-
your feet, also very count
ประภาส ปิ่นตบแต่ง แนะ บางทีการโหวตด้วย ‘มือ’ อย่างเดียวคงไม่พอ คงต้องโหวตด้วย ‘ตีน’ กันบ้าง 😛 (ส่วนทหารและอภิทหาร เขาโหวตด้วย ‘ปืน’ กันอยู่แล้ว .. แต่หลัง ๆ เริ่มซับซ้อน มีโหวตด้วย ‘ตุลาการ’ และ ‘การร่างรัฐธรรมนูญ/กฎหมาย’ ด้วยนะ .. เนียน เนียน) โซ่มนุษยปิดสนช. พุธ 19 ธ.ค. 8.00 – 19.00 น. หากไม่สะดวกร่วม ยังไงก็ไปลงชื่อปิดสภากันได้ออนไลน์ [ ลิงก์ ประชาไท | ผ่าน พลวัต (ยุคใหม่) ] technorati tags: Thailand, democracy
-
Why NO ?
19 สิงหาใกล้มา หลายคนอาจมีข้อกังขาเหล่านี้อยู่ในใจ … โหวตล้มรัฐธรรมนูญ ผิดกฎหมายหรือไม่ ? โหวตล้มรัฐธรรมนูญ จะได้อะไร ? โหวตล้มรัฐธรรมนูญ ร่วมกับใคร ? โหวตล้มรัฐธรรมนูญ เลือกตั้งล่าช้าหรือไม่ ? โหวตล้มรัฐธรรมนูญ อาจจะได้รัฐธรรมนูญที่ถอยหลังกว่าเดิม ? รับฟังข้อมูล หาคำตอบ และตัดสินใจให้ตัวคุณเอง ที่เว็บ wevoteno.net [ ลิงก์ wevoteno.net | ผ่าน wonam ] technorati tags: constitution, Thailand
-
Democracy under Martial Law ?
“….ใน ภาวะของการประกาศกฎอัยการศึก จะมีประชาธิปไตยได้อย่างไร ถ้าประชาชนไม่มีโอกาสได้คุยกันและทำความเข้าใจเรื่องรัฐธรรมนูญ และปล่อยให้ สสร. ได้รณรงค์ลงประชามติรับร่างรัฐธรรมนูญปี 50 อยู่แต่ฝ่ายเดียว…มิพักต้องกล่าวถึง ร่างพ.ร.บ.รักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร ล้มไปได้เลย….” “ภายใต้กฎอัยการศึก เราไม่สามารถสร้างประชาธิปไตยได้” – สมบัติ บุญงามอนงค์ ฐิตินบ โกมลนิมิ, สำนักข่าวชาวบ้าน อัยการทหารที่ “รวบและกักตัว” นายสมบัติ บุญงามอนงค์ หรือ บ.ก.ลายจุด แกนนำกลุ่มพลเมืองภิวัตน์ อ้างว่าใช้อำนาจตาม พ.ร.บ กฎอัยการศึก พ.ศ. 2457 (โปรดสังเกตว่า ประเทศของเราเปลี่ยนแปลงการปกครองมาเป็นระบอบประชาธิปไตย เมื่อ พ.ศ. 2475 !) ประชาธิปไตย … อธิปไตยจะเป็นของประชาได้อย่างไร หาก(เรายังยอมให้)ทหารหรือใครมีอำนาจเหนือประชา เพียงเห็นต่าง ก็ถูกจับกุม และเราจะคุยกันยังไง ? และเมื่อคุยกันไม่ได้ แล้วจะหาข้อตกลงร่วมกันตามวิถีประชาธิปไตยกันยังไง ? [ ลิงก์ สำนักข่าวชาวบ้าน | ผ่าน ประชาไท ]…
-
75 Years Later
(นี่ไม่ใช่จตุคาม) “…ณ ที่นี้ ๒๔ มิถุนายน ๒๔๗๕ เวลาย่ำรุ่ง คณะราษฎร ได้ก่อกำเนิดรัฐธรรมนูญ เพื่อความเจริญของชาติ” วิกิพีเดีย: การปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475 มีบางคนถาม เราควรจะใช้คำว่า “ปฏิวัติ” (revolution) ดีไหม ? หรือจะเพียง “รัฐประหาร” (coup d’état) ? ก็อาจจะต้องดูว่า (ในตอนนั้น) เราเปลี่ยนจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ (absolute monarchy) มาเป็นอะไร ? มาเป็น ประชาธิปไตย (democracy) ? หรือมาเป็น ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ (constitutional monarchy) ? (ที่สุดท้าย ไม่ว่าจะยังไง ทุกวันนี้มันก็กลายไปเป็นอะไรที่เข้าทำนอง “ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญผสมเผด็จการทหาร” อยู่ดี :P) อ่านเรื่องเกี่ยวข้อง: ประชาไท: ‘หมุดประชาธิปไตย’ มีกูไว้ (ในใจ) ไม่ไร้เสรีภาพ ประชาไท: “75…
