-
FTP, we don’t beli(e)ve you.
Moving bits securely. Go SSH File Transfer Protocol (SFTP) or Secure Copy (SCP) ! Photo from a street sign on the side of Bangkok Metropolitan Office plaza (Giant Swing). technorati tags: SFTP, SCP, SSH security
-
bangspace – a Bangkok hackerspace
It’s already three months, since Bangkok’s hackerspace – “bangspace” opens its doors to hacker community in Bangkok. It’s a slow start, but we getting more and more people who show interest of joining the space. Everybody are welcome to join the space, membership is also welcome. The hackerspace is just on Ekamai 2, walking distant…
-
วิธีดูช่อง 11 NBT เพื่อความสมานฉันท์
การอนุญาตให้ตัววิ่งด้านล่างจอปรากฏ เหมือนชักสารพัดโฆษกรัฐบาลเข้าบ้าน เสี้ยมรุนแรงในเสื้อคลุมสอนศีลธรรม เพื่อสุขภาวะสังคม อย่าไปยอมมันสิจ๊ะ – เรามีหลายวิธี… นี่คือ media literacy ที่รัฐจะไม่สนับสนุน การปฏิเสธที่จะรับสื่ออย่างทื่อ ๆ การไม่ยอมที่จะเป็นเพียง ผู้อ่าน แต่เรียกร้องต้องการจะเป็น ผู้เขียน ด้วย ความหมายของ media literacy ที่มากไปกว่า การรู้เท่าทันสื่อ ไปสู่ การอ่านสื่อออกเขียนสื่อได้ technorati tags: media literacy, propaganda, NBT, TV, Thailand
-
We’re Different, We’re the Same.
ถ่ายตัวเราเอง ผมออกไปถ่ายรูปคนเสื้อแดงสามวันมานี้ ไม่ได้ตั้งใจออกไปถ่ายอะไรเป็นพิเศษ แต่พอเอารูปมาดู ๆ ก็คิดว่ามันคงมีประเด็นไม่กี่อย่าง ผมถ่ายภาพคนกิน คนนอน คนเฮฮา ร้องเพลง เต้นรำ สิ่งศักดิ์สิทธิ์จนถึงที่ขับถ่าย กิจกรรมต่าง ๆ ที่มนุษย์ทำ ความหมายไม่มีอะไรไปกว่า นี่ พวกเขาก็เป็นมนุษย์ ผมถ่ายภาพป้ายข้อความต่าง ๆ นี่คือสิ่งที่เขาต้องการสื่อสาร ความอัดอั้นตันใจ เราจะเห็นด้วยหรือไม่ ก็เป็นสิทธิ แต่เราเคยได้ยินมาก่อนบ้างไหม ในทีวีวิทยุที่รัฐครอบนำ ข่าวสารในช่วงนี้มีแต่เรื่องจราจร เรื่องควบคุมชุมนุม แล้วเรื่องที่คนเหล่านี้ อาจไม่ใช่แกนนำ แต่เป็นกลุ่มเล็ก ๆ ต้องการพูด หายไปไหน ผมถ่ายป้ายพวกนี้ เผื่อจะมีคนได้เห็นมากขึ้น แค่การไปเดินในกลุ่มผู้ชุมนุมแบบผ่าน ๆ ได้คุยกับผู้ชุมนุมไม่กี่คน คงไม่อาจทำให้ผมเข้าใจอะไรพวกเขาขึ้นมาได้เสียเท่าไหร่ ความเป็นอยู่ ความเดือดร้อน ความต้องการ ผมไม่สามารถเคลมได้ว่าผมรู้อะไรเพิ่มขึ้นในสิ่งเหล่านั้น ผมรู้ก็แค่ว่า พวกเราทั้งหมดเหมือนกัน คนเหมือนกัน มันส์เหมือนกัน ไม่ขายเหมือนกัน ถ่ายเหมือนกัน ตีพิมพ์ครั้งแรกใน Facebook: ถ่ายตัวเราเอง มุมมองจากชาวต่างชาติผู้อยู่ใกล้ชิดกับ ‘เสื้อแดง’…
-
Can you hear me?
