-
สภากาชาดไทย – หน่วยงานที่รัฐให้อำนาจมาก แต่มีกลไกกำกับน้อย?
สำหรับโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ ศูนย์รับบริจาคอวัยวะ อะไรก็ตามที่อยู่ภายใต้สภากาชาดไทย เราไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลตามพ.ร.บ.ข้อมูลข่าวสารของราชการเพื่อตรวจสอบการทำงานได้เลย รวมถึงไม่สามารถใช้กลไกทางปกครองมาคุ้มครองได้
-
วารสารศาสตร์ข้อมูล: เราควรจะขอบคุณวิกิลีกส์ #wikileaks #opendata
ความน่าเชื่อถือของวิชาชีพนักข่าวนักหนังสือพิมพ์ วิกิลีกส์ และ วารสารศาสตร์ข้อมูล Roy Greenslade (twitter: @GreensladeR) เขียน ; อาทิตย์ สุริยะวงศ์กุล (@bact) แปลและเรียบเรียง (CNN) 30 ก.ค. 2553 – การโพสต์เอกสาร 92,000 ฉบับบนวิกิลีกส์ (WikiLeaks) เกี่ยวกับสงครามในอัฟกานิสถาน เป็นตัวแทนของการฉลองชัยของสิ่งที่ผมเรียกว่า “วารสารศาสตร์ข้อมูล” (data journalism) แน่นอนว่ามันต้องมีแหล่งข่าวที่เป็นบุคคล ใครสักคนในที่ไหนสักแห่ง ส่งต่อข้อมูลเหล่านี้ไปยังเว็บไซต์วิกิลีกส์ แต่ไม่ว่าผู้แจ้งความไม่ชอบมาพากลคนนี้จะเป็นใคร มันก็ไม่ได้สำคัญเท่ากับว่า เนื้อหาของเอกสารเหล่านี้มันบอกอะไรกับเรา ข้อมูลดิบดังกล่าว เป็นขุมทรัพย์ขนาดใหญ่สำหรับนักหนังสือพิมพ์ในสามสำนักข่าว – นิวยอร์กไทมส์ (New York Times สหัรฐอเมริกา), เดอะการ์เดียน (The Guardian สหราชอาณาจักร), และ แดร์สปีเกล (Der Spiegel เยอรมนี) – ที่จะขุดค้นหาข่าวจากมัน อย่างไรก็ตาม ไม่ได้มีเฉพาะนักข่าวเหล่านั้นเท่านั้น…
-
Knowledge WITH Borders
ความรู้มีเชื้อชาตินะ Thai Digital Collection … เป็นโครงการที่มุ่งสนับสนุนการศึกษา … สำหรับประชาชนคนไทยเท่านั้น … คำตอบที่ถูกต้องสำหรับคำถามต่อไปนี้: ประเทศไทยรวมเลือดเนื้อชาติเชื้อไทย ประโยคต่อไปคือ … เพื่อป้องกันชาวต่างชาติใช้งาน … แต่จำเป็นต้องทำเพื่อปกป้องผลงานของคนไทยให้คนไทยใช้งานเท่านั้น เอาน่ะ อย่างน้อยเขาก็มี ประชารัฐ ให้เลือก, ไม่ใช่ ราชอาณาจักร technorati tags: information access, Thai, protection
-
Lao44 – Free the Lao documents
Lao44 or Coalition for Lao Information, Communication and Knowledge is the largest repository of documents in Lao language. The number 44 in Lao44 refers to Article 44 in the Constitution of Lao PDR, which says: Lao citizens have the right and freedom of speech, press and assembly; and have the right to set up associations…
-
Me on #ICT2020 plan
วันนี้ไปงานระดมความเห็นเรื่องแผนไอซีทีในระยะ 10 ปีข้างหน้า (ICT2020) กลุ่ม civic empowerment (คืออะไรก็ไม่ค่อยแน่ใจ ผมก็มั่วไป) ที่เนคเทคเป็นเจ้าภาพ (ผมไป แทน หลายคนมาก ๆ ประมาณว่าแปะมือกัน) ผมได้เสนอในวงและยังยืนยันว่า ในการทำนโยบายทางสังคมใด ๆ จำเป็นต้องคิดถึงกลุ่มชายขอบทางการเมืองด้วย ไม่ใช่เพียงกลุ่มชายขอบทางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม ฯลฯ กลุ่มชายขอบทางการเมือง คือ กลุ่มคนที่ไม่เห็นด้วยกับนโยบายหรือกิจกรรมของรัฐ กลุ่มคนที่รัฐมองว่าเป็นภัยต่อความมั่นคง ต่อศีลธรรมอันดีงาม และกลุ่มคนที่ถูกแปะป้ายว่า หัวรุนแรง คนเหล่านี้ก็เป็นพลเมืองหรือผู้ส่วนได้ส่วนเสียในสังคม และไม่ควรจะต้องถูกกันออกไป เพียงเพราะเขาคิดไม่เหมือนกับรัฐ ตัวอย่างของกลุ่มคนที่ไม่เห็นด้วยกับนโยบายหรือกิจกรรมของรัฐ ที่ได้ผลกระทบที่เกี่ยวกับสารสนเทศ ในเรื่องของการเข้าถึงข้อมูล เช่น ชุมชนในมาบตาพุดและประจวบ ที่ขอดูเอกสารประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมจากรัฐ แต่ถูกปฏิเสธ โดยอ้างเหตุผลเรื่อง ความมั่นคง ถ้าทัศนคติแบบนี้ยังมีอยู่ และข้ออ้างแบบนี้ยังฟังขึ้น ก็ป่วยการที่จะพูดถึงเทคโนโลยีสารพัดที่จะช่วยให้ประชาชนเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร — เพราะถึงมีเทคโนโลยีไป รัฐก็ไม่เปิดอยู่ดี แค่โยนบรอดแบนด์ตูมลงไป แล้วหวังจะให้เกิดสังคมข้อมูลข่าวสารและปริมณฑลสาธารณะ แบบบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป มันเป็นไปไม่ได้ – ต้องเปลี่ยนทัศนคติของรัฐและสังคมด้วย ในเชิงรูปธรรมก็คือกฎหมายและระเบียบต่าง…
-
Keeps private data private, keeps public data public? No. Not in Thailand.
