-
Manifest der Kommunistischen Partei
21 กุมภาพันธ์ วันนี้ในอดีต, วิกิพีเดีย: พ.ศ. 2390 (ค.ศ. 1848) – คาร์ล มาร์กซ และ ฟรีดริช เองเกิลส์ นักทฤษฎีคอมมิวนิสต์ เผยแพร่คำประกาศเจตนาคอมมิวนิสต์
-
อัปรีย์ไป จัญไรมา
ไม่มีอะไร แค่ชื่อหนังสือ น่าจะเข้ากับสถานการณ์ตอนนี้ดี (แต่ถ้าเข้าไม่ดี ก็น่าจะดีกว่า) อัปรีย์ไป จัญไรมา ถ้าก้าวไปไม่ถึงสาระแห่งประชาธิปไตย โดย ส.ศิวรักษ์ และคนอื่น ๆ สถาบันสันติประชาธรรม, 2538 (ดูปก) ชำแหละแก่นประชาธิปไตย วิพากษ์การเมือง ชี้ระบบเลว เลือกตั้งยึดตัวคน “…..หวังว่าประชาธิปไตยจะวิวัฒนาการไปสู่การรับใช้ประชาราษฎร ยิ่งกว่ารับใช้นายทุนขุนศึกและเจ้าศักดินา ดังที่แล้วๆ มา หาไม่การเลือกตั้งแต่ละครั้งก็เท่ากับว่า อัปรีย์ไป จัญไรมา เท่านั้นเอง วลีดังกล่าว ข้าพเจ้าไม่ได้เป็นคนแรกที่นำมาใช้กับการเปลี่ยนรัฐบาล ทราบว่า พระยาพจนปรีชา ใช้ปรารมภ์ถึงรัฐบาลพหลพลพยุหเสนา ซึ่งมาแทนที่รัฐบาลมโนปกรณ์นิติธาดา แต่ พ.ศ.2476 นั้นแล้วต่างหาก…..” ลองหาในห้องสมุด น่าจะมี (ห้องสมุดมอ.มี) หรือจะไปซื้อที่เว็บเค้าก็ได้ เรื่องที่เกี่ยวข้อง: ข้ามให้พ้นประชาธิปไตยแบบหลัง 14 ตุลา, ธงชัย วินิจจะกูล “ ทักษิณไม่ใช่ปัญหาประการเดียวของแผ่นดิน แต่มีอะไรบางอย่างที่ใหญ่กว่าทักษิณ ” ความอิจฉาเป็นบ่อเกิดแห่งความเสมอภาค, เกษียร เตชะพีระ เพิ่มเติม: แนะนำโดย…
-
Watch Out
ถ้าคุณทักษิณหมดอำนาจแล้ว เราคงได้เห็นนักการเมือง (หรือคนที่อยากเข้าสู่วงการการเมือง) หน้าใหม่ ๆ หลายคน ซึ่งรวมถึงคนที่เคยหายหน้าหายตาไป ตั้งแต่/ระหว่างที่คุณทักษิณเป็นนายก ภูษณ ปรีย์มาโนช นี่ น่าจะเป็นอีกชื่อที่น่าจะจับตาเอาไว้ ถ้าทักษิณลงจากอำนาจแล้วจริง ๆ เพราะเหมือนกับตอนที่ถูกเล่นงานเรื่องยักยอกทรัพย์บริษัท กับเรื่องหนีภาษีรถโบราณ ก็เพราะมีเรื่องขัดใจกับทางทักษิณและพรรคไทยรักไทย (เรื่องยักยอกทรัพย์นี่ สุดท้ายศาลสั่งไม่ฟ้อง) คุณภูษณเคยเป็นผู้บริหารแทค (ปัจจุบันคือ ดีแทค) มาก่อน ก่อนจะเข้ามาเป็นรัฐมนตรีสำนักนายก (สมัย พล.อ. ชวลิต เป็นนายก) เคยร่วมกับพรรคพวก เคลื่อนไหวเพื่อจัดตั้ง “พรรคกรีน” ขึ้นในประเทศไทย แต่ไปไม่ทันถึงไหน ก็มีเหตุให้ต้องระเห็จไปอยู่ต่างประเทศ (หลบคดีที่ว่าไว้ข้างบน) ซึ่งหลาย ๆ คนก็ว่านี่เป็นเกมของฝ่ายตรงข้ามที่จ้องเล่นงานอยู่แล้ว (หมายเหตุ: ความเคลื่อนไหวการจัดตั้งพรรคกรีนในเมืองไทยนั้น เข้าใจว่ามีหลายกลุ่มที่เคลื่อนไหว ไม่ใช่เฉพาะกลุ่มนายภูษณเพียงกลุ่มเดียว) อีกคนก็คือ เอกยุทธ อัญชันบุตร นายเอกยุทธคนนี้เคยออกมาแฉนักการเมืองฝ่ายรัฐบาลโดยบอกชื่อเป็นอักษรย่อ ให้เป็นข่าวดังในนสพ.มาแล้ว และปัจจุบันก็ยังคงแฉอยู่ ผ่านทางเว็บไซต์ ไทยอินไซเดอร์ (ไม่แน่ใจว่าที่เมืองไทยเข้าได้รึเปล่า) คนนี้เคยมีคดี “แชร์ชาเตอร์” เมื่อ พ.ศ.…
-
No politics here, dude !
