-
Thailand competitiveness after Computer-related Crime Act (and after 19 Sep coup)
ปตท.เขาถามเราบ่อย ๆ (ในโฆษณา) ว่า ประเทศเราจะอยู่ตรงไหนในแผนที่โลก ? สงสัยต้องถามปตท.กลับ ว่า แผนที่โลกยุคไหนล่ะพี่ ? ด้วยกฎหมายต่าง ๆ ของเมืองไทยในปัจจุบัน ที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาในอินเทอร์เน็ต และผู้จะต้องร่วมรับผิดชอบ หากพบว่ามีเนื้อหาใด ๆ ผิดกฎหมาย (แม้จะไม่ใช่ของตัวก็ตาม) ผมไม่แน่ใจว่า นี่จะทำให้โอกาสของประเทศไทย ที่จะเป็นศูนย์กลางธุรกิจ สื่อดิจิทัล และ ดาต้าเซนเตอร์ ในระดับภูมิภาค กระทบหรือไม่ ทั้งนี้รวมถึงธุรกิจเกี่ยวเนื่อง เช่น บริการเทคโนโลยีสารสนเทศ ซอฟต์แวร์ ศูนย์ข่าว (อย่างพวกรอยเตอร์ เอพี บลูมเบิร์ก) ศูนย์กระจายข้อมูล และ โครงข่ายสื่อสาร ด้วย ผมไม่แน่ใจนัก แต่คิดว่า ที่ผ่านมา ที่สำนักข่าวบางแห่ง เลือกที่จะตั้งศูนย์ภูมิภาคที่กรุงเทพ และไม่ใช่สิงคโปร์ เพราะที่ผ่านมา ชื่อเสียงเรื่องเสรีภาพสื่อของเมืองไทยดีมาก ดีกว่าทุกประเทศในภูมิภาคนี้อย่างชัดเจน — แต่ปัจจุบันนี้คงไม่ใช่แล้ว คือโดยสาธารณูปโภค โครงข่ายสื่อสาร เราคงไปสู้มาเลเซีย หรือสิงคโปร์ ไม่ได้อยู่แล้ว…
-
decentralized/distributed Internet censorship on the work in Thailand
ประชาไท, ปิดเว็บไซต์ฟ้าเดียวกัน อ้างหมิ่นฯ (อีกแล้ว), ประชาไท, 5 ม.ค. 2551 เว็บไซต์สำนักพิมพ์ฟ้าเดียวกันถูกปิด (ลองเข้าตั้งแต่เมื่อคืนวันที่ 4 ม.ค. เข้าไม่ได้ ไม่แน่ใจว่าเข้าไม่ได้ตั้งแต่ตอนไหน) บริษัทโฮสติ้งขอยกเลิกบริการ หลังถูกบริษัทดาต้าเซ็นเตอร์ที่บริษัทโฮสติ้งเช่าพื้นที่อยู่ปิดเซิร์ฟเวอร์ทั้งหมด ส่งผลให้เว็บไซต์รายอื่น ๆ ไม่สามารถดำเนินการได้ โดยอ้างว่า สำนักพิมพ์ฟ้าเดียวกันซึ่งเป็นหนึ่งในเว็บไซต์ที่ให้บริการอยู่นั้น มีการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ทำให้บริษัทโฮสติ้งจำเป็นต้องปิดเว็บไซต์ฟ้าเดียวกัน เข้าแก๊ป พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ เป๊ะ เป๊ะ การที่เว็บโฮสติ้งและผู้ให้บริการที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ จะต้องได้รับผิดไปด้วย ทำให้เกิดความกลัว ความผิดในประเด็นคลุมเครือ ตีความได้กว้างขวาง และเจ้าทุกข์ไม่จำเป็นต้องฟ้องเองก็ได้ ความกลัวที่จะต้องพลอยยุ่งยากกับข้อกล่าวหาความผิดนี้ไปด้วย (ไม่ว่าจะผิดจริงหรือไม่ก็ตาม) จึง “กันไว้ดีกว่าแก้” “ไม่อยากมีเรื่อง” “ตัดไฟแต่ต้นลม” ขอยกเลิกบริการเสียเลย ยินดีต้อนรับสู่ Thai Wide Web! เว็บบอร์ดฟ้าเดียวกัน (ชั่วคราว) http://getmorestudio.com/samesky/ กานต์ ยืนยง, การปิดเว็บไซต์ฟ้าเดียวกันเป็นเรื่องควรยินดี, พลวัต, 6 ม.ค. 2551…
-
Big Brother State
ข้อความจาก คณะอนุกรรมการโครงสร้างพื้นฐานทางกฎหมาย คณะกรรมการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (จัดตั้งตาม พระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544) แผนการดำเนินงานและข้อเสนอของคณะอนุกรรมการฯ ที่ควรเร่งผลักดัน คณะอนุกรรมการฯ มีแผนยุทธศาสตร์การบูรณาการกฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศ เป็นลำดับ โดยการดำเนินการในช่วงที่ผ่านมา ภายหลังจากที่พระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544 มีผลใช้บังคับ ทางคณะอนุกรรมการฯ ได้ศึกษาและพิจารณายกร่างพระราชกฤษฎีกาที่ออกตามความพระราชบัญญัติฯ แล้วเสร็จ จำนวน 2 ฉบับ ได้แก่ ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดธุรกรรมในทางแพ่งและพาณิชย์ที่ยกเว้นมิให้นำพระราช บัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544 มาใช้บังคับ พ.