Category: Science

  • ตัวแบบอันน่าเกลียด: ทำไมเหล่าเสรีนิยม จึงประทับใจเหลือเกินกับระบบการศึกษาของจีนและสิงคโปร์?

    ตัวแบบอันน่าเกลียด: ทำไมเหล่าเสรีนิยม จึงประทับใจเหลือเกินกับระบบการศึกษาของจีนและสิงคโปร์?

    แปลจาก The Ugly Models: Why are liberals so impressed by China and Singapore’s school systems? เขียนโดย Martha C. Nussbau ผู้นำอเมริกันทั้งหลาย ซึ่งประทับใจในความสำเร็จทางเศรษฐกิจของสิงคโปร์และจีน มักกล่าวอย่างอิจฉาเสมอ ๆ เมื่อพูดถึงระบบการศึกษาของประเทศเหล่านั้น. ประธานาธิบดีโอบามาอ้างถึงสิงคโปร์ในสุนทรพจน์เมื่อมีนาคม 2009 โดยกล่าวว่านักการศึกษาในสิงคโปร์นั้น ให้เวลาน้อยลงในการสอนสิ่งที่ไม่เป็นสาระ และให้เวลามากขึ้นในการสอนสิ่งที่เป็นสาระ พวกเขาเตรียมนักเรียนของพวกเขาไม่เพียงสำหรับโรงเรียนมัธยมปลายหรือมหาวิทยาลัย แต่ยังสำหรับอาชีพการงาน พวกเราไม่ได้ทำเช่นนั้น. นิโคลัส คริสทอฟ (Nicholas Kristof) คอลัมนิสต์ของนิวยอร์กไทมส์ยกย่องจีนอยู่เสมอ เขาเขียน (ในช่วงก่อนโอลิมปิกที่ปักกิ่ง) ว่า “วันนี้ มันเป็นกีฬา ที่พุ่งทะยานขึ้นจนทำเราประหลาดใจ แต่จีนจะทำสิ่งมหึมาเดียวกันนี้ในศิลปะ ในธุรกิจ ในวิทยาศาสตร์ ในการศึกษา” ซึ่งโดยนัยคือการสนับสนุนอย่างหนักแน่นต่อสิ่งที่ปฏิบัติอยู่ในระบบการศึกษาของจีน แม้กระทั่งในบทความที่เขาวิจารณ์รัฐบาลจีนอย่างรุนแรง ถึงสิ่งที่จีนได้กระทำอย่างโหดร้ายกับผู้ไม่เห็นด้วยทางการเมือง. แต่ก็เป็นที่ชัดเจนว่า โอมาบา คริสทอฟ และชาวอเมริกันอื่น ๆ…

  • Dear the "University of Moral and Political Sciences"’s library,

    ถึง หอสมุด, เรื่องหนังสือหายาก เนื้อหาไหนที่เป็นสมบัติของสาธารณะ (public domain) แล้ว และหอสมุดได้ตัดสินใจจะเผยแพร่เป็นรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์แล้ว ก็ไม่ควรจะอาลัยอาวรณ์กับมัน ว่าใครจะนำไปเผยแพร่ต่อและคิดค่าใช้จ่ายในการเผยแพร่นั้น วิตกเสียจนต้องพยายามหาทางป้องกัน ด้วยเจตนาดี หอสมุดอาจกลัวว่าสาธารณะจะเสียหาย เพราะมีผู้นำไปค้ากำไรเกินควร เช่นนั้นหอสมุดก็ยิ่งควรจะเปิดให้สาธารณะสามารถเข้าถึงเนื้อหาเหล่านั้นได้มาก ๆ ให้สะดวกมาก ให้ถูกมาก มากเสียจนคนอื่นไม่สามารถทำกำไรเกินควรได้ ด้วยความเคารพนะ …มหาวิทยาลัยย่อมอุปมา ประดุจบ่อน้ำ บำบัดความกระหายของราษฎร ผู้สมัครแสวงหาความรู้ อันเป็นสิทธิและโอกาส ที่เขาควรมีควรได้ ตามหลักเสรีภาพของการศึกษา… The Public Domain Manifesto technorati tags: public domain, Thammasat University, education

