-
Out of 20, we got 1 1/2. Ok, that’s something. Move on.
Office of the Official Information Commission (O.I.C.) asked Ministry of Information and Communication Technology to reveal names of people who MICT has contacted with for blocking business (item no.12) and partially-disclosed blocklist (item no.15), as requested by an Internet freedom group, Freedom Against Censorship Thailand. MICT admitted that it has blocked 1,893 websites before the…
-
a Thai blog on information architecture
ไม่ได้อัพบล็อกเกี่ยวกับเว็บที่ชอบที่ชอบนานแล้ว กดลิงก์มั่วซั่วใน twitter แล้วก็เจออันนี้ i am IA mk มีไปเขียนด้วย มีคนตามอ่านอยู่เยอะทีเดียว มีชื่อ(ที่ผม)คุ้น ๆ กันส่วนหนึ่ง เช่น projectlib, kohsija คิดว่าคนทำหลักน่าจะเป็น malimali เนื้อหาเกี่ยวกับ การออกแบบสารสนเทศ และ usability design (คำไทยคือ?) โดยหนักไปทางที่เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ต เนื้อหาบางส่วนครอบคลุมเรื่องแผนธุรกิจและการตลาดด้วย (ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาประสบการณ์ผู้ใช้/ลูกค้า) ลองดู ๆ ชื่อหัวข้อละกันครับ เผื่อได้ไอเดีย กฏ 80/20 กับ Parkinson’s Law Internet Meme ในไทย ใช้ GUI control ให้ถูกทาง โฆษณาบน Twitter หลักการออกแบบของ Google IA ในชื่อเว็บ คือ Information Architect สถาปนิกสารสนเทศ — สถาปัตยกรรมสารสนเทศศาสตร์…
-
Open Document Standard, e-Government, and Universal Information Access
ต่อเรื่อง open document standard มาตรฐานเอกสารแบบเปิด ที่ใน duocore ตอนที่ 66 ลืมพูด/เวลาไม่พอเลยข้ามไป open standard นี่ ทั้งตัว format และ protocol ทุกอย่างที่เกี่ยวข้องเลยนะ มาตรฐานเอกสารแบบเปิด กับระบบรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (e-Government) เช่นเรื่อง backoffice ระบบบริหารจัดการข้อมูลของระบบราชการ หน่วยงานรัฐ ที่ต้องประมวลผลเอกสารมาก ๆ ทั้งภายในหน่วยงานเอง ระหว่างหน่วยงานรัฐ และกับภาคเอกชน ประชาชน ถ้าไม่ใช่ฟอร์แมตเปิด การสร้างซอฟต์แวร์ระบบที่จะอ่าน/เขียนเอกสารเหล่านั้นได้อย่างอัตโนมัติ ก็ลำบาก (ต้อง reverse engineering แกะสเปกกันวุ่นวาย) แถมยังไม่สามารถมั่นใจเต็ม 100% ได้ว่าจะอ่าน/เขียนได้ตรงเป๊ะ ซึ่งก็อาจทำให้ข้อมูลบางอย่างตกหล่นสูญหายได้ ยิ่งคิดว่าในกระบวนการทำงานจะต้องมีการส่งเอกสารกันหลายทอด อ่าน/เขียนกันหลายรอบ ก็เป็นไปได้ที่การสูญหายดังกล่าวจะสะสมเยอะขึ้นได้ด้วย มาตรฐานเอกสารแบบเปิด กับการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารถ้วนหน้า (universal information access) นอกจากนี้ กรณีที่สเปกรูปแบบเอกสารที่มันปิด ไม่ได้เป็นมาตรฐานเปิด ก็ทำให้มีโอกาสอยู่มาก ที่จำนวนโปรแกรมที่จะมาอ่าน/เขียนเอกสารเหล่านั้นได้…
-
politicalbase.in.th
เปิดแล้ว: ศูนย์ข้อมูลการเมืองไทย – politicalbase.in.th “แต่การเข้ามีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนโดยเพียงเฉพาะในเลือกตั้งอย่าง เดียวยังไม่เพียงพอ การตรวจสอบการทำงานของพรรคการเมืองทั้งก่อนและหลังจากช่วงการเลือกตั้งยัง เป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง การเริ่มโครงการ politicalbase.in.th ก็เกิดมาจากการตระหนักถึงความจำเป็นดังกล่าวนี้ ทั้งนี้เพื่อลดภาระและต้นทุนการเข้าถึงข้อมูลของนักการเมือง และพรรคการเมืองที่เกี่ยวข้อง เพื่อตรวจสอบนโยบายและความเชื่อมโยงทางการเมือง” ทางผู้จัดทำหวังเป็นอย่างยิ่งว่า จะได้รับการสนับสนุนเป็นอย่างดีจากประชาชนผู้มีสิทธิ์มีเสียง โดยการช่วยกันเพิ่มข้อมูล ทีละเล็กละน้อย ค่อย ๆ สะสมเพื่อประโยชน์ต่อสาธารณะทั้งหมด – ตัวเว็บไซต์เป็นลักษณะวิกิที่เปิดให้ทุกคนเพิ่มและแก้ไขข้อมูลได้ โดยมีกองบรรณาธิการตรวจสอบที่มาของข้อมูลในเบื้องต้น ศูนย์ข้อมูลการเมืองไทย – politicalbase.in.th – โดยการสนับสนุนของ มูลนิธิฟรีดิชเนามัน (เยอรมนี), สถาบันทีอาร์เอ็น (ไทย), และ สยามอินเทลลิเจนซ์ยูนิต แนะนำมูลนิธิฟรีดิชเนามันสั้น ๆ — มูลนิธิฟรีดิชเนามัน (Friedrich-Naumann-Stiftung) เป็นมูลนิธิของประเทศเยอรมนีเพื่อสนับสนุนการเมืองแบบเสรีนิยม (มีความเกี่ยวพันกับพรรคเสรีประชาธิปไตย (FDP) ของเยอรมนี) โดยสนับสนุนเสรีภาพของปัจเจกและแนวคิดเสรีนิยม มูลนิธิดำเนินงานตามแนวคิดอุดมคติของ ฟรีดิช เนามัน ที่เชื่อว่าประชาธิปไตยจะทำงานได้ก็ต่อเมื่อพลเมืองมีการศึกษาและได้รับข่าวสารทางการเมืองอย่างเพียงพอ ซึ่งตามแนวคิดนี้ การศึกษาการบ้านการเมือง (civic education) เป็นสิ่งสำคัญพื้นฐานที่ขาดไม่ได้สำหรับการมีส่วนร่วมทางการเมือง และสำหรับประชาธิปไตย…
-
discourse/information/communication people
จดกันลืม บุคคลน่าสนใจ สาวิตรี คทวณิช คณะภาษาและการสื่อสาร สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ discourse analysis; critical discourse analysis; language and politics นคร เสรีรักษ์ การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล : ข้อเสนอเพื่อการพัฒนาสิทธิรับรู้ข้อมูลข่าวสารในกระบวนการธรรมรัฐไทย (วิทยานิพนธ์ วิทยาลัยสหวิทยาการ มธ.) Freedom of Information and Privacy Protection in Thailand วราภรณ์ วนาพิทักษ์ มาตรการการจัดการการเผยแพร่เนื้อหาที่ไม่เหมาะสมบนอินเทอร์เน็ตของประเทศไทย (วิทยานิพนธ์ วิทยาลัยสหวิทยาการ มธ.) สมสุข หินวิมาน คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ cultural studies technorati tags: people, freedom of information, discourse analysis