-
[review] Doing Ethnographies. (assignment)
ส่งการบ้านวิจารณ์หนังสืออีกแล้ว Doing Ethnographies. โดย Mike Crang และ Ian Cook (Sage Publications, 2007) ด้วยรูปร่างหน้าตาเผิน ๆ เหมือนหนังสือ “ฮาวทู” แต่เมื่ออ่านช่วงต้นก็รู้สึกแว่บว่า “ต่อต้านฮาวทู” จนอ่านต่อก็รู้สึกว่า “อาจจะฮาวทู”, Doing Ethnographies เป็นหนังสือที่ควรอ่านมากกว่าหนึ่งรอบ ในวาระ วิธี ลำดับ และทิศทางต่าง ๆ กัน. ด้วยการสะกิดผู้อ่านให้นึกถึงทางเลือกยุ่บยั่บย้อนแย้งอยู่ทุกระยะ แครงก์และคุกสองผู้เขียนไม่เพียงแต่เล่าเรื่องราวยุ่งเหยิงในการ(จะไป)ทำชาติพันธุ์วรรณนาที่ไม่ค่อยจะมีใครเล่านัก แต่ยังทำให้เรารู้สึกสับสน อย่างที่เราควรจะรู้ว่ามันจะสับสนอย่างไรในสนาม. ผู้เขียนเสนอว่าสิ่งที่สำคัญที่สุดในการศึกษาความสัมพันธ์ของมนุษย์นั้นก็คือตัว ความสัมพันธ์ของมนุษย์ นั้นเอง. ไม่เพียงผู้ไขประตูสู่สนามเท่านั้นที่เป็นมนุษย์ แต่รวมถึงผู้ที่ถูกศึกษาและผู้ศึกษาด้วย, เหล่านี้นำไปสู่ประเด็นจริยธรรมและความเป็นภววิสัยของการศึกษา และสิ่งที่ผู้เขียนย้ำคือ ไม่มีสิ่งที่เรียกว่า “ข้อมูลดิบ” ทุกอย่างล้วนถูกประกอบสร้าง-โดยตัวผู้สังเกตก็มีส่วนกำหนด ความสัมพันธ์เชิงอำนาจมีอิทธิพลในการประกอบสร้างข้อมูลดังกล่าวเสมอ และความคิดต่าง ๆ ล้วนได้รับอิทธิพลมาจากความคิดก่อนหน้าอื่น ๆ. จงเป็นมนุษย์ที่ปรับตัวและรู้ตัวในทุกขณะ อาจเป็นคำแนะนำที่ไม่มีข้อยกเว้นเพียงอย่างเดียวของหนังสือ “อาจจะฮาวทู” เล่มนี้. บทวิจารณ์ (PDF, 5+1…
-
social problems in Old Town Rome, lecture by Michael Herzfeld
เชิญร่วมการบรรยายพิเศษ “ปัญหาสังคมในเขตเมืองเก่า: กรณีศึกษากรุงโรม” โดย ศ.ไมเคิล เฮิร์ซเฟลด์ (Michael Herzfeld) ภาควิชามานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด วันศุกร์ที่ 25 กรกฎาคม 2551 13:00-16:00 น. ห้องประชุม 1 ชั้น 2 ตึกคณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มธ. ศูนย์รังสิต ไมเคิล เฮิร์ซเฟลด์ เป็นศาสตราจารย์มานุษยวิทยา และภัณฑารักษ์ชาติพันธุ์วิทยายุโรปประจำพิพิธภัณฑ์พีบอดี ที่มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด, ที่ซึ่งเขาสอนมาตั้งแต่ ค.ศ. 1991. หัวข้อวิจัยที่สนใจได้แก่ ทฤษฎีสังคม, ประวัติศาสตร์ของมานุษยวิทยา, social poetics, การเมืองของประวัติศาสตร์, ยุโรป (โดยเฉพาะกรีซและอิตาลี) และประเทศไทย. สำหรับประเทศไทยไมเคิลมีผลงานเด่นคือการศึกษาชุมชนป้อมมหากาฬในกรุงเทพ. technorati tags: Michael Herzfeld, Rome, old town
-
[review] Wisdom Sits in Places: Landscape and Language Among the Western Apache (assignment)
