Category: Rights & Freedom

  • เปิดข้อมูลอย่างเดียวไม่พอ ต้องให้มัน machine-readable ด้วย!

    สองสัปดาห์ก่อน พยายามจะเอาข้อมูลรายจ่ายภาครัฐมาใช้งาน แต่ก็พบปัญหาในการเอามาใช้ คือข้อมูลเท่าที่หาได้ มันไม่ machine-readable หรือ “อ่านด้วยเครื่องไม่ได้” เขียนสรุปเอาไว้ที่บล็อกโอเพ่นดรีม: รายจ่ายภาครัฐ ประจำปีงบประมาณ 2544-2554 ในรูปแบบ machine-readable (ดาวน์โหลดข้อมูลในฟอร์แมต OpenDocument) สาเหตุหลัก ๆ คือ: เป็น PDF ไม่ใช่ CSV หรือข้อมูลในรูปแบบตารางที่คำนวณได้ อย่าง OpenDocument spreadsheet หรือ Excel แย่กว่านั้น บาง PDF เป็นแบบรูปภาพ-สแกนหน้ากระดาษามา แถมเอียงหรือไม่ชัดอีกต่างหาก PDF ที่เหมือนจะเป็นข้อความดี ๆ บางอันก็มีปัญหาการเข้ารหัสชุดตัวอักษร เช่นแสดงให้เห็นเป็น “๔๕,๐๐๐,๐๐๐,๐๐๐” แต่พอ copy มา paste ก็กลายเป็น “Ùı,,,” แบบนี้คือ human-readable แต่ไม่ machine-readable แบบชัด ๆ เลย เอกสารใช้เลขไทย ซึ่งไม่ใช่ว่าทุก…

  • พ.ร.บ.คอม คณะกรรมการ และอย่าปล่อยให้ไอติมละลาย

    วันนี้ไปคุย “โต๊ะกลม” ที่สำนักงานเนชั่น มีคนจากทีมร่างพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฉบับใหม่ (ซึ่งรวมถึงที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงไอซีที เจ้าหน้าที่ของสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ และนักกฎหมายของสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ) และตัวแทนจากบริษัทกฎหมายและที่ปรึกษาธุรกิจแห่งหนึ่ง ในฐานะเสียงจากภาคผู้ประกอบการ บนโต๊ะเดียวกันมีนักข่าวเนชั่นอยู่ด้วยสองสามคน รวมถึง @lekasina และ @prartana พร้อมผู้สนใจนั่งฟังอีกจำนวนหนึ่ง ผมไปถึงห้องช้าเป็นอันดับรองสุดท้าย เพราะไม่รู้ห้องและติดต่อผู้จัดไม่ได้ (เลยถือโอกาสกินไส้กรอกอยู่ข้างล่าง-และโดนจับได้พร้อมของกลาง ระหว่างกำลังจะงับ เสียฟอร์มเป็นอันมาก) บรรยากาศท่ัว ๆ ไปโดยรวมดีทีเดียว ทางนักข่าวก็ดูติดตามเรื่องนี้ ทุกคนที่มาร่วมก็แลกเปลี่ยนซักถามได้น่าสนใจ รวมถึงทีมร่างกฎหมายก็รับว่าจะนำเอาความเห็นต่าง ๆ ไปพิจารณา และหลังจากนี้จะเปิดให้มีประชาพิจารณ์ (ยังไม่ได้กำหนด ว่าที่ไหน เมื่อไหร่ อย่างไร) มีประเด็นน่าสนใจเรื่อง “คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์” อยากแลกเปลี่ยนเพิ่มเติมดังนี้ ทีมร่างพ.ร.บ.คอมฉบับใหม่ บอกถึงความจำเป็นที่จะต้องแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมาย เพื่อจะได้คุ้มครองสิทธิผู้ใช้อินเทอร์เน็ต รวมถึงคนที่จะใช้บริการอีคอมเมิร์ซ จะได้มีความมั่นใจในความปลอดภัย คำถามก็เลยมีอยู่ว่า ความตั้งใจที่ดีอันนี้ มันสะท้อนออกมาในร่างกฎหมายมากน้อยแค่ไหน (1) ถ้าเราดูที่มาและสัดส่วนของคณะกรรมการฯ ที่จะตั้งขึ้นตามพรบ.ใหม่นี้ (ตามร่างฉบับล่าสุด 20 เม.ย. 2554) จะเห็นว่า จำนวนกรรมการที่มาจาก “ตำรวจ” และ…