  • เข้านอก ออกใน วัฒนธรรมศึกษา หลังนวยุค งานหนังสือ

    วันนี้ไปงานหนังสือ ตอนไปตั้งใจว่าจะซื้อแค่เล่มเดียว คือ ดีไซน์+คัลเจอร์ 2 (ประชา สุวีรานนท์; สำนักพิมพ์อ่าน; 2552) (อ่านบทวิจารณ์เล่มแรก โดย สุภาพ พิมพ์ชน, @Duangruethai, @birdwithnolegs, ฯลฯ) สุดท้ายตัดสินใจ ยังไม่ซื้อ ดีไซน์+คัลเจอร์ 2 ด้วยเหตุอยากจำกัดงบไม่ให้บาน และคิดว่าไว้ซื้อวันหลังได้ วันนี้เลยขอเฉพาะหนังสือที่คิดว่า คงหาซื้อตามร้านที่ปกติจะไป-ไม่ได้ พวกหนังสือเก่า หนังสือจากสำนักพิมพ์เล็ก ๆ (ซึ่งผมคิดว่า นี่เป็นความดีงามอย่างหนึ่ง[หรือหนึ่งอย่าง?]ของงานหนังสือ ผมได้รู้จัก สถาบันสถาปนา ก็จากงานหนังสือสมัยคุรุสภานี่แหละ เขาเอามาเลหลังลดราคา) ได้สามเล่มนี้มา: ประวัติศาสตร์ในมิติวัฒนธรรมศึกษา (สุวรรณา เกรียงไกรเพ็ชร์ บรรณาธิการ; ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร; 2552) เล่มที่ 3 ในชุด ยกเครื่องเรื่องวัฒนธรรมศึกษา รวมบทความจากการประชุมประจำปีทางมานุษยวิทยาครั้งที่ 7 เล่มนี้มีบทความของ ธีระ นุชเปี่ยม, ชาตรี ประกิตนนทการ, วรสิทธิ์ ตันตินิพันธุ์กุล, นิติ ภวัครพันธุ์…

  • [review] Doing Ethnographies. (assignment)

    ส่งการบ้านวิจารณ์หนังสืออีกแล้ว Doing Ethnographies. โดย Mike Crang และ Ian Cook (Sage Publications, 2007) ด้วยรูปร่างหน้าตาเผิน ๆ เหมือนหนังสือ “ฮาวทู” แต่เมื่ออ่านช่วงต้นก็รู้สึกแว่บว่า “ต่อต้านฮาวทู” จนอ่านต่อก็รู้สึกว่า “อาจจะฮาวทู”, Doing Ethnographies เป็นหนังสือที่ควรอ่านมากกว่าหนึ่งรอบ ในวาระ วิธี ลำดับ และทิศทางต่าง ๆ กัน. ด้วยการสะกิดผู้อ่านให้นึกถึงทางเลือกยุ่บยั่บย้อนแย้งอยู่ทุกระยะ แครงก์และคุกสองผู้เขียนไม่เพียงแต่เล่าเรื่องราวยุ่งเหยิงในการ(จะไป)ทำชาติพันธุ์วรรณนาที่ไม่ค่อยจะมีใครเล่านัก แต่ยังทำให้เรารู้สึกสับสน อย่างที่เราควรจะรู้ว่ามันจะสับสนอย่างไรในสนาม. ผู้เขียนเสนอว่าสิ่งที่สำคัญที่สุดในการศึกษาความสัมพันธ์ของมนุษย์นั้นก็คือตัว ความสัมพันธ์ของมนุษย์ นั้นเอง. ไม่เพียงผู้ไขประตูสู่สนามเท่านั้นที่เป็นมนุษย์ แต่รวมถึงผู้ที่ถูกศึกษาและผู้ศึกษาด้วย, เหล่านี้นำไปสู่ประเด็นจริยธรรมและความเป็นภววิสัยของการศึกษา และสิ่งที่ผู้เขียนย้ำคือ ไม่มีสิ่งที่เรียกว่า “ข้อมูลดิบ” ทุกอย่างล้วนถูกประกอบสร้าง-โดยตัวผู้สังเกตก็มีส่วนกำหนด ความสัมพันธ์เชิงอำนาจมีอิทธิพลในการประกอบสร้างข้อมูลดังกล่าวเสมอ และความคิดต่าง ๆ ล้วนได้รับอิทธิพลมาจากความคิดก่อนหน้าอื่น ๆ. จงเป็นมนุษย์ที่ปรับตัวและรู้ตัวในทุกขณะ อาจเป็นคำแนะนำที่ไม่มีข้อยกเว้นเพียงอย่างเดียวของหนังสือ “อาจจะฮาวทู” เล่มนี้. บทวิจารณ์ (PDF, 5+1…