ศ. …. และร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการในการทำธุรกรรมทาง อิเล็กทรอนิกส์ภาครัฐ พ.ศ. …. รวมถึงการพิจารณายกร่างกฎหมายแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ฯ เพื่อแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติเกี่ยวกับหน่วยงานธุรการและผู้ดำรงตำแหน่ง เลขานุการ และการร่วมพิจารณาให้ข้อคิดเห็นกฎหมายฉบับอื่นๆ ที่อยู่ในกระบวนการนิติบัญญัติ ได้แก่ ร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ พ.ศ. …. , ร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. …. และร่างพระราชบัญญัติการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศ พ.ศ. …. จากข้อมูลในหน้าเว็บนั้น จะเห็นได้ว่าโครงสร้างพื้นฐานทางกฎหมาย สำหรับธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์นั้น ประกอบไปด้วยกฎหมายหลายฉบับ…
-
Internet regulation conference at US Embassy (15 Mar 2007)
(เพิ่งจะค้นเจอครับ หลายคนเคยถามเข้ามา ตอนที่ผมเคยอ้างถึงกรณีพันทิป.คอม ลองกดไปฟังดูได้ครับ) เมื่อวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2550 ที่ผ่านมา, ฝ่ายข่าวสารและประชาสัมพันธ์ สถานทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย ได้จัดการประชุมทางไกลข้ามทวีป (DVC) ในหัวข้อเรื่อง “กฎระเบียบและการตรวจพิจารณาเนื้อหาในอินเตอร์เน็ต” ที่สถานทูตสหรัฐฯ โดยมีผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายคือ ศ. จอห์น พัลฟรีย์ จาก Berkman Center for Internet & Society โรงเรียนกฎหมาย มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ร่วมการประชุมจากเมืองบอสตัน รัฐแมสซาชูเซตส์ สำหรับผู้ร่วมการประชุมฝ่ายไทยได้แก่ ผู้สื่อข่าว เจ้าหน้าที่ตำรวจฝ่ายคดีอาชญากรรมคอมพิวเตอร์ นักเคลื่อนไหว และผู้ใช้อินเตอร์เน็ต สำหรับวิทยากรฝ่ายไทยได้แก่ ดร. พิรงรอง รามสูต จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, นายไพบูลย์ อมรภิญโญเกียรติ ผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายเกี่ยวกับอินเตอร์เน็ต, สุภิญญา กลางณรงค์ เลขาธิการคณะกรรมการรณรงค์เพื่อการปฏิรูปสื่อ (คปส.), มณีรัตน์ ผลิพัฒน์ รองปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร, วันฉัตร ผดุงรัตน์ เจ้าของเว็บไซต์พันทิป.คอม,…
-
(keep) watching the Cyber Crime Bill
ดูสิว่าไปถึงไหนกันแล้ว สรุปสาระสำคัญการประชุมคณะกรรมาธิการวิสามัญ ครั้งที่ 11/2550 technorati tags: Internet censorship, Internet, cyber-crime bill
-
Forum on Computer Crime Act – 21 Dec
การเสวนารับฟังความคิดเห็น หัวข้อ “ร่วมวิพากษ์ร่าง พ.ร.บ. ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. ….” วันพฤหัสบดี ที่ 21 ธันวาคม 2549 8.30-16.30 น. โรงแรมดิเอมเมอรัล รัชดา กรุงเทพฯ (แผนที่) จัดโดย สมาคมผู้ดูแลเว็บไทย ร่วมกับ 3 ชมรม/มูลนิธิ และ 4 สมาคมผู้ประกอบธุรกิจที่เกี่ยวข้อง วัตถุประสงค์ เพื่อสร้างความเข้าใจพื้นฐานร่วมกัน เกี่ยวกับเจตนารมณ์และนัยสำคัญของร่างฯ เพื่อรับฟังข้อคิดเห็น ข้อสังเกต ข้อห่วงกังวล และข้อเสนอแนะ ร่วมกันจากทุกส่วนงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อประโยชน์ในการปรับปรุงร่างฯ ในชั้นสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ให้สมบูรณ์ต่อไป กำหนดการ 9:00-10:00 นำเสนอที่มาของ “คำนิยาม” & “ฐานความผิด” โดย ดร.ทวีศักดิ์ กออนันตกูล 10:00-10:55, 11:00-12:00 นำเสนอการวิพากษ์ โดย ดร.ทวีศักดิ์ กออนันตกูล (รองประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญฯ คนที่ 2)…
-
Legalised It!
