แบ่คแบ่คสไตล์ #style #guide


เวลาต้องทำกำหนดการสัมมนา ผมมีนิสัยเหล่านี้

  • เอาเรื่องสำคัญอย่าง วัน เวลา สถานที่จัดงาน หมดเขตลงทะเบียนวันไหน ไว้ต้นๆ — พวกผู้จัดร่วมจัด ไว้ท้ายๆ
  • ถ้าหาลิงก์แผนที่ได้ อย่างน้อยก็ Google Maps จะพยายามใส่ไว้ที่ท้ายที่อยู่งาน
  • ใช้การเขียนเวลาแบบ 24 ชั่วโมง (ไม่ใช้ am/pm) และใช้ : คั่น ชั่วโมง:นาที (ไม่ใช้ .)
  • พักช่วง พยายามหาคำอื่นที่ไม่ระบุคำว่า coffee — เพราะผมไม่กินกาแฟ
  • ไม่ใส่ยศ ตำแหน่ง ฯลฯ ใดๆ หน้าชื่อ เพราะรู้สึกว่ารุงรัง และบางทีถ้าใส่ผิดมีเคืองกันอีก (เช่นเป็นรศ.แล้ว ยังใส่ผศ.)
  • แน่นอนว่า ตัวสะกดชื่อ เป็นเรื่องสำคัญ ต้องค้นเน็ตเพื่อเอาให้แน่นอนอีกครั้ง
  • ถ้าคนเหล่านั้นมีบัญชีทวิตเตอร์ จะใส่ไว้ข้างชื่อ
  • ที่ชื่อสถาบัน องค์กรสังกัด ฯลฯ จะพยายามทำลิงก์
  • ฟอร์แมตเบอร์โทรศัพท์ ชอบใช้ 0-123-456-789 (มือถือ) และ 0-1234-5678 (บ้าน) ถ้าเป็นงานที่ต้องติดต่อกับต่างชาติด้วย ก็ใส่รหัสประเทศข้างหน้า +66-
  • ที่หัวเรื่องบล็อก ต้นทวีต/โพสต์เฟซ จะใส่ “[วันที่]” ไว้ด้วย เช่น “[15 ก.พ.] สัมมนา….”
  • ถ้าออกเป็นเมล (หรือ plain text อื่นๆ) ลิงก์ต่างๆ ที่ใช้ จะพยายามให้ไม่ยาวเกินไป ใช้ลิงก์แบบย่อถ้าจำเป็น — ดู อย่าเยอะ: อ้างอิง URL แบบให้มนุษย์พออ่านออก
  • ถ้ามี #hashtag ของงาน ก็จะใส่ไว้ด้วย ทั้งในกำหนดการ และในทวีต

คิดว่าการทำกำหนดการแบบนี้ ช่วยให้คนจะมาร่วมงาน มีข้อมูลมากขึ้น พอจะรู้เกี่ยวกับวิทยากรมากขึ้น พอจะหาทางมางานได้ง่ายขึ้น ลดความสับสน รวมถึงก่อน/ระหว่างงานก็จะได้มีส่วนร่วมกับงานได้มากขึ้น เพราะรู้ทวิตเตอร์วิทยากรและแฮชแท็กของงานแล้ว

โพสต์ครั้งแรกในเฟซบุ๊ก และมีมิตรสหายท่านหนึ่งกล่าวเสริมว่า “โปรดแจ้งว่ามีกินฟรีหรือไม่ด้วยครับ ขอบคุณครับ”

ส่วนมิตรสหายอีกท่านสอง เมนต์ว่า “เราว่าฟอร์แมตเบอร์โทรศัพท์แบบที่พี่แบ่คบอกมันจำยากง่ะ คือถ้าเคยเป็นคนต่างจังหวัดมาก่อน การแยก 0xx-yyy-zzz มันทำให้พอจะรู้ได้ว่าเบอร์ที่ให้มามันอยู่ที่ไหน แบบอย่างน้อยก็เดาภาคที่อยู่ของเบอร์ได้แบบเร็วๆ ไปเลย”

ผมว่าแบ่งแบบไหนมันก็เลขเดียวกันอ่ะ ก็แยกภาคแยกจังหวัดได้เหมือนกัน มันเป็นเรื่องชินหรือไม่ชินมากกว่า ถ้าชินก็มองแล้วนึกได้เร็ว ถ้าไม่ชินก็ช้า แต่ผมชอบแบ่งแบบที่ว่า เพราะมันลงตัวดี มือถือก็เป็นชุดเลขสามตัวสามชุด บ้านก็สี่ตัวสองชุด


Leave a Reply

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.