เก็บตกจาก pressjargon.org ศ.ดร.ธีรวุฒิ กล่าวว่า ทางมหาวิทยาลัยได้ชี้แจงให้นักศึกษาเข้าใจว่า สจพ.เป็นสถาบันการศึกษาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จึงไม่ควรเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับการเมือง ขอโทษนะครับ .. เอาอะไรคิดฟะ ? – –
-
Beyond Thaksin
“ ทักษิณไม่ใช่ปัญหาประการเดียวของแผ่นดิน แต่มีอะไรบางอย่างที่ใหญ่กว่าทักษิณ ” ‘ประชาไท’ สัมภาษณ์ รศ.ดร. เกษียร เตชะพีระ : “ความอิจฉาเป็นบ่อเกิดแห่งความเสมอภาค” (mirror: กรุงเทพธุรกิจ)
-
Sign Up (free)
ตัดสินใจกันเองครับ ขั้นตอนการเข้าชื่อ 50,000 รายชื่อ เพื่อขอให้วุฒิสภาถอดถอน พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร ออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี http://board.thaimisc.com/tuthaprajan — ไม่มี / ลงท้าย ระวังด้วย หนังสือคำร้อง (กรุณาอ่านขั้นตอนการลงชื่อก่อน และตรวจสอบว่าท่านเป็นผู้มีสิทธิหรือไม่ เพื่อลดภาระการตรวจสอบรายชื่อของคณะทำงาน) คุณสมบัติผู้ร้องขอ เป็นผู้มีสิทธิเลือกตั้งตามกฎหมาย และ เป็นผู้ไปใช้สิทธิเลือกตั้งในครั้งล่าสุด กล่าวคือ: มีสัญชาติไทย แต่บุคคลผู้มีสัญชาติไทยโดยการแปลงสัญชาติ ต้องได้สัญชาติไทยมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี มีอายุไม่ต่ำกว่า 18 ปี บริบูรณ์ ในวันที่ 1 มกราคมของปีที่มีการเลือกตั้ง ; และ เป็นผู้ไปใช้สิทธิเลือกตั้งในครั้งล่าสุด (ใช้สิทธิเลือกตั้ง สส. ในวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2548) — กรุณาอ่านหมายเหตุด้านล่าง * * สำหรับท่านที่เสียสิทธิ เนื่องจากไม่ได้ไปใช้สิทธิเลือกตั้งครั้งล่าสุด วิธีแก้คือ ในวันที่ 19 เมษายน…
-
Politics is Fun
บ้านเมืองกำลังเครียด ทำเอาหลาย ๆ คนเบื่ออ่านข่าว เปิดไปดูอะไรก็มีแต่เรื่องเซ็ง ๆ น่าเบื่อ งั้นวันนี้เรามาอ่านการ์ตูนกัน ขำ ๆ 🙂 มีทั้งโดราเอมอน ทั้ง Men in Black มอนสเตอร์ “ทศหมึก” คุณจอร์จ (ซาร่า) ก็มาด้วย พร้อมรูปประกอบสวยงามมากมาย พลาดไม่ได้ครับ “ผลประโยชน์ทับซ้อน” : คำสารภาพกลางเมืองของนายกฯทักษิณ โดย แก้วสรร อติโพธิ (และคณะ) แหม ถ้ามีเรื่องการเมืองแบบนี้ให้อ่านบ่อย ๆ ก็ดีดิ ขายหัวเราะเจ๊งแน่ 😛 (อ่านแล้วส่งต่อด้วยนะ)
-
BBC News: Thai protesters rally against PM
ข่าวจากบีบีซีครับ จากมุมของคนที่ไม่ได้มีส่วนได้ส่วนเสียโดยตรง (?) เค้ารายงานยังไงบ้าง: Thai protesters rally against PM
-
Be careful