  • สัมภาษณ์ @klaikong เรื่อง “ข้อมูลเปิดภาคสาธารณะ” กับการพัฒนาเศรษฐกิจ-สังคม-การเมือง #opendata #opengov

    ผมสัมภาษณ์ พี่แต๊ก ไกลก้อง ไวทยการ (@klaikong) เอาไว้เมื่อวันที่ 4 ธ.ค. 2553 ที่ผ่านมา ระหว่างเวิร์กช็อป “Open Data Hackathon” ที่ Opendream คุยกันเรื่องความเคลื่อนไหว “ข้อมูลเปิดภาครัฐ” หรือ “ข้อมูลเปิดภาคสาธารณะ” (Open Government Data หรือ Open Public Data) กับความจำเป็นของสังคมไทยที่ภาครัฐจะต้องเปิดเผยข้อมูลให้สาธารณะเข้าถึงได้ เพื่อให้ทุกภาคส่วนสามารถร่วมพัฒนาประเทศไปพร้อม ๆ กัน ด้วยการตัดสินใจบนข้อมูลที่รอบด้าน ในสถานการณ์โลกที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว วันนี้เพิ่งถอดเทปเสร็จ มีคุยกันเรื่องรูปแบบข้อมูล รวมถึงความเป็นไปได้ในการจะออกกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง : เรื่องมาตรฐานข้อมูลเนี่ย ประเทศเราทำไม่ได้จริงซะที คุยกันมานานแล้ว ว่าจะต้องมีระบบมาตรฐาน จะต้องมี standard อะไรต่าง ๆ XML ฯลฯ แต่ถึงทุกวันนี้ เท่าที่เห็น ร้อยละ 80 ข้อมูลก็ยังอยู่ในรูปแบบ PDF ซึ่งอันนี้มันสะท้อนเรื่องวิธีคิดว่า ข้อมูลนี้ก็ยังเป็นข้อมูลของหน่วยงานนั้นอยู่…

  • วารสารศาสตร์ข้อมูล: เราควรจะขอบคุณวิกิลีกส์ #wikileaks #opendata

    ความน่าเชื่อถือของวิชาชีพนักข่าวนักหนังสือพิมพ์ วิกิลีกส์ และ วารสารศาสตร์ข้อมูล Roy Greenslade (twitter: @GreensladeR) เขียน ; อาทิตย์ สุริยะวงศ์กุล (@bact) แปลและเรียบเรียง (CNN) 30 ก.ค. 2553 – การโพสต์เอกสาร 92,000 ฉบับบนวิกิลีกส์ (WikiLeaks) เกี่ยวกับสงครามในอัฟกานิสถาน เป็นตัวแทนของการฉลองชัยของสิ่งที่ผมเรียกว่า “วารสารศาสตร์ข้อมูล” (data journalism) แน่นอนว่ามันต้องมีแหล่งข่าวที่เป็นบุคคล ใครสักคนในที่ไหนสักแห่ง ส่งต่อข้อมูลเหล่านี้ไปยังเว็บไซต์วิกิลีกส์ แต่ไม่ว่าผู้แจ้งความไม่ชอบมาพากลคนนี้จะเป็นใคร มันก็ไม่ได้สำคัญเท่ากับว่า เนื้อหาของเอกสารเหล่านี้มันบอกอะไรกับเรา ข้อมูลดิบดังกล่าว เป็นขุมทรัพย์ขนาดใหญ่สำหรับนักหนังสือพิมพ์ในสามสำนักข่าว – นิวยอร์กไทมส์ (New York Times สหัรฐอเมริกา), เดอะการ์เดียน (The Guardian สหราชอาณาจักร), และ แดร์สปีเกล (Der Spiegel เยอรมนี) – ที่จะขุดค้นหาข่าวจากมัน อย่างไรก็ตาม ไม่ได้มีเฉพาะนักข่าวเหล่านั้นเท่านั้น…