หากใครลองเปิดเทประหว่าง สนช. และ รมต. ฟังอีกรอบ คงจะหูผึ่ง!!! “ควรมีบทควบคุมไปถึงผู้ที่บรรจุข้อมูลในเซิบเวอร์จากต่างประเทศที่เผยแพร่ในไทย โดยเฉพาะข้อความที่หมิ่นสถาบันพระมหากษัตริย์ ซึ่งเราต้องบล็อกข้อมูลลักษณะนี้ให้ได้ แต่จากที่ดูมาตรา 16 ทั้ง 8 อนุมาตรา ไม่มีตรงไหนสามารถบล็อกได้ จึงเป็นช่องว่างช่องโหว่ในการดำเนินการดังกล่าว” สนช. ท่านหนึ่งอภิปราย ฝ่ายรัฐมนตรีไอซีทีตอบว่า “ที่ผ่านมามีข้อความลงในเว็บไซด์ที่หมิ่นพระมหากษัตริย์อย่างรุนแรง ทำให้ผมรู้สึกว่าไม่สามารถควบคุมโดยตรงได้ จึงขอพิจารณากฎหมายของกระทรวงไอซีที 4 ฉบับ และนำเสนอเข้า ครม. อาจเป็นเพราะตนเป็นคนใจร้อน จึงขอให้ ครม. พิจารณาร่างกฎหมายนี้เป็นเรื่องเร่งด่วน” อธิบายให้เข้าใจง่ายขึ้นได้ว่า ร่างของรัฐบาลที่ส่งมาเขียนไม่ชัดเจนหรือไม่ได้เขียน เมื่อเข้ามาในสภาก็ดีแล้ว กูจะเขียนให้ชัดแจ่มแจ๋วกว่าเดิมว่า รัฐสามารถ “บล๊อกเว็บไซต์” ได้ สนช. ผู้เปิดประเด็นนามว่า “บวรศักดิ์ อุวรรณโณ” หัวใจสำคัญในการแก้ไขร่างฉบับนี้จึงไม่ใช่การแก้ไขปรับปรุงมาตราใดมาตราหนึ่ง แต่อยู่ที่จะยินยอมเปิดทางให้อำนาจรัฐ “บล๊อกเว็บไซต์” ได้หรือไม่!!! หรืออาจกล่าวได้อีกทางว่า หลังปฏิวัติ 19 กันยา รัฐบาลทหารใช้อำนาจ “สีเทา ๆ ” ไล่ปิดไล่บล๊อกเว็บอุดตลุด ณ…
-
Computer Crime Act forum reports
รายงาน เสวนา ร่าง พรบ.ความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ เมื่อวันที่ 30 พ.ย. 2549 ที่คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ รายงานโดยประชาไท: ไม่ชอบธรรมตั้งแต่การออกกฎหมายโดย สนช. นายจอน อึ๊งภากรณ์ อดีตสมาชิกวุฒิสภากทม.: “รัฐบาลนี้ควรจะแค่รักษาการ ไม่ใช่ออกกฎหมาย” “เพียงแค่อ่านมาตรา 13 ก็เห็นแล้วว่า เป็นร่างกฎหมายที่จะทำให้เสรีภาพทางอินเตอร์เน็ต แย่กว่าสื่อสิ่งพิมพ์หลายเท่า” “หากตีความตาม มาตรา 13(2) แล้ว หากเพียงมีข่าวลือในอินเตอร์เน็ต เช่น ข่าวลือว่าอดีตนายกฯ ทักษิณ ชินวัตร กำลังจะกลับมาเมืองไทย ก็อาจมีความผิดตามมาตรานี้ได้ หรือแม้แต่มีข่าวลือว่าจะเกิดรัฐประหารก็มีความผิดตามข้อนี้แล้ว เมื่อพูดว่าเกิดความเสียหายต่อความมั่นคงของประเทศนั้น มันกว้างมาก และไม่รู้ว่าความมั่นคงคืออะไร” “มาตรา 13 นี้จะต้องตัดทิ้งไปเลย อย่างไรก็ดี ร่างกฎหมายฉบับนี้จะแก้ที่รายมาตรายากมาก สิ่งที่ต้องทำคือต้องต่อสู้เพื่อคว่ำกฎหมายฉบับนี้ ให้รอรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง ต้องมีกระบวนการที่ถามความเห็นวงกว้างในสังคม แต่ทุกกฎหมายที่เข้าสภา กลับทำแบบงุบงิบ ไม่เปิดประชาพิจารณ์” รายงานโดยพลวัต: เรื่องจำเป็นที่ไม่มีใครใส่ใจ นายพิชัย พืชมงคล สำนักกฎหมายธรรมนิติ :…