ปฏิเสธไม่ได้ว่า ความรู้สึกของคนไทยไม่น้อยที่ไม่เคยคิดจะไปร่วมการแสดงความรู้สึกร่วมกับสนธิ ลิ้มทองกุล ในตอนต้นนั้น เพิ่งตัดสินใจที่จะแสดงตนเพื่อสะท้อนถึงการ “ยอมรับไม่ได้” กับเหตุการณ์ที่เกิดมาช่วงสองสามสัปดาห์ที่ผ่านมา วันนี้คือวันบรรจบ ของแม่น้ำหลากสาย โดย กาแฟดำ บทความ: บทเรียนพฤษภา’35 – 4 ก.พ. เพื่อเลี่ยงการนองเลือด แม้ฝ่ายแกนนำจัดชุมนุม 4 ก.พ.จะแจกคู่มือการชุมนุมแบบสันติวิธี และแม้ฝ่ายรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร บอกจะให้มีการชุมนุมแสดงความคิดเห็นเต็มที่ ทว่า ไม่มีหลักประกันใดเลยว่า ความรุนแรงจะไม่เกิดขึ้นเช่นอดีต การเรียกร้องประชาธิปไตยไม่ได้จบภายในวันที่ 4 หรือ 5 กุมภาพันธ์ 2549 แต่เป็นเรื่องที่หลังจากนั้นเรายังทำอะไรได้อีกมากมายในแนวทางสันติวิธี ผู้เขียนเชื่อว่ารัฐบาลจะอยู่ไม่ได้ถ้าไม่รับฟังเสียงของประชาชน และประชาชนจะชนะได้โดยไม่เสียต้องเสียเลือดเนื้อกันอีก โดย ปริญญา เทวานฤมิตรกุล อดีตเลขาธิการสหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทยในช่วงเหตุการณ์พฤษภาคม 2535 นายกสมาคมนักเรียนไทยในสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมันในพระบรมราชูปถัมภ์ (2543-2545) ปัจจุบัน อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
-
decentralised, again
เสน่ห์ของระบบไร้ตัวแทน ที่สวนลุมฯ ทฤษฎีเกม + เทคโนโลยีพันธุวิศวกรรมสังคม สองบทความจาก Thai Friend Forum “ตัวนำ” หรือ “ตัวแทน” ? “ปกครอง” หรือ “คุ้มครอง” ? “เปลี่ยนแปลง” หรือแค่ “เปลี่ยนอำนาจ” ? บทความเกี่ยวกับ ระบบที่จัดการตัวเอง (self-organizing system) โดยไม่ต้องมีผู้นำหรือศูนย์กลาง แม้ไม่มีหลักประกันว่าจะแก้ปัญหาใด ๆ ได้ในระยะเวลาอันสั้น ด้วยประสิทธิภาพสูงสุดเท่าที่จะเป็นไปได้ (optimal) แต่ด้วยความเป็นระบบที่มีพลวัตรสูง เปลี่ยนแปลงให้เข้ากับสภาพแวดล้อมได้ง่าย จึงมีความทนทาน สามารถรับมือกับปัญหาได้หลากหลาย รวมทั้งปัญหาที่ไม่เคยพบมาก่อน และมีความเป็นไปได้สูงที่จะแก้ปัญหาใดใด ได้อย่างมีประสิทธิภาพใกล้จุดสูงสุด (near-optimal) เมื่อระบบสามารถปรับตัวได้แล้ว ถ้าวันนี้เราทำได้แค่ “เปลี่ยนอำนาจ” จากคนนึง ไปอยู่ที่มืออีกคนนึง อีกไม่นาน เราก็คงต้องทำแบบนี้อีก ซ้ำไปซ้ำมา ไม่รู้จักจบจักสิ้น จนกว่าเราจะสามารถ “เปลี่ยนแปลง” ให้อำนาจนั้นกลับมาอยู่กับทุกทุกคนอย่างแท้จริง “การกระจายอำนาจ” ไม่ใช่การที่ ผู้ปกครองยอมแบ่งอำนาจการตัดสินใจเล็ก ๆ…