  • [20-22 ก.ย.] follow #ial2010 ตามงาน Internet at Liberty 2010

    Internet at Liberty 2010 เวิร์กช็อปและสัมมนา สองวันครึ่ง เรื่องเสรีภาพอินเทอร์เน็ต จัดโดย Google และมหาวิทยาลัย Central European University ที่บูดาเปสต์ ฮังการี หัวข้อเกี่ยวข้องถึงนโยบายการกำกับอินเทอร์เน็ต การเข้าถึงอินเทอร์เน็ต อินเทอร์เน็ตเพื่อการพัฒนาสังคม ประชาธิปไตย และการศึกษา มีนักเทคโนโลยี นักกฎหมาย นักนโยบายอินเทอร์เน็ต นักวิชาการ นักกิจกรรมสังคม บล็อกเกอร์ และนักหนังสือพิมพ์จากทั่วโลก เข้าร่วม โดยเฉพาะจากประเทศและภูมิภาคที่เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นและสิทธิมนุษยชนถูกคุกคาม ทั้งในพื้นที่ออฟไลน์และรุกเข้าสู่พื้นที่ออนไลน์ ชมสด — 21-22 กันยายน 2553, 14:00-23:15 เมืองไทย (9:00-18:15 UTC+2) ทวีตติดแฮชแท็ก #IAL2010 มีชาวบ้านแถวนี้ไปร่วมอย่างน้อยสามคน @bact (ผม เครือข่ายพลเมืองเน็ต/โอเพ่นดรีม) @jiew (จีรนุช เปรมชัยพร หนังสือพิมพ์ประชาไท) และ @supinya (สุภิญญา กลางรณงค์ คณะกรรมการรณรงค์เพื่อการปฏิรูปสื่อ) แถม:…

  • “อินเทอร์เน็ตภิบาลกับประชาสังคม” / “ยกเลิกกฎหมายความมั่นคง”

    ประชาสัมพันธ์สองงาน พรุ่งนี้ (เสาร์ 4 กันยา) 12:30 ที่ร้านกาแฟวาวี ซอยอารีย์ มี เวิร์กช็อปและแลกเปลี่ยน “อินเทอร์เน็ตภิบาลกับประชาสังคม” กลางเดือนนี้ วันที่ 14-17 ก.ย. จะมี Internet Governance Forum ครั้งที่ 5 เป็นที่ประชุมอินเทอร์เน็ตภิบาลระดับโลก คุยกันเรื่องการกำกับดูแลอินเทอร์เน็ต และประเด็นท้าทายใหม่ ๆ ที่ต้องรับมือ จะมีผู้เข้าร่วมจากภาคประชาสังคมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ไปร่วมด้วย ถึงจะไม่กี่คน แต่ก็พยายามจะให้มันมีอินพุตมีเสียงจากชายขอบของชายขอบอีกทีบ้าง (คือเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มันก็ชายขอบในวง IGF อยู่แล้ว แล้วภาคประชาสังคมมันก็ชายขอบของชายขอบไปอีกที) สำหรับประเทศไทยจะตัวแทนจากเครือข่ายพลเมืองเน็ตไปด้วย เขาก็เลยนัดกันว่า วันเสาร์นี้ เจอกันที่วาวีละกัน มาคุยกัน ใครสนใจอยากจะแลกเปลี่ยน เผื่อฝากประเด็นอะไรไปที่เวทีนี้ ก็ฝากได้ หรือใครอยากจะเข้าร่วมแบบทางไกล ผ่านช่องทางออนไลน์ที่ IGF เขาจะเตรียมไว้ให้ วันเสาร์นี้ก็มีเวิร์กช็อปเล็ก ๆ แนะนำเครื่องไม้เครื่องมือต่าง ๆ ด้วย เป็นการเตรียมตัวเตรียมพร้อม ใครสนใจก็เชิญนะครับ อีกเรื่อง อย่างที่เราก็ได้เห็นมาแล้ว ในช่วงเวลาหลายเดือนที่ผ่านมาในกรุงเทพ…

