-
ในโซเวียตรัสเซีย: การเลือกตั้งของชนเผ่า กับ ปัญหาของประวัติศาสตร์
การเลือกตั้งครั้งประวัติศาสตร์ กับ ปัญหาสื่อชนเผ่า (partisan press) โดย สมชัย สุวรรณบรรณ ผู้เขียนเป็นอดีตผู้สื่อข่าว BBC ปัจจุบันเป็นกรรมการ ThaiPBS บทความเรียกสื่อที่แบ่งขั้ว-เลือกข้าง หรือ partisan press ว่า “สื่อชนเผ่า” (ไม่รู้ว่าต้องการให้มี connotation อะไรหรือไม่) และวิพากษ์ “สื่อชนเผ่า” (ซึ่งใช้สื่อใหม่อย่างเคเบิลทีวี ดาวเทียม อินเทอร์เน็ต และวิทยุชุมชน) ว่าไม่ได้ “มาตรฐาน” ของสื่อ และทำลายประชาธิปไตย อ่านบทความนี้เมื่อคืนก่อนใน @thaireform แล้วก็คันไม้คันมือ แต่คอมเมนต์ในนั้นไม่ได้ เขาไม่เปิดพื้นที่ให้แสดงความเห็น เมื่อคืนประชาไทเอามาลง เลยขอหน่อย คอนเมนต์ไปในท้ายข่าว ดังนี้: —- โดยหลักการ พูดแบบรวม ๆ ก็โอเคนะครับ ไม่เอา hate speech เห็นด้วย (ส่วนจะนับว่าอะไรเป็น hate speech เนื่องจากในบทความไม่ได้ระบุเอาไว้ ก็ไม่พูดถึงละกัน แต่โน๊ตไว้ว่า…
-
ปรีดี พนมยงค์: “ความผิดพลาดบกพร่องของคณะราษฎร” และ “การแก้ไขวิกฤตประเทศไทย”
นายปรีดี พนมยงค์ ผู้นำคณะราษฎรให้สัมภาษณ์สถานีวิทยุบีบีซี ภาคภาษาไทย เมื่อ พ.ศ. 2525 ซึ่งเป็นวาระครบรอบ 50 ปีการเปลี่ยนแปลงการปกครองของไทย คลิปเสียง 1, คลิปเสียง 2 จาก Thai E-News ปรีดี : ผมก็พักผ่อนอยู่บ้านบ้าง นั่งรถไปทัศนาจรบริเวณใกล้ ๆ บ้าง เขียนหนังสือหรือบทความบ้าง อ่านหนังสือพิมพ์ และนิตยสารทั้งของไทยและของต่างประเทศ ฟังวิทยุกระจายเสียงและดูโทรทัศน์บ้าง โดยเฉพาะผม เป็นแฟนของข่าวบีบีซีมาช้านานแล้ว ตั้งแต่ก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 และในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 ทั้งตอนอยู่ในประเทศจีน และระหว่างอยู่ในฝรั่งเศสนี้ ก็ฟังวิทยุบีบีซี ทั้งภาคภาษาอังกฤษและภาษาฝรั่งเศสในตอนเช้าและภาคภาษาอังกฤษในตอนกลางคืนอีก แต่ภาคภาษาไทยฟังไม่ได้เพราะบีบีซี ส่งข้ามไปภาคตะวันออกไกลเสีย ผู้สื่อข่าวบีบีซี : ผมอยากจะขอความกรุณาให้ท่านมองย้อนหลัง เรื่องประชาธิปไตยในเมืองไทย ในฐานะที่เป็นผู้ก่อการจะได้มั้ยครับ ปรีดี : ได้ครับ ในฐานะผู้ก่อการขอพระราชทานรัฐธรรมนูญประชาธิปไตย ผมมองย้อนหลังดังต่อไปนี้ ความผิดพลาดบกพร่องของคณะราษฎร 2 ประเภท คือความผิดพลาดบกพร่องที่เหมือนกับทุก ๆ ขบวนการเมือง…