-
Kor Por Kor
กลุ่มประชาธิปไตยไม่ใช่แค่กิ๊ก !! (ใช่แล้ว … แล้วกิ๊กก็เป็นเพื่อน….นะ คณะเดียวกันนี้ — 1 เดือนกับอีก [1 อาทิตย์] ที่ไม่ได้คุยกัน … บางทีผมก็ไม่แน่ใจ ว่า “สักพัก” นั้นนานเท่าไร และ “เป็นเพื่อนกัน” นั้นต่างกับไม่ได้เป็นอะไรกันแค่ไหน) นะมาชะ ใบชาสดที่เพิ่งเก็บ ชาเขียวสีเขียว พระจันทร์สีเหลือง แต่ทำไมเราคิดว่ามันสีน้ำเงินตลอดเวลา เราหลอกตัวเองว่าเหงา และตีตั๋วหนังเพื่อเข้าไปร้องไห้ในโรง … บ้า เราไม่เคยทำอย่างนั้น … แต่มันก็น่าลองนะ ไม่เลว แต่ไม่ใช่ตอนนี้ ต้านรัฐประหาร ! technorati tags: students
-
Requirements
“…มหาวิทยาลัยย่อมอุปมา ประดุจบ่อน้ำ บำบัดความกระหายของราษฎร ผู้สมัครแสวงหาความรู้ อันเป็นสิทธิและโอกาส ที่เขาควรมีควรได้ ตามหลักเสรีภาพของการศึกษา…” — ปรัชญาการตั้งมหาวิทยาลัย จากสุนทรพจน์ของ ปรีดี พนมยงค์ เมื่อวานได้รับไปรษณียบัตรยืนยันที่อยู่ เพื่อสมัครสมาชิกห้องสมุดธรรมศาสตร์ ประเภทบุคคลภายนอก-แบบยืมหนังสือได้ หนึ่งในหลักฐานที่ต้องใช้คือ “หลักฐานการจบการศึกษาปริญญาตรี” ! … อาจารย์ปรีดีจะคิดยังไง ? กำลังจะครบรอบ 75 ปี คณะราษฎรปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองของประเทศไทย จากสมบูรณาญาสิทธิราชย์ มาเป็นประชาธิปไตย เรากำลังจะมีรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ “ฉบับยอดมนุษย์” … อาจารย์ปรีดีจะคิดยังไง ? … เมื่อคนเล็กคนน้อย “ประชา” ในทุกพื้นที่ กำลังถูกกันออกจากวงไปเรื่อย ๆ รวมถึง ประชาธิปไตย และมหาวิทยาลัยที่ก่อตั้งขึ้นเพื่อสนับสนุนมัน technorati tags: Thammasat University
-
Electoral System Design / IDEA
เป็นครั้ง แรกทีเดียวที่นักเลือกตั้งประเมินว่า นโยบายและชื่อชั้นของพรรครวมทั้งคนหรือบุคลากรหรือผู้นำของพรรค เป็นตัวชี้วัดความนิยม นั่นหมายความว่า นักเลือกตั้งเหล่านี้ไม่เชื่อมั่นในเงินของตัวเองว่าจะซื้อคะแนนได้อีกต่อ ไปแล้ว นี่คือดอกผลของการออกแบบระบบการเลือกตั้ง เพียงช่วง 5 ปี กับการเลือกตั้งเพียงสองครั้งเท่านั้น การซื้อเสียงกำลังจะหมดความหมายไปจากสังคมไทย … การยกเลิกระบบปาร์ตี้ลิสต์ไป แล้วกลับไปย้อนยุค รังแต่จะเพิ่มวิกฤติและแรงกดดันให้ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข (ในแบบไม่ยอมปรับตัว) เสียเปล่าๆ ลืมคุณทักษิณ ชินวัตรไปบ้างไม่ได้หรือครับ อย่าให้เขามาหลอกหลอนและกำหนดชะตาชีวิตที่เหลือของคนไทยที่ต้องถูกบังคับ ให้อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญใหม่เลย พฤติกรรมของคุณทักษิณที่ผ่านมาเป็นข้อยกเว้น เพราะให้ทุกอย่างเหมือนเดิม ใช้รัฐธรรมนูญ 2540 มี การเลือกตั้ง มีคุณทักษิณเป็นนายกฯ อีกครั้ง สังคมการเมืองไทยก็ไม่เหมือนเดิมแบบที่คุณทักษิณจะมาเผด็จอำนาจได้อีกแล้ว นั่นก็เพราะระบบตรวจสอบทำงานแล้ว และนั่นคือหัวใจ เราต้องเพิ่มระบบตรวจสอบให้เข้มแข็งขึ้น ติดอาวุธให้กับกลไกตรวจสอบ เพิ่มอำนาจประชาชน ประชาชนฟ้องคดีทุจริตได้ เข้าชื่อถอดถอนได้ง่ายขึ้น ทำสื่อให้เป็นอิสระและฉลาด กระจายอำนาจออกไป แต่อย่าลดทอนความเข้มแข็งของรัฐบาล เพราะการลดทอนความเข้มแข็งของรัฐบาล ประชาชนจะเสียประโยชน์ที่นโยบายที่พรรคการเมืองหาเสียงไว้ก็ทำไม่ได้ ต้องกลับไปวัดค่า ส.ส. ด้วยการขายเสียงเหมือนเดิม ขณะที่ประโยชน์ของการลดทอนความเข้มแข็งของรัฐบาลจะไปอยู่ที่ข้าราชการและอำมาตย์ทั้งหลายที่ร่วมกันทำรัฐประหาร ที่สำคัญที่สุดคือศักดิ์ศรีของชาติและประชาชน ในฐานะที่ชาติและประชาชนเป็นผู้ร่างรัฐธรรมนูญ 2540 แต่หลงลืมทุกอย่าง หลงลืมบทเรียน ประวัติศาสตร์ และย้อนกลับไปรอยเดิม…
-
thaipood.com
“ไทยพูด” เวทีประชาธิปไตยประชาชน “ปีนี้ต้องมีเลือกตั้ง” เวทีประชาธิปไตยประชาชนคืออะไร ? เวทีประชาธิปไตยประชาชน เป็นเวทีที่รวบรวมและเชื่อมโยงประเด็น การปฏิรูปสังคมและการเมืองจากเครือข่ายภาคประชาชนทุกส่วน รวมทั้งเป็นเวทีร่างรัฐธรรมนูญภาคประชาชน เพื่อเสริมพลังในการขับเคลื่อนผลักดันประเด็นเหล่านี้สู่หลักการของ รัฐธรรมนูญ กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ นโยบายและการปฏิบัติ ทั้งนี้โดยการสร้างกระแสทางสังคมผ่านกิจกรรมและสื่อต่างๆ เวทีประชาธิปไตยประชาชน จะไม่เข้าไปก้าวก่ายกิจกรรมของเครือข่ายองค์กร ภาคประชาชนต่างๆ ที่ดำเนินการอยู่แล้ว แต่จะเป็นเวทีภาคประชาชนอีกเวทีหนึ่งที่พร้อมที่จะร่วมมือและประสานงานกับ เครือข่ายองค์กรภาคประชาชนทุกส่วนอย่างเสมอภาค สัญลักษณ์ของ ไทยพูด เป็นรูปคน(ธรรมดา)กำลังหันหน้าคุยกัน www.thaipood.com technorati tags: thaipood, constitution, forum
-
เวที ประชาธิปไตย ประชาชน
ไทยพูด – เวทีประชาธิปไตยประชาชน (วปช.) เวทีประชาธิปไตยประชาชน (วปช.) เป็นเวทีที่รวบรวมและเชื่อมโยงประเด็นการปฏิรูปสังคมและการเมืองจากเครือข่ายภาคประชาชนทุกส่วน รวมทั้งเป็นเวทีร่างรัฐธรรมนูญภาคประชาชน เพื่อเสริมพลังในการขับเคลื่อนผลักดันประเด็นเหล่านี้สู่หลักการของรัฐธรรมนูญ กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ นโยบายและการปฏิบัติ ทั้งนี้โดยการสร้างกระแสทางสังคมผ่านกิจกรรมและสื่อต่างๆ เวทีประชาธิปไตยประชาชน จะไม่เข้าไปก้าวก่ายกิจกรรมของเครือข่ายองค์กรภาคประชาชนต่างๆ ที่ดำเนินการอยู่แล้ว แต่จะเป็นเวทีภาคประชาชนอีกเวทีหนึ่งที่พร้อมที่จะร่วมมือและประสานงานกับเครือข่ายองค์กรภาคประชาชนทุกส่วนอย่างเสมอภาค thaipood.com อัปเดต: 2011.01.11 โครงการไทยพูดได้ยุติลงไปแล้ว และ เกิดใหม่ ในชื่อ โครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน หรือ iLaw (อ่านว่า ไอ – ลอ)