-
อนุญาตให้เรียนไม่สดเพื่อเพิ่มโอกาสเข้าถึง + การสร้างพื้นที่ปลอดภัยระหว่างบันทึกการสอน
การสอนออนไลน์ ควรมีการบันทึกการสอนไว้ เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้เรียนที่มีทรัพยากรเพื่อการเข้าถึงจำกัด และในการบันทึกก็มีข้อควรพิจารณาต่างๆ เพื่อสร้างพื้นที่ปลอดภัยในการเรียนรู้สำหรับทั้งตัวผู้สอนและผู้เรียน #accessibility #safety #privacy #freespeech
-
ว่าด้วยการเยียวยา – กรณี #TCAS วารสาร และอื่นๆ ในยุค #COVID19 นี้
เรื่องประกาศ #TCAS เพื่อรับเข้าเรียนที่คณะวารสารศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ที่ผิดพลาด นี่ก็มีประเด็นเยียวยาอยู่เหมือนกัน และมีแง่มุมของการเยียวยาคนกลุ่มหนึ่ง (ซึ่งสมควรได้รับการเยียวยา) ที่อาจสร้างความเดือดร้อนใหม่ให้กับคนอีกกลุ่ม (ทั้งที่เขาไม่ได้ทำอะไรผิด)
-
Override / Overrule ปัญหาการเลื่อนบังคับใช้บางหมวดของกฎหมายลำดับสูงกว่าด้วยกฎหมายลำดับต่ำกว่า
กรณีของการพยายามจะเลื่อนบังคับใช้บางหมวดของพ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ด้วยการออกพ.ร.ฎ.มางดเว้นนี่ก็น่าสนใจ คือคิดแบบภาวะปกติเลยนะ ไม่ต้องมีภาวะพิเศษหรือรัฐประหาร ตัวพระราชบัญญัตินั้นจะประกาศเป็นกฎหมายใช้บังคับได้ ต้องอาศัยรัฐสภาเห็นชอบ ส่วนพระราชกฤษฎีกา รัฐมนตรีที่มีอำนาจตามกฎหมายนั้นๆ จะเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาได้เลย ตามที่กฎหมายดังกล่าวได้ให้อำนาจนิติบัญญัติบางส่วนเอาไว้กับฝ่ายบริหาร ทีนี้ มันมีสิ่งน่าสนใจ 2 อย่าง ที่กรณีการพยายามเลื่อนการบังคับใช้ พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลด้วยพ.ร.ฎ. ซึ่งตามลำดับศักดิ์ของกฎหมายไทยนั้น ตัวพ.ร.ฎ.อยู่ต่ำกว่าพ.ร.บ. 1) การที่เกิดภาวะแบบนี้ได้ เพราะกฎหมายในมาตราที่ให้อำนาจกับรัฐมนตรีในการออกพ.ร.ฎ.นั้น มีผลใช้บังคับแล้ว รัฐมนตรีจึงจะนำอำนาจดังกล่าวมางดเว้นการบังคับใช้กฎหมายหมวดที่ยังไม่ถูกบังคับใช้ (จากเดิมที่เราคิดว่า กฎหมายต้องถูกใช้ก่อน แล้วการงดเว้นค่อยตามมา) การที่กฎหมายฉบับนี้ หรือฉบับใดๆ ก็ตามมีการกำหนดการเริ่มใช้บังคับเป็นหลายขยัก ทำให้เกิดสถานการณ์แบบนี้ได้ ใช่หรือไม่? (ถ้ากฎหมายทั้งฉบับยังไม่ถูกใช้บังคับเลย โดยเฉพาะมาตราที่ให้อำนาจกับรัฐมนตรีในการออกพระราชกฤษฎีกา สถานการณ์แบบนี้จะไม่เกิด หรือไปเกิดด้วยช่องทางอื่น?) 2) ในแง่ศักดิ์และลำดับอำนาจของกฎหมาย สิ่งที่เกิดขึ้นคือ สาระสำคัญของกฎหมายฉบับหนึ่ง (กรณีนี้คือส่วนที่ว่าด้วยการคุ้มครองสิทธิของประชาชน) ที่รัฐสภาพิจารณาประกาศเป็นกฎหมายระดับพระราชบัญญัติแล้ว สามารถถูกรัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีออกกฎหมายระดับพระราชกฤษฎีกา ซึ่งมีลำดับต่ำกว่า มาเลื่อนการบังคับใช้ได้ และถ้ายอมให้มีการเขียนกฎหมายลักษณะนี้ โดนไม่มีการท้าทายทางรัฐธรรมนูญ ก็เป็นไปได้ในทางทฤษฎีว่า การเลื่อนหรือการงดเว้นนี้จะสามารถถูกต่ออายุออกไปได้เรื่อยๆ เท่ากับในทางปฏิบัติ จะมีสภาพเหมือนไม่เคยมีการตราพระราชบัญญัติในส่วนสาระสำคัญขึ้นมาเลย นี่เป็นโจทย์ที่น่าคิด ว่าจะทำอย่างไร ในกรณีนี้และกรณีทั่วไป ให้สามารถจำกัดอำนาจของฝ่ายบริหารไม่ให้สร้างสภาวะมีอำนาจเหนือฝ่ายนิติบัญญัติในลักษณะนี้ให้เกิดขึ้นได้ แต่การคาดหวังกับฝ่ายตุลาการให้ช่วยดุลอำนาจ […]