-
Angry Angry Birds
เจ้านกเกรี้ยวกราด – พบใน Facebook
-
“ลายเซ็น” ทวิตเตอร์คนดัง
ถ้าเป็น อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ @PM_Abhisit* มักลงท้ายด้วย (ทีมงาน) ถ้าเป็น กรณ์ จาติกวณิช @KornDemocrat จะลงท้ายเป็นระยะ ๆ ด้วย (กรุณา RT) หรือ (pls RT) ส่วน ทักษิณ ชินวัตร @ThaksinLive ไม่ได้มีอะไรเป็นแพตเทิร์นขนาดนั้น มักพิมพ์อะไรยาว ๆ ต่อเนื่อง 3-4 ทวีตติด ๆ ต้องดูแล้วไปต่อเอาเอง ไม่ได้บอกว่าจะต่อจะจบตอนไหน เทียบกับ (ทีมงาน) @PM_Abhisit จะมีบอกว่า (ต่อ) นะ ทาง หนูหริ่ง สมบัติ บุญงามอนงค์ @nuling นี่ก็ไปเรื่อย ส่วนใหญ่แซวสถานการณ์บ้านเมือง คุยกับคนนั้นคนนี้ อัปเดตกิจกรรมวันอาทิตย์สีแดง มีปล่อยมุขเป็นระยะ ๆ * ทวิตเตอร์ของอภิสิทธิ์ เพิ่งเปลี่ยนเป็น @Abhisit_DP จากของเดิม @PM_Abhisit หลังยุบสภา…
-
“ชิงสุกก่อนห่าม” กับธงชัย ณ @thaireform
วันนี้ [7 พ.ค. 2554] ไปฟัง “ชุมนุมปาฐกถา 70 ปี ชาญวิทย์ เกษตรศิริ” ที่หอประชุมศรีบูรพา ท่าพระจันทร์ มีนักวิชาการที่ข้องเกี่ยวกับชาญวิทย์ในช่วงชีวิตต่าง ๆ มาพูด 5 คน รายละเอียดไปติดตามเอาได้ตามเว็บข่าวต่าง ๆ (เห็นนักข่าวคับคั่ง) และทวีตจาก @iPattt @phichai @siu_thailand @iLawClub @thaireform และ @bact (ผมเอง – เกือบทั้งหมดติดแฮชแท็ก #ck70) ฮ่ะ ฮ่ะ ประเด็นไฮไลต์ของวันนี้ (สำหรับผม) ไม่ได้อยู่บนเวทีปาฐกถา แต่อยู่ในทวิตเตอร์ :p ประมาณเกือบ ๆ ห้าโมงเย็น ระหว่างที่องค์ปาฐกคนสุดท้าย คือ ธงชัย วินิจจะกูล กำลังพูด @thaireform (เป็นบัญชีทวิตเตอร์ของศูนย์ข้อมูลข่าวสารปฏิรูปประเทศไทย โดยสำนักข่าวสถาบันอิศรา) ก็ทวีตว่า จบปาฐกถา อ.ธงชัย วินิจจะกูล “มรดกสมบูรณาญาสิทธิราชย์ในปัจจุบัน”…
-
นิธิ เอียวศรีวงศ์: กระทรวงไอซีที
มุมมองนิธิน่าสนใจ ที่ว่า “กระทรวง” ก็เป็นเครื่องมือชนิดหนึ่ง ให้คุณก็ได้ ให้โทษก็ได้ แต่ถ้าเรามองมันแบบพ.ร.บ.คอมฯ เราคงต้องปิดกระทรวงไอซีที (และกระทรวงอื่น ๆ ทั้งหลาย) ทิ้ง แบบที่ปิดอินเทอร์เน็ต เพราะเมื่อมองด้วยสายตาที่เห็นแต่โทษ มันก็จะไม่เจออะไรดีเลย สรุปศักยภาพของอินเตอร์เน็ตเท่าที่ผมมองเห็นจนถึงทุกวันนี้ อาจกล่าวได้ว่ามีอยู่สามด้าน 1.คือการเปิดตลาดใหม่ให้แก่สินค้าและบริการ 2.เปิดการศึกษาหรือการเรียนรู้ในแนวใหม่ 3.