  • How to get around censorship (a must of for Internet in Thailand)

    อินเทอร์เน็ตเมืองไทยมีบั๊ก แจ้งบั๊กไปแล้ว คนมีอำนาจดูแลก็ไม่สนใจ ก็ต้องหา work around ไปพลาง ๆ ก่อน จะได้พอใช้เน็ตได้ตามสภาพ วิธีหลบเซ็นเซอร์ การใช้อินเทอร์เน็ตอย่างปลอดภัย และการรักษาข้อมูลส่วนบุคคล http://thainetizen.org/unblock แปลจาก Technical ways to get around censorship โดย ผู้สื่อข่าวไร้พรมแดน (RSF) technorati tags: Internet censorship, circumvention

  • Me on #ICT2020 plan

    วันนี้ไปงานระดมความเห็นเรื่องแผนไอซีทีในระยะ 10 ปีข้างหน้า (ICT2020) กลุ่ม civic empowerment (คืออะไรก็ไม่ค่อยแน่ใจ ผมก็มั่วไป) ที่เนคเทคเป็นเจ้าภาพ (ผมไป แทน หลายคนมาก ๆ ประมาณว่าแปะมือกัน) ผมได้เสนอในวงและยังยืนยันว่า ในการทำนโยบายทางสังคมใด ๆ จำเป็นต้องคิดถึงกลุ่มชายขอบทางการเมืองด้วย ไม่ใช่เพียงกลุ่มชายขอบทางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม ฯลฯ กลุ่มชายขอบทางการเมือง คือ กลุ่มคนที่ไม่เห็นด้วยกับนโยบายหรือกิจกรรมของรัฐ กลุ่มคนที่รัฐมองว่าเป็นภัยต่อความมั่นคง ต่อศีลธรรมอันดีงาม และกลุ่มคนที่ถูกแปะป้ายว่า หัวรุนแรง คนเหล่านี้ก็เป็นพลเมืองหรือผู้ส่วนได้ส่วนเสียในสังคม และไม่ควรจะต้องถูกกันออกไป เพียงเพราะเขาคิดไม่เหมือนกับรัฐ ตัวอย่างของกลุ่มคนที่ไม่เห็นด้วยกับนโยบายหรือกิจกรรมของรัฐ ที่ได้ผลกระทบที่เกี่ยวกับสารสนเทศ ในเรื่องของการเข้าถึงข้อมูล เช่น ชุมชนในมาบตาพุดและประจวบ ที่ขอดูเอกสารประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมจากรัฐ แต่ถูกปฏิเสธ โดยอ้างเหตุผลเรื่อง ความมั่นคง ถ้าทัศนคติแบบนี้ยังมีอยู่ และข้ออ้างแบบนี้ยังฟังขึ้น ก็ป่วยการที่จะพูดถึงเทคโนโลยีสารพัดที่จะช่วยให้ประชาชนเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร — เพราะถึงมีเทคโนโลยีไป รัฐก็ไม่เปิดอยู่ดี แค่โยนบรอดแบนด์ตูมลงไป แล้วหวังจะให้เกิดสังคมข้อมูลข่าวสารและปริมณฑลสาธารณะ แบบบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป มันเป็นไปไม่ได้ – ต้องเปลี่ยนทัศนคติของรัฐและสังคมด้วย ในเชิงรูปธรรมก็คือกฎหมายและระเบียบต่าง…

  • Keeps private data private, keeps public data public? No. Not in Thailand.