คุณได้ยินฉันไหม ? ในเวลาเช่นขณะนี้… …เราจำเป็นต้องถามตัวพวกเราเองถึงคำถามสำคัญสองสามข้อ ทำอย่างไร คุณ ฉัน เพื่อนของเรา และลูกหลาน จะสามารถเชื่อได้สนิทใจ ว่าสิ่งที่เราเห็นในทีวี และได้ยินในวิทยุ นั้นเป็นเรื่องจริง? ทำอย่างไร เราถึงจะรู้ว้า ความคิดเห็นของพวกเรานั้น… …เป็นของพวกเราจริง ๆ ? ทำอย่างไร เราจึงจะมั่นใจได้ว่า เสียงที่แผ่วค่อยนั้น… …จะเป็นที่ได้ยิน และไม่หวาดกลัวจนเงียบงัน ? (สปอตโฆษณาค่าธรรมเนียมโทรทัศน์ของสวีเดน) technorati tags: television, media, ads, Sweden
-
Me on #ICT2020 plan
วันนี้ไปงานระดมความเห็นเรื่องแผนไอซีทีในระยะ 10 ปีข้างหน้า (ICT2020) กลุ่ม civic empowerment (คืออะไรก็ไม่ค่อยแน่ใจ ผมก็มั่วไป) ที่เนคเทคเป็นเจ้าภาพ (ผมไป แทน หลายคนมาก ๆ ประมาณว่าแปะมือกัน) ผมได้เสนอในวงและยังยืนยันว่า ในการทำนโยบายทางสังคมใด ๆ จำเป็นต้องคิดถึงกลุ่มชายขอบทางการเมืองด้วย ไม่ใช่เพียงกลุ่มชายขอบทางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม ฯลฯ กลุ่มชายขอบทางการเมือง คือ กลุ่มคนที่ไม่เห็นด้วยกับนโยบายหรือกิจกรรมของรัฐ กลุ่มคนที่รัฐมองว่าเป็นภัยต่อความมั่นคง ต่อศีลธรรมอันดีงาม และกลุ่มคนที่ถูกแปะป้ายว่า หัวรุนแรง คนเหล่านี้ก็เป็นพลเมืองหรือผู้ส่วนได้ส่วนเสียในสังคม และไม่ควรจะต้องถูกกันออกไป เพียงเพราะเขาคิดไม่เหมือนกับรัฐ ตัวอย่างของกลุ่มคนที่ไม่เห็นด้วยกับนโยบายหรือกิจกรรมของรัฐ ที่ได้ผลกระทบที่เกี่ยวกับสารสนเทศ ในเรื่องของการเข้าถึงข้อมูล เช่น ชุมชนในมาบตาพุดและประจวบ ที่ขอดูเอกสารประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมจากรัฐ แต่ถูกปฏิเสธ โดยอ้างเหตุผลเรื่อง ความมั่นคง ถ้าทัศนคติแบบนี้ยังมีอยู่ และข้ออ้างแบบนี้ยังฟังขึ้น ก็ป่วยการที่จะพูดถึงเทคโนโลยีสารพัดที่จะช่วยให้ประชาชนเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร — เพราะถึงมีเทคโนโลยีไป รัฐก็ไม่เปิดอยู่ดี แค่โยนบรอดแบนด์ตูมลงไป แล้วหวังจะให้เกิดสังคมข้อมูลข่าวสารและปริมณฑลสาธารณะ แบบบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป มันเป็นไปไม่ได้ – ต้องเปลี่ยนทัศนคติของรัฐและสังคมด้วย ในเชิงรูปธรรมก็คือกฎหมายและระเบียบต่าง…
-
Keeps private data private, keeps public data public? No. Not in Thailand.
