious concern…
-
pronounce it /Kha-na Rat-sa-don/
เมื่อวันอาทิตย์ งาน YouFest ทำผิดพลาดไปอย่างหนึ่ง (ในหลายอย่าง) คือ ออกเสียง คณะราษฎร ไปว่า /คะ-นะ-ราด/ ที่ถูกคือ /คะ-นะ-ราด-สะ-ดอน/ โดย ราษฎร /ราด-สะ-ดอน/ ในที่นี้ ก็คือ “ไม่ใช่เจ้า” นั่นเอง ดังจะเห็นได้จากในวงเล็บที่เน้นย้ำในตอนท้ายของหลักข้อที่ 4 ใน หลัก 6 ประการของคณะราษฎร ที่ว่า: “จะต้องให้ราษฎรได้มีสิทธิเสมอภาคกัน (ไม่ใช่ให้พวกเจ้ามีสิทธิยิ่งกว่าราษฎรเช่นที่เป็นอยู่)” ขอบคุณ อ.อุบลรัตน์ ศิริยุวศักดิ์ ที่ได้กรุณาเตือน โดยอาจารย์ได้กล่าวเตือนอีกด้วยว่า นี่คือการทำให้ความหมายมันเลือนหายไป เมื่อ /คะ-นะ-ราด-สะ-ดอน/ (ราษฎร) กลายเป็น /คะ-นะ-ราด/ (ราข?) ความหมายมันก็เสียไปแล้ว — จะระมัดระวังยิ่งขึ้นครับ อาจารย์ย่ายังได้ให้ความต่ออีกด้วยว่า ในหลายประเทศนั้น แนวคิดพื้นฐานที่สำคัญยิ่งกว่าและเป็นที่มาของ “รัฐธรรมนูญ” ก็คือ “คำประกาศสิทธิ” ต่าง ๆ (bill of rights [เช่น…
-
"Civil and Political Rights" – we have it, well, at least on the paper!
กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (International Covenant on Civil and Political Rights – ICCPR) เป็นสนธิสัญญาระหว่างประเทศภายใต้กรอบสหประชาชาติหลักด้านสิทธิมนุษยชน ซึ่งแปรข้อบทใน ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (Universal Declaration of Human Rights – UDHR) ให้มีพันธะผูกพันทางกฎหมายแก่ประเทศภาคี สหประชาชาติรับรองสนธิสัญญานี้เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2509 และมีผลใช้บังคับเมื่อ 23 มีนาคม พ.ศ. 2519 ประเทศไทยเข้าเป็นภาคีของสนธิสัญญานี้เมื่อวันที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2539 และมีผลบังคับใช้กับไทยเมื่อวันที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2540 technorati tags: human rights, civil rights, political rights
-
bact’ is B
เราเรียกร้องให้ผู้คนลุกขึ้นต่อต้านการตื่นเช้า คือ ข้อความรณรงค์ที่กลุ่ม B-Society ซึ่งก่อตั้งโดย ดร. คามิลลา คริง ใช้เรียกร้องความสนใจจากประชาชนในเดนมาร์ก โดยอ้างถึงผลงานวิจัยที่สถาบันพันธุศาสตร์หลายแห่งได้สรุปไว้ว่า ‘เวลาชีวภาพ’ ที่กำหนดตารางเวลาในชีวิตประจำวันของมนุษย์ขึ้นอยู่กับยีนควบคุมเวลาชีวภาพ อันมีลักษณะแตกต่างกันออกไป ทำให้มีการแบ่งประเภทของบุคคลเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ กลุ่ม A และ กลุ่ม B กลุ่มเคลื่อนไหวในเดนมาร์กที่ใช้ชื่อ B-Society ได้ประกาศว่าการครอบงำวิถีชีวิตและเวลาการทำงานที่เป็นอยู่ในสังคมปัจจุบัน ถูกกำหนดตามความเคยชินของบุคคลกลุ่ม A ทำให้เกิดผลกระทบต่อชีวิตของคนกลุ่ม B อย่างหนัก เนื่องจากเวลาชีวภาพของคนกลุ่ม B ไม่เหมาะกับเวลาทำงานตั้งแต่ 8 โมงเช้า ถึง 4 โมง เย็น การตื่นเช้าตรู่เพื่อมาทำงานในเวลาดังกล่าว ส่งผลให้ประสิทธิภาพในการทำงานของพวกเขาลดลง และสาเหตุนี้จะนำไปสู่การกล่าวหาว่าคนกลุ่ม B คือพวกเกียจคร้าน, ขาดความกระตือรือร้น และไม่มีความเป็นมืออาชีพ ด้วยเหตุผลดังกล่าว ทำให้กลุ่ม B-Society ถูกก่อตั้งขึ้นในเดนมาร์กเมื่อ 4 เดือนก่อน และปัจจุบันทางกลุ่มมีสมาชิกถึง 4,800 คน…