-
ridiculous 13
แย่แล้วครับ ! พี่น้อง ! ดูนี่ ๆ (จาก ร่าง พรบ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์) มาตรา ๑๓ ผู้ใดกระทำด้วยประการใด ๆ ดังต่อไปนี้ … (๒) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะทำให้เกิดความเสียหายต่อความมั่นคงของประเทศ หรือก่อให้เกิดความตื่นตระหนกกับประชาชน … แปลว่า เราจะ.. อัพ/ดาวน์โหลด การ์ตูน หนัง นิยาย ฯลฯ ไม่ได้แล้ว … ก็มันเป็นเรื่องแต่งหมดอ่ะ — เป็นเท็จ! หนังผี เรื่องผี ยิ่งแล้วใหญ่ … ห้าม — ก่อให้เกิดความตื่นตระหนกกับประชาชน! แล้ว แผ่นดินไหว เนี่ย … ทำให้เกิดความเสียหายต่อความมั่นคงของประเทศ เปล่าหว่า? girl friday: “มีเพลงรัก (น้ำเน่า) ในครอบครอง ก็มีความผิด เพราะทำให้หวั่นไหว เป็นภัยต่อความมั่นคง!” ไปสัมมนาแล้วเครียด…
-
Thailand’s Computer Crime Act
ยังไม่ได้อ่านกันแบบจริง ๆ จัง ๆ ซะที เฮ้อ เรื่อง ร่าง พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดทางคอมพิวเตอร์ (เดิมชื่อ ร่าง พ.ร.บ.อาชญากรรมคอมพิวเตอร์) ร่างพ.ร.บ.อันนี้ เป็นร่างพ.ร.บ.แรก ที่ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (แต่งตั้งโดยคณะรัฐประหาร 19 กันยา 2549) ผ่านรับหลักการ และเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับสิทธิเสรีภาพของประชาชนโดยตรง โดยเฉพาะเรื่องเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น วันพฤหัสนี้ มีเสวนาเรื่องนี้ ที่คณะนิติ ธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ บ่ายโมงครึ่ง ถึงสี่โมงครึ่ง ไปได้ก็ไปกัน โครงการเสวนา “ร่าง พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดทางคอมพิวเตอร์” ภายใต้รัฐบาลรัฐประหาร: ทางมืดหรือสว่างของสิทธิเสรีภาพในโลกไร้พรมแดน ห้อง 222 คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ วันที่ 30 พฤศจิกายน 2549 เวลา 13.30-16.30 น. อ่านประกอบก่อนไป (ได้ก็ดี) — ผมไป สนช. เปิดประชาพิจารณ์ ร่างกฎหมายเอาผิดทางคอมพิวเตอร์ผ่านเว็บไซต์…