เปิดพื้นที่ทางการเมืองแบบใหม่ ทั้งสามอย่างนี้อาจเอาไปใช้เพื่อประโยชน์ของสังคมและบุคคลได้ไพศาล แต่เอาไปใช้ในทางที่เป็นโทษของสังคมก็ได้ไพศาลเหมือนกัน ไม่ต่างจากตลาด, โรงเรียน, และพื้นที่การเมืองแบบเก่า ซึ่งใช้ไปในทางเป็นประโยชน์ก็ได้ โทษก็ได้ พื้นที่ทางการเมืองกลายเป็นเรื่องหลักที่กระทรวงไอซีทีให้ความสนใจที่สุด แต่ก็เป็นความสนใจด้านลบมากกว่าด้านบวก (ตามเคย) นั่นคือจะกำกับควบคุมพื้นที่ใหม่ทางการเมืองนี้ ซึ่งเปิดรับคนแปลกหน้าเข้ามาจำนวนมาก ให้สยบยอมต่อโครงสร้างอำนาจตามประเพณีต่อไปได้อย่างไร เขาหวั่นวิตกแต่ว่าของดีๆ อย่างอินเตอร์เน็ตจะถูกนำไปใช้ในทางเสียหาย (แก่ใครและอะไร… ไม่ทราบได้) ฉะนั้น จึงต้องเข้าไปบังคับควบคุมจนกระทั่งจะทำอะไรดีๆ กับอินเตอร์เน็ตได้ยากขึ้นทุกที กระทรวงไอซีที โดย นิธิ เอียวศรีวงศ์, มติชนออนไลน์, 26 เม.ย. 2554 ความคิดเห็นจากทีมผู้ร่างกฎหมาย และผู้เกี่ยวข้อง จากการสัมมนาที่เนชั่น [ซึ่งผมไปร่วมด้วย] เกี่ยวกับร่างพ.ร.บ.คอมฉบับใหม่: เรื่องวุ่นๆ (อีกรอบ)…
-
พ.ร.บ.คอม คณะกรรมการ และอย่าปล่อยให้ไอติมละลาย
วันนี้ไปคุย “โต๊ะกลม” ที่สำนักงานเนชั่น มีคนจากทีมร่างพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฉบับใหม่ (ซึ่งรวมถึงที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงไอซีที เจ้าหน้าที่ของสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ และนักกฎหมายของสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ) และตัวแทนจากบริษัทกฎหมายและที่ปรึกษาธุรกิจแห่งหนึ่ง ในฐานะเสียงจากภาคผู้ประกอบการ บนโต๊ะเดียวกันมีนักข่าวเนชั่นอยู่ด้วยสองสามคน รวมถึง @lekasina และ @prartana พร้อมผู้สนใจนั่งฟังอีกจำนวนหนึ่ง ผมไปถึงห้องช้าเป็นอันดับรองสุดท้าย เพราะไม่รู้ห้องและติดต่อผู้จัดไม่ได้ (เลยถือโอกาสกินไส้กรอกอยู่ข้างล่าง-และโดนจับได้พร้อมของกลาง ระหว่างกำลังจะงับ เสียฟอร์มเป็นอันมาก) บรรยากาศท่ัว ๆ ไปโดยรวมดีทีเดียว ทางนักข่าวก็ดูติดตามเรื่องนี้ ทุกคนที่มาร่วมก็แลกเปลี่ยนซักถามได้น่าสนใจ รวมถึงทีมร่างกฎหมายก็รับว่าจะนำเอาความเห็นต่าง ๆ ไปพิจารณา และหลังจากนี้จะเปิดให้มีประชาพิจารณ์ (ยังไม่ได้กำหนด ว่าที่ไหน เมื่อไหร่ อย่างไร) มีประเด็นน่าสนใจเรื่อง “คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์” อยากแลกเปลี่ยนเพิ่มเติมดังนี้ ทีมร่างพ.