  • foosci.com – Science News Worldwide in Thai

    foosci.com ฟูซาย ข่าววิทยาศาสตร์สำหรับทุก ๆ คน คุณ molecularck กำลังปลุกปล้ำปลุกปั้นเว็บใหม่อยู่ foosci.com (ฟูซาย) เป็นเว็บข่าววิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์ และนวัตกรรม ที่ทุก ๆ คนสามารถส่งข่าวกันเข้าไปได้ครับ โดยทุกข่าวจะเป็นภาษาไทย เพื่อส่งเสริมการรับรู้ข่าววิทยาศาสตร์ของสังคมไทยครับ แหล่งข่าวก็จะมีจากทั้ง สวทช. ห้องวิจัยต่าง ๆ หรือแปลมาจากเว็บต่างประเทศ พวก Science, Nature, ScienceDaily, PhysOrg, Seed แนว ๆ นั้น ใครสนใจ ก็ไปร่วมอ่านร่วมเขียนกันได้ครับ แล้วฝากบอกต่อเพื่อน ๆ ด้วย http://foosci.com technorati tags: foosci.com, science, technology, news, Thai

  • Science Film Festival 2007

    เทศกาลภาพยนตร์วิทยาศาสตร์ 2550 13-23 พ.ย. 2550 @ ท้องฟ้าจำลอง เอกมัย, พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ คลองห้า, พิพิธภัณฑ์เด็ก สวนจตุจักร, TK Park [ ลิงก์ goethe.de | ผ่าน biolawcom.de ] technorati tags: science, film, festival

  • CUIR – Chulalongkorn University DSpace

    CUIR – คลังปัญญาจุฬาเพื่อประเทศไทย รวบรวม งานวิจัย (Technical Reports), วิทยานิพนธ์, บทความวิชาการ, ชุดการเรียนการสอน, การบรรยาย และ วารสารอิเล็กทรอนิกส์ ใช้ซอฟต์แวร์จัดการคลังข้อมูลดิจิทัล DSpace – เป็นโอเพนซอร์สด้วย (สัญญาอนุญาต BSD) update: oakyman บอกว่า ถ้าไม่ได้อยู่ในจุฬา จะดูได้แต่บทคัดย่อ (abstract) / thx 🙂 … แต่ก็ดีกว่าของธรรมศาสตร์อยู่ดีอ่ะ หน้าตาห่วย ๆ ค้นด้วยคำสำคัญก็ไม่ได้ 🙁 technorati tags: library, DSpace

  • random zines

    รวมนิตยสาร/วารสาร ที่เผอิญโผล่ขึ้นมาในชีวิตตอนนี้ – หรือแค่เพียงอยากจะพูดถึง Dazed & Confused art design culture ideas inspiration Juxtapoz Art & Culture Mute Culture and politics after the Net Seed Science is Culture (สั่งซื้อฉบับย้อนหลังไป 6 เล่ม เค้าส่งมาให้ 3 เล่ม ซ้ำกัน 2 !! ฮ่วย!!) Wired How technology affects culture, the economy, and politics Make: Technology on your time Monocle Global affairs, business,…

  • DigiCULT Technology Watch Report

    DigiCULT Technology Watch Report is a major annual volume, covering six technologies expected to have a substantial impact on the future of cultural heritage projects, professionals working in the sector, and approaches to cultural materials. DigiCULT TWR 3, December 2004 — Open PDFOpen Source Software and Standards; Natural Language Processing; Information Retrieval; Location-Based Systems; Visualisation…

  • TreeHugger

    ได้มาจากบล็อก อ.ธวัชชัย UsableLabs ครับ TreeHugger TreeHugger เป็น blog ที่รวบรวมข่าวสารและความเคลื่อนไหวเกี่ยวกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ข่าวหลายต่อหลายข่าวก็เกี่ยวกับการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อทำให้สิ่งแวด ล้อมของโลกเรานั้นดีขึ้นครับ TreeHugger เป็นหนึ่งใน blog ที่ผมอ่านประจำ และผมอยากแนะนำให้นักศึกษาอ่านประจำด้วย ผมเชื่อว่า TreeHugger น่าจะให้ “แรงบันดาลใจ” ให้นักศึกษาได้คิดโครงงานดีๆ ที่จะทำในเทอมนี้แน่นอนครับ ทำสิ่งที่เท่ ทำสิ่งที่ดี [ลิงก์ TreeHugger | ผ่าน No Magic Here] technorati tags: green technology, ideas