    พ.ร.บ.ข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ.2540 กำหนดให้หน่วยงานของรัฐ ต้องจัดหาข้อมูลข่าวสารของราชการไว้ให้ประชาชนตรวจดูหรือค้นคว้าได้ สำนักงานคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ (สขร.) เป็นหน่วยงานที่ดูแลเรื่องข้อมูลข่าวสารของราชการและการเปิดเผยข้อมูลข่าวสาร ที่เว็บ www.oic.go.th ของสขร. หน้า การตอบข้อหารือและวิทยากรบรรยายเกี่ยวกับ สขร.: คลิกเปิดชื่อเรื่อง กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หารือการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารของราชการ (ลงวันที่ 27/11/2552) … ได้เอกสาร พระราชกฤษฎีกา ถอนสภาพที่ดินอันเป็นสาธารณะสมบัติของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกัน ในท้องที่ตำบลลาดใหญ่ อำเภอเมืองสมุทรสงคราม จังหวัดสมุทรสงคราม พ.ศ. 2544 คลิกเปิดชื่อเรื่อง กรมการปกครองหารือการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ.2540 (ลงวันที่ 28/12/2552) … ได้เอกสาร พระราชกฤษฎีกา กำหนดให้ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเหล็กเส้นเสริมคอนกรีตต้องเป็นไปตามมาตรฐาน (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2544 เอกสารต่าง ๆ ไม่สามารถเรียกดูได้ตามชื่อเรื่องเลย แบบนี้เขาเรียกว่า ไม่เปิดเผย ครับ ในขณะที่รัฐ มีความพยายามที่จะดักฟังสอดส่องล่วงรู้ ข้อมูลส่วนบุคคลของประชาชน (#ThaiNoSniff) พร้อม ๆ กันนั้น รัฐเอง ก็มีความพยายามจะปกปิดหรือสร้างความยากลำบากในการเข้าถึง…

  • subject: #GT200 and #sniffer

    ต่อจากประชาธิปไตยแบบไทย ๆ เราก็มีคณิตศาสตร์แบบไทย ๆ : 13/20 = 100% ผมเห็นว่า GT200 (เครื่องตรวจระเบิด, เขาอ้างว่าเป็น) และ sniffer (เครื่องดักฟังข้อมูลบนเครือข่าย) นั้นมีส่วนคล้ายกันในหลาย ๆ เรื่อง ตั้งแต่เรื่องพื้น ๆ อย่างการจัดซื้ออุปกรณ์ราคาแพง ซึ่งมีความเป็นไปได้ว่าจะมีการเอื้อประโยชน์ตอบแทน ซึ่งเรื่องนี้กระทบรายจ่ายของประเทศ-ของเรา แต่อาจจะไม่ได้กระทบกับชีวิตเราตรง ๆ เรื่องอุปกรณ์ไม่มีประสิทธิภาพตามอ้าง ซึ่งเรื่องนี้อาจจะกระทบชีวิต-ความปลอดภัย-ของเราได้ตรง ๆ เช่น อุปกรณ์ตรวจจับที่ไม่มีประสิทธิภาพ ก็อาจทำให้ระเบิดเล็ดรอด ไปตูมตามได้ ไปจนถึงการเรื่องที่กระทบชีวิต-สิทธิเสรีภาพ-ของเราอย่างที่เราอาจจะคาดไม่ถึง คือ การใช้อุปกรณ์ วิทยาศาสตร์ เหล่านี้ ในการสร้างความชอบธรรมแก่เจ้าหน้าที่ในการควบคุมหรือตรวจค้นเป้าหมาย (ที่อาจถูกหมายหัวเอาไว้ก่อนหน้าแล้ว) โดยไม่ต้องขอหมายค้นหรือคำสั่งศาล โดยอ้างว่า มีเหตุอันเชื่อได้ว่า เราทำผิดอะไรซักอย่าง ตามแต่เครื่องมือนั่นจะบ่งชี้ … อย่างดีก็แค่รบกวนการดำเนินชีวิต อย่างชั่วก็ยัดข้อหา (โดยมนุษย์หรือโดยอุปกรณ์) อย่างชั่ว ๆ ดี ๆ ก็อาจจะต่อรองกันได้ เป็นช่องทางหากิน ……