-
คำ “ออกตัว” — มาราธอน เล่มแรก
ด้านล่างนี้น่าจะเป็น “คำนำ” หนังสือเล่มครั้งแรกของผม วันนี้เพิ่งจะได้จับ ผมเลือกใช้คำว่า “มาราธอน” กับกิจกรรมของเครือข่ายพลเมืองเน็ตนี้ เพราะเห็นด้วยว่าการศึกษาและรณรงค์ประเด็นใดก็ตาม ไม่สามารถสำเร็จได้ชั่วข้ามคืน มาราธอนคือการวิ่งระยะไกล ข้ามเขตแดนและส่งข่าวสาร หนังสือเล่มวางตำแหน่งตัวเองเป็นจุดสตาร์ท ดังคำออกตัว
-
“Fashionsophy”: บทความ Fashion Studies ในเว็บ Midnight University
แฟชั่นศาสตร์ในฐานะวัฒนธรรมศึกษาและสังคมศาสตร์ – รวมบทความที่เกี่ยวข้องโดย ทัศนัย เศรษฐเสรี
-
เข้านอก ออกใน วัฒนธรรมศึกษา หลังนวยุค งานหนังสือ
วันนี้ไปงานหนังสือ ตอนไปตั้งใจว่าจะซื้อแค่เล่มเดียว คือ ดีไซน์+คัลเจอร์ 2 (ประชา สุวีรานนท์; สำนักพิมพ์อ่าน; 2552) (อ่านบทวิจารณ์เล่มแรก โดย สุภาพ พิมพ์ชน, @Duangruethai, @birdwithnolegs, ฯลฯ) สุดท้ายตัดสินใจ ยังไม่ซื้อ ดีไซน์+คัลเจอร์ 2 ด้วยเหตุอยากจำกัดงบไม่ให้บาน และคิดว่าไว้ซื้อวันหลังได้ วันนี้เลยขอเฉพาะหนังสือที่คิดว่า คงหาซื้อตามร้านที่ปกติจะไป-ไม่ได้ พวกหนังสือเก่า หนังสือจากสำนักพิมพ์เล็ก ๆ (ซึ่งผมคิดว่า นี่เป็นความดีงามอย่างหนึ่ง[หรือหนึ่งอย่าง?]ของงานหนังสือ ผมได้รู้จัก สถาบันสถาปนา ก็จากงานหนังสือสมัยคุรุสภานี่แหละ เขาเอามาเลหลังลดราคา) ได้สามเล่มนี้มา: ประวัติศาสตร์ในมิติวัฒนธรรมศึกษา (สุวรรณา เกรียงไกรเพ็ชร์ บรรณาธิการ; ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร; 2552) เล่มที่ 3 ในชุด ยกเครื่องเรื่องวัฒนธรรมศึกษา รวมบทความจากการประชุมประจำปีทางมานุษยวิทยาครั้งที่ 7 เล่มนี้มีบทความของ ธีระ นุชเปี่ยม, ชาตรี ประกิตนนทการ, วรสิทธิ์ ตันตินิพันธุ์กุล, นิติ ภวัครพันธุ์…
-
[9 มี.ค.] เสวนา Thai Zaap วิทยุชุมชน-แรงงานอพยพ-ดนตรีสมัยนิยม
ติดตามข่าวกิจกรรมทางสังคมวิทยา มานุษยวิทยา วัฒนธรรม ได้ที่ ปฏิทิน Soc-Ant Cafe http://bit.ly/socant-calendar [feed] [iCal] การประชุม Thai Spices Project ครั้งที่ 1 วันที่ 9 มีนาคม 2552 เวลา 9:30 – 15:00 น. ณ อาคารภาควิชาดนตรี คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา กทม. ร่วมจัดโดย ภาควิชาดนตรี คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา และ วัฒนศาลา กำหนดการช่วงเช้า 9:30-12:00 น. 9:30 น.กล่าวเปิดงาน โดย รศ. ดร. อุบลรัตน์ ศิริยุวศักดิ์ คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 10:00 น. เสนอบทความ “วิทยุชุมชน: สถานการณ์ปัจจุบัน” โดย อาจารย์พินิตตา…
-
ReadCamp started (some how), call for SELF-organization 😉
คอนเซปต์ของ ReadCamp หรือ “กางมุ้งอ่าน” ก็ยังตามที่ทวีตคุย ๆ กัน และที่โพสต์ถามลงใน Culture Lab คือจะเป็นงานลักษณะ unconference ทำนอง BarCamp ที่ชวนผู้ร่วมงานมาเสนอเรื่องการ “อ่าน” แล้วก็แลกเปลี่ยนกัน อ่าน หนังสือ. อ่าน หนัง. อ่าน เพลง. อ่าน โปสเตอร์. อ่าน โฆษณา. อ่าน เสื้อยืด. อ่าน พฤติกรรม. อ่าน trend. อ่าน วัฒนธรรม. อ่าน ปุ่มบนไมโครเวฟ user interface. อ่าน ตึก สถาปัตยกรรม. อ่าน การ์ตูน. อ่าน ภาพวาด งานศิลปะ. … … นั่นคือ เป็น “อ่าน” ในความหมายที่กว้างที่สุดนั่นเอง. ทั้งการอ่านตามตัวบท ตีความ…
-