พ.ร.บ.ข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ.2540 กำหนดให้หน่วยงานของรัฐ ต้องจัดหาข้อมูลข่าวสารของราชการไว้ให้ประชาชนตรวจดูหรือค้นคว้าได้ สำนักงานคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ (สขร.) เป็นหน่วยงานที่ดูแลเรื่องข้อมูลข่าวสารของราชการและการเปิดเผยข้อมูลข่าวสาร ที่เว็บ www.oic.go.th ของสขร. หน้า การตอบข้อหารือและวิทยากรบรรยายเกี่ยวกับ สขร.: คลิกเปิดชื่อเรื่อง กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หารือการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารของราชการ (ลงวันที่ 27/11/2552) … ได้เอกสาร พระราชกฤษฎีกา ถอนสภาพที่ดินอันเป็นสาธารณะสมบัติของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกัน ในท้องที่ตำบลลาดใหญ่ อำเภอเมืองสมุทรสงคราม จังหวัดสมุทรสงคราม พ.ศ. 2544 คลิกเปิดชื่อเรื่อง กรมการปกครองหารือการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ.2540 (ลงวันที่ 28/12/2552) … ได้เอกสาร พระราชกฤษฎีกา กำหนดให้ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเหล็กเส้นเสริมคอนกรีตต้องเป็นไปตามมาตรฐาน (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2544 เอกสารต่าง ๆ ไม่สามารถเรียกดูได้ตามชื่อเรื่องเลย แบบนี้เขาเรียกว่า ไม่เปิดเผย ครับ ในขณะที่รัฐ มีความพยายามที่จะดักฟังสอดส่องล่วงรู้ ข้อมูลส่วนบุคคลของประชาชน (#ThaiNoSniff) พร้อม ๆ กันนั้น รัฐเอง ก็มีความพยายามจะปกปิดหรือสร้างความยากลำบากในการเข้าถึง…
-
subject: #GT200 and #sniffer
ต่อจากประชาธิปไตยแบบไทย ๆ เราก็มีคณิตศาสตร์แบบไทย ๆ : 13/20 = 100% ผมเห็นว่า GT200 (เครื่องตรวจระเบิด, เขาอ้างว่าเป็น) และ sniffer (เครื่องดักฟังข้อมูลบนเครือข่าย) นั้นมีส่วนคล้ายกันในหลาย ๆ เรื่อง ตั้งแต่เรื่องพื้น ๆ อย่างการจัดซื้ออุปกรณ์ราคาแพง ซึ่งมีความเป็นไปได้ว่าจะมีการเอื้อประโยชน์ตอบแทน ซึ่งเรื่องนี้กระทบรายจ่ายของประเทศ-ของเรา แต่อาจจะไม่ได้กระทบกับชีวิตเราตรง ๆ เรื่องอุปกรณ์ไม่มีประสิทธิภาพตามอ้าง ซึ่งเรื่องนี้อาจจะกระทบชีวิต-ความปลอดภัย-ของเราได้ตรง ๆ เช่น อุปกรณ์ตรวจจับที่ไม่มีประสิทธิภาพ ก็อาจทำให้ระเบิดเล็ดรอด ไปตูมตามได้ ไปจนถึงการเรื่องที่กระทบชีวิต-สิทธิเสรีภาพ-ของเราอย่างที่เราอาจจะคาดไม่ถึง คือ การใช้อุปกรณ์ วิทยาศาสตร์ เหล่านี้ ในการสร้างความชอบธรรมแก่เจ้าหน้าที่ในการควบคุมหรือตรวจค้นเป้าหมาย (ที่อาจถูกหมายหัวเอาไว้ก่อนหน้าแล้ว) โดยไม่ต้องขอหมายค้นหรือคำสั่งศาล โดยอ้างว่า มีเหตุอันเชื่อได้ว่า เราทำผิดอะไรซักอย่าง ตามแต่เครื่องมือนั่นจะบ่งชี้ … อย่างดีก็แค่รบกวนการดำเนินชีวิต อย่างชั่วก็ยัดข้อหา (โดยมนุษย์หรือโดยอุปกรณ์) อย่างชั่ว ๆ ดี ๆ ก็อาจจะต่อรองกันได้ เป็นช่องทางหากิน ……