ร.บ.คอมฉบับใหม่ บอกถึงความจำเป็นที่จะต้องแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมาย เพื่อจะได้คุ้มครองสิทธิผู้ใช้อินเทอร์เน็ต รวมถึงคนที่จะใช้บริการอีคอมเมิร์ซ จะได้มีความมั่นใจในความปลอดภัย คำถามก็เลยมีอยู่ว่า ความตั้งใจที่ดีอันนี้ มันสะท้อนออกมาในร่างกฎหมายมากน้อยแค่ไหน (1) ถ้าเราดูที่มาและสัดส่วนของคณะกรรมการฯ ที่จะตั้งขึ้นตามพรบ.ใหม่นี้ (ตามร่างฉบับล่าสุด 20 เม.ย. 2554) จะเห็นว่า จำนวนกรรมการที่มาจาก “ตำรวจ” และ…
-
เลือกคนที่เอาออกได้ เลือกกฎหมายที่แก้ไขได้
ดี ดีกับใคร ดีที่ไหน ดีเมื่อไร เมื่อสิ่งต่าง ๆ มันเปลี่ยนแปลงได้ เราจะไปยึดอะไรตายตัว ก็เลือกคนที่เราเอาออกได้(หรือมีวาระหมดอายุ) เลือกกฎหมายที่เราแก้ไขได้ กฎหมายที่ยุติธรรมวันนี้ อีกสิบปีข้างหน้ามันอาจจะไม่ยุติธรรมแล้ว เราก็ปรับไป ขอให้มันมีช่องเปิดไว้ “อยากให้ สรุปชัดเจนว่า ระบบการเมืองที่ประชาชนเข้มแข็งอย่างที่อยู่ในจินตนาการของคณะกรรมการปฏิรูป แน่นอนเป็นสิ่งที่เราต้องการ แต่ในทางปฏิบัติเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้ยากมากจนแทบจะเป็นการหลอกตัวเองว่า ประชาชนจะลุกขึ้นมาทำหน้าที่ต่างๆ ในระบบการเมืองด้วยตัวเอง ปรากฏการณ์ในระบอบประชาธิปไตยทั่วโลกคือ การสร้างระบบตัวแทนที่ทำหน้าที่ดูแล เชื่อมโยงและตอบสนองความต้องการของประชาชนอย่างมีประสิทธิภาพ นั่นก็คือทำให้ระบบพรรคการเมืองเข้มแข็ง ไม่ใช่อ่อนแอ สื่อแขนงต่างๆ จะเป็นตัวกลางที่สำคัญมากในการสื่อสารระหว่างพรรคและประชาชน ขณะเดียวกันต้องสร้างระบบตรวจสอบพรรคและนักการเมืองที่เข้มข้นไปพร้อมกัน มาตรวัดความเข้มแข็งของประชาชนที่ดีที่สุดคือ ผ่านการเลือกตั้งอย่างสม่ำเสมอและการมีพรรคการเมืองที่เชื่อมโยงกับประชาชน ตรวจสอบได้ และไม่พอใจเอาออกได้ ไม่ใช่การมีสมัชชาประชาชนจำนวนมากที่สังคมตรวจสอบไม่ได้ ในที่สุดก็จะกลายเป็นองค์กรขุนนางชาวบ้านที่ผลาญงบประมาณจำนวนมาก และอ้างว่าวาระของตนเองคือวาระของประชาชน” — สิริพรรณ นกสวน สวัสดี, คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย บทสัมภาษณ์ สิริพรรณ นกสวน สวัสดี ใน ThaiReform.in.th [ผ่าน มติชนออนไลน์]
-
การเข้าถึงข้อมูลดังกล่าวนี้ ถูกระงับเป็นการชั่วคราว