พ.ร.บ.ข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ.2540 กำหนดให้หน่วยงานของรัฐ ต้องจัดหาข้อมูลข่าวสารของราชการไว้ให้ประชาชนตรวจดูหรือค้นคว้าได้ สำนักงานคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ (สขร.) เป็นหน่วยงานที่ดูแลเรื่องข้อมูลข่าวสารของราชการและการเปิดเผยข้อมูลข่าวสาร ที่เว็บ www.oic.go.th ของสขร. หน้า การตอบข้อหารือและวิทยากรบรรยายเกี่ยวกับ สขร.: คลิกเปิดชื่อเรื่อง กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หารือการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารของราชการ (ลงวันที่ 27/11/2552) … ได้เอกสาร พระราชกฤษฎีกา ถอนสภาพที่ดินอันเป็นสาธารณะสมบัติของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกัน ในท้องที่ตำบลลาดใหญ่ อำเภอเมืองสมุทรสงคราม จังหวัดสมุทรสงคราม พ.ศ. 2544 คลิกเปิดชื่อเรื่อง กรมการปกครองหารือการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ.2540 (ลงวันที่ 28/12/2552) … ได้เอกสาร พระราชกฤษฎีกา กำหนดให้ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเหล็กเส้นเสริมคอนกรีตต้องเป็นไปตามมาตรฐาน (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2544 เอกสารต่าง ๆ ไม่สามารถเรียกดูได้ตามชื่อเรื่องเลย แบบนี้เขาเรียกว่า ไม่เปิดเผย ครับ ในขณะที่รัฐ มีความพยายามที่จะดักฟังสอดส่องล่วงรู้ ข้อมูลส่วนบุคคลของประชาชน (#ThaiNoSniff) พร้อม ๆ กันนั้น รัฐเอง ก็มีความพยายามจะปกปิดหรือสร้างความยากลำบากในการเข้าถึง…
-
Thai laws and regulations on official document/information administration and archives
กฎหมาย กฎกระทรวง และระเบียบ ที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลข่าวสารของรัฐ โดยเฉพาะที่เกี่ยวกับการเก็บรักษาและการทำลายเอกสาร – เอกสารอิเล็กทรอนิกส์ พระราชบัญญัติ ข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540 ระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ. 2526 — มี หมวด 3 ว่าด้วย การเก็บรักษา ยืม และทำลายหนังสือ ระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยงานสารบรรณ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2548— แก้ไขเพิ่มเติมฉบับ พ.ศ. 2526 ที่สำคัญคือ: เพิ่มนิยามคำว่า อิเล็กทรอนิกส์ (การประยุกต์ใช้วิธีการทางอิเล็กตรอน ไฟฟ้า คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า หรือวิธีอื่นใดในลักษณะคล้ายกัน และให้หมายความรวมถึงการประยุกต์ใช้วิธีการทางแสง วิธีการทางแม่เหล็ก หรืออุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับการประยุกต์ใช้วิธีต่าง ๆ เช่นว่านั้น) และ ระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ (การรับส่งข้อมูลข่าวสารหรือหนังสือผ่านระบบสื่อสารด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์) ลดอายุเอกสารก่อนที่จะให้ส่วนราชการส่งหนังสือเข้าหอจดหมายเหตุ จากเดิม 25 ปี เหลือ 20 ปี (=จัดส่งเข้าหอฯเร็วขึ้น)…
-
The Hague Declaration, call for signers
Support free and open information standards, for transparency, for equality, for participatory, for communication rights, for information freedom, and for freedom of expression. — please consider signing the The Hague Declaration. ขอเชิญพิจารณาและร่วมลงชื่อใน “คำประกาศเฮก” (The Hague Declaration) เพื่อสนับสนุนมาตรฐานดิจิทัลแบบเปิดและเสรี และเรียกร้องให้รัฐบาลทั่วโลกใช้และส่งเสริมมาตรฐานแบบเปิดและเสรี เพื่อความเท่าเทียมและโปร่งใสในการเข้าถึงข้อมูล มีส่วนร่วมในการปกครอง และใช้บริการของรัฐ ผ่านทางระบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Government) โดยไม่ถูกเลือกปฏิบัติ ตามสิทธิและเสรีภาพของเราใน ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน และตามรัฐธรรมนูญ มาตรา ๕๖ บุคคลย่อมมีสิทธิได้รับทราบและเข้าถึงข้อมูลหรือข่าวสารสาธารณะ ในครอบครองของหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่น เว้นแต่…
-
TWA/DSI in OIC Internet Censorship Investigation Subcommittee
Inside the Official Information Commission, there’s a “Internet censorship investigation subcommittee” which taking care of the information disclosure and information access on the Internet and investigating the Internet censorship case if it occurs. The president of the Thai Webmaster Association (TWA) (or his/her representative) is an ex-officio member of that Internet censorship investigation subcommittee. This…