การบ้านวิจารณ์หนังสือชิ้นแรก เสร็จแล้ว ส่งไปเมื่อวาน เป็นการเขียนหลังจากอ่านไปประมาณ 60-70% ได้ ข้ามไปข้ามมา ฉบับที่ให้ดาวน์โหลดนี้ แก้นิดหน่อยจากที่ส่งไป เป็นบทวิจารณ์ หนังสือเรื่อง Wisdom Sits in Places: Landscape and Language Among the Western Apache ซึ่งเขียนโดย Keith H. Basso นักมานุษยวิทยาที่สนใจเรื่องชนพื้นเมืองอเมริกัน เอาเข้าจริง ๆ ไม่อยากจะเรียกว่าวิจารณ์เท่าไหร่ เพราะมันเหมือนสรุปหนังสือให้ฟังเสียมากกว่า ไม่ได้วิจารณ์อะไรเลย ทั้ง ๆ ที่การบ้านเขาให้วิจารณ์ แม้เรื่อง “สถานสัมผัส” (sense of place) หรือการที่คนเราจะรับรู้ถึงสถานที่ (place) อย่างไรนั้น เป็นเรื่องสำคัญในการจะเข้าใจว่าผู้คนและชุมชนจะให้ความหมายและความสำคัญทางสังคมกับสถานที่อย่างไร รวมถึงความเข้าใจในอัตลักษณ์ทางบุคคลและอัตลักษณ์ทางสังคม, โดยเฉพาะในโลกปัจจุบันที่มีความปั่นป่วนไร้ระเบียบในเรื่องสถานที่มากขึ้น, แต่บาสโซพบว่างานชาติพันธุ์วรรณนากลับไม่ให้ความสำคัญกับสถานที่และสิ่งที่ผู้คนทำกับสถานที่เสียเท่าไหร่. งานชาติพันธุ์วรรณนามักพูดถึงสถานที่ในฐานะเพียงตัวผ่านไปสู่เรื่องอื่น แค่ปูพื้นฉากหลัง หรือบอกที่มาของบุคคล สิ่งของ (น. xiv, 105). แนวคิดทางมานุษยวิทยาในหนังสือเล่มนี้ได้รับอิทธิพลจาก…
-
Two Bits (book)
หนังสือ Two Bits: The Cultural Significance of Free Software โดย Christopher M. Kelty อาจารย์มานุษยวิทยาที่มหาวิทยาลัยไรซ์ อ่านฟรี (PDF – ครีเอทีฟคอมมอนส์ by-nc-sa) คำบรรยายสรรพคุณ จากใบปลิว: Drawing on ethnographic research that took him from an Internet healthcare start-up company in Boston to media labs in Berlin to young entrepreneurs in Bangalore, Kelty describes the technologies and the moral vision that…
-
Rethinking Cultural Studies
The 7th Annual Conference of Anthropology: “Rethinking Cultural Studies” 26-28 March 2008 at Sirindhorn Anthopology Centre, Bangkok, Thailand การประชุมประจำปีทางมานุษยวิทยาครั้งที่ 7 “ยกเครื่องเรื่องวัฒนธรรมศึกษา” 26-28 มีนาคม 2551 ณ หอประชุมศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร กรุงเทพ การประชุมประจำปีทางมานุษยวิทยา ครั้งที่ 7 จะเน้นที่การศึกษาศิลปวัฒนธรรม ซึ่งเป็นเรื่องที่กว้างขวางมาก เนื่องจากคำว่า วัฒนธรรม เป็นคำและมโนทัศน์ที่ใช้กันทั้งในวงการวิชาการ ทั้งสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ ในวงราชการ สื่อ และในชีวิตประจำวัน ทำให้มีปริมณฑลของความหมายที่หลากหลาย ซ้อนทับกันบ้าง ขัดแย้งกันบ้าง และปรับเปลี่ยนอยู่ตลอดเวลา ในการประชุมครั้งนี้ เราจะเริ่มด้วยสิ่งที่เรียกว่า “วัฒนธรรมศึกษา” ซึ่งปัจจุบันกลายเป็นหลักสูตรที่เปิดกันอย่างครึกโครมในสถาบันการศึกษาในประเทศไทย เรียกได้ว่าเป็น สาขาใหม่ ที่ “ดึงดูดลูกค้า” ได้อย่างกว้างขวาง ดูกำหนดการแล้ว ที่เล็ง ๆ…