อ่านบล็อก @lewcpe เกี่ยวกะพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ ก็มีประเด็นน่าสนใจอันหนึ่ง คือข้อเสนอที่ว่า : 4. คำสั่งปิดกั้นจะมีได้ต่อเมื่อมีการดำเนินคดีไม่ว่าจะเป็นคดีที่อยู่ภายใต้พรบ. คอม หรือไม่ คำสั่งต้องมีวันหมดอายุชัดเจน เรื่องนี้เป็นเรื่องที่ @jittat ก็เคยตั้งข้อสังเกตไว้เหมือนกัน เพราะที่ผ่านมามีแต่คำสั่งบล็อคเว็บ แต่คำสั่งยกเลิกการบล็อคนั้นยังไม่เคยเห็น (หมายถึงตามพ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์, กรณีการบล็อคตามพ.ร.ก.ฉุกเฉิน เมื่อพ้นภาวะฉุกเฉิน ก็มีการสั่งปลดบล็อคไปตามพ.ร.ก.) ถ้าดูภาษาที่ใช้ในหน้าเว็บที่ถูกเปลี่ยนทางไป เช่นที่ http://58.97.5.29/ict.html : การเข้าถึงข้อมูลดังกล่าวนี้ ถูกระงับเป็นการชั่วคราว โดยกระทรวงเทคโนโลยีสารเสนเทศและการสื่อสาร The Ministry of Information and Communication Technology has temporarily ceased the service to access such kind of information. ก็จะเห็นว่ามีการใช้คำว่า “ชั่วคราว” ทีนี้ ถ้าเกิดว่าคำสั่งของศาล ไม่ได้ระบุว่า การระงับนี้จะกินเวลาเท่าใด หรือสิ้นสุดลงเมื่อใด จะเรียกว่า “ชั่วคราว” อย่างที่เรียกอยู่ตอนนี้ได้ไหม…
-
เทคโนโลยี-ภาพลวงตา
เจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติของสหรัฐ บอกว่าเทคโนโลยีทำให้คนทำอะไรโง่ ๆ ผมว่ามันน่าสนใจดี เทคโนโลยีทำให้คนมั่นใจเกินเหตุ คนที่ก่อนหน้านี้อาจจะไม่กล้าปีนเขา ไม่กล้าทำอะไรบางอย่าง เพราะประสบการณ์ยังไม่พอ ความสามารถยังไม่ถึง พอมีเครื่องมืออะไรช่วยที่ทำให้เขามั่นใจ เขาก็จะกล้า ด้านดีมันก็มี คือมันก็เปิดโอกาส เปิดพรมแดนใหม่ ๆ ลดกำแพงการเข้าถึงสิ่งต่าง ๆ ด้านแย่ก็คือ เออ บางทีมันมั่นใจเกินเหตุ สร้าง illusion ไปว่า กูแน่ กูทำได้ ผมสนใจว่า ด้วยเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ต การสื่อสาร ฯลฯ เนี่ย มันทำให้คนในขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคม มั่นใจอะไรเกินเหตุไปไหม ว่าเทคโนโลยีจะมาช่วยให้กิจกรรมกิจการอะไรต่าง ๆ มันไปได้ง่ายดาย เราทำได้ ฯลฯ คือมันไม่ได้ง่ายขนาดนั้นน่ะ มันก็ยังต้องอาศัยปัจจัยอื่น ๆ ด้วย จะพึ่งเทคโนโลยีซะเยอะคงไม่ไหว ทำคลิป ทำอะไร ๆ มันก็ทำได้แล้วแหละ มือถือถ่ายรูป ทำข่าว ทำรายงานต่าง ๆ แต่สุดท้ายคลิปที่ถ่าย ๆ มา ก็โดนศอฉ.เอาไปใช้ พากษ์ทับเป็นอีกอย่าง…