-
แถลงการณ์ว่าด้วยการสืบย้อนผู้ใกล้ชิด (contact tracing) 19 เม.ย. 2563
ประเด็นสำคัญเรื่องหนึ่งก็คือ เรื่อง “social graph” หรือผังความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ซึ่งสามารถสร้างขึ้นโดยการเชื่อมโยงข้อมูล – ผังความสัมพันธ์ของคนนี้เปลี่ยนแปลงช้ามาก ข้อมูลที่ถูกเก็บไปในช่วงไม่กี่เดือนนี้ ก็เพียงพอแล้วที่จะใช้กับบุคคลนั้นไปได้ตลอดชีวิต
-
การร่วมสร้างอัตลักษณ์ “คนดี” โดยมวลมหาประชาชน: กรณีศึกษาสื่อส่วนบุคคล
อาจินต์และอาทิตย์ ใช้แนวคิดเรื่อง “มีม” (meme) ศึกษาการมีส่วนร่วมในขบวนการทางการเมืองในประเทศไทยช่วงปี 2556-2557 ผ่านการผลิตมีมของผู้สนับสนุนขบวนการ โดยใช้นิยามของมีมว่า “หน่วยของการส่งผ่านวัฒนธรรม”
-
การสืบย้อนคนที่เคยใกล้กัน ที่ยังรักษาความเป็นส่วนตัว ในบริบท #COVID19
เขียนไว้ในเฟซบุ๊กและทวิตเตอร์ ชวนคุยเรื่องแอปติดตามผู้เคยอยู่ใกล้ผู้เป็นโรคที่อาจติดต่อได้ (contact tracing) กับความอธิบายได้ทางนโยบาย การเลือกปฏิบัติ และผลกระทบที่อาจอยู่กับเราไปนานกว่าอายุของวิกฤต? TraceTogether ของสิงคโปร์ ทางสิงคโปร์ที่เราพอได้ยินจากข่าวมาบ้าง วันนี้มีโปรโตคอลกับตัวซอร์สโค้ดออกมาแล้ว BlueTrace เป็นโปรโตคอล ที่เขาใช้คำว่า “privacy-preserving cross-border contact tracing” OpenTrace เป็นแอปที่ใช้ BlueTrace (open source reference implementation) TraceTogether เป็น OpenTrace ที่ปรับแต่งเพื่อใช้ในสิงคโปร์ ทาง GovTech หน่วยงานด้านเทคโนโลยีรัฐบาลของสิงคโปร์ เล่าเรื่องของ OpenTrace ไว้ที่ 6 things about OpenTrace ไอเดียรวมๆ คือใช้บลูทูธเพื่อเก็บข้อมูลว่า เราเคยไปอยู่ใกล้ใครบ้าง (มือถือของเราเคยไปอยู่ใกล้ใครมือถือเครื่องไหนบ้าง) คือมองว่าต้องการติดตามการติดต่อที่อาจเกิดขึ้นได้ระหว่างคนสู่คนโดยตรง ดังนั้นสิ่งที่สนใจ คือการอยู่ใกล้ชิดของคน ไม่สนใจว่าคนนั้นจะไปอยู่ที่ไหน — คือเก็บเฉพาะ who ไม่เก็บ where เท่าที่ดูในข่าว Channel News […]
-
Complain-driven development
ถ้าเลาเป็นรัฐบาล
-
Hello Dublin
Khao San road, I miss you already.
-
Rule of Law in Thailand
Political activist Sirawith “Ja New” Serithiwat is brought to hospital on June 28, 2019, with major head injuries. This is the second time, in less than a month, that he got seriously attacked in the public. The authority still has no clue. Image: Democracy Restoration Group