Two Bits (book)
หนังสือ Two Bits: The Cultural Significance of Free Software โดย Christopher M. Kelty อาจารย์มานุษยวิทยาที่มหาวิทยาลัยไรซ์ อ่านฟรี (PDF – ครีเอทีฟคอมมอนส์ by-nc-sa) คำบรรยายสรรพคุณ จากใบปลิว: Drawing on ethnographic research that took him from an Internet healthcare start-up company in Boston to media labs in Berlin to young entrepreneurs in Bangalore, Kelty describes the technologies and the moral vision that…
-
Language is What Culture Looks Like
Typographics อนิเมชันโดย Boca (a.k.a. Marcos Ceravolo) และ Ryan Uhrich หลักสูตรออกแบบดิจิทัล Vancouver Film School ในตอนต้นของหนัง มีคำพูดนี้: “Typography is What Language Looks Like” — Ellen Lupton Ellen Lupton เป็นนักออกแบบกราฟิก นักเขียน ภัณฑารักษ์ และนักการศึกษา เธอเป็นหนึ่งในกลุ่มนักออกแบบ 33 คน ที่ร่วมลงชื่อในคำประกาศ First Things First 2000 manifesto (อ่าน) ซึ่งเป็นการตั้งคำถามถึง คุณค่า ของการออกแบบ นักออกแบบควรจะคำนึงถึงคำถามทางสังคมการเมืองหรือไม่ นักออกแบบควรจะวิพากษ์และประกาศจุดยืนในงานของตัวเองหรือไม่ ตัวอย่างเช่น จะไม่โฆษณาสินค้าหรืออุตสาหกรรมที่เป็นอันตรายต่อสังคม ซึ่งนี่คือคำถามที่นำไปสู่คำถามในเชิงต่อสู้ที่ว่า นักออกแบบและการออกแบบ จะต้านทาน cultural hegemony การครอบงำผูกขาดทางวัฒนธรรม หรือไม่ อย่างไร Thinking with…
-
Rethinking Cultural Studies
The 7th Annual Conference of Anthropology: “Rethinking Cultural Studies” 26-28 March 2008 at Sirindhorn Anthopology Centre, Bangkok, Thailand การประชุมประจำปีทางมานุษยวิทยาครั้งที่ 7 “ยกเครื่องเรื่องวัฒนธรรมศึกษา” 26-28 มีนาคม 2551 ณ หอประชุมศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร กรุงเทพ การประชุมประจำปีทางมานุษยวิทยา ครั้งที่ 7 จะเน้นที่การศึกษาศิลปวัฒนธรรม ซึ่งเป็นเรื่องที่กว้างขวางมาก เนื่องจากคำว่า วัฒนธรรม เป็นคำและมโนทัศน์ที่ใช้กันทั้งในวงการวิชาการ ทั้งสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ ในวงราชการ สื่อ และในชีวิตประจำวัน ทำให้มีปริมณฑลของความหมายที่หลากหลาย ซ้อนทับกันบ้าง ขัดแย้งกันบ้าง และปรับเปลี่ยนอยู่ตลอดเวลา ในการประชุมครั้งนี้ เราจะเริ่มด้วยสิ่งที่เรียกว่า “วัฒนธรรมศึกษา” ซึ่งปัจจุบันกลายเป็นหลักสูตรที่เปิดกันอย่างครึกโครมในสถาบันการศึกษาในประเทศไทย เรียกได้ว่าเป็น สาขาใหม่ ที่ “ดึงดูดลูกค้า” ได้อย่างกว้างขวาง ดูกำหนดการแล้ว ที่เล็ง ๆ…
-
Innovative Communication @ ITU Copenhagen
ITU Copenhagen เค้าเปิดรับสมัครปริญญาเอกอยู่นะครับ มีทุน ใครสนใจก็ไปดูรายละเอียด ผมเห็นหัวข้อของกลุ่ม Innovative Communication แล้ว โอว น่าเรียนจริง (โดยเฉพาะ 5. “Uses of online media genres in political communication” กับ 7. “User generated content (identity/interpersonal relations/fiction/storytelling)”) ส่วน FMKJ – Danish National Research School for Media, Communication, and Journalism ก็น่าสนใจไม่แพ้กัน IT + new media + communication and media studies + digital culture studies ไปถึงนั่นกันแล้ว…